TAG PR LLC บริษัทประชาสัมพันธ์ชั้นนำจากสหรัฐอเมริกา ที่มีชื่อเสียงจากกลยุทธ์เชิงรุกและเชิงแบ่งขั้วในการจัดการวิกฤตด้านชื่อเสียง ภาพลักษณ์ และรวมไปถึงการสร้างเรื่องราวเผยแพร่สู่สาธารณชน กำลังเผชิญกับแรงวิจารณ์จากการถูกกล่าวหาว่ามีส่วนพัวพันกับการโจมตีชื่อเสียงของ Amber Heard และ Blake Lively โดยข้อกล่าวหาเหล่านี้ชี้ให้เห็นถึงการใช้เทคนิคการประชาสัมพันธ์ที่มุ่งเป้าไปที่การบิดเบือนข้อมูลผ่านสื่อ และการสร้างเรื่องราวเชิงลบเพื่อโน้มน้าวความคิดเห็นของสาธารณชน ซึ่งแคมเปญเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของทาง TAG PR ที่พร้อมจะทำทุกวิถีทางเพื่อปกป้องผลประโยชน์หรือสนับสนุนเป้าหมายบางประการของลูกค้าทุกคนที่ว่าจ้างบริษัทนี้
ในกรณีของ Amber Heard นั้น TAG PR ถูกกล่าวหาว่ามีการปั่นข่าวด้วยเรื่องราวเชิงลบอย่างต่อเนื่อง โดยใช้คดีหมิ่นประมาทของเธอเป็นจุดศูนย์กลางเพื่อผูกโยงกับกระแสสังคม เช่น การต่อต้านขบวนการ MeToo ซึ่งการใช้กลยุทธ์นี้ได้อาศัยความเบื่อหน่ายในขบวนการดังกล่าวและเปลี่ยนความรู้สึกของสาธารณชนให้ต่อต้าน Heard ผ่านเทรนด์ TikTok, มีม และคลิปเสียงที่ถูกปรับแต่ง ซึ่งช่วยตอกย้ำการวิจารณ์ที่รุนแรงต่อเธอ
ส่วนในกรณีของ Blake Lively นั้น TAG PR ก็ถูกกล่าวหาว่ามุ่งเป้าไปที่ชีวิตส่วนตัว จนไปกลบเกลื่อนความสำเร็จในหน้าที่การงานของเธอ โดยพยายามที่จะนำเสนอการกระทำของเธอให้เหมือนเป็นตัวแทนของสิทธิพิเศษทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเป็นการกระตุ้นความไม่พอใจของสาธารณชนเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และสร้างกระแสความไม่พอใจต่อเธอได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยกลยุทธ์ของ TAG PR นั้น มักประกอบด้วยการใช้เครือข่ายบอท, ผู้มีอิทธิพลในสื่อสังคมออนไลน์, และผู้วิจารณ์ที่ได้รับค่าจ้าง เพื่อเผยแพร่เรื่องราวของพวกเขา ซึ่งมีการสร้างภาพลวงตาว่ามีความคิดเห็นที่เป็นเอกฉันท์หรือความไม่พอใจอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ พวกเขายังใช้กลยุทธ์การเบี่ยงเบนความสนใจ เช่น การโยนความผิดให้กับผู้อื่นเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากข้อโต้แย้งที่เกี่ยวข้องกับลูกค้าของพวกเขา รวมไปถึงการใช้ความลำเอียงทางวัฒนธรรมและสังคมเป็นเครื่องมือในการตอกย้ำความรู้สึกเชิงลบ ตัวอย่างเช่น Amber Heard ถูกวางกรอบว่าเป็น "ผู้หญิงที่ไม่น่าไว้วางใจ" ซึ่งสะท้อนภาพลักษณ์เชิงลบที่ฝังลึกเกี่ยวกับเพศ ในขณะที่ Blake Lively ถูกกล่าวหาว่าเป็นคนไม่ตระหนักถึงบริบทของความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจ
ในขณะเดียวกัน HYBE ที่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ TAG PR ก็ถูกกล่าวหาในเรื่องที่คล้ายๆ กันด้วย ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่อมินฮีจิน และ NewJeans ในเกาหลีใต้ โดยหลังจากที่ HYBE เข้าซื้อหุ้น TAG PR LLC ถึง 51% ผ่าน Scooter Braun และ HYBE America (Ithaca Holdings) ทำให้ HYBE สามารถเข้าถึงกลยุทธ์ของ TAG PR ได้ทันที และยังมีการกล่าวหาว่า HYBE ได้มีการใช้กลยุทธ์เหล่านี้ในการโจมตีชื่อเสียงของ มินฮีจิน เพื่อบั่นทอนความน่าเชื่อถือของเธอ และยังมีทำลายชื่อเสียงของ NewJeans อีกด้วย
นอกจากนี้ HYBE ยังถูกกล่าวหาว่าใช้สื่อและอิทธิพลทางการเมืองในการสร้างแคมเปญโจมตีอย่างเป็นระบบ โดยมีการเผยแพร่เนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์มินฮีจินผ่านชุมชนออนไลน์ เช่น DCinside’s Girls Planet 999 Gallery และการสร้างกระแสเชิงลบในโลกออนไลน์ ซึ่งคุณสามารถค้นหารายละเอียดเพิ่มเติมหรือข้อมูลโดยรวมของสิ่งที่ HYBE ทำได้ผ่านคำค้นหา “The sins of HYBE”
แม้ว่าข้อกล่าวหาเหล่าจะนี้ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ แต่ดูเหมือนว่าจะมีแคมเปญที่ใช้บอทในการสร้างกระแสต่อต้านวง NewJeans อย่างหนัก ซึ่งเน้นไปที่การเผยแพร่ข้อกล่าวหาที่เกินจริงและสร้างความตื่นตระหนกในโลกออนไลน์ โดยความพยายามเหล่านี้มีปรากฏให้เห็นในแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น Naver, Daum, Blind รวมถึงส่วนความคิดเห็นในโซเชียลมีเดียและแพลตฟอรัมออนไลน์อื่นๆ อีกด้วย
นอกจากนี้ HYBE ยังถูกกล่าวหาว่า มีการใช้มินฮีจินเป็นแพะรับบาป เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากปัญหาอื่นๆ ภายในบริษัท โดยเฉพาะหลังจากที่เธอออกมาเปิดโปงปัญหาต่างๆ เช่น การที่ HYBE เอาคอนเซปต์ของ NewJeans ไปใช้กับวงเกิร์ลกรุ๊ปอีกวงภายในเครือ, ความล้มเหลวของระบบ Multi-label, และการผลักดันยอดขายอัลบั้มของ HYBE ซึ่งเกิดขึ้นก่อนการตรวจสอบ ADOR ของ HYBE เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2024 และยังจำเหตุการณ์ที่พนักงาน B ที่โพสต์ออกมาจากที่ไหนก็ไม่รู้บน Instagram หลังจากที่บังชีฮยอกมีส่วนพัวพันกับเหตุการณ์ "Juicy" ในสหรัฐอเมริกาได้หรือไม่ สิ่งนี้ก็ไปสอดคล้องกับกลยุทธ์ของ TAG PR ในเรื่องของการเบี่ยงเบนความสนใจของสาธารณชน เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของลูกค้าที่ว่าจ้างกับบริษัท นอกจากนี้ HYBE ยังถูกกล่าวหาว่าใช้ประโยชน์จากเรื่องที่ละเอียดอ่อนในสังคมเกาหลีใต้ เช่น เรื่องอายุ, เพศ, ความอิสระในการสร้างสรรค์ และในกรณีของ Hanni สมาชิกวง NewJeans นั้น ก็ยังมีประเด็นเรื่องของเชื้อชาติ ได้ถูกนำมาใช้ในการโจมตีศิลปินและอดีต CEO ของพวกเธอด้วย ซึ่งการกระทำเหล่านี้ก็ไปสอดคล้องกับกลยุทธ์ของ TAG PR เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากบรรทัดฐานทางวัฒนธรรมในการทำแคมเปญในฝั่งตะวันตก อย่างมีนัยยะสำคัญ
แต่ไม่ว่าจะด้วยเพราะเป็นการประสานงานหรือด้วยเพราะความบังเอิญ กลยุทธ์เหล่านี้ก็สะท้อนถึงวิธีการที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อการจัดการความเห็นสาธารณะเพื่อปกป้องผลประโยชน์และปิดปากผู้เห็นต่างจากตน ซึ่งถ้าหากว่าข้อกล่าวหาเหล่านี้เป็นความจริง ก็ถือเป็นการเปิดโปงอิทธิพลที่เป็นอันตรายของการสร้างแคมเปญโจมตีในอุตสาหกรรมบันเทิงทั้งในโลกตะวันตกและเกาหลีใต้ได้อย่างดีเลยทีเดียว
คำถาม คือ เกิดอะไรขึ้นกับ HYBE ที่แต่ก่อนเคยเป็นค่ายเพลงเล็กๆ ที่มีวิสัยทัศน์ในการสร้างสรรค์ดนตรีที่เข้าถึงผู้ฟังได้อย่างลึกซึ้ง แต่การเปลี่ยนแปลงของ HYBE ให้กลายเป็นบริษัททรงอิทธิพลระดับโลกในปัจจุบัน ก็ได้ก่อให้เกิดคำถามสำคัญขึ้น คือ ตอนนี้ HYBE กลายเป็นอะไรไปแล้ว และทำไมมันจึงห่างไกลจากวิสัยทัศน์ดั้งเดิมในสมัยก่อตั้งบริษัทมากขนาดนี้ และเมื่ออิทธิพลของ HYBE ขยายตัวขึ้น ก็ยิ่งทำให้การตรวจสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วนเกี่ยวกับวิธีการและแรงจูงใจของ HYBE เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
โพสต์ภาษาอังกฤษที่นำมาแปล:
https://x.com/juantokki/status/1870795625425719315?t=9Gy1tkU39_2iWs4RiPmzGw&s=19
***กระทู้นี้เป็นเพียงบทวิเคราะห์ ซึ่งเนื้อหาทั้งหมดเป็นการวิเคราะห์จากแอคเคาท์ x ชื่อ juantokki ซึ่งผมรู้สึกว่าน่าสนใจดี เลยนำมาแปลให้ทุกคนได้ลองอ่าน และคิดวิเคราะห์กันอย่างมีสติ ยังไงขอให้ทุกคนฟังหูไว้หูนะ***
[บทวิเคราะห์] ความคล้ายคลึงเชิงกลยุทธ์ระหว่าง TAG PR ในสหรัฐฯ และ HYBE ในเกาหลีใต้
ในกรณีของ Amber Heard นั้น TAG PR ถูกกล่าวหาว่ามีการปั่นข่าวด้วยเรื่องราวเชิงลบอย่างต่อเนื่อง โดยใช้คดีหมิ่นประมาทของเธอเป็นจุดศูนย์กลางเพื่อผูกโยงกับกระแสสังคม เช่น การต่อต้านขบวนการ MeToo ซึ่งการใช้กลยุทธ์นี้ได้อาศัยความเบื่อหน่ายในขบวนการดังกล่าวและเปลี่ยนความรู้สึกของสาธารณชนให้ต่อต้าน Heard ผ่านเทรนด์ TikTok, มีม และคลิปเสียงที่ถูกปรับแต่ง ซึ่งช่วยตอกย้ำการวิจารณ์ที่รุนแรงต่อเธอ
ส่วนในกรณีของ Blake Lively นั้น TAG PR ก็ถูกกล่าวหาว่ามุ่งเป้าไปที่ชีวิตส่วนตัว จนไปกลบเกลื่อนความสำเร็จในหน้าที่การงานของเธอ โดยพยายามที่จะนำเสนอการกระทำของเธอให้เหมือนเป็นตัวแทนของสิทธิพิเศษทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเป็นการกระตุ้นความไม่พอใจของสาธารณชนเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และสร้างกระแสความไม่พอใจต่อเธอได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยกลยุทธ์ของ TAG PR นั้น มักประกอบด้วยการใช้เครือข่ายบอท, ผู้มีอิทธิพลในสื่อสังคมออนไลน์, และผู้วิจารณ์ที่ได้รับค่าจ้าง เพื่อเผยแพร่เรื่องราวของพวกเขา ซึ่งมีการสร้างภาพลวงตาว่ามีความคิดเห็นที่เป็นเอกฉันท์หรือความไม่พอใจอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ พวกเขายังใช้กลยุทธ์การเบี่ยงเบนความสนใจ เช่น การโยนความผิดให้กับผู้อื่นเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากข้อโต้แย้งที่เกี่ยวข้องกับลูกค้าของพวกเขา รวมไปถึงการใช้ความลำเอียงทางวัฒนธรรมและสังคมเป็นเครื่องมือในการตอกย้ำความรู้สึกเชิงลบ ตัวอย่างเช่น Amber Heard ถูกวางกรอบว่าเป็น "ผู้หญิงที่ไม่น่าไว้วางใจ" ซึ่งสะท้อนภาพลักษณ์เชิงลบที่ฝังลึกเกี่ยวกับเพศ ในขณะที่ Blake Lively ถูกกล่าวหาว่าเป็นคนไม่ตระหนักถึงบริบทของความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจ
ในขณะเดียวกัน HYBE ที่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ TAG PR ก็ถูกกล่าวหาในเรื่องที่คล้ายๆ กันด้วย ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่อมินฮีจิน และ NewJeans ในเกาหลีใต้ โดยหลังจากที่ HYBE เข้าซื้อหุ้น TAG PR LLC ถึง 51% ผ่าน Scooter Braun และ HYBE America (Ithaca Holdings) ทำให้ HYBE สามารถเข้าถึงกลยุทธ์ของ TAG PR ได้ทันที และยังมีการกล่าวหาว่า HYBE ได้มีการใช้กลยุทธ์เหล่านี้ในการโจมตีชื่อเสียงของ มินฮีจิน เพื่อบั่นทอนความน่าเชื่อถือของเธอ และยังมีทำลายชื่อเสียงของ NewJeans อีกด้วย
นอกจากนี้ HYBE ยังถูกกล่าวหาว่าใช้สื่อและอิทธิพลทางการเมืองในการสร้างแคมเปญโจมตีอย่างเป็นระบบ โดยมีการเผยแพร่เนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์มินฮีจินผ่านชุมชนออนไลน์ เช่น DCinside’s Girls Planet 999 Gallery และการสร้างกระแสเชิงลบในโลกออนไลน์ ซึ่งคุณสามารถค้นหารายละเอียดเพิ่มเติมหรือข้อมูลโดยรวมของสิ่งที่ HYBE ทำได้ผ่านคำค้นหา “The sins of HYBE”
แม้ว่าข้อกล่าวหาเหล่าจะนี้ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ แต่ดูเหมือนว่าจะมีแคมเปญที่ใช้บอทในการสร้างกระแสต่อต้านวง NewJeans อย่างหนัก ซึ่งเน้นไปที่การเผยแพร่ข้อกล่าวหาที่เกินจริงและสร้างความตื่นตระหนกในโลกออนไลน์ โดยความพยายามเหล่านี้มีปรากฏให้เห็นในแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น Naver, Daum, Blind รวมถึงส่วนความคิดเห็นในโซเชียลมีเดียและแพลตฟอรัมออนไลน์อื่นๆ อีกด้วย
นอกจากนี้ HYBE ยังถูกกล่าวหาว่า มีการใช้มินฮีจินเป็นแพะรับบาป เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากปัญหาอื่นๆ ภายในบริษัท โดยเฉพาะหลังจากที่เธอออกมาเปิดโปงปัญหาต่างๆ เช่น การที่ HYBE เอาคอนเซปต์ของ NewJeans ไปใช้กับวงเกิร์ลกรุ๊ปอีกวงภายในเครือ, ความล้มเหลวของระบบ Multi-label, และการผลักดันยอดขายอัลบั้มของ HYBE ซึ่งเกิดขึ้นก่อนการตรวจสอบ ADOR ของ HYBE เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2024 และยังจำเหตุการณ์ที่พนักงาน B ที่โพสต์ออกมาจากที่ไหนก็ไม่รู้บน Instagram หลังจากที่บังชีฮยอกมีส่วนพัวพันกับเหตุการณ์ "Juicy" ในสหรัฐอเมริกาได้หรือไม่ สิ่งนี้ก็ไปสอดคล้องกับกลยุทธ์ของ TAG PR ในเรื่องของการเบี่ยงเบนความสนใจของสาธารณชน เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของลูกค้าที่ว่าจ้างกับบริษัท นอกจากนี้ HYBE ยังถูกกล่าวหาว่าใช้ประโยชน์จากเรื่องที่ละเอียดอ่อนในสังคมเกาหลีใต้ เช่น เรื่องอายุ, เพศ, ความอิสระในการสร้างสรรค์ และในกรณีของ Hanni สมาชิกวง NewJeans นั้น ก็ยังมีประเด็นเรื่องของเชื้อชาติ ได้ถูกนำมาใช้ในการโจมตีศิลปินและอดีต CEO ของพวกเธอด้วย ซึ่งการกระทำเหล่านี้ก็ไปสอดคล้องกับกลยุทธ์ของ TAG PR เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากบรรทัดฐานทางวัฒนธรรมในการทำแคมเปญในฝั่งตะวันตก อย่างมีนัยยะสำคัญ
แต่ไม่ว่าจะด้วยเพราะเป็นการประสานงานหรือด้วยเพราะความบังเอิญ กลยุทธ์เหล่านี้ก็สะท้อนถึงวิธีการที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อการจัดการความเห็นสาธารณะเพื่อปกป้องผลประโยชน์และปิดปากผู้เห็นต่างจากตน ซึ่งถ้าหากว่าข้อกล่าวหาเหล่านี้เป็นความจริง ก็ถือเป็นการเปิดโปงอิทธิพลที่เป็นอันตรายของการสร้างแคมเปญโจมตีในอุตสาหกรรมบันเทิงทั้งในโลกตะวันตกและเกาหลีใต้ได้อย่างดีเลยทีเดียว
คำถาม คือ เกิดอะไรขึ้นกับ HYBE ที่แต่ก่อนเคยเป็นค่ายเพลงเล็กๆ ที่มีวิสัยทัศน์ในการสร้างสรรค์ดนตรีที่เข้าถึงผู้ฟังได้อย่างลึกซึ้ง แต่การเปลี่ยนแปลงของ HYBE ให้กลายเป็นบริษัททรงอิทธิพลระดับโลกในปัจจุบัน ก็ได้ก่อให้เกิดคำถามสำคัญขึ้น คือ ตอนนี้ HYBE กลายเป็นอะไรไปแล้ว และทำไมมันจึงห่างไกลจากวิสัยทัศน์ดั้งเดิมในสมัยก่อตั้งบริษัทมากขนาดนี้ และเมื่ออิทธิพลของ HYBE ขยายตัวขึ้น ก็ยิ่งทำให้การตรวจสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วนเกี่ยวกับวิธีการและแรงจูงใจของ HYBE เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
โพสต์ภาษาอังกฤษที่นำมาแปล: https://x.com/juantokki/status/1870795625425719315?t=9Gy1tkU39_2iWs4RiPmzGw&s=19
***กระทู้นี้เป็นเพียงบทวิเคราะห์ ซึ่งเนื้อหาทั้งหมดเป็นการวิเคราะห์จากแอคเคาท์ x ชื่อ juantokki ซึ่งผมรู้สึกว่าน่าสนใจดี เลยนำมาแปลให้ทุกคนได้ลองอ่าน และคิดวิเคราะห์กันอย่างมีสติ ยังไงขอให้ทุกคนฟังหูไว้หูนะ***