เปิดมูลเหตุคนไทยไม่อยากมีลูก ชง 4 มาตรการกระตุ้นวัยแรงงานปั๊มทายาท
เปิดข้อมูลแรงงานไทยแบกหนี้หลังหัก ค่าครองชีพสูงปรี๊ด ทำไม่อยากมีลูก สสส.-สศช.ชงมาตรการ 4 ด้านกระตุ้นแรงงานปั๊มลูก “เวลา-เงิน-ระบบช่วยเลี้ยงลูก-กฎหมาย”
เมื่อวันที่ 19 พ.ย. ที่โรงแรมรอยัลปริ๊นเซส หลานหลวง กรุงเทพฯ น.ส.วรวรรณ พลิคามิน รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวในงานประชุมสนทนาเชิงนโยบาย เพื่อขับเคลื่อนนโยบายที่เป็นมิตรต่อครอบครัว ว่า การขับเคลื่อนนโยบายที่เป็นมิตรต่อครอบครัว (Family-friendly policies) เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนแผนพัฒนาประชากรเพื่อพัฒนาประเทศในระยะยาว (พ.ศ. 2565-2580) มียุทธศาสตร์เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทั้งเชิงโครงสร้างและคุณลักษณะของประชากร ภายใต้แนวคิด “เกิดดี อยู่ดี และแก่ดี” โดยเฉพาะการเกิดดี ที่มุ่งเน้นการสร้างครอบครัวที่มีคุณภาพและพัฒนาระบบที่เอื้อต่อการมีและเลี้ยงดูบุตร ผ่านมาตรการต่างๆ
อย่างไรก็ตาม จากการประเมินในระดับนานาชาติในรายงาน Women, Business and the Law 2020 พบว่า ประเทศไทยมีคะแนนด้านความเป็นพ่อแม่ ต่ำที่สุด ได้ 20 คะแนนจาก 100 คะแนน เนื่องจากกฎระเบียบที่ยังไม่เอื้อต่อการเลี้ยงดูบุตร/สนับสนุนพ่อแม่ให้มีเวลาได้อยู่กับบุตร ประกอบกับระบบสนับสนุนต่างๆ ที่จะช่วยแบ่งเบาภาระของพ่อและแม่ยังไม่ครอบคลุมและเพียงพอ วันนี้จึงเป็นโอกาสดีในการหารือเพื่อส่งเสริมการดำเนินนโยบายที่เป็นมิตรกับครอบครัว ปลดล็อกปัญหา โดยเฉพาะในสถานประกอบการต้องสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีลูกและเลี้ยงลูก
ด้าน น.ส.ณัฐยา บุญภักดี ผอ.สำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ขณะนี้ไทยกำลังเผชิญปัญหาเด็กเกิดน้อย จากเกิดปีละล้านคน เหลือเพียงปีละ 5 แสนคน ส่วนใหญ่เกิดในครอบครัวยากจน กระทบต่อการศึกษาและพัฒนาการของเด็ก ทั้งนี้จากการร่วมทำงานส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีสุขภาวะที่ดี พัฒนาการสมวัย มีภูมิคุ้มกันในตัวเองต่อความเสี่ยงทางสุขภาพ และมีโอกาสในการพัฒนาศักยภาพ ผ่านปัจจัยหนุนเสริมสำคัญ คือครอบครัว พบว่า การออกแบบสถานที่ทำงานเป็นมิตรกับครอบครัวควรต้องคำนึงถึงสภาพปัญหาที่พนักงานเผชิญด้วย โดยเฉพาะปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของครอบครัวและการตัดสินใจมีบุตร
“จากผลสำรวจสถานภาพหนี้ครัวเรือนไทย ปี 2567 โดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พบคนไทยมีหนี้เฉลี่ย 606,378 บาทต่อครัวเรือน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 สูงถึง 47,000 บาท สาเหตุจากรายได้ไม่พอกับรายจ่าย 14% ค่าครองชีพสูงขึ้น 12% ภาระทางการเงินของครอบครัวสูงขึ้น 11.2%” น.ส.ณัฐยา กล่าว
ดังนั้น สสส. จึงร่วมกับ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พัฒนานโยบายที่เป็นมิตรต่อครอบครัว เพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีลูกและดูแลลูกของพนักงาน ลูกจ้าง ผ่าน 4 มิติ
1.เวลา ส่งเสริมให้เกิดระบบการทำงานที่ยืดหยุ่นสำหรับพ่อแม่ที่ต้องเลี้ยงดูลูก เพิ่มสิทธิการลาเพื่อดูแลบุตรให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และให้พนักงานชายสามารถลาเพื่อดูแลครอบครัวได้
2.การเงิน ศึกษาความเป็นไปได้ของการให้เงินอุดหนุนค่าคลอดบุตร และการจ่ายเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดรายเดือน เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของพ่อแม่มือใหม่
3.ระบบสนับสนุนการเลี้ยงดูบุตร พัฒนาศูนย์ดูแลเด็กเล็กหรือสถานรับเลี้ยงเด็กที่มีคุณภาพและราคาไม่แพง
4.กฎหมาย ผลักดันกฎหมายให้เอื้อต่อการสร้างครอบครัวสำหรับคนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกฎหมายที่อนุญาตให้ครอบครัวที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) สามารถจดทะเบียนสมรสและรับอุปการะบุตรได้ กฎหมายที่เกี่ยวกับการอุ้มบุญ และการกำหนดให้การมีบุตรยากเป็นโรคและสามารถใช้สิทธิรักษาได้.
ข่าวจาก : เดลินิวส์ออนไลน์
https://www.dailynews.co.th/news/4097763/
เปิดมูลเหตุคนไทยไม่อยากมีลูก ชง 4 มาตรการกระตุ้นวัยแรงงานปั๊มทายาท
เปิดข้อมูลแรงงานไทยแบกหนี้หลังหัก ค่าครองชีพสูงปรี๊ด ทำไม่อยากมีลูก สสส.-สศช.ชงมาตรการ 4 ด้านกระตุ้นแรงงานปั๊มลูก “เวลา-เงิน-ระบบช่วยเลี้ยงลูก-กฎหมาย”
เมื่อวันที่ 19 พ.ย. ที่โรงแรมรอยัลปริ๊นเซส หลานหลวง กรุงเทพฯ น.ส.วรวรรณ พลิคามิน รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวในงานประชุมสนทนาเชิงนโยบาย เพื่อขับเคลื่อนนโยบายที่เป็นมิตรต่อครอบครัว ว่า การขับเคลื่อนนโยบายที่เป็นมิตรต่อครอบครัว (Family-friendly policies) เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนแผนพัฒนาประชากรเพื่อพัฒนาประเทศในระยะยาว (พ.ศ. 2565-2580) มียุทธศาสตร์เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทั้งเชิงโครงสร้างและคุณลักษณะของประชากร ภายใต้แนวคิด “เกิดดี อยู่ดี และแก่ดี” โดยเฉพาะการเกิดดี ที่มุ่งเน้นการสร้างครอบครัวที่มีคุณภาพและพัฒนาระบบที่เอื้อต่อการมีและเลี้ยงดูบุตร ผ่านมาตรการต่างๆ
อย่างไรก็ตาม จากการประเมินในระดับนานาชาติในรายงาน Women, Business and the Law 2020 พบว่า ประเทศไทยมีคะแนนด้านความเป็นพ่อแม่ ต่ำที่สุด ได้ 20 คะแนนจาก 100 คะแนน เนื่องจากกฎระเบียบที่ยังไม่เอื้อต่อการเลี้ยงดูบุตร/สนับสนุนพ่อแม่ให้มีเวลาได้อยู่กับบุตร ประกอบกับระบบสนับสนุนต่างๆ ที่จะช่วยแบ่งเบาภาระของพ่อและแม่ยังไม่ครอบคลุมและเพียงพอ วันนี้จึงเป็นโอกาสดีในการหารือเพื่อส่งเสริมการดำเนินนโยบายที่เป็นมิตรกับครอบครัว ปลดล็อกปัญหา โดยเฉพาะในสถานประกอบการต้องสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีลูกและเลี้ยงลูก
ด้าน น.ส.ณัฐยา บุญภักดี ผอ.สำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ขณะนี้ไทยกำลังเผชิญปัญหาเด็กเกิดน้อย จากเกิดปีละล้านคน เหลือเพียงปีละ 5 แสนคน ส่วนใหญ่เกิดในครอบครัวยากจน กระทบต่อการศึกษาและพัฒนาการของเด็ก ทั้งนี้จากการร่วมทำงานส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีสุขภาวะที่ดี พัฒนาการสมวัย มีภูมิคุ้มกันในตัวเองต่อความเสี่ยงทางสุขภาพ และมีโอกาสในการพัฒนาศักยภาพ ผ่านปัจจัยหนุนเสริมสำคัญ คือครอบครัว พบว่า การออกแบบสถานที่ทำงานเป็นมิตรกับครอบครัวควรต้องคำนึงถึงสภาพปัญหาที่พนักงานเผชิญด้วย โดยเฉพาะปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของครอบครัวและการตัดสินใจมีบุตร
“จากผลสำรวจสถานภาพหนี้ครัวเรือนไทย ปี 2567 โดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พบคนไทยมีหนี้เฉลี่ย 606,378 บาทต่อครัวเรือน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 สูงถึง 47,000 บาท สาเหตุจากรายได้ไม่พอกับรายจ่าย 14% ค่าครองชีพสูงขึ้น 12% ภาระทางการเงินของครอบครัวสูงขึ้น 11.2%” น.ส.ณัฐยา กล่าว
ดังนั้น สสส. จึงร่วมกับ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พัฒนานโยบายที่เป็นมิตรต่อครอบครัว เพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีลูกและดูแลลูกของพนักงาน ลูกจ้าง ผ่าน 4 มิติ
1.เวลา ส่งเสริมให้เกิดระบบการทำงานที่ยืดหยุ่นสำหรับพ่อแม่ที่ต้องเลี้ยงดูลูก เพิ่มสิทธิการลาเพื่อดูแลบุตรให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และให้พนักงานชายสามารถลาเพื่อดูแลครอบครัวได้
2.การเงิน ศึกษาความเป็นไปได้ของการให้เงินอุดหนุนค่าคลอดบุตร และการจ่ายเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดรายเดือน เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของพ่อแม่มือใหม่
3.ระบบสนับสนุนการเลี้ยงดูบุตร พัฒนาศูนย์ดูแลเด็กเล็กหรือสถานรับเลี้ยงเด็กที่มีคุณภาพและราคาไม่แพง
4.กฎหมาย ผลักดันกฎหมายให้เอื้อต่อการสร้างครอบครัวสำหรับคนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกฎหมายที่อนุญาตให้ครอบครัวที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) สามารถจดทะเบียนสมรสและรับอุปการะบุตรได้ กฎหมายที่เกี่ยวกับการอุ้มบุญ และการกำหนดให้การมีบุตรยากเป็นโรคและสามารถใช้สิทธิรักษาได้.
ข่าวจาก : เดลินิวส์ออนไลน์
https://www.dailynews.co.th/news/4097763/