โซฮิซึคุริ 総火造り
โซฮิซึคุริ เป็นวิธีการทำงานขึ้นรูปเหล็กงานร้อน เช่นมีด กรรไกร หรือเครื่องมือต่างๆ กระบวนการที่จะเรียกว่าโซฮิซึคุริได้นั้นต้องเป็นวิธีแบบดั้งเดิม ทำด้วยมือหรือเครื่องมือที่ใช้แรงมนุษย์ที่เรียกว่าแฮนด์ทูลส์ ถ้าเทียบเป็นภาษาที่เราเข้าใจกันดีก็น่าจะเป็น ฟรอจก์ทูเชพ หรือ ฟูลฟรอจก์ คือตีขึ้นรูปให้ใกล้เคียงชิ้นงานสำเร็จมากที่สุด
ถ้าในแง่มุมของการทำกรรไกรราชาแล้วโซฮิซึคุริ ก็ต้องรวมไปถึงการตีขึ้นรูปโครงด้าม ช่องนิ้วต่างๆ มีวิธีการทำงานของเค้า ซึ่งส่วนคมมีดจะเป็นลามิเนทประกบระหว่างเหล็กกล้ากับเหล็กเหนียวอยู่แล้ว แต่ทุกวันนี้การทำกรรไกรส่วนใหญ่ใช้โครงด้ามที่มาจากการปั๊มหรือการหล่อแล้วเอามามาเชื่อมติดกับส่วนใบอีกที กระบวนการมันก็เลยไม่เป็นโซฮิซึคุริ ที่ทำแบบดั้งเดิมจริงๆเหลือน้อยมาก
เรื่องวิธีทำผมแน่ใจว่าสำนักในผังโทบาซามิที่เหลืออยู่ ยังสามารถสร้างกรรไกรในแบบดั้งเดิมจริงๆอย่างที่ท่านอาจารย์ยากิชิวางแผนเอาไว้ได้ แต่ในกระบวนการผลิตสินค้าจริงๆแล้วเกือบทั้งหมดไม่ได้ใช้กระบวนการนั้น ถึงจะมีคนทำได้แต่ผมคาดว่าก็เหลือน้อยยิ่งกว่าน้อย เพราะฉะนั้นกรรไกรในแบบโซฮิซึคุริจึงเป็นของหายากที่นับวันจะหมดไปและมีโอกาสเกิดขึ้นใหม่น้อยกว่ากันหลายเท่า
บางทีก็เรียกว่า กรรไกรตีมือทั้งตัว 手打 เตอูชิ Hand forged หรือการตีด้วยมือ
ทุกวันนี้หายากนะครับ กรรไกรราชาหรือกรรไกรญี่ปุ่นที่ทำด้วยมือทั้งตัว ส่วนมากแล้วจะใช้ขาสำเร็จ คือขาที่ทำจากเหล็กหล่อ หรือเหล็กปั๊มมีทั้งปั๊มร้อนและปั๊มเย็น พอได้ขาแล้วก็เอามาอ็อกซ์ต่อกับตัวกรรไกรที่เป็นเหล็กกล้าหรือเหล็กผสมเหล็กกล้า ที่จะตีขาตีหูกรรไกรด้วยค้อนแบบยุคดั้งเดิมเหลือน้อยมากๆแล้ว
ผมชอบของแบบนี้ครับ คือของที่มีร่องรอยตีด้วยค้อน อาจจะดูดิบๆหยาบๆไม่เข้ากับกาลสมัย แต่มันแน่นในหัวใจทุกครั้งที่มองหรือหยิบขึ้นมาถือไว้ในมือ ส่วนมากแล้วงานแบบนี้จะไม่ค่อยเรียบร้อยเท่าไหร่ แต่ที่เรียบร้อยจริงๆก็มีนะครับอย่างงานของสำนักในผังโทบาซามิ ก็ตีด้วยมือเกือบทั้งนั้น สมัยก่อนจริงๆแล้วทุกสำนักจะเป็นกรรไกรตีมือทั้งทั้งหมด เพิ่งมียุคหลังๆที่ปรับผ่อนผันให้ส่วนของขากรรไกรเป็นขาสำเร็จรูปได้
กรรไกรญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม หรือกรรไกรในแบบของสมาคมโทบาซามิ ตีด้วยมือล้วนๆ คือตัวใบก็ตี ด้ามก็ตี การตีตัวใบหมายถึงการเอาเหล็กกล้ามาผสมกับเหล็กอ่อนหรือเหล็กเหนียวเพื่อทำใบมีดลามิเนท ซึ่งขั้นตอนนี้ทุกวันนี้ก็ยังใช้กันอยู่
แต่ขั้นตอนที่มักจะใช้ตัดสินกระบวนการตีด้วยมือก็คือด้ามหรือขากรรไกร คือช่องนิ้วนั่นแหละครับ ทุกวันนี้จะใช้ขาปั๊ม หรือขาหล่อ แต่กรรมวิธีดั้งเดิมคือตีด้วยมือนะครับ ขึ้นรูปด้วยการเผาให้ร้อนตีให้เป็นรูปร่างด้วยค้อน ตีให้เข้ารูปทรงแบบที่เรียกกันในยุคนี้ว่าฟรอจก์ทูเชพ
ยุ่งยากและเหน็ดเหนื่อยแต่ได้ของดี ของอมตะ คลาสสิก
สุดแสนคลาสสิก
ทุกวันนี้หางานใหม่ๆที่ทำแบบนี้ดูได้ยากมาก เรียกว่าแทบเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการผลิตเพิ่มอีก หลายสำนักปิดตัวลงไปไร้ผู้สืบทอด ช่างทำกรรไกรหลายท่านได้รับการกล่าวขานว่าเป็นช่างทำกรรไกรคนสุดท้าย คือเหลือเพียงหนึ่งเดียวของสายวิชาหรือสายตระกูล รอวันที่ความตายมาพรากให้บางสิ่งบางอย่างพบจุดสิ้นสุดในประวัติศาสตร์
ของแบบนี้ยังพอพบได้บ้างไม่ยากนัก คือเราไม่ต้องเลือกยี่ห้อแต่คัดสรรด้วยลักษณะงาน ถึงมันยังมีอยู่แต่ก็เหลือน้อยลง ในเว็บญี่ปุ่นเองก็มีสัดส่วนน้อยอย่างน่าใจหาย ใครชอบของแบบนี้ก็เก็บๆไว้บ้างนะครับ ถ้ามันหายไปแล้วจะมานั่งเสียดาย วันนึงจะไม่มีของแบบนี้วางตามแผงให้ใครๆเห็นอีก
วันนั้นใกล้เข้ามา มันเกิดขึ้นแน่ แค่ช้าหรือเร็วเท่านั้นเอง
การตีขึ้นรูปกรรไกรแบบญี่ปุ่น โซฮิซึคุริ 総火造り
โซฮิซึคุริ เป็นวิธีการทำงานขึ้นรูปเหล็กงานร้อน เช่นมีด กรรไกร หรือเครื่องมือต่างๆ กระบวนการที่จะเรียกว่าโซฮิซึคุริได้นั้นต้องเป็นวิธีแบบดั้งเดิม ทำด้วยมือหรือเครื่องมือที่ใช้แรงมนุษย์ที่เรียกว่าแฮนด์ทูลส์ ถ้าเทียบเป็นภาษาที่เราเข้าใจกันดีก็น่าจะเป็น ฟรอจก์ทูเชพ หรือ ฟูลฟรอจก์ คือตีขึ้นรูปให้ใกล้เคียงชิ้นงานสำเร็จมากที่สุด
ถ้าในแง่มุมของการทำกรรไกรราชาแล้วโซฮิซึคุริ ก็ต้องรวมไปถึงการตีขึ้นรูปโครงด้าม ช่องนิ้วต่างๆ มีวิธีการทำงานของเค้า ซึ่งส่วนคมมีดจะเป็นลามิเนทประกบระหว่างเหล็กกล้ากับเหล็กเหนียวอยู่แล้ว แต่ทุกวันนี้การทำกรรไกรส่วนใหญ่ใช้โครงด้ามที่มาจากการปั๊มหรือการหล่อแล้วเอามามาเชื่อมติดกับส่วนใบอีกที กระบวนการมันก็เลยไม่เป็นโซฮิซึคุริ ที่ทำแบบดั้งเดิมจริงๆเหลือน้อยมาก
เรื่องวิธีทำผมแน่ใจว่าสำนักในผังโทบาซามิที่เหลืออยู่ ยังสามารถสร้างกรรไกรในแบบดั้งเดิมจริงๆอย่างที่ท่านอาจารย์ยากิชิวางแผนเอาไว้ได้ แต่ในกระบวนการผลิตสินค้าจริงๆแล้วเกือบทั้งหมดไม่ได้ใช้กระบวนการนั้น ถึงจะมีคนทำได้แต่ผมคาดว่าก็เหลือน้อยยิ่งกว่าน้อย เพราะฉะนั้นกรรไกรในแบบโซฮิซึคุริจึงเป็นของหายากที่นับวันจะหมดไปและมีโอกาสเกิดขึ้นใหม่น้อยกว่ากันหลายเท่า
บางทีก็เรียกว่า กรรไกรตีมือทั้งตัว 手打 เตอูชิ Hand forged หรือการตีด้วยมือ
ทุกวันนี้หายากนะครับ กรรไกรราชาหรือกรรไกรญี่ปุ่นที่ทำด้วยมือทั้งตัว ส่วนมากแล้วจะใช้ขาสำเร็จ คือขาที่ทำจากเหล็กหล่อ หรือเหล็กปั๊มมีทั้งปั๊มร้อนและปั๊มเย็น พอได้ขาแล้วก็เอามาอ็อกซ์ต่อกับตัวกรรไกรที่เป็นเหล็กกล้าหรือเหล็กผสมเหล็กกล้า ที่จะตีขาตีหูกรรไกรด้วยค้อนแบบยุคดั้งเดิมเหลือน้อยมากๆแล้ว
ผมชอบของแบบนี้ครับ คือของที่มีร่องรอยตีด้วยค้อน อาจจะดูดิบๆหยาบๆไม่เข้ากับกาลสมัย แต่มันแน่นในหัวใจทุกครั้งที่มองหรือหยิบขึ้นมาถือไว้ในมือ ส่วนมากแล้วงานแบบนี้จะไม่ค่อยเรียบร้อยเท่าไหร่ แต่ที่เรียบร้อยจริงๆก็มีนะครับอย่างงานของสำนักในผังโทบาซามิ ก็ตีด้วยมือเกือบทั้งนั้น สมัยก่อนจริงๆแล้วทุกสำนักจะเป็นกรรไกรตีมือทั้งทั้งหมด เพิ่งมียุคหลังๆที่ปรับผ่อนผันให้ส่วนของขากรรไกรเป็นขาสำเร็จรูปได้
กรรไกรญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม หรือกรรไกรในแบบของสมาคมโทบาซามิ ตีด้วยมือล้วนๆ คือตัวใบก็ตี ด้ามก็ตี การตีตัวใบหมายถึงการเอาเหล็กกล้ามาผสมกับเหล็กอ่อนหรือเหล็กเหนียวเพื่อทำใบมีดลามิเนท ซึ่งขั้นตอนนี้ทุกวันนี้ก็ยังใช้กันอยู่
แต่ขั้นตอนที่มักจะใช้ตัดสินกระบวนการตีด้วยมือก็คือด้ามหรือขากรรไกร คือช่องนิ้วนั่นแหละครับ ทุกวันนี้จะใช้ขาปั๊ม หรือขาหล่อ แต่กรรมวิธีดั้งเดิมคือตีด้วยมือนะครับ ขึ้นรูปด้วยการเผาให้ร้อนตีให้เป็นรูปร่างด้วยค้อน ตีให้เข้ารูปทรงแบบที่เรียกกันในยุคนี้ว่าฟรอจก์ทูเชพ
ยุ่งยากและเหน็ดเหนื่อยแต่ได้ของดี ของอมตะ คลาสสิก
สุดแสนคลาสสิก
ทุกวันนี้หางานใหม่ๆที่ทำแบบนี้ดูได้ยากมาก เรียกว่าแทบเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการผลิตเพิ่มอีก หลายสำนักปิดตัวลงไปไร้ผู้สืบทอด ช่างทำกรรไกรหลายท่านได้รับการกล่าวขานว่าเป็นช่างทำกรรไกรคนสุดท้าย คือเหลือเพียงหนึ่งเดียวของสายวิชาหรือสายตระกูล รอวันที่ความตายมาพรากให้บางสิ่งบางอย่างพบจุดสิ้นสุดในประวัติศาสตร์
ของแบบนี้ยังพอพบได้บ้างไม่ยากนัก คือเราไม่ต้องเลือกยี่ห้อแต่คัดสรรด้วยลักษณะงาน ถึงมันยังมีอยู่แต่ก็เหลือน้อยลง ในเว็บญี่ปุ่นเองก็มีสัดส่วนน้อยอย่างน่าใจหาย ใครชอบของแบบนี้ก็เก็บๆไว้บ้างนะครับ ถ้ามันหายไปแล้วจะมานั่งเสียดาย วันนึงจะไม่มีของแบบนี้วางตามแผงให้ใครๆเห็นอีก
วันนั้นใกล้เข้ามา มันเกิดขึ้นแน่ แค่ช้าหรือเร็วเท่านั้นเอง