ขอบคุณที่มา:
https://mgronline.com/daily/detail/9670000119588?tbref=hp
ผู้จัดการสุดสัปดาห์ - เรื่องใกล้ตัวคนใช้รถต้องรู้ คปภ. เตรียมสังคายนา “กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์” บังคับระบุชื่อผู้คนขับ คํานวณเบี้ยประกันจากพฤติกรรมการขับขี่ กลุ่มขับรถดี - ไม่มีเคลม ลดเบี้ยสูงสุด 40% กลุ่มเฮียขับรถ ประวัติเคลมสูง จ่ายเบี้ยอ่วม นำร่องรถป้ายแดง 1 มกราคม 2568 ก่อนบังคับใช้ทั้งประเทศในปี 2569 หวังสร้างสำนึกคนขับลดอุบัติเหตุจราจร
ความคืบหลังจาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดรับฟังความคิดเห็น (เฮียริ่ง) เพื่อทบทวนเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ (สันดาป) ทั้งหมด ได้ข้อสรุปปรับแก้กรมธรรม์ประกันยนต์ครั้งใหญ่ในรอบ 20 ปี ทั้งประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 ประเภท 2 และประเภท 3 หลังจากมีการทบทวนแก้ไขพิกัดอัตราเบี้ยใหม่ (Tariff Rate) ในกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ตั้งแต่ปี 2540 และมีการปรับเงื่อนไขเพิ่มเติม ปี 2550
นายอาภากร ปานเลิศ รองเลขาธิการด้านกำกับ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยความว่า จะมีปรับแก้เงื่อนไขเบี้ยประกันกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์โดยนำเอาเรื่องพฤติกรรมการขับขี่ หรือนำความเสี่ยงในการขับขี่ของแต่ละบุคคลมากำหนดเบี้ยประกัน
ทั้งนี้ มีต้นแบบมาจากเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้า (BEV) ซึ่งบังคับให้ต้องระบุชื่อผู้ขับขี่ โดยนำมาปรับใช้กับรถยนต์สันดาปในการคำนวณค่าเบี้ยประกันที่เหมาะสมต่อความเสี่ยงของผู้ขับขี่ โดยสามารถระบุชื่อผู้ขับขี่ต่อกรมธรรม์ได้สูงสุด 5 รายเท่านั้น นับเป็นความเปลี่ยนแปลงจากจากปัจจุบันกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ในปัจจุบันที่ไม่ได้กำหนดให้ระบุชื่อผู้ขับขี่ แต่เป็นการเพิ่มทางเลือกให้ซื้อกรมธรรม์แบบระบุชื่อผู้ขับขี่ได้ เพื่อให้ได้ค่าเบี้ยประกันถูกลง โดยกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ใหญ่จะระบุชื่อผู้ขับขี่ 1-2 รายชื่อ
และในส่วนของเงื่อนไขเบี้ยประกันใหม่จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ลูกค้าประวัติดี ไม่มีเคลม จะได้รับส่วนลดเบี้ยประกันสูงสุดถึง 40% ซึ่งแต่ตรงนี้จะไม่ติดตัวผู้ขับขี่ไป เนื่องจากเป็นเงื่อนไขสัญญาระหว่างบริษัทประกันภัยและผู้เอาประกันภัย และ ประวัติการขับขี่ หากผู้ขับขี่มีประวัติขับรถดี ไม่มีเคลม จะได้ส่วนลดติดตัวไปสูงสุดถึง 40%
กล่าวคือประวัติดีจะติดตัวลูกค้าไปหากไปทำประกันภัยรถยนต์กับบริษัทใหม่ โดยทางบริษัทประกันภัยนั้นๆ คำนวณลดค่าเบี้ยประกันสูงสุด 40 % ให้แก่ลูกค้าประวัติไม่มีเครม ตรงกันข้ามลูกค้ามีประวัติเครมบ่อยเกิดอุบัติเหตุถี่ บริษัทประกันภัยนั้นๆ จะสามารถชาร์จเบี้ยประกันได้สูงสุดถึง 40% เช่นกัน
อย่างไรก็ดี คปภ. เตรียมบังคับใช้เงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 เป็นต้นไป โดยจะมีการนำร่องเริ่มบังคับใช้กับรถใหม่ (ป้ายแดง) ของรถสันดาปและรถไฮบริดก่อน จากนั้นตั้งแต่ 1 มกราคม 2569 เป็นต้นไป จะประกาศบังคับใช้กับรถยนต์ที่ใช้งานอยู่ทั้งหมดในประเทศไทย ตามลำดับ
ประเด็นที่น่าจับตา การปรับเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยรถในครั้งนี้มุ่งหวังในเรื่องการปรับพฤติกรรมการขับขี่ปลอดภัยเพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนน
นายอาภากร รองฯ คปภ. อธิบายเพิ่มเติมความว่าเป็นการพิจารณาปรับเบี้ยประกันภัยสอดคล้องกับพฤติกรรมความเสี่ยงของผู้ขับขี่แต่ละคน เมื่อสามารถจัดเก็บพฤติกรรมการขับขี่รายบุคคลได้มากขึ้น ผู้ขับขี่ที่ขับขี่แล้วเกิดอุบัติเหตุบ่อยก็ควรจะต้องจ่ายค่าเบี้ยที่แพงขึ้น ขณะเดียวกัน ผู้ที่ขับรถดีมีความระมัดระวังไม่เคยเกิดเหตุ หรือไม่ใช่ฝ่ายผิด ก็ควรจ่ายค่าเบี้ยประกันในราคาถูกลง
มุ่งหวังเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญให้คนขับรถดีขึ้น มีวินัยจราจร ขับขี่ปลอดภัย ซึ่งจะช่วยลดสถิติการเกิดอุบัติเหตุในประเทศไทยลง
ต้องไม่ลืมว่า สถิติการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนเมืองไทยสูงติดอันดับโลก อ้างอิงข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ตามรายงาน Global Status Reports on Road Safety ข้อมูล ปี 2567 ระบุว่า ทุกๆ ปี มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนกว่า 1.19 ล้านคน หรือคิดเป็น 15 คนต่อแสนประชากร โดย 92% เกิดขึ้นในประเทศรายได้ต่ำและปานกลาง โดยประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนถึง 18,218 คน หรือ 25 คนต่อแสนประชากร
นอกจากนี้ สถิติมูลค่าความเสียหายระหว่างปี 2562 – 2566 โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (CRIMES) เปิดเผยตัวเลขความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุบนท้องถนน ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 303,715.4 ล้านบาทต่อปี
แน่นอนว่า การทบทวนเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยรถของ คปภ. เป็นแนวความคิดที่ดี ดร.สมพร สืบถวิลกุล ในฐานะนายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย ระบุความว่าการบังคับระบุชื่อผู้ขับขี่จะทำให้บริษัทประกันภัยรู้ว่าใครเป็นคนที่มีพฤติกรรมการขับขี่ที่ปลอดภัยหรือไม่ ทั้งนี้ จะส่งผลให้การกำหนดค่าเบี้ย (Pricing) ในอนาคตจะนำไปสู่ Pricing ที่เหมาะสมยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ดี ธุรกิจประกันวินาศภัยไทยยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายอย่างต่อเนื่อง สำหรับภาพรวมตลาดประกันภัยรถยนต์ในปี 2568 ทางสมาคมฯ มองว่ามีโอกาสที่จะเติบโตขึ้นได้ประมาณ 3 - 5%
ในส่วนของภาคธุรกิจประกันประเมินสถานการณ์สอดคล้องกันว่าการปรับเงื่อนไขกรมธรรม์รถยนต์ของ คปภ. การเครมประกันลดลง ส่งผลต่ออัตราความเสียหาย (Loss Ratio) ลดลง 10%
สำหรับธุรกิจประกันภัยรถภาคสมัครใจ บ.วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา รับประกันภัยรถยนต์อยู่ประมาณ 1.5 ล้านคัน เบี้ยกว่า 3 หมื่นล้านบาท เติบโต 1.2% YOY รวมพอร์ตประกันรถอีวีที่รับประกันอยู่ 49,000 คัน คิดเป็นเบี้ยประกัน 1,130 ล้านบาท ซึ่งในช่วงเดือน ธ.ค. เป็นช่วงพีกการต่ออายุประกันรถ คาดว่ายอดเบี้ยประกันรถยนต์แตะ 3.8 หมื่นล้านบาท โดยปัจจุบันบริษัทมีอัตราการต่ออายุประกันรถยนต์สูงถึง 80% ทั้งนี้ อัตราความเสียหาย (Loss Ratio) ในการเคลมประกันรถยนต์ของ บ.วิริยะฯ อยู่ที่ 57% ยอดเคลมประกันรถยนต์เพิ่มขึ้น 6% YOY หรือประมาณ 6 แสนเคลม แต่ยังมียังมีกำไร ดังนั้น จะไม่มีปรับเบี้ยประกัน
ขณะที่ บ.กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ช่วง 9 เดือนของปี 2567 ตัวเลขการเครมสูงขึ้น ปรับเพิ่มจากระดับ 56% เป็น 59% อัตราความเสียหาย (Loss Ratio) ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากว่า 3% โดยประมาณการปรับลดเป้าเบี้ยรับปี 2567 ลงมาที่ 32,000 ล้านบาท (โต 7%) จากเดิมที่ตั้งไว้ 32,400 ล้านบาท (โต 8%) เนื่องจากตลาดประกันวินาศภัยไทยที่มีความเปราะบาง เบี้ยรับรวมติดลบ 0.5%
เป็นผลมาจากยอดขายรถยนต์ใหม่ปี 2567 หดตัวแรง ซึ่งคาดว่าปี 2568 คงเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เนื่องจากความเปราะบางของเศรษฐกิจ นโยบายการปล่อยสินเชื่อของไฟแนนซ์เข้มงวด เพื่อลดอัตราการเกิดหนี้เสีย (NPL) ส่งผลต่อยอดขายรถยนต์ใหม่กระทบการเติบโตของตลาดประกันรถยนต์
ขณะที่ บ.ทีคิวเอ็ม อัลฟา จำกัด (มหาชน) หรือ TQM เผยไตรมาส 4/2567 เติบโตเนื่องจากเป็น High Season ตามปกติของธุรกิจประกัน จากทั้งประกันรถยนต์ ที่มีโอกาสเติบโตจากการต่ออายุ, ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ตรงตามความต้องการของลูกค้า
และสุดท้ายยังคงต้องติดตามว่าการปรับแก้เงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ของ คปภ. โดยเฉพาะกรณี ขับรถดี ไม่มีเคลม ลดเบี้ยสูงสุด 40% ส่วนเฮียขับรถ เคลมสูง ชาร์จเบี้ย 40% จะสร้างความเปลี่ยนแปลงทางอ้อมในเชิงพฤติกรรมการขับขี่ที่ดีบนท้องถนนเมืองไทยได้หรือไม่
ส่วนภาคธุรกิจประกันวินาศภัยไทยแม้เผชิญกับความท้าทายแต่ยังเติบโตต่อเนื่อง.
“ขับรถดี เบี้ยลด - เฮียขับรถ เบี้ยเพิ่ม” คปภ. รื้อกรมธรรม์ประกันรถยนต์
ขอบคุณที่มา: https://mgronline.com/daily/detail/9670000119588?tbref=hp
ผู้จัดการสุดสัปดาห์ - เรื่องใกล้ตัวคนใช้รถต้องรู้ คปภ. เตรียมสังคายนา “กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์” บังคับระบุชื่อผู้คนขับ คํานวณเบี้ยประกันจากพฤติกรรมการขับขี่ กลุ่มขับรถดี - ไม่มีเคลม ลดเบี้ยสูงสุด 40% กลุ่มเฮียขับรถ ประวัติเคลมสูง จ่ายเบี้ยอ่วม นำร่องรถป้ายแดง 1 มกราคม 2568 ก่อนบังคับใช้ทั้งประเทศในปี 2569 หวังสร้างสำนึกคนขับลดอุบัติเหตุจราจร
ความคืบหลังจาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดรับฟังความคิดเห็น (เฮียริ่ง) เพื่อทบทวนเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ (สันดาป) ทั้งหมด ได้ข้อสรุปปรับแก้กรมธรรม์ประกันยนต์ครั้งใหญ่ในรอบ 20 ปี ทั้งประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 ประเภท 2 และประเภท 3 หลังจากมีการทบทวนแก้ไขพิกัดอัตราเบี้ยใหม่ (Tariff Rate) ในกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ตั้งแต่ปี 2540 และมีการปรับเงื่อนไขเพิ่มเติม ปี 2550
นายอาภากร ปานเลิศ รองเลขาธิการด้านกำกับ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยความว่า จะมีปรับแก้เงื่อนไขเบี้ยประกันกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์โดยนำเอาเรื่องพฤติกรรมการขับขี่ หรือนำความเสี่ยงในการขับขี่ของแต่ละบุคคลมากำหนดเบี้ยประกัน
ทั้งนี้ มีต้นแบบมาจากเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้า (BEV) ซึ่งบังคับให้ต้องระบุชื่อผู้ขับขี่ โดยนำมาปรับใช้กับรถยนต์สันดาปในการคำนวณค่าเบี้ยประกันที่เหมาะสมต่อความเสี่ยงของผู้ขับขี่ โดยสามารถระบุชื่อผู้ขับขี่ต่อกรมธรรม์ได้สูงสุด 5 รายเท่านั้น นับเป็นความเปลี่ยนแปลงจากจากปัจจุบันกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ในปัจจุบันที่ไม่ได้กำหนดให้ระบุชื่อผู้ขับขี่ แต่เป็นการเพิ่มทางเลือกให้ซื้อกรมธรรม์แบบระบุชื่อผู้ขับขี่ได้ เพื่อให้ได้ค่าเบี้ยประกันถูกลง โดยกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ใหญ่จะระบุชื่อผู้ขับขี่ 1-2 รายชื่อ
และในส่วนของเงื่อนไขเบี้ยประกันใหม่จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ลูกค้าประวัติดี ไม่มีเคลม จะได้รับส่วนลดเบี้ยประกันสูงสุดถึง 40% ซึ่งแต่ตรงนี้จะไม่ติดตัวผู้ขับขี่ไป เนื่องจากเป็นเงื่อนไขสัญญาระหว่างบริษัทประกันภัยและผู้เอาประกันภัย และ ประวัติการขับขี่ หากผู้ขับขี่มีประวัติขับรถดี ไม่มีเคลม จะได้ส่วนลดติดตัวไปสูงสุดถึง 40%
กล่าวคือประวัติดีจะติดตัวลูกค้าไปหากไปทำประกันภัยรถยนต์กับบริษัทใหม่ โดยทางบริษัทประกันภัยนั้นๆ คำนวณลดค่าเบี้ยประกันสูงสุด 40 % ให้แก่ลูกค้าประวัติไม่มีเครม ตรงกันข้ามลูกค้ามีประวัติเครมบ่อยเกิดอุบัติเหตุถี่ บริษัทประกันภัยนั้นๆ จะสามารถชาร์จเบี้ยประกันได้สูงสุดถึง 40% เช่นกัน
อย่างไรก็ดี คปภ. เตรียมบังคับใช้เงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 เป็นต้นไป โดยจะมีการนำร่องเริ่มบังคับใช้กับรถใหม่ (ป้ายแดง) ของรถสันดาปและรถไฮบริดก่อน จากนั้นตั้งแต่ 1 มกราคม 2569 เป็นต้นไป จะประกาศบังคับใช้กับรถยนต์ที่ใช้งานอยู่ทั้งหมดในประเทศไทย ตามลำดับ
ประเด็นที่น่าจับตา การปรับเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยรถในครั้งนี้มุ่งหวังในเรื่องการปรับพฤติกรรมการขับขี่ปลอดภัยเพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนน
นายอาภากร รองฯ คปภ. อธิบายเพิ่มเติมความว่าเป็นการพิจารณาปรับเบี้ยประกันภัยสอดคล้องกับพฤติกรรมความเสี่ยงของผู้ขับขี่แต่ละคน เมื่อสามารถจัดเก็บพฤติกรรมการขับขี่รายบุคคลได้มากขึ้น ผู้ขับขี่ที่ขับขี่แล้วเกิดอุบัติเหตุบ่อยก็ควรจะต้องจ่ายค่าเบี้ยที่แพงขึ้น ขณะเดียวกัน ผู้ที่ขับรถดีมีความระมัดระวังไม่เคยเกิดเหตุ หรือไม่ใช่ฝ่ายผิด ก็ควรจ่ายค่าเบี้ยประกันในราคาถูกลง
มุ่งหวังเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญให้คนขับรถดีขึ้น มีวินัยจราจร ขับขี่ปลอดภัย ซึ่งจะช่วยลดสถิติการเกิดอุบัติเหตุในประเทศไทยลง
ต้องไม่ลืมว่า สถิติการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนเมืองไทยสูงติดอันดับโลก อ้างอิงข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ตามรายงาน Global Status Reports on Road Safety ข้อมูล ปี 2567 ระบุว่า ทุกๆ ปี มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนกว่า 1.19 ล้านคน หรือคิดเป็น 15 คนต่อแสนประชากร โดย 92% เกิดขึ้นในประเทศรายได้ต่ำและปานกลาง โดยประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนถึง 18,218 คน หรือ 25 คนต่อแสนประชากร
นอกจากนี้ สถิติมูลค่าความเสียหายระหว่างปี 2562 – 2566 โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (CRIMES) เปิดเผยตัวเลขความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุบนท้องถนน ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 303,715.4 ล้านบาทต่อปี
แน่นอนว่า การทบทวนเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยรถของ คปภ. เป็นแนวความคิดที่ดี ดร.สมพร สืบถวิลกุล ในฐานะนายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย ระบุความว่าการบังคับระบุชื่อผู้ขับขี่จะทำให้บริษัทประกันภัยรู้ว่าใครเป็นคนที่มีพฤติกรรมการขับขี่ที่ปลอดภัยหรือไม่ ทั้งนี้ จะส่งผลให้การกำหนดค่าเบี้ย (Pricing) ในอนาคตจะนำไปสู่ Pricing ที่เหมาะสมยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ดี ธุรกิจประกันวินาศภัยไทยยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายอย่างต่อเนื่อง สำหรับภาพรวมตลาดประกันภัยรถยนต์ในปี 2568 ทางสมาคมฯ มองว่ามีโอกาสที่จะเติบโตขึ้นได้ประมาณ 3 - 5%
ในส่วนของภาคธุรกิจประกันประเมินสถานการณ์สอดคล้องกันว่าการปรับเงื่อนไขกรมธรรม์รถยนต์ของ คปภ. การเครมประกันลดลง ส่งผลต่ออัตราความเสียหาย (Loss Ratio) ลดลง 10%
สำหรับธุรกิจประกันภัยรถภาคสมัครใจ บ.วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา รับประกันภัยรถยนต์อยู่ประมาณ 1.5 ล้านคัน เบี้ยกว่า 3 หมื่นล้านบาท เติบโต 1.2% YOY รวมพอร์ตประกันรถอีวีที่รับประกันอยู่ 49,000 คัน คิดเป็นเบี้ยประกัน 1,130 ล้านบาท ซึ่งในช่วงเดือน ธ.ค. เป็นช่วงพีกการต่ออายุประกันรถ คาดว่ายอดเบี้ยประกันรถยนต์แตะ 3.8 หมื่นล้านบาท โดยปัจจุบันบริษัทมีอัตราการต่ออายุประกันรถยนต์สูงถึง 80% ทั้งนี้ อัตราความเสียหาย (Loss Ratio) ในการเคลมประกันรถยนต์ของ บ.วิริยะฯ อยู่ที่ 57% ยอดเคลมประกันรถยนต์เพิ่มขึ้น 6% YOY หรือประมาณ 6 แสนเคลม แต่ยังมียังมีกำไร ดังนั้น จะไม่มีปรับเบี้ยประกัน
ขณะที่ บ.กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ช่วง 9 เดือนของปี 2567 ตัวเลขการเครมสูงขึ้น ปรับเพิ่มจากระดับ 56% เป็น 59% อัตราความเสียหาย (Loss Ratio) ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากว่า 3% โดยประมาณการปรับลดเป้าเบี้ยรับปี 2567 ลงมาที่ 32,000 ล้านบาท (โต 7%) จากเดิมที่ตั้งไว้ 32,400 ล้านบาท (โต 8%) เนื่องจากตลาดประกันวินาศภัยไทยที่มีความเปราะบาง เบี้ยรับรวมติดลบ 0.5%
เป็นผลมาจากยอดขายรถยนต์ใหม่ปี 2567 หดตัวแรง ซึ่งคาดว่าปี 2568 คงเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เนื่องจากความเปราะบางของเศรษฐกิจ นโยบายการปล่อยสินเชื่อของไฟแนนซ์เข้มงวด เพื่อลดอัตราการเกิดหนี้เสีย (NPL) ส่งผลต่อยอดขายรถยนต์ใหม่กระทบการเติบโตของตลาดประกันรถยนต์
ขณะที่ บ.ทีคิวเอ็ม อัลฟา จำกัด (มหาชน) หรือ TQM เผยไตรมาส 4/2567 เติบโตเนื่องจากเป็น High Season ตามปกติของธุรกิจประกัน จากทั้งประกันรถยนต์ ที่มีโอกาสเติบโตจากการต่ออายุ, ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ตรงตามความต้องการของลูกค้า
และสุดท้ายยังคงต้องติดตามว่าการปรับแก้เงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ของ คปภ. โดยเฉพาะกรณี ขับรถดี ไม่มีเคลม ลดเบี้ยสูงสุด 40% ส่วนเฮียขับรถ เคลมสูง ชาร์จเบี้ย 40% จะสร้างความเปลี่ยนแปลงทางอ้อมในเชิงพฤติกรรมการขับขี่ที่ดีบนท้องถนนเมืองไทยได้หรือไม่
ส่วนภาคธุรกิจประกันวินาศภัยไทยแม้เผชิญกับความท้าทายแต่ยังเติบโตต่อเนื่อง.