JJNY : 'ความมั่นคง'ของ กอ.รมน.ไม่เข้ากับสมัยใหม่│“ไพศาล”เตือน“อิ๊งค์”│น้ำวังยังท่วมหนัก│ยอดเสียชีวิตจาก“เฮลีน”พุ่ง 44 คน

'กรพินธุ์' ชี้ 'ความมั่นคง' ของ กอ.รมน. ไม่เข้ากับแนวคิดสมัยใหม่
https://prachatai.com/journal/2024/09/110850
 
 
อาจารย์รัฐศาสตร์ จุฬาฯ ชี้ว่าหนังสือเรื่อง กอ.รมน.ของพวงทองทำให้วิธีที่กองทัพเข้ามาแทรกซึมสังคมด้วย กอ.รมน.อย่างไร และตีความขยาย “ความมั่นคง” เพื่อเข้ามาในงานของพลเรือนแต่ยังมองความมั่นคงแบบตกยุค ไม่เข้ากับแนวคิดเรื่องความมั่นคงของมนุษย์ที่ให้ความสำคัญกับการกระจายอำนาจให้ภาคประชาสังคมแทนการขยายตัวของอำนาจรัฐ
 
27 ก.ย.2567 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในงานเสวนา “ความมั่นคงภายใน : อำนาจของทหารภารกิจของประชาชน” เปิดตัวหนังสือของพวงทอง ภวัครพันธุ์ ในชื่อ “ในนามของความมั่นคงภายใน การแทรกซึมสังคมของกองทัพไทย” ที่ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้กล่าวถึงการขยายบทบาทของกองทัพไทยในการเข้ามาแทรกซึมควบคุมสังคมผ่านกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน  หรือ กอ.รมน.
 
กรพินธุ์ พัวพันสวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอถึงประเด็นในหนังสือของพวงทองชี้ให้เห็นถึงการเข้ามาแทรกซึมสังคมของกองทัพไทยผ่าน กอ.รมน.ด้วยการขยายการตีความคำว่า “ความมั่นคง” เข้ามาในงานที่ควรจะเป็นกิจการหน่วยงานผลเรือนแต่ยังคงมองเรื่องความมั่นคงในแบบดั้งเดิมที่ให้ความสำคัญกับรัฐมากกว่าซึ่งไม่เข้ากับแนวคิดเรื่องความมั่นคงของมนุษย์ที่ให้ความสำคัญกับภาคประชาชนและการกระจายอำนาจให้ภาคประชาสังคมจัดการปัญหาแทนการขยายตัวของอำนาจรัฐ
 
กรพินธุ์เริ่มจากกล่าวว่าประเด็นหลักในหนังสือมีอยู่ 3 ประเด็นหลักคือ
• นำเสนอถึงกองทัพไทยในฐานะกลไกรัฐที่ใช้แทรกซึมสังคม
• ตีความเรื่องการพัฒนากับความมั่นคงของมนุษย์ที่ไม่สอดคล้องกับบริบทโลก
• นำเสนอพลวัตรทางอำนาจและความขัดแย้งในทางการเมืองของไทยกับกองทัพตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันกรพินธุ์นำเสนอประเด็นแรกว่า แนวทางการศึกษา
 
กองทัพไทยของพวงทองไม่ได้มองไปในมุมความรุนแรงหรือกฎหมาย แต่เป็นเข้าไปศึกษากองทัพในการสถาปนาอำนาจนำทางสังคมและการแผ่ขยายอิทธิพลในเชิงอุดมการณ์ที่มากไปกว่าทางกฎหมายหรือแผนงานที่เขียนเป็นตัวหนังสือ เริ่มจากการศึกษาประวัติความเป็นมาและภารกิจของกองทัพในการเข้าไปในชุมชนต่างๆ ของไทยเห็นถึงการแทรกซึมเข้ามาในสังคมโดยใช้กลไกของ กอ.รมน.
 
อ.รัฐศาสตร์กล่าวว่า งานของพวงทองยังทำให้เห็นถึงเป็นบทบาทและปฏิบัติการของกองทัพที่ครอบคลุม “ความมั่นคง” ไปมากกว่าบริบทความมั่นคงแบบเดิมที่หมายถึงการป้องกันการรุกรานจากศัตรูภายนอกประเทศ แต่เข้าไปดูถึงโครงการจำนวนมากที่เหมือนไม่เกี่ยวกับการเมืองอย่างงานด้านสาธารณสุข การพัฒนาเพื่อความมั่นคง แก้ปัญหายาเสพติด ให้ช่วยเหลือทางมนุษยธรรมถูกรวมเข้ามาเป็นความมั่นคงภายใน และทำให้กลายเป็นภารกิจของกองทัพโดยรวมและเพิ่มขึ้นอย่างมากใน 20 ปีที่ผ่านมา
 
กรพินธุ์ยกตัวอย่างในหนังสือขึ้นมาเช่น โครงการอบรมตามโรงเรียนต่างๆ เข้าไปทำธุรกิจท่องเที่ยวและสันทนาการอย่างอาร์มีแลนด์ที่เอาพื้นที่ของหน่วยทหารมาทำสถานที่ท่องเที่ยว ภารกิจทวงคืนผืนป่า เข้าไปสร้างเครือข่ายกับกลุ่มทางสังคมต่างๆ ด้วยการจัดอบรมร่วมกันกับนักธุรกิจไปจนถึงกลุ่มคนขี่บิ๊กไบค์ เป็นต้น
 
อ.รัฐศาสตร์กล่าวว่าหนังสือต้องการตอบคำถามว่าปรากฏการณ์เหล่านี้มาถึงจุดนี้อย่างไร มีนัยยะทางการเมืองอย่างไร และจะเข้าใจเรื่องพวกนี้อย่างไร โดยย้อนไปถึงตั้งแต่กองบัญชาการปราบปรามการกระทำที่เป็นคอมมิวนิสต์ในบริบทคอมมิวนิสต์ที่ขยายตัวในช่วงปี 2500 ที่ไม่ใช่มีเพียงแต่การปะทะกันด้วยอาวุธแต่ยังเข้าไปทำโครงการพัฒนาต่างๆ และจัดตั้งมวลชนในชนบท ก่อนที่หน่วยงานดังกล่าวจะกลายมาเป็น กอ.รมน.ในปัจจุบัน และยังเพิ่มภารกิจความมั่นคงไซเบอร์เข้ามาอีก
 
กรพินธุ์มองว่าที่ฝ่ายรัฐหรือกองทัพเห็นว่าหนังสือเล่มนี้เป็นปัญหาอาจเป็นเพราะคำว่า “แทรกซึม” ในชื่อ เพราะคำว่าแทรกซึมเป็นศัพท์ที่กองทัพใช้เรียกปฏิบัติการของฝ่ายตรงข้ามอย่างเช่นคอมมิวนิสต์ที่เข้ามาล้างสมองชาวบ้าน ชักจูงมวลชน แต่รัฐมองว่าการแทรกซึมไม่ใช่กิจกรรมของรัฐและเป็นฝ่ายกองทัพต่างหากที่ต้องป้องกันการแทรกซึม แต่ในงานศึกษาต่างๆ ก็ยืนยันว่าฝ่ายรัฐก็ทำการแทรกซึมได้เช่นเดียวกัน
 
อ.รัฐศาสตร์กล่าวถึงประเด็นที่สองว่า การพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ของกองทัพที่งานชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่าการตีความของกองทัพไทยอย่างผิดฝาผิดตัว และการพัฒนาเพื่อความมั่นคงก็ถูกผลักดันมาตั้งแต่พ.ศ. 2518 และถูกพัฒนามาเรื่อยๆ เพื่อค้ำประกันและให้ความชอบธรรมที่จะให้กองทัพเข้ามาเกี่ยวข้องในด้านอื่นๆ เพื่อรักษาเสถียรภาพ จารีต และความเป็นไทย ที่มีมโนทัศน์แบบเอารัฐเป็นศูนย์กลางและชาตินิยมสวนทางกับแนวทางการพัฒนาทำให้ประเทศเป็นสมัยใหม่เพื่อให้สังคมได้ปลดแอกจากจารีต ระบบอุปถัมภ์ ความไม่เป็นมืออาชีพ ไม่โปร่งใส เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นอุปสรรคต่อการทำให้ประเทศเข้าสู่สภาวะสมัยใหม่ (Modernization)
 
แม้ว่าในมุมมองนักพัฒนาเองจะให้ความสำคัญกับความมั่นคงเป็นเรื่องรองเพราะความมั่นคงในแบบเดิมได้กักขังปัจเจกไม่ให้มีศักยภาพทางเศรษฐกิจ แต่รัฐไทยนำมาผสมกับแนวคิดการพัฒนาและอุดมการณ์แบบจารีต ชาตินิยมแบบไทย รวมถึงความมั่นคงของมนุษย์ โดยงานของพวงทองก็บอกว่ากองทัพได้หยิบฉวยเอาเรื่องนี้มาใช้เป็นแนวคิดในการให้ความชอบธรรมและสุดท้ายยังกลายเป็นขยายอำนาจและขอบเขตของทหารในการรับมือปัญหาสังคมสมัยใหม่ด้วย
 
ในเชิงรัฐศาสตร์แนวคิดความมั่นคงของมนุษย์แบบใหม่เป็นข้อท้าทายสังคมโลกเพราะไม่ใช่เรื่องดินแดนหรือสะสมอาวุธ ไม่ใช่การขยายอำนาจของกองทัพ นับตั้งแต่หลังสงครามเย็นเป็นต้นมาได้ให้ความสำคัญกับความมั่นคงของมนุษย์ อย่างเช่นความยากจน ปัญหาทางเศรษฐกิจ ความขัดแย้งทางศาสนา ความเท่าเทียมทางเพศ หรือแม้กระทั่งเรื่องของผู้ลี้ภัยหรือปัญหาค้ามนุษย์ที่ผู้ถูกกระทำเป็นเหยื่อแต่ในความมั่นคงแบบดั้งเดิมอาจมองว่าพวกเขาเหล่านี้คือผู้กระทำความผิด
 
ความมั่นคงของมนุษย์ทำให้เราเห็นใบหน้า ทำให้เราให้พื้นที่กับคนเปราะบาง คนที่เป็นเหยื่อความรุนแรงทางการเมือง” กรพินธุ์กล่าวถึงขอบเขตความมั่นคงในโลกสมัยใหม่ที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับหน่วยงานรัฐ แต่ต้องให้ความสำคัญจากล่างขึ้นบนก็คือภาคประชาสังคม การกระจายอำนาจให้ภาคประชาสังคมเข้าไปจัดการกับปัญหาแทนการขยายตัวของหน่วยงานรัฐ
 
อ.รัฐศาสตร์อธิบายว่า แม้แนวคิดความมั่นคงมนุษย์มันอาจจะถูกวิจารณ์บ้าง แต่ที่เรามองเห็นร่วมกันก็คือโลกาภิวัฒน์ รัฐไม่ใช่ตัวแสดงหลักแต่รัฐต้องปรับมุมมองการแก้ไขปัญหาและลดขนาดรัฐให้เล็กลงไปจนถึงทำให้เป็นประชาธิปไตย ให้ภาคส่วนอื่นเข้ามามีบทบาทมากขึ้นโดยเฉพาะชุมชนท้องถิ่น แต่หนังสือของพวงทองกลับชี้ให้เห็นว่ากองทัพไทยรับแนวคิดความมั่นคงของมนุษย์มาใช้โดยถูกครอบงำจากความมั่นคงของรัฐแบบดั้งเดิมแทนที่จะปล่อยให้หน่วยงานพลเรือนดูแล แต่กองทัพกลับมานำพลเรือนเสียเอง
 
กรพินธุ์ทิ้งท้ายว่าสโลแกนหลักของความมั่นคงของมนุษย์คือ การมีอิสรภาพจากความหวาดกลัวและมีอิสรภาพจากความต้องการปัจจัยพื้นฐานในชีวิต ซึ่งความมั่นคงของมนุษย์ครอบคลุมไปความเป็นอิสรภาพจากความหวาดกลัวที่จะตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงโดยรัฐ หรือเสรีภาพการแสดงออกของตัวเองจะถูกสอดส่องตรวจตราจากรัฐและกังวลว่าจะถูกฟ้องดำเนินคดีด้วยกฎหมายความมั่นคง
 
ถ้าเราอยู่ในสังคมที่พลเมืองยังไม่มีอิสรภาพทั้งจากเรื่องปากท้องคือความเปราะบางในทางเศรษฐกิจและจากความหวาดกลัวคุกคามปิดปาก ก็อาจจะถือได้ว่าเรายังอยู่ในสังคมที่เราถูกครอบงำด้วยมโนทัศน์ความมั่นคงแบบเดิม และเป็นความล้มเหลวในการบูรณาการมโนทัศน์แบบใหม่ว่าด้วยความมั่นคงของมนุษย์



“ไพศาล”เตือน “นายกฯอิ๊งค์” ระวัง!! เชื่อ “วิษณุ” จบแบบ “เศรษฐา” ปมแหล่งที่มาของเงิน
https://siamrath.co.th/n/569822

“ไพศาล”เตือน “นายกฯอิ๊งค์” ระวัง!! เชื่อ “วิษณุ” จบแบบ “เศรษฐา” ปมแหล่งที่มาของเงิน ชี้ ถ้าดันทุรังกันต่อไปดีไม่ดีรัฐบาลจะถูกถอดถอนทั้งคณะ ก่อนปีใหม่นี้

เมื่อวันที่ 28 ก.ย.2567  นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กว่า

ที่นายวิษณุ ให้ความเห็นว่า ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าที่มาของรายได้เป็นอย่างไร และต้องแถลงอย่างไร ดังนั้นรัฐบาลพูดสักคำหรือพูดสัก 2 วรรคก็พอแล้ว และเชื่อว่าเจ้าหน้าที่อาจจะเขียนไว้แล้ว

ก็อยากให้รัฐบาลเชื่อนายวิษณุ จะได้เกิดกรณีแบบนายกเศรษฐาอีกครั้งหนึ่ง
 ก็ขอบอกว่า รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้นะครับ ว่าที่มาของรายได้นั้นมี 4 ประเภทคือ 
- รายได้จากภาษีอากร
- รายได้จากการกู้ยืมเงิน
- รายได้จากรัฐพาณิชย์ และ
- รายได้อื่น

และรายได้ 4 ประเภทนี้แหละที่ต้องแถลง ว่าในการดำเนินนโยบายของรัฐบาลนั้นจะนำรายได้อย่างไหนมาใช้

รัฐธรรมนูญยังบัญญัติต่อไปว่า รายได้ แผ่นดินดังกล่าวนี้ เมื่อรับมาแล้ว ต้องนำเข้าบัญชีเงินคงคลัง รัฐบาลจะนำไปใช้ไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับอำนาจจากกฎหมายงบประมาณ ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายงบประมาณ กฎหมายวิธีการงบประมาณและกฎหมายเงินคงคลัง

นี่คือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ดังนั้นที่ว่าไม่มีกฎหมายจึงไม่จริงนะครับ

 และที่รัฐธรรมนูญบัญญัติว่า ต้องแถลงที่มารายได้นั้น คำว่าแถลงหมายถึงการพูดในสภา ไม่ใช่เขียนเป็นเอกสารเก็บไว้ที่บ้าน
ก็ในเมื่อรัฐบาลไม่ได้แถลงที่มารายได้ ที่จะนำมาใช้จ่ายตามนโยบาย จึงผิดมาตรา 162 จึงเป็นเหตุให้มีผู้ไปร้องถอดถอนคณะรัฐมนตรีทั้งคณะไงล่ะครับ
 ถ้าดันทุรังกันต่อไปดีไม่ดีรัฐบาลจะถูกถอดถอนทั้งคณะ ก่อนปีใหม่นี้

ถ้า เชื่อนายวิษณุ ก็จะเสี่ยง แบบรัฐบาลเศรษฐา
ถ้า เชื่อผม ก็ ต้องขอเปิด สภาแล้วแถลงเสียให้ ครบ ถ้วน ถูก ต้อง จะไม่ดีกว่าเอารัฐบาลและบ้านเมืองไปเสี่ยงหรือผบ.ตร. ทั้งนี้ ตั้งแต่ 1 ต.ค.2567 เป็นต้นไป

#ข่าววันนี้ #ข่าวการเมือง #การเมือง #ไพศาล #นายกฯ #นายกฯอิ๊งค์ #วิษณุ
 
https://www.facebook.com/Paisal.Fanpage/posts/pfbid02qErFFyV8XXnAEuWbwAw39euDn3ukcziuCdT9CjjfjawiQa6V2MxUEUzmH2bebeSLl
 


น้ำวังยังท่วมหนัก กระทบหลายอำเภอในลำปาง
https://www.matichon.co.th/region/news_4816075
 
น้ำวังยังท่วมหนัก กระทบหลายอำเภอในลำปาง ชาวบ้านเดือดร้อนหนัก อยู่กับน้ำท่วมเกือบ 2 สัปดาห์

วันที่ 28 กันยายน ที่ จ.ลำปาง แม่น้ำวังที่ไหลผ่านพื้นที่ ยังส่งผลกระทบทั้งในเขตตัวเมืองลำปาง และในหลายๆ อำเภอ โดยเฉพาะอำเภอทางตอนล่างของจังหวัด ที่ขณะนี้กำลังประสบภัยอย่างหนัก ซึ่งเป็นมวลน้ำก้อนใหญ่ ทั้งที่มาจากฝนตกหนัก จากสถานการณ์น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมฉับพลันในพื้นที่อำเภอตอนบน รวมถึงจากการปล่อยน้ำของเขื่อนใหญ่ 2 แห่งของ จ.ลำปาง ได้แก่ เขื่อนกิ่วคอหมา อ.แจ้ห่ม และเขื่อนกิ่วลม อ.เมือง ที่ต้องระบายน้ำออก เพราะเขื่อนกิ่วคอหมาเต็ม และเกินความจุไปกว่า 110 % และเขื่อนกิ่วลม ก็ใกล้จะเต็มความจุ ระดับน้ำอยู่กว่า 90 % ของความจุ
 
จึงทำให้แม่น้ำวัง มีปริมาณที่มาก และเป็นมวลน้ำก้อนใหญ่ ที่สร้างผลกระทบต่อพื้นที่ของ จ.ลำปาง โดยตัวเมืองลำปาง กระทบบ้านเรือนในที่ลุ่มต่ำ ฝั่ง ต.เวียงเหนือ เขตเทศบาลนครลำปาง ตั้งแต่ชุมชนท่านางลอย ยาวมาจนถึงชุมชนเลียบแม่น้ำวัง ริมถนนป่าไม้ เลียบแม่น้ำวัง ใกล้กับสะพานพัฒนาภาคเหนือ และมาจนถึงบ้านเรือนประชาชนบริเวณถนนเจริญประเทศ ซึ่งในจุดนี้ระดับน้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตร บ้านเรือนในที่ลุ่มต่ำมากลึกกว่า 2 เมตร พื้นที่ประสบภัยต่อเนื่องนานกว่าสัปดาห์แล้ว
 
นอกจากนี้ แม่น้ำวังที่ไหลไปจากเขตตัวเมือง ก็ไปสร้างผลกระทบอย่างหนักต่อในพื้นที่ อ.เกาะคา อ.สบปราบ อ.เถิน และ อ.แม่พริก ทำให้บ้านเรือนได้รับผลกระทบไปกว่า 3,000 หลังคาเรือน กระจายในกว่า 200 หมู่บ้านใน 4 อำเภอข้างต้น กระแสน้ำท่วมหนักในทุกพื้นที่อำเภอตอนล่าง ระดับน้ำลึกสุดๆ 2 – 3 เมตร ซึ่งพื้นที่อำเภอทางตอนล่างของจังหวัด ถือว่าประสบภัยแม่น้ำวังล้นตลิ่ง กระทบต่อพื้นที
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่