คปภ.ยกเครื่อง “ประกันรถยนต์” ในรอบเกือบ 20 ปี ใช้ต้นแบบประกันรถอีวี บังคับระบุชื่อผู้ขับขี่ คิดค่าเบี้ยรายบุคคลตามพฤติกรรม-ประวัติขับขี่ เผย “ประวัติดี-ไม่มีเคลม” รับส่วนลดเบี้ยสูงสุด 40% ส่วนกลุ่มเคลมสูงเจอชาร์จเบี้ยสูงสุด 40% ดีเดย์นำร่อง 1 ม.ค. 68 สำหรับรถใหม่ป้ายแดง และปี’69 ใช้กับรถยนต์ทั้งประเทศ หวังสร้างจุดเปลี่ยนคนขับรถดีขึ้น-ลดสถิติการเกิดอุบัติเหตุจากที่ติดอันดับโลก สมาคมประกันฯขานรับชี้ช่วยให้การกำหนดค่าเบี้ยในอนาคตเหมาะสมมากขึ้น ลุ้นเบี้ยรถยนต์ปี’68 โต 3-5% “วิริยะ-กรุงเทพ” เชื่อช่วยลดเคลมลงได้ 10%
รื้อแบบ “ประกันรถ” รอบ 20 ปี
นายอาภากร ปานเลิศ รองเลขาธิการด้านกำกับ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า สำนักงาน คปภ. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็น (เฮียริ่ง) เพื่อทบทวนเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ (สันดาป) ทั้งหมด
ไม่ว่าจะเป็นประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 ประเภท 2 และประเภท 3 ซึ่งจะเป็นการยกเครื่องกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ในรอบเกือบ 20 ปี หลังจากมีการทบทวนแก้ไขพิกัดอัตราเบี้ยใหม่ (Tariff Rate) ในกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ตั้งแต่ปี 2540 และต่อมาได้ปรับเงื่อนไขเพิ่มเติมอีกครั้งเมื่อปี 2550
โดยครั้งนี้จะนำเอาเรื่องพฤติกรรมการขับขี่หรือนำความเสี่ยงในการขับขี่จริงของแต่ละบุคคลมากำหนดเบี้ยประกัน โดยจะใช้ต้นแบบเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้า (BEV) ที่บังคับให้ต้องระบุชื่อผู้ขับขี่ มาปรับใช้กับรถยนต์สันดาป เพื่อให้มีการโค้ดค่าเบี้ยประกันที่เหมาะสมต่อความเสี่ยงของผู้ขับขี่
โดยสามารถระบุชื่อผู้ขับขี่ต่อกรมธรรม์ได้สูงสุด 5 ราย จากปัจจุบันกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ไม่ต้องระบุชื่อผู้ขับขี่ และเพิ่มทางเลือกให้ซื้อกรมธรรม์แบบระบุชื่อผู้ขับขี่ได้ เพื่อให้ได้ค่าเบี้ยที่ถูกลง ซึ่งปัจจุบันส่วนใหญ่จะระบุชื่อผู้ขับขี่อยู่ประมาณ 1-2 ราย
ขับรถแย่เจอชาร์จเบี้ยเพิ่ม 40%
นอกจากนี้ เงื่อนไขใหม่จะมีส่วนลดเบี้ยประกันอยู่ 2 ส่วน คือ 1.ส่วนของกรมธรรม์ ถ้าไม่มีเคลมลูกค้าจะได้รับส่วนลดสูงสุดถึง 40% แต่ตรงนี้จะไม่ติดตัวผู้ขับขี่ไป เพราะเป็นเงื่อนไขสัญญาระหว่างบริษัทประกันภัยและผู้เอาประกันภัย แต่ส่วนที่ 2.ประวัติการขับขี่ หากผู้ขับขี่มีประวัติขับรถดี ไม่มีเคลม จะได้ส่วนลดติดตัวไปสูงสุดถึง 40%
ยกตัวอย่าง นาย A ขับรถดีมา 3 ปี ประวัตินี้จะติดตัวไปด้วย เมื่อไปทำประกันภัยรถยนต์กับบริษัทใหม่ ทางบริษัทประกันภัยนั้น ๆ จะนำประวัติ 3 ปีที่ขับดีมาคำนวณค่าเบี้ยประกัน แต่หากผู้ขับขี่เกิดอุบัติเหตุบ่อย/เคลมบ่อย บริษัทประกันภัยก็สามารถชาร์จเบี้ยประกันได้สูงสุดถึง 40% เช่นกัน
ดีเดย์รถป้ายแดง 1 ม.ค. 68
นายอาภากรกล่าวต่อว่า ไทม์ไลน์การบังคับใช้จะกำหนดให้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2568 เป็นต้นไป จะให้เริ่มบังคับใช้กับรถใหม่ (ป้ายแดง) ของรถสันดาปและรถไฮบริดก่อน และตั้งแต่ 1 ม.ค. 2569 เป็นต้นไป จะให้บังคับใช้กับรถยนต์ที่ใช้งานอยู่ทั้งหมดในประเทศไทย
“สาเหตุที่ คปภ. ต้องการปรับเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยรถในครั้งนี้ ก็เพื่อที่จะให้เบี้ยประกันภัยสอดคล้องกับพฤติกรรมผู้ขับขี่แต่ละบุคคล ซึ่งต่อไป คปภ. สามารถเก็บพฤติกรรมการขับขี่รายบุคคลได้มากขึ้นและผู้ขับขี่รายใดที่ขับขี่แล้วเกิดอุบัติเหตุบ่อย ก็ควรจะต้องจ่ายค่าเบี้ยที่แพงขึ้น ขณะเดียวกันหากขับรถดี มีความระมัดระวังไม่เคยเกิดเหตุ หรือไม่ใช่ฝ่ายผิด ค่าเบี้ยประกันก็ควรจะถูกลงด้วย” นายอาภากรกล่าว
โดยเมื่อมีการคิดค่าเบี้ยตามความเสี่ยงแต่ละบุคคล จะทำให้พฤติกรรมความเสี่ยงจะสอดคล้องกับเบี้ยประกันมากขึ้น และจุดสำคัญที่ คปภ. อยากจะเห็นจุดเปลี่ยน คือ คนในประเทศมีการขับรถที่ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยลดสถิติการเกิดอุบัติเหตุในประเทศไทยลงได้ จากวันนี้ประเทศไทยเกิดอุบัติเหตุสูงมากและติดอันดับโลก
สมาคมรับลูกแนวคิด
ด้าน ดร.สมพร สืบถวิลกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ในฐานะนายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า การทบทวนเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยรถของ คปภ.ในครั้งนี้ ถือเป็นแนวความคิดที่ดีมาก
เพราะจริง ๆ แล้วความเสี่ยงของรถยนต์ไม่ได้อยู่ที่ตัวรถแต่อยู่ที่ผู้ขับขี่ ดังนั้นการบังคับระบุชื่อผู้ขับขี่จะทำให้บริษัทประกันภัยรู้ว่าใครเป็นคนที่มีพฤติกรรมการขับขี่ที่ปลอดภัยหรือไม่ ซึ่งจะส่งผลให้การกำหนดค่าเบี้ย (Pricing) ในอนาคตจะนำไปสู่ Pricing ที่เหมาะสมได้มาก
สำหรับตลาดประกันภัยรถยนต์ในปี 2568 ถ้าประเมินจากปี 2567 ที่ยอดขายรถยนต์โดยเฉพาะรถใหม่ที่เป็นรถสันดาปหดตัวลงอย่างมาก แต่ขณะเดียวกันยอดขายรถอีวีก็มีอัตราเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จากที่มีหลายแบรนด์เข้ามาแข่งขัน
จึงยังมองว่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์ภาพรวมปีหน้ายังมีโอกาสที่จะเติบโตขึ้นได้ประมาณ 3-5% แต่สำหรับสิ้นปีนี้ภาพรวมไม่น่าจะโต เพราะสิ่งที่เจอคือการหดตัวของยอดขายรถสันดาป และรถมือสองก็ขายได้ยากขึ้น ส่งผลจำนวนรถที่จะเข้าสู่ระบบประกันภัยใหม่ ๆ ก็ลดน้อยลง
วิริยะลุ้นเบี้ยรถ 3.8 หมื่นล้าน
ขณะที่นายสยม โรหิตเสถียร รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) เจ้าตลาดประกันรถยนต์ กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า แนวทาง คปภ.เป็นเรื่องที่ดี เชื่อว่าความเสี่ยงการเคลมประกันรถยนต์ในอนาคตจะลดลงแน่นอน ทำให้ค่าเบี้ยประกันภัยก็จะเปลี่ยนตามไป
โดยช่วง 10 เดือนแรกปีนี้ บริษัทมีการรับประกันภัยรถยนต์อยู่ประมาณ 1.5 ล้านคัน เบี้ยกว่า 3 หมื่นล้านบาท เติบโต 1.2% YOY รวมพอร์ตประกันรถอีวีที่รับประกันอยู่ 49,000 คัน คิดเป็นเบี้ยประกัน 1,130 ล้านบาท แม้ว่าปีนี้รถป้ายแดงจะชะลอตัวลงมาก
แต่บริษัทยังลุ้นช่วงเดือน ธ.ค.นี้ ที่มีงาน Motor Expo 2024 และเป็นช่วงพีกการต่ออายุประกันรถ จะทำให้สิ้นปีบริษัทจะมียอดเบี้ยประกันรถยนต์ถึงเป้า 3.8 หมื่นล้านบาทได้ โดยปัจจุบันบริษัทมีอัตราการต่ออายุประกันรถยนต์สูงถึง 80% สะท้อนว่าจะยังรักษายอดต่ออายุได้ในระดับที่ดีมาก
สำหรับอัตราความเสียหาย (Loss Ratio) ในการเคลมประกันรถยนต์ของบริษัทปัจจุบันอยู่ที่ 57% ยังมีกำไรอยู่ได้ ดังนั้นคงยังไม่ปรับเบี้ยประกัน แม้ว่าปัจจุบันจะมียอดเคลมประกันรถยนต์เพิ่มขึ้น 6% YOY หรือประมาณ 6 แสนเคลม มูลค่ากว่าหมื่นล้านบาท แต่ถ้าเมื่อไหร่ Loss Ratio เกิน 60% บริษัทก็อาจจำเป็นต้องปรับเบี้ยขึ้นบ้าง
กรุงเทพเชื่อลดเคลมลงได้ 10%
ดร.อภิสิทธิ์ อนันตนาถรัตน ประธานคณะผู้บริหารและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ประสบการณ์ของผู้ขับขี่รถจะมีผลต่อเรื่องการเกิดอุบัติเหตุ ผู้ที่มีอายุอยู่ในระดับที่มีวุฒิภาวะค่อนข้างสูง ความถี่การเกิดอุบัติเหตุก็จะน้อยลง ซึ่งมองว่าประกันภัยรถรูปแบบใหม่จะช่วยลด Loss Ratio ลงมาได้สัก 10%
อย่างไรก็ตาม จากนโยบายซ่อมห้าง (ซ่อมศูนย์) ขณะที่ค่าแรงและค่าอะไหล่ที่สูงมาก ส่งผลให้ Loss Ratio ของเคลมประกันรถยนต์ของรถป้ายแดงยังสูงเกินกว่า 65%
สำหรับพอร์ตประกันรถยนต์ของบริษัทในช่วง 9 เดือนแรก สืบเนื่องจากกิจกรรมทางสังคมที่กลับมาเป็นปกติแล้วจากช่วงโควิด ส่งผลให้อุบัติเหตุสูงขึ้น กดดันอัตราความเสียหายของประกันภัยรถยนต์ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากว่า 3% จากระดับ 56% เป็น 59%
หั่นเป้าเบี้ยเหลือ 3.2 หมื่นล้าน
ดร.อภิสิทธิ์กล่าวว่า บริษัทได้ปรับลดประมาณการเป้าเบี้ยรับรวมปีนี้ลงมาที่ 32,000 ล้านบาท เหลือโต 7% จากเดิมที่ตั้งไว้ 32,400 ล้านบาท โต 8% สาเหตุจากตลาดประกันวินาศภัยไทยที่มีความเปราะบาง ภาพรวมประกันวินาศภัย 9 เดือนแรกไม่ค่อยดี ทั้งตลาดมีเบี้ยรับรวมติดลบ 0.5%
สาเหตุหลักเพราะยอดขายรถยนต์ใหม่ปีนี้ที่หดตัวแรง มีการปรับลดเป้าตั้งแต่ต้นปีเรื่อยมา จากต้นปีตั้งเป้า 8-9 แสนคัน ปรับลดลงเหลือ 7.5 แสนคัน และตอนนี้ปรับใหม่น่าจะเหลือแค่ 5.5 แสนคัน
โดยไตรมาส 4/2567 ภาคธุรกิจจะเป็นการแข่งขันเพื่อแย่งชิงปลาในบ่อเดิม เพราะยอดขายรถใหม่ไม่ค่อยมี และส่วนใหญ่ก็จะเป็นรถอีวี ทั้งนี้ ไม่ใช่ว่าบริษัทจะไม่เข้าไปรับประกันรถอีวี แต่จะรับด้วยราคาเบี้ยประกันที่สะท้อนความเสี่ยงที่เหมาะสม ซึ่งเมื่อเทียบราคาคู่แข่งจะสูงกว่าหลายบริษัท ทำให้พอร์ตประกันอีวีของบริษัทไม่โตมาก แต่รถสันดาปยังมั่นใจว่าลูกค้าจะให้ความมั่นใจในเรื่องของคุณภาพและบริการ เพราะฉะนั้น การโยกพอร์ตจะยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
“ช่วง 9 เดือนแรก พอร์ตประกันรถยนต์ของบริษัทโต 9.9% คิดเป็นเบี้ยราว 13,000 ล้านบาท และคาดว่าปิดปีพอร์ตประกันภัยรถยนต์ของบริษัทน่าจะโตได้ 10% โดยประกันรถของบริษัทมีอัตราการต่ออายุ 86% ซึ่งถือว่าสูงมากเมื่อเทียบอุตสาหกรรม”
ปีหน้าโอกาสเบี้ยรถขยับ 3-5%
ดร.อภิสิทธิ์กล่าวต่อว่า สำหรับปี 2568 มองว่ายอดขายรถใหม่ยังไม่น่ากระเตื้อง จากความเปราะบางของเศรษฐกิจ ขณะที่หนี้ครัวเรือนก็ยังไม่มีแนวโน้มจะลดลง คาดการณ์ว่า GDP ก็ไม่น่าจะโตมากไปกว่าปีนี้ สังเกตจากนโยบายการปล่อยสินเชื่อของธุรกิจไฟแนนซ์และธนาคาร ที่ค่อนข้างเข้มงวดเพื่อลดอัตราการเกิดหนี้เสีย (NPL) นั่นแปลว่าจำนวนรถที่เข้าสู่ระบบไฟแนนซ์ลีสซิ่ง หรือยอดขายรถยนต์ใหม่ไม่น่าจะกระเตื้องได้มาก ซึ่งจะกดดันการเติบโตของเบี้ยประกันรถยนต์ตามมา
ส่วนแนวโน้มอัตราความเสียหายของประกันรถยนต์ ในปีหน้ามองว่ายังอยู่ใกล้เคียงเดิม ถ้าไม่มีความเสี่ยงจากเรื่องภัยธรรมชาติ แต่หากเกิดภาวะ Rain Bomb โดยเฉพาะหากเกิดในกรุงเทพฯ อาจมีความเสี่ยงรถยนต์ที่จอดอยู่ชั้นในคอนโดมิเนียมชั้นใต้ดินจะได้รับความเสียหายมาก ซึ่งเป็นจุดหนึ่งที่ค่อนข้างเป็นกังวลที่อาจจะส่งผลให้ Loss Ratio รถยนต์สูงขึ้นกว่าปีนี้ได้
“อย่างไรก็ดี ปีหน้าก็มีรถบางรุ่นของบริษัทที่อาจต้องมีการขยับเบี้ยขึ้นบ้าง เช่นเดียวกับภาพรวมอุตสาหกรรมที่จะต้องขึ้นเบี้ยให้สะท้อนภาพความเสี่ยงที่แท้จริง เทียบกับราคาค่าซ่อม ค่าอะไหล่ ที่สูงขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งการขยับเบี้ยขึ้นน่าจะประมาณ 3-5% ซึ่งหลัก ๆ จะเป็นรถใหม่ที่ซ่อมจากศูนย์ซ่อมตัวแทนจำหน่าย (Dealer Garage)” ดร.อภิสิทธิ์กล่าว...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ :
https://www.prachachat.net/finance/news-1711047
ยกเครื่อง “ประกันภัยรถ” รอบ 20 ปี บังคับระบุชื่อ-คิดเบี้ยตามเสี่ยง
รื้อแบบ “ประกันรถ” รอบ 20 ปี
นายอาภากร ปานเลิศ รองเลขาธิการด้านกำกับ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า สำนักงาน คปภ. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็น (เฮียริ่ง) เพื่อทบทวนเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ (สันดาป) ทั้งหมด
ไม่ว่าจะเป็นประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 ประเภท 2 และประเภท 3 ซึ่งจะเป็นการยกเครื่องกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ในรอบเกือบ 20 ปี หลังจากมีการทบทวนแก้ไขพิกัดอัตราเบี้ยใหม่ (Tariff Rate) ในกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ตั้งแต่ปี 2540 และต่อมาได้ปรับเงื่อนไขเพิ่มเติมอีกครั้งเมื่อปี 2550
โดยครั้งนี้จะนำเอาเรื่องพฤติกรรมการขับขี่หรือนำความเสี่ยงในการขับขี่จริงของแต่ละบุคคลมากำหนดเบี้ยประกัน โดยจะใช้ต้นแบบเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้า (BEV) ที่บังคับให้ต้องระบุชื่อผู้ขับขี่ มาปรับใช้กับรถยนต์สันดาป เพื่อให้มีการโค้ดค่าเบี้ยประกันที่เหมาะสมต่อความเสี่ยงของผู้ขับขี่
โดยสามารถระบุชื่อผู้ขับขี่ต่อกรมธรรม์ได้สูงสุด 5 ราย จากปัจจุบันกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ไม่ต้องระบุชื่อผู้ขับขี่ และเพิ่มทางเลือกให้ซื้อกรมธรรม์แบบระบุชื่อผู้ขับขี่ได้ เพื่อให้ได้ค่าเบี้ยที่ถูกลง ซึ่งปัจจุบันส่วนใหญ่จะระบุชื่อผู้ขับขี่อยู่ประมาณ 1-2 ราย
ขับรถแย่เจอชาร์จเบี้ยเพิ่ม 40%
นอกจากนี้ เงื่อนไขใหม่จะมีส่วนลดเบี้ยประกันอยู่ 2 ส่วน คือ 1.ส่วนของกรมธรรม์ ถ้าไม่มีเคลมลูกค้าจะได้รับส่วนลดสูงสุดถึง 40% แต่ตรงนี้จะไม่ติดตัวผู้ขับขี่ไป เพราะเป็นเงื่อนไขสัญญาระหว่างบริษัทประกันภัยและผู้เอาประกันภัย แต่ส่วนที่ 2.ประวัติการขับขี่ หากผู้ขับขี่มีประวัติขับรถดี ไม่มีเคลม จะได้ส่วนลดติดตัวไปสูงสุดถึง 40%
ยกตัวอย่าง นาย A ขับรถดีมา 3 ปี ประวัตินี้จะติดตัวไปด้วย เมื่อไปทำประกันภัยรถยนต์กับบริษัทใหม่ ทางบริษัทประกันภัยนั้น ๆ จะนำประวัติ 3 ปีที่ขับดีมาคำนวณค่าเบี้ยประกัน แต่หากผู้ขับขี่เกิดอุบัติเหตุบ่อย/เคลมบ่อย บริษัทประกันภัยก็สามารถชาร์จเบี้ยประกันได้สูงสุดถึง 40% เช่นกัน
ดีเดย์รถป้ายแดง 1 ม.ค. 68
นายอาภากรกล่าวต่อว่า ไทม์ไลน์การบังคับใช้จะกำหนดให้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2568 เป็นต้นไป จะให้เริ่มบังคับใช้กับรถใหม่ (ป้ายแดง) ของรถสันดาปและรถไฮบริดก่อน และตั้งแต่ 1 ม.ค. 2569 เป็นต้นไป จะให้บังคับใช้กับรถยนต์ที่ใช้งานอยู่ทั้งหมดในประเทศไทย
“สาเหตุที่ คปภ. ต้องการปรับเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยรถในครั้งนี้ ก็เพื่อที่จะให้เบี้ยประกันภัยสอดคล้องกับพฤติกรรมผู้ขับขี่แต่ละบุคคล ซึ่งต่อไป คปภ. สามารถเก็บพฤติกรรมการขับขี่รายบุคคลได้มากขึ้นและผู้ขับขี่รายใดที่ขับขี่แล้วเกิดอุบัติเหตุบ่อย ก็ควรจะต้องจ่ายค่าเบี้ยที่แพงขึ้น ขณะเดียวกันหากขับรถดี มีความระมัดระวังไม่เคยเกิดเหตุ หรือไม่ใช่ฝ่ายผิด ค่าเบี้ยประกันก็ควรจะถูกลงด้วย” นายอาภากรกล่าว
โดยเมื่อมีการคิดค่าเบี้ยตามความเสี่ยงแต่ละบุคคล จะทำให้พฤติกรรมความเสี่ยงจะสอดคล้องกับเบี้ยประกันมากขึ้น และจุดสำคัญที่ คปภ. อยากจะเห็นจุดเปลี่ยน คือ คนในประเทศมีการขับรถที่ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยลดสถิติการเกิดอุบัติเหตุในประเทศไทยลงได้ จากวันนี้ประเทศไทยเกิดอุบัติเหตุสูงมากและติดอันดับโลก
สมาคมรับลูกแนวคิด
ด้าน ดร.สมพร สืบถวิลกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ในฐานะนายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า การทบทวนเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยรถของ คปภ.ในครั้งนี้ ถือเป็นแนวความคิดที่ดีมาก
เพราะจริง ๆ แล้วความเสี่ยงของรถยนต์ไม่ได้อยู่ที่ตัวรถแต่อยู่ที่ผู้ขับขี่ ดังนั้นการบังคับระบุชื่อผู้ขับขี่จะทำให้บริษัทประกันภัยรู้ว่าใครเป็นคนที่มีพฤติกรรมการขับขี่ที่ปลอดภัยหรือไม่ ซึ่งจะส่งผลให้การกำหนดค่าเบี้ย (Pricing) ในอนาคตจะนำไปสู่ Pricing ที่เหมาะสมได้มาก
สำหรับตลาดประกันภัยรถยนต์ในปี 2568 ถ้าประเมินจากปี 2567 ที่ยอดขายรถยนต์โดยเฉพาะรถใหม่ที่เป็นรถสันดาปหดตัวลงอย่างมาก แต่ขณะเดียวกันยอดขายรถอีวีก็มีอัตราเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จากที่มีหลายแบรนด์เข้ามาแข่งขัน
จึงยังมองว่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์ภาพรวมปีหน้ายังมีโอกาสที่จะเติบโตขึ้นได้ประมาณ 3-5% แต่สำหรับสิ้นปีนี้ภาพรวมไม่น่าจะโต เพราะสิ่งที่เจอคือการหดตัวของยอดขายรถสันดาป และรถมือสองก็ขายได้ยากขึ้น ส่งผลจำนวนรถที่จะเข้าสู่ระบบประกันภัยใหม่ ๆ ก็ลดน้อยลง
วิริยะลุ้นเบี้ยรถ 3.8 หมื่นล้าน
ขณะที่นายสยม โรหิตเสถียร รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) เจ้าตลาดประกันรถยนต์ กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า แนวทาง คปภ.เป็นเรื่องที่ดี เชื่อว่าความเสี่ยงการเคลมประกันรถยนต์ในอนาคตจะลดลงแน่นอน ทำให้ค่าเบี้ยประกันภัยก็จะเปลี่ยนตามไป
โดยช่วง 10 เดือนแรกปีนี้ บริษัทมีการรับประกันภัยรถยนต์อยู่ประมาณ 1.5 ล้านคัน เบี้ยกว่า 3 หมื่นล้านบาท เติบโต 1.2% YOY รวมพอร์ตประกันรถอีวีที่รับประกันอยู่ 49,000 คัน คิดเป็นเบี้ยประกัน 1,130 ล้านบาท แม้ว่าปีนี้รถป้ายแดงจะชะลอตัวลงมาก
แต่บริษัทยังลุ้นช่วงเดือน ธ.ค.นี้ ที่มีงาน Motor Expo 2024 และเป็นช่วงพีกการต่ออายุประกันรถ จะทำให้สิ้นปีบริษัทจะมียอดเบี้ยประกันรถยนต์ถึงเป้า 3.8 หมื่นล้านบาทได้ โดยปัจจุบันบริษัทมีอัตราการต่ออายุประกันรถยนต์สูงถึง 80% สะท้อนว่าจะยังรักษายอดต่ออายุได้ในระดับที่ดีมาก
สำหรับอัตราความเสียหาย (Loss Ratio) ในการเคลมประกันรถยนต์ของบริษัทปัจจุบันอยู่ที่ 57% ยังมีกำไรอยู่ได้ ดังนั้นคงยังไม่ปรับเบี้ยประกัน แม้ว่าปัจจุบันจะมียอดเคลมประกันรถยนต์เพิ่มขึ้น 6% YOY หรือประมาณ 6 แสนเคลม มูลค่ากว่าหมื่นล้านบาท แต่ถ้าเมื่อไหร่ Loss Ratio เกิน 60% บริษัทก็อาจจำเป็นต้องปรับเบี้ยขึ้นบ้าง
กรุงเทพเชื่อลดเคลมลงได้ 10%
ดร.อภิสิทธิ์ อนันตนาถรัตน ประธานคณะผู้บริหารและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ประสบการณ์ของผู้ขับขี่รถจะมีผลต่อเรื่องการเกิดอุบัติเหตุ ผู้ที่มีอายุอยู่ในระดับที่มีวุฒิภาวะค่อนข้างสูง ความถี่การเกิดอุบัติเหตุก็จะน้อยลง ซึ่งมองว่าประกันภัยรถรูปแบบใหม่จะช่วยลด Loss Ratio ลงมาได้สัก 10%
อย่างไรก็ตาม จากนโยบายซ่อมห้าง (ซ่อมศูนย์) ขณะที่ค่าแรงและค่าอะไหล่ที่สูงมาก ส่งผลให้ Loss Ratio ของเคลมประกันรถยนต์ของรถป้ายแดงยังสูงเกินกว่า 65%
สำหรับพอร์ตประกันรถยนต์ของบริษัทในช่วง 9 เดือนแรก สืบเนื่องจากกิจกรรมทางสังคมที่กลับมาเป็นปกติแล้วจากช่วงโควิด ส่งผลให้อุบัติเหตุสูงขึ้น กดดันอัตราความเสียหายของประกันภัยรถยนต์ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากว่า 3% จากระดับ 56% เป็น 59%
หั่นเป้าเบี้ยเหลือ 3.2 หมื่นล้าน
ดร.อภิสิทธิ์กล่าวว่า บริษัทได้ปรับลดประมาณการเป้าเบี้ยรับรวมปีนี้ลงมาที่ 32,000 ล้านบาท เหลือโต 7% จากเดิมที่ตั้งไว้ 32,400 ล้านบาท โต 8% สาเหตุจากตลาดประกันวินาศภัยไทยที่มีความเปราะบาง ภาพรวมประกันวินาศภัย 9 เดือนแรกไม่ค่อยดี ทั้งตลาดมีเบี้ยรับรวมติดลบ 0.5%
สาเหตุหลักเพราะยอดขายรถยนต์ใหม่ปีนี้ที่หดตัวแรง มีการปรับลดเป้าตั้งแต่ต้นปีเรื่อยมา จากต้นปีตั้งเป้า 8-9 แสนคัน ปรับลดลงเหลือ 7.5 แสนคัน และตอนนี้ปรับใหม่น่าจะเหลือแค่ 5.5 แสนคัน
โดยไตรมาส 4/2567 ภาคธุรกิจจะเป็นการแข่งขันเพื่อแย่งชิงปลาในบ่อเดิม เพราะยอดขายรถใหม่ไม่ค่อยมี และส่วนใหญ่ก็จะเป็นรถอีวี ทั้งนี้ ไม่ใช่ว่าบริษัทจะไม่เข้าไปรับประกันรถอีวี แต่จะรับด้วยราคาเบี้ยประกันที่สะท้อนความเสี่ยงที่เหมาะสม ซึ่งเมื่อเทียบราคาคู่แข่งจะสูงกว่าหลายบริษัท ทำให้พอร์ตประกันอีวีของบริษัทไม่โตมาก แต่รถสันดาปยังมั่นใจว่าลูกค้าจะให้ความมั่นใจในเรื่องของคุณภาพและบริการ เพราะฉะนั้น การโยกพอร์ตจะยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
“ช่วง 9 เดือนแรก พอร์ตประกันรถยนต์ของบริษัทโต 9.9% คิดเป็นเบี้ยราว 13,000 ล้านบาท และคาดว่าปิดปีพอร์ตประกันภัยรถยนต์ของบริษัทน่าจะโตได้ 10% โดยประกันรถของบริษัทมีอัตราการต่ออายุ 86% ซึ่งถือว่าสูงมากเมื่อเทียบอุตสาหกรรม”
ปีหน้าโอกาสเบี้ยรถขยับ 3-5%
ดร.อภิสิทธิ์กล่าวต่อว่า สำหรับปี 2568 มองว่ายอดขายรถใหม่ยังไม่น่ากระเตื้อง จากความเปราะบางของเศรษฐกิจ ขณะที่หนี้ครัวเรือนก็ยังไม่มีแนวโน้มจะลดลง คาดการณ์ว่า GDP ก็ไม่น่าจะโตมากไปกว่าปีนี้ สังเกตจากนโยบายการปล่อยสินเชื่อของธุรกิจไฟแนนซ์และธนาคาร ที่ค่อนข้างเข้มงวดเพื่อลดอัตราการเกิดหนี้เสีย (NPL) นั่นแปลว่าจำนวนรถที่เข้าสู่ระบบไฟแนนซ์ลีสซิ่ง หรือยอดขายรถยนต์ใหม่ไม่น่าจะกระเตื้องได้มาก ซึ่งจะกดดันการเติบโตของเบี้ยประกันรถยนต์ตามมา
ส่วนแนวโน้มอัตราความเสียหายของประกันรถยนต์ ในปีหน้ามองว่ายังอยู่ใกล้เคียงเดิม ถ้าไม่มีความเสี่ยงจากเรื่องภัยธรรมชาติ แต่หากเกิดภาวะ Rain Bomb โดยเฉพาะหากเกิดในกรุงเทพฯ อาจมีความเสี่ยงรถยนต์ที่จอดอยู่ชั้นในคอนโดมิเนียมชั้นใต้ดินจะได้รับความเสียหายมาก ซึ่งเป็นจุดหนึ่งที่ค่อนข้างเป็นกังวลที่อาจจะส่งผลให้ Loss Ratio รถยนต์สูงขึ้นกว่าปีนี้ได้
“อย่างไรก็ดี ปีหน้าก็มีรถบางรุ่นของบริษัทที่อาจต้องมีการขยับเบี้ยขึ้นบ้าง เช่นเดียวกับภาพรวมอุตสาหกรรมที่จะต้องขึ้นเบี้ยให้สะท้อนภาพความเสี่ยงที่แท้จริง เทียบกับราคาค่าซ่อม ค่าอะไหล่ ที่สูงขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งการขยับเบี้ยขึ้นน่าจะประมาณ 3-5% ซึ่งหลัก ๆ จะเป็นรถใหม่ที่ซ่อมจากศูนย์ซ่อมตัวแทนจำหน่าย (Dealer Garage)” ดร.อภิสิทธิ์กล่าว...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.prachachat.net/finance/news-1711047