ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ลดดอกเบี้ย 0.25% ตามที่ตลาดคาดการณ์ นำอัตราดอกเบี้ยลงจากอัตรา 4.75% ถึง 5.00% สู่อัตรา 4.50% ถึง 4.75% ถ้อยแถลงเริ่มไม่มั่นใจว่าเงินเฟ้อจะลงสู่เป้าหมาย 2%
วันที่ 7 พฤศจิกายน 2024 เวลา 14.00 น. ตามเวลา EDT สหรัฐอเมริกา ซึ่งตรงกับเวลา 02.00 น. วันที่ 8 พฤศจิกายน ตามเวลาประเทศไทย ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) เผยผลการประชุมตัดสินใจนโยบายการเงินว่า ที่ประชุมมีเอกฉันท์ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 25 เบซิสพอยต์ (Basis Point) หรือ 0.25% นำอัตราดอกเบี้ยลงจากอัตรา 4.75% ถึง 5.00% ลงสู่อัตรา 4.50% ถึง 4.75%
แถลงการณ์ของ FOMC ระบุว่า ตัวชี้วัดล่าสุดบ่งชี้ว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจยังคงขยายตัวในอัตราที่มั่นคง ตั้งแต่ช่วงต้นปี สภาพตลาดแรงงานโดยทั่วไปผ่อนคลายลง และอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นแต่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ อัตราเงินเฟ้อมีพัฒนาการที่มุ่งหน้าไปสู่อัตราเป้าหมาย 2% ของคณะกรรมการ แต่ยังคงสูงเล็กน้อย
คณะกรรมการพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายการจ้างงานสูงสุดและเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่อัตรา 2% ในระยะยาว คณะกรรมการพิจารณาเห็นว่าความเสี่ยงในการบรรลุเป้าหมายการจ้างงานและความเสี่ยงด้านอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่สมดุล ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจยังไม่แน่นอน และคณะกรรมการให้ความสำคัญกับความเสี่ยงทั้งสองด้านของภารกิจคู่ขนาน (Dual Mandate)
เพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว คณะกรรมการจึงตัดสินใจลดช่วงเป้าหมายของอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางลง 0.25% เป็น 4.50% ถึง 4.75%
“ในการพิจารณาปรับช่วงเป้าหมายของอัตราผลตอบแทนของธนาคารกลางเพิ่มเติม คณะกรรมการจะประเมินข้อมูลที่เข้ามา แนวโน้มพัฒนาการ และความสมดุลของความเสี่ยงอย่างรอบคอบ คณะกรรมการจะยังคงลดการถือครองพันธบัตรกระทรวงการคลังและพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ และหลักทรัพย์ค้ำประกันโดยหน่วยงานรัฐต่อไป คณะกรรมการมีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าที่จะสนับสนุนการจ้างงานในระดับเต็มศักยภาพและจะนำอัตราเงินเฟ้อกลับสู่เป้าหมาย 2%”
“ในการประเมินจุดยืนที่เหมาะสมของนโยบายการเงิน คณะกรรมการจะติดตามผลกระทบของข้อมูลแนวโน้มเศรษฐกิจที่เข้ามาใหม่อย่างต่อเนื่อง คณะกรรมการจะเตรียมพร้อมที่จะปรับจุดยืนของนโยบายการเงินตามความเหมาะสม หากเกิดความเสี่ยงที่อาจขัดขวางการบรรลุเป้าหมายของคณะกรรมการ การประเมินของคณะกรรมการจะพิจารณาข้อมูลที่หลากหลาย รวมถึงข้อมูลสภาวะตลาดแรงงาน แรงกดดันด้านเงินเฟ้อ และการคาดการณ์เงินเฟ้อ และพัฒนาการด้านการเงินและด้านการระหว่างประเทศ” ถ้อยแถลงของ FOMC ระบุ
ทั้งนี้ ในแถลงการณ์ของ FOMC ครั้งนี้ต่างจากครั้งก่อนหน้าตรงที่มีการตัดข้อความว่า “คณะกรรมการมีความมั่นใจมากขึ้นว่าอัตราเงินเฟ้อกำลังเคลื่อนตัวไปสู่ระดับ 2% อย่างยั่งยืน” ออกไป ซึ่งแสดงว่า FOMC เริ่มไม่มั่นใจว่าเงินเฟ้อจะลงสู่เป้าหมาย 2%...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ :
https://www.prachachat.net/world-news/news-1690749
นักลงทุนต่างชาติ เทขายพันธบัตรรัฐบาลไทยวันนี้วันเดียว 10,795 ล้าน และนับจากเดือน ต.ค. จนถึงวันที่ 7 พ.ย. ขายสุทธิ 5 หมื่นล้าน วงในชี้เป็นการปรับพอร์ตลดความเสี่ยงสินทรัพย์ตลาดเกิดใหม่ ตอบสนอง Trump trade ซึ่งเกิดเกิดพร้อมกับทิศทางการอ่อนค่าของเงินบาท
ผู้สื่อข่าวรายงานความเคลื่อนไหวของกระแสเงินลงทุนต่างชาติ (ฟันด์โฟลว์) ในตลาดตราสารหนี้ไทย อ้างอิงจากข้อมูลสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) พบว่า วันนี้ (7 พ.ย.) นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิพันบัตรรัฐบาลไทย 10,795 ล้านบาท ส่งผลให้ในเดือน พ.ย. (1-7 พ.ย.) นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิไปทั้งสิ้น 20,988 ล้านบาท โดยขายสุทธิในเดือน ต.ค. ที่ 33,433 ล้านบาท หากนับจากต้นปีจนถึงวันที่ 7 พ.ย. นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิไปทั้งสิ้น 61,323 ล้านบาท
แหล่งข่าว กล่าวว่า นับจากเดือน ต.ค. 2567 จนถึงวันที่ 7 พ.ย. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ตลาดเริ่มคาดการณ์โอกาสชัยชนะของทรัมป์ และตอบสนองในลักษณะของ Trump trade นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิพันธบัตรรัฐบาลไทย 5 หมื่นล้านบาท เป็นการปรับพอร์ตลดความเสี่ยงสินทรัพย์ตลาดเกิดใหม่ ซึ่งก็เกิดพร้อม ๆ กับทิศทางการอ่อนค่าของเงินบาทในช่วงเวลาดังกล่าว คือเงินบาทอ่อนค่าจาก 32.15 บาท ไปอยู่ที่ 33.60 บาท ก่อนวันเลือกตั้ง แต่ไปแตะระดับสูงสุด 34.46 บาท สายวันที่ 7 พ.ย. 2567
อย่างไรก็ตามบอนด์ยีลด์ไทยตอบสนองต่อแรงขายน้อยมาก โดยยีลด์พันธบัตรรัฐบาลไทยอายุ 10 ปี เคลื่อนไหวในกรอบแคบ ๆ ที่ 2.40-2.55% โดยมีแรงหนุนจากการลดดอกเบี้ยของ กนง. เมื่อวันที่ 16 ต.ค. และยังมีแรงหนุนจากแรงซื้อจากนักลงทุนในประเทศที่มีสภาพคล่องมาก...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ :
https://www.prachachat.net/finance/news-1690701
เฟดลดดอกเบี้ย 0.25% เริ่มไม่มั่นใจว่าเงินเฟ้อจะลงสู่เป้าหมาย 2% นลท.ต่างชาติขายพันธบัตร 10,795 ล้าน
วันที่ 7 พฤศจิกายน 2024 เวลา 14.00 น. ตามเวลา EDT สหรัฐอเมริกา ซึ่งตรงกับเวลา 02.00 น. วันที่ 8 พฤศจิกายน ตามเวลาประเทศไทย ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) เผยผลการประชุมตัดสินใจนโยบายการเงินว่า ที่ประชุมมีเอกฉันท์ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 25 เบซิสพอยต์ (Basis Point) หรือ 0.25% นำอัตราดอกเบี้ยลงจากอัตรา 4.75% ถึง 5.00% ลงสู่อัตรา 4.50% ถึง 4.75%
แถลงการณ์ของ FOMC ระบุว่า ตัวชี้วัดล่าสุดบ่งชี้ว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจยังคงขยายตัวในอัตราที่มั่นคง ตั้งแต่ช่วงต้นปี สภาพตลาดแรงงานโดยทั่วไปผ่อนคลายลง และอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นแต่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ อัตราเงินเฟ้อมีพัฒนาการที่มุ่งหน้าไปสู่อัตราเป้าหมาย 2% ของคณะกรรมการ แต่ยังคงสูงเล็กน้อย
คณะกรรมการพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายการจ้างงานสูงสุดและเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่อัตรา 2% ในระยะยาว คณะกรรมการพิจารณาเห็นว่าความเสี่ยงในการบรรลุเป้าหมายการจ้างงานและความเสี่ยงด้านอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่สมดุล ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจยังไม่แน่นอน และคณะกรรมการให้ความสำคัญกับความเสี่ยงทั้งสองด้านของภารกิจคู่ขนาน (Dual Mandate)
เพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว คณะกรรมการจึงตัดสินใจลดช่วงเป้าหมายของอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางลง 0.25% เป็น 4.50% ถึง 4.75%
“ในการพิจารณาปรับช่วงเป้าหมายของอัตราผลตอบแทนของธนาคารกลางเพิ่มเติม คณะกรรมการจะประเมินข้อมูลที่เข้ามา แนวโน้มพัฒนาการ และความสมดุลของความเสี่ยงอย่างรอบคอบ คณะกรรมการจะยังคงลดการถือครองพันธบัตรกระทรวงการคลังและพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ และหลักทรัพย์ค้ำประกันโดยหน่วยงานรัฐต่อไป คณะกรรมการมีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าที่จะสนับสนุนการจ้างงานในระดับเต็มศักยภาพและจะนำอัตราเงินเฟ้อกลับสู่เป้าหมาย 2%”
“ในการประเมินจุดยืนที่เหมาะสมของนโยบายการเงิน คณะกรรมการจะติดตามผลกระทบของข้อมูลแนวโน้มเศรษฐกิจที่เข้ามาใหม่อย่างต่อเนื่อง คณะกรรมการจะเตรียมพร้อมที่จะปรับจุดยืนของนโยบายการเงินตามความเหมาะสม หากเกิดความเสี่ยงที่อาจขัดขวางการบรรลุเป้าหมายของคณะกรรมการ การประเมินของคณะกรรมการจะพิจารณาข้อมูลที่หลากหลาย รวมถึงข้อมูลสภาวะตลาดแรงงาน แรงกดดันด้านเงินเฟ้อ และการคาดการณ์เงินเฟ้อ และพัฒนาการด้านการเงินและด้านการระหว่างประเทศ” ถ้อยแถลงของ FOMC ระบุ
ทั้งนี้ ในแถลงการณ์ของ FOMC ครั้งนี้ต่างจากครั้งก่อนหน้าตรงที่มีการตัดข้อความว่า “คณะกรรมการมีความมั่นใจมากขึ้นว่าอัตราเงินเฟ้อกำลังเคลื่อนตัวไปสู่ระดับ 2% อย่างยั่งยืน” ออกไป ซึ่งแสดงว่า FOMC เริ่มไม่มั่นใจว่าเงินเฟ้อจะลงสู่เป้าหมาย 2%...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.prachachat.net/world-news/news-1690749
นักลงทุนต่างชาติ เทขายพันธบัตรรัฐบาลไทยวันนี้วันเดียว 10,795 ล้าน และนับจากเดือน ต.ค. จนถึงวันที่ 7 พ.ย. ขายสุทธิ 5 หมื่นล้าน วงในชี้เป็นการปรับพอร์ตลดความเสี่ยงสินทรัพย์ตลาดเกิดใหม่ ตอบสนอง Trump trade ซึ่งเกิดเกิดพร้อมกับทิศทางการอ่อนค่าของเงินบาท
ผู้สื่อข่าวรายงานความเคลื่อนไหวของกระแสเงินลงทุนต่างชาติ (ฟันด์โฟลว์) ในตลาดตราสารหนี้ไทย อ้างอิงจากข้อมูลสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) พบว่า วันนี้ (7 พ.ย.) นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิพันบัตรรัฐบาลไทย 10,795 ล้านบาท ส่งผลให้ในเดือน พ.ย. (1-7 พ.ย.) นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิไปทั้งสิ้น 20,988 ล้านบาท โดยขายสุทธิในเดือน ต.ค. ที่ 33,433 ล้านบาท หากนับจากต้นปีจนถึงวันที่ 7 พ.ย. นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิไปทั้งสิ้น 61,323 ล้านบาท
แหล่งข่าว กล่าวว่า นับจากเดือน ต.ค. 2567 จนถึงวันที่ 7 พ.ย. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ตลาดเริ่มคาดการณ์โอกาสชัยชนะของทรัมป์ และตอบสนองในลักษณะของ Trump trade นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิพันธบัตรรัฐบาลไทย 5 หมื่นล้านบาท เป็นการปรับพอร์ตลดความเสี่ยงสินทรัพย์ตลาดเกิดใหม่ ซึ่งก็เกิดพร้อม ๆ กับทิศทางการอ่อนค่าของเงินบาทในช่วงเวลาดังกล่าว คือเงินบาทอ่อนค่าจาก 32.15 บาท ไปอยู่ที่ 33.60 บาท ก่อนวันเลือกตั้ง แต่ไปแตะระดับสูงสุด 34.46 บาท สายวันที่ 7 พ.ย. 2567
อย่างไรก็ตามบอนด์ยีลด์ไทยตอบสนองต่อแรงขายน้อยมาก โดยยีลด์พันธบัตรรัฐบาลไทยอายุ 10 ปี เคลื่อนไหวในกรอบแคบ ๆ ที่ 2.40-2.55% โดยมีแรงหนุนจากการลดดอกเบี้ยของ กนง. เมื่อวันที่ 16 ต.ค. และยังมีแรงหนุนจากแรงซื้อจากนักลงทุนในประเทศที่มีสภาพคล่องมาก...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.prachachat.net/finance/news-1690701