“ณัฐพงษ์” ลั่นเดินหน้าถ่วงดุลรัฐบาล ลุยสอบจริยธรรม สส.
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_783007/
“ณัฐพงษ์” ลั่นเดินหน้าถ่วงดุลรัฐบาล เผย โรดแมปฝ่ายค้านยื่นอภิปรายต้นปี 68 ลุยสอบจริยธรรม สส. แยกแยะงานพรรค-บุคคล เชื่อทำประชามติแค่ 2 ครั้ง อาจทันเลือกตั้งปี 70
นาย
ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชนในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ขอบคุณทุกคนให้ความไว้วางใจในการทำหน้าที่ผู้นำฝ่ายค้านในสภาฯ โดยหลังจากนี้ ขอยืนยันเดินหน้าตรวจสอบถ่วงดุลรัฐบาลอย่างตรงไปตรงมา ให้คุ้มค่าภาษีของประชาชน และพร้อมผลักดันกฎหมายทุกฉบับ ไม่ว่าจะมาจากฝ่ายค้านหรือฝ่ายรัฐบาล
ส่วนโรดแมพฝ่ายค้าน เรื่องการอภิปรายไม่ไว้วางใจอภิปรายทั่วไป และการอภิปรายไม่ไว้วางใจคาดว่า น่าจะเกิดขึ้นได้ช่วงต้นปี 68 ทั้งนี้ เตรียบสอบจริยธรรม สส. ซึ่งแยกแยะงานพรรคและตัวบุคคล ที่พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ถูกร้องเรียนเรื่องจริยธรรม และไม่ส่งผลกระทบต่อการทำหน้าที่
ขณะเดียวกัน นายณัฐพงษ์ มองว่า ไม่มีเหตุผลอันใดที่รัฐบาลจะถอนร่างรายงานกรรมาธิการนิรโทษกรรมออกจากสภาฯ เพราะเป็นเพียงการแสดงความคิดเห็น พร้อมย้ำ ไม่ว่าโดนโทษมาตราไหน ควรได้รับความยุติธรรม
ส่วนร่าง พ.ร.บ.การจัดทำประชามติ ที่ล่าสุด วุฒิสภา ยืนยันแก้ไขแบบเสียงข้างมาก 2 ชั้น ต้องถูกตีตกกลับมา สส. นั้น เป็นสิ่งที่น่ากังวล ดังนั้น ต้องมีการหารือกีบทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาล โดยเชื่อว่า ทำประชามติแค่ 2 ครั้ง อาจทันเลือกตั้งปี 70 ขณะการผลักดันแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยังไม่เห็นสัญญาณที่ไม่เอาด้วยกับ 6 แพ็คเกจ ซึ่งเป็นการแก้รายมาตราของพรรคประชาชน และที่มีการชะลอเกี่ยวกับมาตรฐานทางจริยธรรมนักการเมืองนั้น เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนในส่วนที่เหลือได้
จับสัญญาณถอยแก้ รธน. สะเทือนเสถียรภาพ‘รบ.เพื่อไทย’?
https://www.matichon.co.th/politics/news_4819821
หมายเหตุ –
ความเห็นนักวิชาการกรณีที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่ารัฐบาลพรรคเพื่อไทย (พท.) มุ่งแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 เพื่อประโยชน์ของพรรคการเมืองและตัวนักการเมือง โดยไม่สนใจแก้ปัญหาเศรษฐกิจ หรือแก้ปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นรุนแรงในพื้นที่ต่างๆ ทำให้พรรค พท.ถอยเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา เพื่อลดความเสี่ยง และการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ พิจารณาเสร็จแล้ว และเสียงสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ส่วนใหญ่กลับมติ ให้ใช้เสียงข้างมากฟื้นเกณฑ์ผ่านประชามติด้วยเสียงข้างมาก 2 ชั้น ประเด็นเหล่านี้จะส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาลหรือไม่ อย่างไร
โอฬาร ถิ่นบางเตียว
คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ม.บูรพา
ขณะนี้รัฐบาลโดนกระแสกดดันหนัก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และปัญหาเศรษฐกิจปากท้องของประชาชน ซึ่งทั้ง 2 เรื่อง ผมมองว่าทำคู่กันไปได้ โดยเฉพาะการจะแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา เพื่อคลายความกังวลใจของสังคม ในเรื่องการขอแก้ไขเพื่อนักการเมือง โดยแก้ไขในประเด็นที่สังคมมีส่วนร่วม โดยเฉพาะเรื่องการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ สมควรจะแก้ไข เพราะทิศทางแนวโน้มในการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ง่าย และอาจแก้ไม่ทันรัฐบาลชุดนี้
หากต้องการแก้ไขต้องให้เกิดประโยชน์กับสังคมมากที่สุด เพราะหากการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้น้ำหนักเกี่ยวกับความผิดจริยธรรมร้ายแรง กับเรื่องอำนาจองค์กรอิสระ จะถูกมองว่าเป็นแก้ไขเพื่อส่วนตัว ทำให้สังคมรู้สึกว่าไม่มีประโยชน์ เพราะประเทศอยู่ในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ
การที่รัฐบาลพยายามออกข่าวมาในลักษณะขอแก้ไขปัญเศรษฐกิจ เนื่องจากมีผู้ประสบภัยจากน้ำท่วมนั้น ผมมองว่าออกข่าวแก้เกี้ยวมากกว่า เพื่อหาทางออกให้กับตนเอง เพราะว่าการพูดคุยในการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรานั้น มีความเห็นไม่พ้องต้องกันของพรรคร่วมรัฐบาล ท่าทีของ ส.ว.ก็ดี ทำให้รัฐบาลต้องหาทางออก บวกกับความรู้สึกของประชาชนเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นการแก้ไขเพื่อประโยชน์ของนักการเมือง รัฐบาลจึงพยายามแก้เกี้ยวว่าไม่แก้ไขแล้ว ประกอบกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจไม่มีความมั่นคง ประชาชนเดือดร้อนจำนวนมาก จึงได้ออกมาพูดทำนองขอแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจก่อน
ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับนั้น ผมมองว่ายาก แต่หากไม่เร่งดำเนินการ คงไม่ทันกับรัฐบาลชุดนี้ รวมทั้งปัญหาหลักๆ ของประเทศจะไม่ได้รับการแก้ไขอีก จึงอยากให้รัฐบาลทำไปพร้อมๆ กัน เชื่อมั่นว่าเสถียรภาพของรัฐบาลจะดีขึ้น เพราะด้านหนึ่งถ้าแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนที่ประชาชนได้รับประโยชน์จริงๆ จะทำให้ประชาชนมองว่ารัฐบาลทำงานเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน ไม่ใช่เข้ามาเพื่อจัดสรรผลประโยชน์ทางการเมืองหรือขอแก้รัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ของตัวเอง รัฐบาลจะมีคะแนนนิยมมากขึ้น หากแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจได้ด้วย ประชาชนจะมองว่ารัฐบาลสามารถแก้ปัญหา ซึ่งจะได้ทั้งความเชื่อมั่นทางการเมือง และทางเศรษฐกิจไปด้วย
ส่วนประเด็น พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2564 หรือ พ.ร.บ.ประชามติฯ เพื่อปลดล็อก ‘
เสียงข้างมาก 2 ชั้น’ เหลือเสียงข้างมากชั้นเดียว เกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ผมมองว่าการพยายามแก้ พ.ร.บ.ประชามติฯ ที่ผ่านมา เพื่อให้เกิดความคล่องตัว และแก้ไขได้ง่ายยิ่งขึ้น ครั้งนี้คิดว่าการแก้ไขควรให้ได้ทันก่อนที่จะมีการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ทั่วประเทศ แต่ดูท่าทีของ ส.ว.ไม่เห็นด้วยแล้ว คงจะมีปัญหาเรื่องความเห็นแตกต่างทางความคิด สุดท้ายอาจจะต้องตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมระหว่าง ส.ว.กับ ส.ส. ซึ่งการตั้งกรรมการร่วม จะทำให้ออกกฎหมายในการแก้ พ.ร.บ.ประชามติฯ ล่าช้าออกไปอีก ซึ่งจะเกิดผลกระทบกับประชาชน ที่จะออกมาใช้สิทธิช่วงของการเลือกตั้ง อบจ.ทั่วประเทศ
นอกจากนี้ มองว่าน่าจะมีกระบวนการที่ออกมาเคลื่อนไหวกับประชาชน ที่ไม่เห็นด้วยกับการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยใช้ข้ออ้างว่า ‘
นักการเมืองทำเพื่อใคร’ พร้อมทั้งชี้ว่านักการเมืองทำเพื่อตัวเอง จึงเป็นสิ่งที่น่ากลัว อยากเสนอว่าหากเป็นเช่นนั้น ถ้ารัฐบาลต้องการแก้ปัญหาให้กับประชาชนจริงๆ ให้แก้รัฐธรรมนูญที่คนส่วนใหญ่ได้ประโยชน์ก่อน เพราะไม่เช่นนั้นก็มั่วกันไปหมด รัฐธรรมนูญก็ไม่ได้แก้ไข กฎหมายสำคัญๆ ที่เกี่ยวข้องกับประชาชนก็ไม่ได้แก้อีกด้วย
ที่เครือข่ายนักวิชาการเพื่อการกระจายอำนาจ ได้เคลื่อนไหวในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เพราะประชาชนจะได้ประโยชน์เยอะ โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญปี 2540 ได้พัฒนามาแล้ว แต่มาหยุดชะงักเมื่อปี 2557 เมื่อเกิดรัฐประหาร ทำให้ข้าราชการ นักการเมืองท้องถิ่น เข้าไปมีบทบาทมากจนเกินไป ขณะที่ประชาชนมีบทบาทน้อย จึงอยากให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ ในส่วนของการกระจายอำนาจของ อปท.
การที่หลายคนมองพรรคภูมิใจไทย (ภท.) ไม่อยากแก้ไขรัฐธรรมนูญ อาจจะมองได้ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับ ส.ว. เนื่องจากพรรค ภท.ไม่ไว้ใจ เพราะการเมืองขณะนี้ทำให้มองว่าพรรค พท.เป็นผู้เล่นเกม แต่พรรค ภท.เป็นผู้คุมเกม และเกิดความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล
หากให้มองว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญจะดำเนินการต่อไปได้หรือไม่ในเรื่องนี้ หากแก้ไขโดยยกร่างใหม่ทั้งหมด คงไม่ทันรัฐบาลนี้ หากแก้ไขรายมาตรา ถ้าเกิดประโยชน์กับนักการเมือง ก็ทำไม่ได้ หากแก้ไขแต่ประชาชนได้ประโยชน์ ก็อาจเป็นไปได้
ถ้าให้มองอายุของรัฐบาล หากไม่ทำอะไรเลยคงอยู่ลำบาก เพราะจะมีแรงกดดันจากสังคมเยอะหน่อย ถ้าทำทั้ง 2 อย่างได้ ทั้งแก้ไขรัฐธรรมนูญและแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ถือว่าดี หรือทำอย่างหนึ่งอย่างใดได้ ก็พอรับได้
ส่วนรัฐบาลจะอยู่ครบวาระนั้น ต้องดูที่ปัจจัยต่างๆ หากมองในอำนาจ ถือว่ารัฐบาลได้เปรียบ เพราะมีเครือข่ายอำนาจในสังคมไทย สถาบันต่างๆ ที่นาย
ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มีคอนเน็กชั่น บารมี สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกับเครือข่ายเหล่านี้ได้ส่วนการบริหารงานก็ควรทำตามสัญญาประชาชนให้มากที่สุด เพื่อฟื้นคะแนนความนิยมให้กับรัฐบาล ที่สำคัญในการบริหารการตัดสินใจต่างๆ น.ส.
แพทองธาร ชินวัตร นายกฯ ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในการตัดสินใจ เพราะจะมีนักร้องจ้องหาโอกาสร้องเรียน เพื่อต้องการล้มรัฐบาล น.ส.
แพทองธาร
การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเงินดิจิทัลนั้น จะต้องเร่งดำเนินการ เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้คือโครงการเงินดิจิทัล หากกล่าวไปแล้วยังไม่ได้นำออกมาใช้ ตามนโยบายที่หาเสียง แต่เป็นเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะเงินดิจิทัลจะต้องไม่ใช้เงินสด ซึ่งเท่ากับว่าเงินดิจิทัลยังไม่ได้ดำเนินการเลย แต่เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น โดยเอาเงินสดมาแจกเป็นการแก้เกี้ยวเท่านั้นเอง
กรณีมีข่าวว่าจะลดการแจกเงินในเฟส 2 เหลือ 5 พันบาท เรื่องนี้ไม่ควรจะมีข่าวออกมา ทำให้มองว่ารัฐบาลพยายามจะทำตามสัญญา แต่เงินไม่มี นอกจากนี้ ยังมีความพยายามสื่อสารออกไปทำนองว่าเป็นเงินของนายกฯ หรือตระกูลชินวัตร ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ควรจะชี้แจงที่มาของเงิน ที่นำมาแจกให้ชัดเจน เพื่อสร้างความตระหนักให้กับผู้ที่ได้รับเงินไป จะต้องใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่า เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างจริงจัง ทำให้เศรษฐกิจมีความเคลื่อนไหว ส่งผลให้ประเทศเดินหน้าต่อไปได้
สุดเขต สกุลทอง
วิทยาลัยบริหารศาสตร์ ม.แม่โจ้
กระแสวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล น.ส.
แพทองธาร ที่เดินหน้าแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และภัยพิบัติน้ำท่วม มากกว่าเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญตามที่พรรค พท.หาเสียงไว้ ประเด็นนี้ต้องแยกเรื่องเหตุการณ์ปัจจุบันกับนโยบายที่หาเสียงไว้ เพราะการแก้รัฐธรรมนูญมีบางเรื่องที่ยังเข้าไปแตะต้องไม่ได้ ขณะเดียวกันเวลานี้หลายพื้นที่ของประเทศมีปัญหาน้ำท่วม ซึ่งเป็นภัยพิบัติที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ จึงเป็นเรื่องของภาวะผู้นำที่ต้องตัดสินใจช่วยเหลือประชาชนก่อน
ส่วนประเด็นด้านเศรษฐกิจ มีปัญหาค่าเงินบาทแข็งจนส่งผลกระทบกับการส่งออก และการลงทุนของต่างชาติที่ชะลอตัวลง รัฐบาลต้องเร่งหามาตรการชดเชยเพื่อช่วยเหลือนักลงทุนต่างชาติ เช่น มาตรการด้านภาษี หรือเพิ่มสิทธิพิเศษด้านการลงทุน
รัฐบาลพรรค พท.มีจุดแข็งเรื่องนโยบายด้านเศรษฐกิจ และที่หาเสียงไว้ คือเงินดิจิทัล 10,000 บาท เดิมมีแผนแจกเงินในปีงบประมาณ 2568 แต่รัฐบาลเดินหน้าแจกก่อนสิ้นสุดปีงบ 2567 เพื่อชดเชยความรู้สึกให้ประชาชน และเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ของรัฐบาล เพราะหากไม่เร่งรัดทำ สิ่งที่เกิดขึ้น ทั้งน้ำท่วม และค่าเงินบาทแข็ง อารมณ์ และความรู้สึกของประชาชนต่อการเมืองจะคุกรุ่นมากกว่านี้ แต่เมื่อรัฐบาลแจกเงิน 10,000 บาท ทำให้ประชาชนกลุ่มเปราะบางมีเงินจับจ่ายใช้สอย จึงช่วยเรียกคะแนนความนิยมต่อรัฐบาลกลับคืนมาได้
สำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มีไทม์ไลน์ที่กำหนดไว้ชัดเจน และเดินหน้ามาตามลำดับไม่ได้ล่าช้า เพราะสมัยที่นาย
เศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกฯประกาศชัดเจนว่าขอเวลา 2 ปี และขณะนี้ผ่านไปเพียง 1 ปีเท่านั้น การที่รัฐบาลไม่ได้ทุ่มเททรัพยากรทั้งหมดเพื่อเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ได้หมายความว่ารัฐบาลไม่สนใจ แต่ยังไม่ถึงเวลา
ส่วนการที่ ส.ว.จะกลับมาใช้เสียงข้างมาก 2 ชั้น ในการทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อยืดเวลา อาจเสร็จไม่ทันปี 2570 ซึ่งจะเชื่อมโยงกับสัญญาณที่พรรค ภท.สนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับหรือไม่นั้น พรรค ภท.ถือเป็นตัวแปรสำคัญของรัฐบาล และการออกมาเคลื่อนไหวเช่นนี้ ถือว่ามีนัยยะ และวัตถุประสงค์การหาเสียงเลือกตั้งที่ผ่านมา การชูธงเรื่องแก้รัฐธรรมนูญ เป็นอีกหนึ่งกระแสหลักของสังคม นอกเหนือจากประเด็นเรื่องเศรษฐกิจและการแจกเงินดิจิทัล
JJNY : “ณัฐพงษ์” ลั่นเดินหน้าถ่วงดุล│จับสัญญาณถอยแก้ รธน.สะเทือนเสถียรภาพ│ปภ.รายงานน้ำท่วม 14 จว.│นาโตไม่กังวลรัสเซีย
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_783007/
“ณัฐพงษ์” ลั่นเดินหน้าถ่วงดุลรัฐบาล เผย โรดแมปฝ่ายค้านยื่นอภิปรายต้นปี 68 ลุยสอบจริยธรรม สส. แยกแยะงานพรรค-บุคคล เชื่อทำประชามติแค่ 2 ครั้ง อาจทันเลือกตั้งปี 70
นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชนในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ขอบคุณทุกคนให้ความไว้วางใจในการทำหน้าที่ผู้นำฝ่ายค้านในสภาฯ โดยหลังจากนี้ ขอยืนยันเดินหน้าตรวจสอบถ่วงดุลรัฐบาลอย่างตรงไปตรงมา ให้คุ้มค่าภาษีของประชาชน และพร้อมผลักดันกฎหมายทุกฉบับ ไม่ว่าจะมาจากฝ่ายค้านหรือฝ่ายรัฐบาล
ส่วนโรดแมพฝ่ายค้าน เรื่องการอภิปรายไม่ไว้วางใจอภิปรายทั่วไป และการอภิปรายไม่ไว้วางใจคาดว่า น่าจะเกิดขึ้นได้ช่วงต้นปี 68 ทั้งนี้ เตรียบสอบจริยธรรม สส. ซึ่งแยกแยะงานพรรคและตัวบุคคล ที่พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ถูกร้องเรียนเรื่องจริยธรรม และไม่ส่งผลกระทบต่อการทำหน้าที่
ขณะเดียวกัน นายณัฐพงษ์ มองว่า ไม่มีเหตุผลอันใดที่รัฐบาลจะถอนร่างรายงานกรรมาธิการนิรโทษกรรมออกจากสภาฯ เพราะเป็นเพียงการแสดงความคิดเห็น พร้อมย้ำ ไม่ว่าโดนโทษมาตราไหน ควรได้รับความยุติธรรม
ส่วนร่าง พ.ร.บ.การจัดทำประชามติ ที่ล่าสุด วุฒิสภา ยืนยันแก้ไขแบบเสียงข้างมาก 2 ชั้น ต้องถูกตีตกกลับมา สส. นั้น เป็นสิ่งที่น่ากังวล ดังนั้น ต้องมีการหารือกีบทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาล โดยเชื่อว่า ทำประชามติแค่ 2 ครั้ง อาจทันเลือกตั้งปี 70 ขณะการผลักดันแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยังไม่เห็นสัญญาณที่ไม่เอาด้วยกับ 6 แพ็คเกจ ซึ่งเป็นการแก้รายมาตราของพรรคประชาชน และที่มีการชะลอเกี่ยวกับมาตรฐานทางจริยธรรมนักการเมืองนั้น เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนในส่วนที่เหลือได้
จับสัญญาณถอยแก้ รธน. สะเทือนเสถียรภาพ‘รบ.เพื่อไทย’?
https://www.matichon.co.th/politics/news_4819821
หมายเหตุ – ความเห็นนักวิชาการกรณีที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่ารัฐบาลพรรคเพื่อไทย (พท.) มุ่งแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 เพื่อประโยชน์ของพรรคการเมืองและตัวนักการเมือง โดยไม่สนใจแก้ปัญหาเศรษฐกิจ หรือแก้ปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นรุนแรงในพื้นที่ต่างๆ ทำให้พรรค พท.ถอยเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา เพื่อลดความเสี่ยง และการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ พิจารณาเสร็จแล้ว และเสียงสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ส่วนใหญ่กลับมติ ให้ใช้เสียงข้างมากฟื้นเกณฑ์ผ่านประชามติด้วยเสียงข้างมาก 2 ชั้น ประเด็นเหล่านี้จะส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาลหรือไม่ อย่างไร
โอฬาร ถิ่นบางเตียว
คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ม.บูรพา
ขณะนี้รัฐบาลโดนกระแสกดดันหนัก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และปัญหาเศรษฐกิจปากท้องของประชาชน ซึ่งทั้ง 2 เรื่อง ผมมองว่าทำคู่กันไปได้ โดยเฉพาะการจะแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา เพื่อคลายความกังวลใจของสังคม ในเรื่องการขอแก้ไขเพื่อนักการเมือง โดยแก้ไขในประเด็นที่สังคมมีส่วนร่วม โดยเฉพาะเรื่องการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ สมควรจะแก้ไข เพราะทิศทางแนวโน้มในการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ง่าย และอาจแก้ไม่ทันรัฐบาลชุดนี้
หากต้องการแก้ไขต้องให้เกิดประโยชน์กับสังคมมากที่สุด เพราะหากการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้น้ำหนักเกี่ยวกับความผิดจริยธรรมร้ายแรง กับเรื่องอำนาจองค์กรอิสระ จะถูกมองว่าเป็นแก้ไขเพื่อส่วนตัว ทำให้สังคมรู้สึกว่าไม่มีประโยชน์ เพราะประเทศอยู่ในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ
การที่รัฐบาลพยายามออกข่าวมาในลักษณะขอแก้ไขปัญเศรษฐกิจ เนื่องจากมีผู้ประสบภัยจากน้ำท่วมนั้น ผมมองว่าออกข่าวแก้เกี้ยวมากกว่า เพื่อหาทางออกให้กับตนเอง เพราะว่าการพูดคุยในการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรานั้น มีความเห็นไม่พ้องต้องกันของพรรคร่วมรัฐบาล ท่าทีของ ส.ว.ก็ดี ทำให้รัฐบาลต้องหาทางออก บวกกับความรู้สึกของประชาชนเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นการแก้ไขเพื่อประโยชน์ของนักการเมือง รัฐบาลจึงพยายามแก้เกี้ยวว่าไม่แก้ไขแล้ว ประกอบกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจไม่มีความมั่นคง ประชาชนเดือดร้อนจำนวนมาก จึงได้ออกมาพูดทำนองขอแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจก่อน
ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับนั้น ผมมองว่ายาก แต่หากไม่เร่งดำเนินการ คงไม่ทันกับรัฐบาลชุดนี้ รวมทั้งปัญหาหลักๆ ของประเทศจะไม่ได้รับการแก้ไขอีก จึงอยากให้รัฐบาลทำไปพร้อมๆ กัน เชื่อมั่นว่าเสถียรภาพของรัฐบาลจะดีขึ้น เพราะด้านหนึ่งถ้าแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนที่ประชาชนได้รับประโยชน์จริงๆ จะทำให้ประชาชนมองว่ารัฐบาลทำงานเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน ไม่ใช่เข้ามาเพื่อจัดสรรผลประโยชน์ทางการเมืองหรือขอแก้รัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ของตัวเอง รัฐบาลจะมีคะแนนนิยมมากขึ้น หากแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจได้ด้วย ประชาชนจะมองว่ารัฐบาลสามารถแก้ปัญหา ซึ่งจะได้ทั้งความเชื่อมั่นทางการเมือง และทางเศรษฐกิจไปด้วย
ส่วนประเด็น พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2564 หรือ พ.ร.บ.ประชามติฯ เพื่อปลดล็อก ‘เสียงข้างมาก 2 ชั้น’ เหลือเสียงข้างมากชั้นเดียว เกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ผมมองว่าการพยายามแก้ พ.ร.บ.ประชามติฯ ที่ผ่านมา เพื่อให้เกิดความคล่องตัว และแก้ไขได้ง่ายยิ่งขึ้น ครั้งนี้คิดว่าการแก้ไขควรให้ได้ทันก่อนที่จะมีการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ทั่วประเทศ แต่ดูท่าทีของ ส.ว.ไม่เห็นด้วยแล้ว คงจะมีปัญหาเรื่องความเห็นแตกต่างทางความคิด สุดท้ายอาจจะต้องตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมระหว่าง ส.ว.กับ ส.ส. ซึ่งการตั้งกรรมการร่วม จะทำให้ออกกฎหมายในการแก้ พ.ร.บ.ประชามติฯ ล่าช้าออกไปอีก ซึ่งจะเกิดผลกระทบกับประชาชน ที่จะออกมาใช้สิทธิช่วงของการเลือกตั้ง อบจ.ทั่วประเทศ
นอกจากนี้ มองว่าน่าจะมีกระบวนการที่ออกมาเคลื่อนไหวกับประชาชน ที่ไม่เห็นด้วยกับการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยใช้ข้ออ้างว่า ‘นักการเมืองทำเพื่อใคร’ พร้อมทั้งชี้ว่านักการเมืองทำเพื่อตัวเอง จึงเป็นสิ่งที่น่ากลัว อยากเสนอว่าหากเป็นเช่นนั้น ถ้ารัฐบาลต้องการแก้ปัญหาให้กับประชาชนจริงๆ ให้แก้รัฐธรรมนูญที่คนส่วนใหญ่ได้ประโยชน์ก่อน เพราะไม่เช่นนั้นก็มั่วกันไปหมด รัฐธรรมนูญก็ไม่ได้แก้ไข กฎหมายสำคัญๆ ที่เกี่ยวข้องกับประชาชนก็ไม่ได้แก้อีกด้วย
ที่เครือข่ายนักวิชาการเพื่อการกระจายอำนาจ ได้เคลื่อนไหวในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เพราะประชาชนจะได้ประโยชน์เยอะ โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญปี 2540 ได้พัฒนามาแล้ว แต่มาหยุดชะงักเมื่อปี 2557 เมื่อเกิดรัฐประหาร ทำให้ข้าราชการ นักการเมืองท้องถิ่น เข้าไปมีบทบาทมากจนเกินไป ขณะที่ประชาชนมีบทบาทน้อย จึงอยากให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ ในส่วนของการกระจายอำนาจของ อปท.
การที่หลายคนมองพรรคภูมิใจไทย (ภท.) ไม่อยากแก้ไขรัฐธรรมนูญ อาจจะมองได้ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับ ส.ว. เนื่องจากพรรค ภท.ไม่ไว้ใจ เพราะการเมืองขณะนี้ทำให้มองว่าพรรค พท.เป็นผู้เล่นเกม แต่พรรค ภท.เป็นผู้คุมเกม และเกิดความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล
หากให้มองว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญจะดำเนินการต่อไปได้หรือไม่ในเรื่องนี้ หากแก้ไขโดยยกร่างใหม่ทั้งหมด คงไม่ทันรัฐบาลนี้ หากแก้ไขรายมาตรา ถ้าเกิดประโยชน์กับนักการเมือง ก็ทำไม่ได้ หากแก้ไขแต่ประชาชนได้ประโยชน์ ก็อาจเป็นไปได้
ถ้าให้มองอายุของรัฐบาล หากไม่ทำอะไรเลยคงอยู่ลำบาก เพราะจะมีแรงกดดันจากสังคมเยอะหน่อย ถ้าทำทั้ง 2 อย่างได้ ทั้งแก้ไขรัฐธรรมนูญและแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ถือว่าดี หรือทำอย่างหนึ่งอย่างใดได้ ก็พอรับได้
ส่วนรัฐบาลจะอยู่ครบวาระนั้น ต้องดูที่ปัจจัยต่างๆ หากมองในอำนาจ ถือว่ารัฐบาลได้เปรียบ เพราะมีเครือข่ายอำนาจในสังคมไทย สถาบันต่างๆ ที่นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มีคอนเน็กชั่น บารมี สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกับเครือข่ายเหล่านี้ได้ส่วนการบริหารงานก็ควรทำตามสัญญาประชาชนให้มากที่สุด เพื่อฟื้นคะแนนความนิยมให้กับรัฐบาล ที่สำคัญในการบริหารการตัดสินใจต่างๆ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกฯ ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในการตัดสินใจ เพราะจะมีนักร้องจ้องหาโอกาสร้องเรียน เพื่อต้องการล้มรัฐบาล น.ส.แพทองธาร
การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเงินดิจิทัลนั้น จะต้องเร่งดำเนินการ เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้คือโครงการเงินดิจิทัล หากกล่าวไปแล้วยังไม่ได้นำออกมาใช้ ตามนโยบายที่หาเสียง แต่เป็นเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะเงินดิจิทัลจะต้องไม่ใช้เงินสด ซึ่งเท่ากับว่าเงินดิจิทัลยังไม่ได้ดำเนินการเลย แต่เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น โดยเอาเงินสดมาแจกเป็นการแก้เกี้ยวเท่านั้นเอง
กรณีมีข่าวว่าจะลดการแจกเงินในเฟส 2 เหลือ 5 พันบาท เรื่องนี้ไม่ควรจะมีข่าวออกมา ทำให้มองว่ารัฐบาลพยายามจะทำตามสัญญา แต่เงินไม่มี นอกจากนี้ ยังมีความพยายามสื่อสารออกไปทำนองว่าเป็นเงินของนายกฯ หรือตระกูลชินวัตร ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ควรจะชี้แจงที่มาของเงิน ที่นำมาแจกให้ชัดเจน เพื่อสร้างความตระหนักให้กับผู้ที่ได้รับเงินไป จะต้องใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่า เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างจริงจัง ทำให้เศรษฐกิจมีความเคลื่อนไหว ส่งผลให้ประเทศเดินหน้าต่อไปได้
สุดเขต สกุลทอง
วิทยาลัยบริหารศาสตร์ ม.แม่โจ้
กระแสวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล น.ส.แพทองธาร ที่เดินหน้าแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และภัยพิบัติน้ำท่วม มากกว่าเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญตามที่พรรค พท.หาเสียงไว้ ประเด็นนี้ต้องแยกเรื่องเหตุการณ์ปัจจุบันกับนโยบายที่หาเสียงไว้ เพราะการแก้รัฐธรรมนูญมีบางเรื่องที่ยังเข้าไปแตะต้องไม่ได้ ขณะเดียวกันเวลานี้หลายพื้นที่ของประเทศมีปัญหาน้ำท่วม ซึ่งเป็นภัยพิบัติที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ จึงเป็นเรื่องของภาวะผู้นำที่ต้องตัดสินใจช่วยเหลือประชาชนก่อน
ส่วนประเด็นด้านเศรษฐกิจ มีปัญหาค่าเงินบาทแข็งจนส่งผลกระทบกับการส่งออก และการลงทุนของต่างชาติที่ชะลอตัวลง รัฐบาลต้องเร่งหามาตรการชดเชยเพื่อช่วยเหลือนักลงทุนต่างชาติ เช่น มาตรการด้านภาษี หรือเพิ่มสิทธิพิเศษด้านการลงทุน
รัฐบาลพรรค พท.มีจุดแข็งเรื่องนโยบายด้านเศรษฐกิจ และที่หาเสียงไว้ คือเงินดิจิทัล 10,000 บาท เดิมมีแผนแจกเงินในปีงบประมาณ 2568 แต่รัฐบาลเดินหน้าแจกก่อนสิ้นสุดปีงบ 2567 เพื่อชดเชยความรู้สึกให้ประชาชน และเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ของรัฐบาล เพราะหากไม่เร่งรัดทำ สิ่งที่เกิดขึ้น ทั้งน้ำท่วม และค่าเงินบาทแข็ง อารมณ์ และความรู้สึกของประชาชนต่อการเมืองจะคุกรุ่นมากกว่านี้ แต่เมื่อรัฐบาลแจกเงิน 10,000 บาท ทำให้ประชาชนกลุ่มเปราะบางมีเงินจับจ่ายใช้สอย จึงช่วยเรียกคะแนนความนิยมต่อรัฐบาลกลับคืนมาได้
สำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มีไทม์ไลน์ที่กำหนดไว้ชัดเจน และเดินหน้ามาตามลำดับไม่ได้ล่าช้า เพราะสมัยที่นายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกฯประกาศชัดเจนว่าขอเวลา 2 ปี และขณะนี้ผ่านไปเพียง 1 ปีเท่านั้น การที่รัฐบาลไม่ได้ทุ่มเททรัพยากรทั้งหมดเพื่อเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ได้หมายความว่ารัฐบาลไม่สนใจ แต่ยังไม่ถึงเวลา
ส่วนการที่ ส.ว.จะกลับมาใช้เสียงข้างมาก 2 ชั้น ในการทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อยืดเวลา อาจเสร็จไม่ทันปี 2570 ซึ่งจะเชื่อมโยงกับสัญญาณที่พรรค ภท.สนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับหรือไม่นั้น พรรค ภท.ถือเป็นตัวแปรสำคัญของรัฐบาล และการออกมาเคลื่อนไหวเช่นนี้ ถือว่ามีนัยยะ และวัตถุประสงค์การหาเสียงเลือกตั้งที่ผ่านมา การชูธงเรื่องแก้รัฐธรรมนูญ เป็นอีกหนึ่งกระแสหลักของสังคม นอกเหนือจากประเด็นเรื่องเศรษฐกิจและการแจกเงินดิจิทัล