❎วันเบาหวานโลก (World Diabetes Day) ตรงกับวันที่ 14 พ.ย. ของทุกปี เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพ และเป็นการฉลองครบรอบวันเกิดของเซอร์ เฟรเดอริก แบนติง ผู้ร่วมกับ ชาร์ลส์ เบสต์ ซึ่งค้นพบ การรักษาโรคเบาหวาน ในปี พ.ศ. 2465 วันเบาหวานโลกได้เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2534 โดยสมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation) และองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) มีสัญลักษณ์เป็นวงกลมสีฟ้าสื่อถึงการรวมกันเป็นหนึ่งเดียวของผู้ที่เผชิญภาวะเบาหวานทั่วโลก วงกลมหมายถึงสัญลักษณ์แห่งชีวิต สุขภาพ และการร่วมมือกัน ส่วนสีฟ้าเป็นสีที่สื่อถึงท้องฟ้าทั่วทั้งโลก เป็นหนึ่งเดียวกันของประชากรโลก
❎ในประเทศไทยปี พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา มีประชากรถึง 8 ล้านคนที่ยังเข้าไม่ถึงระบบคัดกรองโรคเบาหวาน ทำให้โรงพยาบาลต่างๆ มักจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นและเชิญชวนให้ประชาชนเข้าถึงการตรวจสุขภาพและคัดกรองวัดระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อตรวจหาโรคเบาหวาน และหากพบค่าระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเกินเกณฑ์ คือ ≥126 มก./ดล. ซึ่งเป็นค่าน้ำตาลในเลือดหลังจากอดอาหารมาแล้วอย่างน้อย 8 ชั่วโมง แต่หากไม่ได้อดอาหารมาก่อน สามารถเจาะตรวจวัดระดับน้ำตาลได้ โดยใช้ค่า 200 มก./ดล.เป็นเกณฑ์ ซึ่งถือเป็นค่าวินิจฉัยของการตรวจเบาหวาน หากมากกว่านี้จะนำไปสู่ภาวะเบาหวาน และมีการเข้าถึงการรักษาตามลำดับถัดไป
❎อาการโรคเบาหวานนั้นสามารถสังเกตถึงความผิดปกติที่เปลี่ยนแปลงไปได้ในชีวิตประจำวัน
หลายอาการค่อยๆ สะสมการเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อย หลายอาการที่เห็นได้อย่างฉับพลัน ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับการสังเกตร่างกายของแต่ละคนด้วย
❎อาการของผู้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง
❎หิวบ่อย รับประทานเก่งขึ้น กินจุ
❎คอแห้ง กระหายน้ำทำให้ดื่มน้ำมากขึ้น
❎เกี่ยวกับการขับถ่ายคือ ปัสสาวะกลางคืน
❎เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
❎น้ำหนักลดหรือเพิ่มอย่างผิดปกติ ผอมลงฉับพลัน
❎อาการที่เกี่ยวกับผิวหนังคือ เมื่อเกิดแผลจะหายยาก คันตามผิวหนังและอวัยวะสืบพันธุ์
❎ระบบประสาทที่ทำให้ตาพร่ามัว ชาปลายมือ,เท้า
❎ความรู้สึกทางเพศลดลง
หากพบเห็นถึงความผิดปกติของร่างกายตามข้อเหล่านี้ สิ่งที่ควรทำในลำดับถัดไป คือการเข้าพบแพทย์
เพื่อตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด
และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร
และการใช้ชีวิตประจำวัน
โรคเบาหวานเป็นปัญหาสุขภาพที่พบมากในปัจจุบัน ซึ่งในประเทศไทยมีแนวโน้มพบผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น 3 แสนคนต่อปี นอกจากนี้โรคเบาหวานยังเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดโรคอันตรายอื่นๆ อีกมากมาย อาทิ โรคเบาหวานขึ้นจอตา, โรคหลอดเลือดในสมอง, โรคหัวใจ, โรคความดันโลหิตสูง และโรคไตวายเรื้อรัง ซึ่งเป็นโรคในกลุ่ม NCDs จึงอยากให้ทุกคนตระหนักถึงอันตรายของภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหรือโรคเบาหวาน โดยหากพบว่าเป็นแล้ว สามารถตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเองเป็นประจำ เพื่อลดความรุนแรงอันสามารถเกิดได้จากโรคแทรกซ้อน
อ้างอิง:กองโรคไม่ติดต่อ /สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค
การประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานใน 10 ปี ข้างหน้า
ข้อมูลโดย สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย
https://drive.google.com/file/d/1OAIDiCyGsJYA1-wTAxoOu6yL_YL9c7IG/view
#วันเบาหวานโลก #worlddiabetesday
#หมอกับแบ่งปันสุขภาพดี
วันเบาหวานโลก World Diabetes Day 14 Nov
❎วันเบาหวานโลก (World Diabetes Day) ตรงกับวันที่ 14 พ.ย. ของทุกปี เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพ และเป็นการฉลองครบรอบวันเกิดของเซอร์ เฟรเดอริก แบนติง ผู้ร่วมกับ ชาร์ลส์ เบสต์ ซึ่งค้นพบ การรักษาโรคเบาหวาน ในปี พ.ศ. 2465 วันเบาหวานโลกได้เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2534 โดยสมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation) และองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) มีสัญลักษณ์เป็นวงกลมสีฟ้าสื่อถึงการรวมกันเป็นหนึ่งเดียวของผู้ที่เผชิญภาวะเบาหวานทั่วโลก วงกลมหมายถึงสัญลักษณ์แห่งชีวิต สุขภาพ และการร่วมมือกัน ส่วนสีฟ้าเป็นสีที่สื่อถึงท้องฟ้าทั่วทั้งโลก เป็นหนึ่งเดียวกันของประชากรโลก
❎ในประเทศไทยปี พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา มีประชากรถึง 8 ล้านคนที่ยังเข้าไม่ถึงระบบคัดกรองโรคเบาหวาน ทำให้โรงพยาบาลต่างๆ มักจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นและเชิญชวนให้ประชาชนเข้าถึงการตรวจสุขภาพและคัดกรองวัดระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อตรวจหาโรคเบาหวาน และหากพบค่าระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเกินเกณฑ์ คือ ≥126 มก./ดล. ซึ่งเป็นค่าน้ำตาลในเลือดหลังจากอดอาหารมาแล้วอย่างน้อย 8 ชั่วโมง แต่หากไม่ได้อดอาหารมาก่อน สามารถเจาะตรวจวัดระดับน้ำตาลได้ โดยใช้ค่า 200 มก./ดล.เป็นเกณฑ์ ซึ่งถือเป็นค่าวินิจฉัยของการตรวจเบาหวาน หากมากกว่านี้จะนำไปสู่ภาวะเบาหวาน และมีการเข้าถึงการรักษาตามลำดับถัดไป
❎อาการโรคเบาหวานนั้นสามารถสังเกตถึงความผิดปกติที่เปลี่ยนแปลงไปได้ในชีวิตประจำวัน
หลายอาการค่อยๆ สะสมการเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อย หลายอาการที่เห็นได้อย่างฉับพลัน ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับการสังเกตร่างกายของแต่ละคนด้วย
❎อาการของผู้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง
❎หิวบ่อย รับประทานเก่งขึ้น กินจุ
❎คอแห้ง กระหายน้ำทำให้ดื่มน้ำมากขึ้น
❎เกี่ยวกับการขับถ่ายคือ ปัสสาวะกลางคืน
❎เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
❎น้ำหนักลดหรือเพิ่มอย่างผิดปกติ ผอมลงฉับพลัน
❎อาการที่เกี่ยวกับผิวหนังคือ เมื่อเกิดแผลจะหายยาก คันตามผิวหนังและอวัยวะสืบพันธุ์
❎ระบบประสาทที่ทำให้ตาพร่ามัว ชาปลายมือ,เท้า
❎ความรู้สึกทางเพศลดลง
หากพบเห็นถึงความผิดปกติของร่างกายตามข้อเหล่านี้ สิ่งที่ควรทำในลำดับถัดไป คือการเข้าพบแพทย์
เพื่อตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด
และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร
และการใช้ชีวิตประจำวัน
โรคเบาหวานเป็นปัญหาสุขภาพที่พบมากในปัจจุบัน ซึ่งในประเทศไทยมีแนวโน้มพบผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น 3 แสนคนต่อปี นอกจากนี้โรคเบาหวานยังเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดโรคอันตรายอื่นๆ อีกมากมาย อาทิ โรคเบาหวานขึ้นจอตา, โรคหลอดเลือดในสมอง, โรคหัวใจ, โรคความดันโลหิตสูง และโรคไตวายเรื้อรัง ซึ่งเป็นโรคในกลุ่ม NCDs จึงอยากให้ทุกคนตระหนักถึงอันตรายของภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหรือโรคเบาหวาน โดยหากพบว่าเป็นแล้ว สามารถตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเองเป็นประจำ เพื่อลดความรุนแรงอันสามารถเกิดได้จากโรคแทรกซ้อน
อ้างอิง:กองโรคไม่ติดต่อ /สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค
การประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานใน 10 ปี ข้างหน้า
ข้อมูลโดย สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย
https://drive.google.com/file/d/1OAIDiCyGsJYA1-wTAxoOu6yL_YL9c7IG/view
#วันเบาหวานโลก #worlddiabetesday
#หมอกับแบ่งปันสุขภาพดี