มีรถไฟฟ้า 3 สายที่เตรียมจะสร้างต่อไม่นานนี้ สายสีเงินบางนา-สุวรรณภูมิก็เป็นสายสำคัญสายนึง แล้วระดับผู้บริหารก็บอกว่า ควรสร้างให้สถานีปลายทางอยู่ใต้ดินเหมือนแอร์พอร์ตลิงค์สายเดิม ซึ่งมันก็ดูดีอยู่ แต่จุดที่คุ้มค่ากว่าการสร้างลงใต้ดินให้เหมือนสายเดิม ก็คือสร้างสายนี้ต่อไปยังจุดที่รับผู้คนได้มาก คุ้มค่าแก่การลงทุน ถ้าดูจากแผนที่ จุดที่น่าสร้างรถไฟต่อขยายไปคือ หัวตะเข้ เป็นแหล่งชุมชนใหญ่ มีผู้คนมาก แต่ยังขาดรถไฟฟ้า
การสร้างรถไฟบางนา-สุวรรณภูมินี้ ตามแผนก่อนหน้านี้ คือ ปลายทางมาลงที่สุวรรณภูมิทิศใต้ ถ้าจะให้ดีให้แจ๋ว ก็ให้มาลงที่อาคารทิศใต้ที่กำลังสร้างใหม่เพื่อรองรอบผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น จะเป็นจุดลงของสถานีรถไฟฟ้าที่สวยมาก เรื่องระยะทางการเชื่อมต่อกับแอร์พอร์ตลิงค์ก็เดินนิดหน่อย เหมือนกับแอร์พอร์ตลิงค์มักกะสันไปสายสีน้ำเงินเพชรบุรี หรือแอร์พอร์ตลิงค์หัวหมากไปสายสีเหลืองหัวหมาก แต่การให้รถไฟฟ้าสายใหม่จอดหน้าอาคารผู้โดยสารที่สร้างใหม่ ก็ดูดี สะดวกไปอีกแบบ
AOT รื้อแผนแม่บทสุวรรณภูมิปรับ West Expansion เดินหน้าผุดอาคารทิศใต้กว่า 1.2 แสนลบ.-รันเวย์เส้น 4
https://www.infoquest.co.th/2024/424861
เมื่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าอยู่หน้าอาคารทิศใต้ของสนามบินแล้ว ก็ให้สร้างเชื่อมมาในจุดที่มีผู้คนเดินทางเยอะ ก็คือ สถานีรถโดยสารสุวรรณภูมิ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าลาดกระบัง และปลายทางที่หัวตะเข้ ซึ่งตรงนี้ก็จะเชื่อมต่อกับรถไฟสายสีแดงอ่อนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต สามารถเดินทางไปฉะเชิงเทราได้
สบาย
ทั้ง 3 จุดที่ว่ามา ก็คงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามาก สถานีรถโดยสารสุวรรณภูมิก็เป็นจุดที่คนจำนวนมากต้องมาใช้บริการรถโดยสารเพื่อเดินทางต่อไปยังจุดหมายปลายทางอื่นๆที่ตนต้องการอยู่แล้ว ส่วนสถานีพระจอมเกล้าลาดกระบังก็เป็นจุดที่นักศึกษาม.ลาดกระบังได้เดินทางไปเรียนหนังสือ หัวตะเข้ทุกวันนี้ก็เป็นชุมชนใหญ่ที่ยังขาดรถไฟฟ้า ถ้ามีได้ก็จะสะดวกสบายมาก
อีกอย่าง หัวตะเข้นี่ ถ้าจะให้ดี ก็สร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพูต่อขยายมาถึงนี่เลย เพราะว่า มีแผนจะสร้างต่อขยายจากมีนบุรีมาลาดกระบังอยู่แล้ว สร้างต่อจากลาดกระบังมาหัวตะเข้ ก็อีกนิดเดียว ก็น่าจะทำไป ถ้าทำได้ จะทำให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างสายสีชมพูกับสายสีเงินบางนา-สุรรณภูมิด้วย ตามที่ว่านี้ คนหัวตะเข้จะเดินทางไปไหนมาไหนก็ง่ายมาก รถไฟฟ้า 3 สายจ่อมาในอนาคต ทำเลทองของจริง
พูดถึงรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนที่จะสร้างตั้งแต่บางซื่อถึงฉะเชิงเทรา เฟสแรกถ้าสามารถสร้างตั้งแต่ลาดกระบังถึงฉะเชิงเทรา ก็น่าจะดีกว่าที่จะเริ่มสร้างตั้งแต่บางซื่อมาหัวหมาก เหตุผลก็คือ รถไฟ 3 สนามบินที่กำลังจะสร้างช่วงเม.ย.นี้ ก็ต้องสร้างตั้งแต่บางซื่อมาพญาไทอยู่แล้ว เส้นทางคล้ายสายสีแดงอ่อน แล้วที่เคยอ่านมา ต่อให้สร้างเสร็จก็ยังจะมีการเดินรถธรรมดา city line แบบเดิมร่วมกับรถไฟความเร็วสูงด้วย ซึ่งจะมีเส้นทางรถไฟบางช่วงที่ซ้อนทับกับสายสีแดงอ่อน สามารถทดแทนสายสีแดงอ่อนได้ในบางช่วง ถ้าสร้างรถไฟ 3 สนามบินจากบางซื่อมาพญาไทก่อน ก็จะช่วยให้คนที่ต้องการเดินทางจากบางซื่อมาที่หัวหมาก หรือบางซื่อมาที่ลาดกระบัง เดินทางได้โดยสะดวกในช่วงที่ยังไม่มีสายสีแดงอ่อน ใครที่ต้องการเดินทางจากบางซื่อไปฉะเชิงเทรา ก็นั่งรถไฟ 3 สนามบินจากสถานีบางซื่อมาลงที่สถานีลาดกระบัง แล้วต่อรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนที่ลาดกระบังไปลงที่ฉะเชิงเทราได้ พยายามทำการเชื่อมต่อแอร์พอร์ตลิงค์ลาดกระบังกับสายสีแดงอ่อนลาดกระบังให้ง่ายที่สุด และคนที่นั่งรถไฟสายสีชมพูและสายสีเงินที่จะสร้างใหม่ ก็จะสามารถเดินทางไปฉะเชิงเทราได้ง่ายด้วย
การสร้างที่ว่ามานี้ จะเป็นผลดีแก่ทุกฝ่าย เพราะเก็บกินรายได้ง่าย ถ้าจะมาสร้างรถไฟ 3 สนามบิน จุดแรกก็ให้เริ่มสร้างจากบางซื่อมาที่พญาไทก่อนเป็นอันดับแรก ช่วงนี้ยังขาดอยู่ เป็นช่วงที่เดินทางยากอยู่ ตอบโจทย์คนใช้บริการในเมืองมาก จุดที่สองค่อยสร้างจากบางซื่อมาสนามบินดอนเมือง เพราะการเดินทางจากบางซื่อมาดอนเมือง คนก็ยังมีทางเลือกที่จะนั่งสายสีแดงเข้ม บางซื่อ-รังสิต ถ้ารีบสร้างไป ก็มีโอกาสได้ลูกค้าไม่มากเท่าไร สายสีแดงเข้มมีค่าโดยสารที่ถูกด้วย ควรเน้นจุดบางซื่อ-พญาไท เดินรถแบบ city line ไป เพราะตรงนี้ไม่มีตัวเลือกการเดินทางอื่น คนสร้างเก็บกินรายได้ไปก่อนสบายๆ ส่วนที่เหลือค่อยต่อขยายกันไป
พอสร้างจุดบางซื่อ-พญาไท สำเร็จ ก็ค่อยมาสร้างบางซื่อถึงดอนเมือง เดินรถแบบ city line เหมือนเดิม ทำให้การเดินทางจากสนามบินสุวรรณภูมิมาสนามบินดอนเมือง เป็นเส้นเดียว ไร้รอยต่อ สำหรับบ้านใครที่อยู่ใกล้สถานีแอร์พอร์ตลิงค์ไปสนามบินสุวรรณภูมิหรือสนามบินดอนเมืองก็เดินทางขึ้นที่เดียวจบ ก็จะมีโอกาสลุ้นเอาผู้โดยสารได้มากกว่าสายอื่นๆที่อาจจะต้องต่อรถ 2 สาย หรือ 3 สาย เพื่อมาสนามบินดอนเมือง เช่น เดินทางจากสยามมาดอนเมือง ก็ต้องนั่งสายสีเขียวต่อสายสีน้ำเงินต่อสายสีแดง หรือจากรามคำแหง ก็ต้องนั่งแอร์พอร์ตลิงค์ต่อสายสีน้ำเงินต่อสายสีแดง แต่ถ้าแอร์พอร์ตลิงค์พญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง สร้างเสร็จ ก็เดินทางด้วยรถไฟ 3 สนามบินมาดอนเมืองด้วยความสะดวกสบาย ผู้สร้างก็เก็บกินรายได้ผู้โดยสาร city line จากสุวรรณภูมิมาดอนเมืองก่อน
เมื่อสร้างอย่างที่บอกเสร็จแล้ว ก็มาสร้างจากสุวรรณภูมิไปถึงสนามบินอู่ตะเภาให้เสร็จ แล้วค่อยเอารถไฟความเร็วสูงมาวิ่ง หรือว่าจะสร้างถึงแค่ฉะเชิงเทราก่อน แล้วจะเลือกเอารถไฟความเร็วสูง หรือรถ city line มาวิ่งจากสุวรรณภูมิถึงฉะเชิงเทราก็ได้ อยู่ที่จะเลือก จะสร้างรวดเดียวจนสนามบินอู่ตะเภาเสร็จ หรือถึงแค่พัทยาก่อน แล้วเอารถไฟมาวิ่ง ก็แล้วแต่จะเลือกเอาตามความคุ้มค่า
พยายามอย่าสร้างรถไฟ 3 สนามบินพร้อมกันหรือช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกันกับสร้างสายสีแดงอ่อนในช่วงเส้นทางบางซื่อ-หัวหมาก เพราะจะทำให้ 2 สายนี้ เกิดการแข่งขันหารายได้ในช่วงเส้นทางบางซื่อ-ลาดกระบัง อย่างเร็ว ทั้งรถไฟแอร์พอร์ตลิงค์และรถไฟสายสีแดงอ่อนต่างก็ต้องทนสภาวะขาดทุนนานขึ้นและมากขึ้น แต่ถ้าสร้างอย่างที่บอกมา รถไฟ 2 สายนี้ก็จะเป็นการตอบโจทย์คนละอย่าง เน้นใช้บริการคนละวัตถุประสงค์กัน ตอบโจทย์ลูกค้าคนละแบบ เกิดผลประโยชน์ที่ลงตัวแก่กันมากขึ้น
ที่ว่ามานี้ ก็พิจารณาให้ดี ถ้าลำดับการสร้างดี ก็จะเก็บกินรายได้กันได้ง่าย ไม่ต้องทนสภาวะขาดทุนนาน คุ้มค่าการลงทุน
รถไฟฟ้าบางนา-สุวรรณภูมิเตรียมสร้างล่ะ ในข่าวบอกว่าน่าสร้างลงใต้ดินเหมือนสายก่อน จริงๆน่าต่อมาหัวตะเข้มากกว่า
การสร้างรถไฟบางนา-สุวรรณภูมินี้ ตามแผนก่อนหน้านี้ คือ ปลายทางมาลงที่สุวรรณภูมิทิศใต้ ถ้าจะให้ดีให้แจ๋ว ก็ให้มาลงที่อาคารทิศใต้ที่กำลังสร้างใหม่เพื่อรองรอบผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น จะเป็นจุดลงของสถานีรถไฟฟ้าที่สวยมาก เรื่องระยะทางการเชื่อมต่อกับแอร์พอร์ตลิงค์ก็เดินนิดหน่อย เหมือนกับแอร์พอร์ตลิงค์มักกะสันไปสายสีน้ำเงินเพชรบุรี หรือแอร์พอร์ตลิงค์หัวหมากไปสายสีเหลืองหัวหมาก แต่การให้รถไฟฟ้าสายใหม่จอดหน้าอาคารผู้โดยสารที่สร้างใหม่ ก็ดูดี สะดวกไปอีกแบบ
AOT รื้อแผนแม่บทสุวรรณภูมิปรับ West Expansion เดินหน้าผุดอาคารทิศใต้กว่า 1.2 แสนลบ.-รันเวย์เส้น 4
https://www.infoquest.co.th/2024/424861
เมื่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าอยู่หน้าอาคารทิศใต้ของสนามบินแล้ว ก็ให้สร้างเชื่อมมาในจุดที่มีผู้คนเดินทางเยอะ ก็คือ สถานีรถโดยสารสุวรรณภูมิ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าลาดกระบัง และปลายทางที่หัวตะเข้ ซึ่งตรงนี้ก็จะเชื่อมต่อกับรถไฟสายสีแดงอ่อนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต สามารถเดินทางไปฉะเชิงเทราได้
สบาย
ทั้ง 3 จุดที่ว่ามา ก็คงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามาก สถานีรถโดยสารสุวรรณภูมิก็เป็นจุดที่คนจำนวนมากต้องมาใช้บริการรถโดยสารเพื่อเดินทางต่อไปยังจุดหมายปลายทางอื่นๆที่ตนต้องการอยู่แล้ว ส่วนสถานีพระจอมเกล้าลาดกระบังก็เป็นจุดที่นักศึกษาม.ลาดกระบังได้เดินทางไปเรียนหนังสือ หัวตะเข้ทุกวันนี้ก็เป็นชุมชนใหญ่ที่ยังขาดรถไฟฟ้า ถ้ามีได้ก็จะสะดวกสบายมาก
อีกอย่าง หัวตะเข้นี่ ถ้าจะให้ดี ก็สร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพูต่อขยายมาถึงนี่เลย เพราะว่า มีแผนจะสร้างต่อขยายจากมีนบุรีมาลาดกระบังอยู่แล้ว สร้างต่อจากลาดกระบังมาหัวตะเข้ ก็อีกนิดเดียว ก็น่าจะทำไป ถ้าทำได้ จะทำให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างสายสีชมพูกับสายสีเงินบางนา-สุรรณภูมิด้วย ตามที่ว่านี้ คนหัวตะเข้จะเดินทางไปไหนมาไหนก็ง่ายมาก รถไฟฟ้า 3 สายจ่อมาในอนาคต ทำเลทองของจริง
พูดถึงรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนที่จะสร้างตั้งแต่บางซื่อถึงฉะเชิงเทรา เฟสแรกถ้าสามารถสร้างตั้งแต่ลาดกระบังถึงฉะเชิงเทรา ก็น่าจะดีกว่าที่จะเริ่มสร้างตั้งแต่บางซื่อมาหัวหมาก เหตุผลก็คือ รถไฟ 3 สนามบินที่กำลังจะสร้างช่วงเม.ย.นี้ ก็ต้องสร้างตั้งแต่บางซื่อมาพญาไทอยู่แล้ว เส้นทางคล้ายสายสีแดงอ่อน แล้วที่เคยอ่านมา ต่อให้สร้างเสร็จก็ยังจะมีการเดินรถธรรมดา city line แบบเดิมร่วมกับรถไฟความเร็วสูงด้วย ซึ่งจะมีเส้นทางรถไฟบางช่วงที่ซ้อนทับกับสายสีแดงอ่อน สามารถทดแทนสายสีแดงอ่อนได้ในบางช่วง ถ้าสร้างรถไฟ 3 สนามบินจากบางซื่อมาพญาไทก่อน ก็จะช่วยให้คนที่ต้องการเดินทางจากบางซื่อมาที่หัวหมาก หรือบางซื่อมาที่ลาดกระบัง เดินทางได้โดยสะดวกในช่วงที่ยังไม่มีสายสีแดงอ่อน ใครที่ต้องการเดินทางจากบางซื่อไปฉะเชิงเทรา ก็นั่งรถไฟ 3 สนามบินจากสถานีบางซื่อมาลงที่สถานีลาดกระบัง แล้วต่อรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนที่ลาดกระบังไปลงที่ฉะเชิงเทราได้ พยายามทำการเชื่อมต่อแอร์พอร์ตลิงค์ลาดกระบังกับสายสีแดงอ่อนลาดกระบังให้ง่ายที่สุด และคนที่นั่งรถไฟสายสีชมพูและสายสีเงินที่จะสร้างใหม่ ก็จะสามารถเดินทางไปฉะเชิงเทราได้ง่ายด้วย
การสร้างที่ว่ามานี้ จะเป็นผลดีแก่ทุกฝ่าย เพราะเก็บกินรายได้ง่าย ถ้าจะมาสร้างรถไฟ 3 สนามบิน จุดแรกก็ให้เริ่มสร้างจากบางซื่อมาที่พญาไทก่อนเป็นอันดับแรก ช่วงนี้ยังขาดอยู่ เป็นช่วงที่เดินทางยากอยู่ ตอบโจทย์คนใช้บริการในเมืองมาก จุดที่สองค่อยสร้างจากบางซื่อมาสนามบินดอนเมือง เพราะการเดินทางจากบางซื่อมาดอนเมือง คนก็ยังมีทางเลือกที่จะนั่งสายสีแดงเข้ม บางซื่อ-รังสิต ถ้ารีบสร้างไป ก็มีโอกาสได้ลูกค้าไม่มากเท่าไร สายสีแดงเข้มมีค่าโดยสารที่ถูกด้วย ควรเน้นจุดบางซื่อ-พญาไท เดินรถแบบ city line ไป เพราะตรงนี้ไม่มีตัวเลือกการเดินทางอื่น คนสร้างเก็บกินรายได้ไปก่อนสบายๆ ส่วนที่เหลือค่อยต่อขยายกันไป
พอสร้างจุดบางซื่อ-พญาไท สำเร็จ ก็ค่อยมาสร้างบางซื่อถึงดอนเมือง เดินรถแบบ city line เหมือนเดิม ทำให้การเดินทางจากสนามบินสุวรรณภูมิมาสนามบินดอนเมือง เป็นเส้นเดียว ไร้รอยต่อ สำหรับบ้านใครที่อยู่ใกล้สถานีแอร์พอร์ตลิงค์ไปสนามบินสุวรรณภูมิหรือสนามบินดอนเมืองก็เดินทางขึ้นที่เดียวจบ ก็จะมีโอกาสลุ้นเอาผู้โดยสารได้มากกว่าสายอื่นๆที่อาจจะต้องต่อรถ 2 สาย หรือ 3 สาย เพื่อมาสนามบินดอนเมือง เช่น เดินทางจากสยามมาดอนเมือง ก็ต้องนั่งสายสีเขียวต่อสายสีน้ำเงินต่อสายสีแดง หรือจากรามคำแหง ก็ต้องนั่งแอร์พอร์ตลิงค์ต่อสายสีน้ำเงินต่อสายสีแดง แต่ถ้าแอร์พอร์ตลิงค์พญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง สร้างเสร็จ ก็เดินทางด้วยรถไฟ 3 สนามบินมาดอนเมืองด้วยความสะดวกสบาย ผู้สร้างก็เก็บกินรายได้ผู้โดยสาร city line จากสุวรรณภูมิมาดอนเมืองก่อน
เมื่อสร้างอย่างที่บอกเสร็จแล้ว ก็มาสร้างจากสุวรรณภูมิไปถึงสนามบินอู่ตะเภาให้เสร็จ แล้วค่อยเอารถไฟความเร็วสูงมาวิ่ง หรือว่าจะสร้างถึงแค่ฉะเชิงเทราก่อน แล้วจะเลือกเอารถไฟความเร็วสูง หรือรถ city line มาวิ่งจากสุวรรณภูมิถึงฉะเชิงเทราก็ได้ อยู่ที่จะเลือก จะสร้างรวดเดียวจนสนามบินอู่ตะเภาเสร็จ หรือถึงแค่พัทยาก่อน แล้วเอารถไฟมาวิ่ง ก็แล้วแต่จะเลือกเอาตามความคุ้มค่า
พยายามอย่าสร้างรถไฟ 3 สนามบินพร้อมกันหรือช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกันกับสร้างสายสีแดงอ่อนในช่วงเส้นทางบางซื่อ-หัวหมาก เพราะจะทำให้ 2 สายนี้ เกิดการแข่งขันหารายได้ในช่วงเส้นทางบางซื่อ-ลาดกระบัง อย่างเร็ว ทั้งรถไฟแอร์พอร์ตลิงค์และรถไฟสายสีแดงอ่อนต่างก็ต้องทนสภาวะขาดทุนนานขึ้นและมากขึ้น แต่ถ้าสร้างอย่างที่บอกมา รถไฟ 2 สายนี้ก็จะเป็นการตอบโจทย์คนละอย่าง เน้นใช้บริการคนละวัตถุประสงค์กัน ตอบโจทย์ลูกค้าคนละแบบ เกิดผลประโยชน์ที่ลงตัวแก่กันมากขึ้น
ที่ว่ามานี้ ก็พิจารณาให้ดี ถ้าลำดับการสร้างดี ก็จะเก็บกินรายได้กันได้ง่าย ไม่ต้องทนสภาวะขาดทุนนาน คุ้มค่าการลงทุน