เริ่มอ่านพระไตรปิฎกเล่มไหนจึงจะดี?

ฟังคลิป : https://www.dhammahome.com/audio/topic/1553

**********************************************************

อ. สุจินต์ :  "ชอบฟังเรื่องสนุกๆ ไหมคะ ชอบ นั่นคือโลภะ มีจริงๆ และที่ชอบเรื่องสนุกๆ ที่เขาแต่งให้เราสนุก เราคิดเองไม่ออกก็ต้องไปอาศัยทีวีบ้าง หนังสือบ้าง แล้วก็เพลิดเพลินไปกับเรื่องที่สนุกต่างๆ แล้วเราจะสังเกตได้ว่า แม้กายวาจาของคนที่อยู่ในโทรทัศน์ เราก็เห็นได้ ความประพฤติอย่างไหนถูกหรือไม่ถูก ดีหรือไม่ดี ถ้าจะสังเกตในโทรทัศน์จะมีตอนที่เขารับประทานอาหารกัน มีไหมคะ แล้วเวลารับประทานอาหารไม่มีช้อนกลางเลย ต่อไปนี้ถ้าดูโทรศัพท์ถึงตอนรับประทานอาหารแล้วมีช้อนกลางช่วยบอกด้วย เพราะจริงๆ แล้วเท่าที่ดูมาไม่มีเลย ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ไม่ถูก ไม่ควร แต่ก็ออกมาอย่างนั้น

เพราะฉะนั้น ถ้าเราอ่านพระวินัยปิฎก เราจะเป็นคนที่ละเอียดขึ้นในเรื่องความลุ่มลึกของกิจของกาย ของวาจา นี่เป็นคาวมละเอียดความลุ่มลึกของปิฎกหนึ่งซึ่งละเอียดมาก ทุกคนไม่ต้องคิดว่า ฉันยังเด็ก ยังไม่อ่าน อ่านเลยค่ะ พระไตรปิฎกทั้งหมด

นี่เป็นปิฎกที่ ๑ แต่ถ้าคิดว่า พระไตรปิฎกที่เป็นพระวินัยปิฎกก็ละเอียด ก็ลองไปอ่านพระสุตตันตปิฎก

เพราะฉะนั้น ชีวิตทุกวันจะมีปัญหามากในเรื่องการกระทำทางกาย ทางวาจาซึ่งถ้าใครสนใจอยากจะรู้ความละเอียดว่าอะไรดี ก็อ่านพระวินัย แต่ถ้าคิดว่าพระวินัยไม่เห็นมีเรื่องมีราวอะไรเลย ก็อ่านพระสูตร ซึ่งพระไตรปิฎกทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นพระวินัย พระสูตร หรือพระอภิธรรมก็คือธรรม ถ้าไม่มีธรรม คือ จิต เจตสิก รูป จะไม่มีแม้พระวินัย หรือพระสูตร หรือพระอภิธรรมเลย แต่เพราะเหตุว่ามีธรรมซึ่งจำแนกออกไปได้หลายอย่าง ถ้าเป็นธรรมที่รวบรวมกันแล้วมีการสมมติบัญญัติว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เป็นคน เป็นสัตว์ คนก็คือจิต เจตสิก รูป สัตว์ก็คือจิต เจตสิก รูป แต่ทำไมบอกว่านี่แมว นั่นนก นี่คน ถ้าเราไม่ใช้คำอย่างนี้ เราจะรู้ไหม เราก็ไม่รู้ว่า เราหมายถึงปรมัตถ์อะไร แต่พอเราบอกว่า คน เรารู้เลยว่า ต้องมีจิต เจตสิก รูป แต่ปฏิสนธิจิตเป็นผลของกุศลถึงได้เกิดเป็นมนุษย์ ถ้าเป็นผลของอกุศลก็เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นจิ้งจก ตุ๊กแก งู อะไรก็ได้

นี่ก็คือเราเข้าใจทั้ง ๒ อย่าง คือ เข้าใจเรื่องราวด้วย และเข้าใจสภาพธรรมที่มีจริงๆ ซึ่งเป็นปรมัตถธรรมด้วย แต่ต้องทราบว่า ปรมัตถธรรมสำคัญที่สุด เพราะเป็นธรรมซึ่งไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยง เราเคยคิดว่า คนเที่ยงใช่ไหมคะ เกิดมาแล้วก็ตาย ตอนไม่เที่ยงก็คือตอนตาย แต่ความจริงเป็นจิตทุกขณะซึ่งเกิดดับ เจตสิกที่เกิดพร้อมจิตก็ดับ รูปก็เกิดแล้วดับ แต่ว่าดับเร็วจนกระทั่งเหมือนไม่ดับเลย มีกับอยู่ตรงนี้ตลอด แต่ว่าตรงนี้ตลอดได้อย่างไร ในเมื่อเห็นไม่ใช่ได้ยิน ไม่ใช่คิดนึก ก็เป็นแต่ละขณะซึ่งสั้นมาก

เพราะฉะนั้น ก็ต้องเข้าใจจริงๆ ว่า เมื่อเป็นอย่างนี้แม้แต่ “ธรรม” คำเดียวซึ่งเราได้ยินได้ฟังว่า ทุกอย่างเป็นธรรม ไม่มีอะไรเลยที่ไม่เป็นธรรม แต่ธรรมมากมายเหลือเกิน

เพราะฉะนั้น จึงต้องมีธรรมที่แบ่งประเภทใหญ่ๆ ให้เข้าใจเป็นนามธรรม และรูปธรรม และธรรมมากมายเหลือเกินไม่ได้อยู่ที่อื่นเลย ชีวิตวันนี้จนถึงเดี๋ยวนี้ ธรรมมากไหม ตลอดเวลาจนนับไม่ถ้วน เพราะฉะนั้น จึงต้องแสดงธรรมโดยนัยของพระสูตรเพื่อจะกล่อมเกลาจิตใจของแต่ละอัธยาศัยให้เห็นประโยชน์ของกุศลธรรม และให้เห็นโทษของความไม่รู้หรืออกุศลทั้งหมด ทรงแสดงไว้ละเอียดมากกับแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นธรรมที่น่าฟังมากในพระสูตร เรื่องราวในพระสูตรเมื่อ ๒,๕๐๐ กว่าปี จะต่างกับคนในสมัยนี้ไหมคะ เรื่องชีวิต ไม่ต่างเลย คนสมัยก่อนมีโลภ มีโกรธ มีหลง สนุกสนาน เมตตากรุณา คนสมัยนี้ก็เหมือนกัน เปลี่ยนแต่ชื่อใช่ไหมคะ ถ้าเอาชื่อในพระสูตรออก แล้วเอาชื่อในยุคนี้ไปใส่ ก็เปลี่ยนสภาพธรรมไม่ได้ โลภะของคนนั้นก็ยังเป็นโลภะของคนนั้น โทสะของคนนั้นก็ยังเป็นโทสะของคนนั้น หรือจะเอาชื่อสมัยนี้ออกหมด แต่ก็เปลี่ยนสภาพธรรมไม่ได้ เพราะสภาพธรรมเป็นปรมัตถธรรม ไม่มีใครสามารถจะเปลี่ยนแปลงได้ แต่การอ่านพระสูตรจะทำให้จิตใจของเราอ่อนโยน และสอนละเอียดมาก เช่นความเป็นคนตรง ในพระอภิธรรมจะพูดเรื่องจิต เจตสิก รูปที่เป็นกุศล ที่เป็นอกุศล แต่ในพระสูตรจะเอาอุปนิสัยต่างๆ ของแต่ละบุคคลมาแล้วแสดงให้เห็นว่า แม้แต่ความเป็นคนตรงเป็นประโยชน์อย่างไร ถ้าเราไม่มีความเห็นถูก เราก็จะเป็นคนที่ตรงไม่ได้ ถ้าเราเป็นคนเห็นถูก เราก็ต้องเป็นคนตรง ถ้าเวลาที่ความโกรธเกิดขึ้น แล้วก็รู้ความโกรธเป็นอกุศล เป็นสภาพธรรมที่ไม่ดีเลย เป็นประโยชน์แก่ตัวเองหรือเปล่า ไม่เป็น เป็นประโยชน์กับคนที่เราโกรธหรือเปล่า ก็ไม่เป็น เป็นประโยชน์แก่ใครสักคนไหม ก็ไม่เป็น ก็ไม่เป็นเลยสักอย่างเดียว นั่นคือลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงๆ ที่เป็นความโกรธซึ่งไม่เป็นประโยชน์ แต่ถ้าไม่ทรงแสดงโดยนัยของพระสูตร โดยหลากหลาย โดยละเอียด เราก็จะไม่เห็นโทษเลย และถ้าอกุศลที่ไม่ดีอย่างความโกรธเกิดขึ้น ความโกรธของสลิตา เดิมเห็นว่าดีไหมคะไม่ดี และความโกรธของแบลร์เองดีไหมคะ หรือความโกรธของแบลร์ดี แต่ของสลิตาไม่ดี นี่คือไม่ตรง เห็นไหมคะ

เพราะฉะนั้น เรื่องของการตรงต้องตรง คือเห็นถูกตั้งแต่ต้น แล้วไม่เข้าใครออกใครเลย ไม่ใช่พอพ่อแม่โกรธไม่เป็นไร เราโกรธไม่เป็นไร คนอื่นโกรธเป็นไร อย่างนั้นไม่ได้ เพราะว่าความโกรธก็คือความโกรธ อยู่ที่ไหนก็ไม่ดี ต้องเป็นผู้ตรง ถ้าเราเข้าใจอย่างนี้ ยิ่งเรียนเรายิ่งรู้ว่า พระพุทธศาสนาเป็นเรื่องละเอียด เพราะฉะนั้น สิ่งไหนเป็นความเห็นผิดแม้เพียงนิดเดียว ต้องทิ้ง ต้องละ ไม่ใช่ยังเก็บเอาไว้ ถ้าเป็นความเห็นถูกคือว่า สิ่งนั้นก็ต้องอบรมให้เห็นถูกมากขึ้น ต้องเป็นคนตรง

เพราะฉะนั้น ผู้ที่จะอบรมเจริญปัญญาจนถึงดับกิเลสได้ ต้องมีคุณสมบัติ คือ เป็นอุชุปฏิปันโน การปฏิบัติของเราก็ตรงด้วย

ที่จริงการสนทนาธรรมมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ตั้งแต่ครั้งพุทธกาล เวลาที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ไหน ก็มีผู้อยากจะฟังว่า ทรงแสดงธรรมอะไร ก็ไปเฝ้าแล้วทูลถามทุกเรื่อง เพราะพระองค์เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่พอสมัยนี้ได้ยินคำว่า “สนทนาธรรม” เราก็ต้องคิดว่า เพราะว่า “ธรรม” เป็นสิ่งซึ่งเราจะเข้าใจโดยไม่ต้องศึกษา วิชาอื่นๆ เราก็ต้องศึกษากันทั้งนั้น ถ้าใครจะมีความรู้เรื่องอะไร คงไม่มีใครจะรู้ได้เองโดยไม่ต้องศึกษา ไม่ว่าวิชาอะไรทั้งหมด

เพราะฉะนั้น พระพุทธศาสนาคือคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจากการที่ทรงตรัสรู้   คำว่า “ตรัสรู้” ให้ทราบว่า ไม่ใช่ว่าใครก็จะตรัสรู้ได้ ต้องเป็นผู้อบรมบำเพ็ญพระบารมีมา จึงสามารถตรัสรู้สภาพธรรมทุกอย่าง และทรงแสดงธรรมถึง ๔๕ พรรษา   ถ้าเราจะเรียนวิชาอะไร คงไม่ต้องเรียนถึง ๔๕ ปี แต่สำหรับพระพุทธศาสนาเรียนตลอดชีวิตก็ไม่จบ   ถ้าชาตินี้ไม่จบ ก็ไปต่อชาติหน้าต่อๆ ไป จนกว่าจะจบ คือความเป็นพระอรหันต์ แต่พระธรรมที่ทรงแสดงละเอียด และลึกซึ้ง แล้วบางคนก็บอกว่ายาก ถ้าใครบอกว่าพระธรรมยาก ถูกหรือผิด คือเราจะต้องไตร่ตรอง และคิดเองถึงจะเป็นปัญญาของเรา ในขณะที่ฟังถ้ามีคนบอกว่า พระพุทธศาสนายาก จะถูกหรือจะผิดคะ แต่จริงๆ แล้วถ้าเป็นคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วเราบอกว่ายาก เป็นการสรรเสริญพระปัญญาคุณ    เพราะว่าถ้าเป็นของง่ายๆ ใครก็รู้ได้ ไม่ต้องทำอะไรก็รู้ได้ ไม่ต้องเรียนก็รู้ได้   แต่ถ้าบอกว่า พระพุทธศาสนายาก เราก็รู้ได้ว่า เป็นการสรรเสริญพระปัญญาคุณ แต่ไม่ยากเกินกำลังที่เราจะศึกษา เพียงแต่ว่าเราจะต้องมีศรัทธาเห็นประโยชน์จริงๆ ว่า การฟังพระธรรมเป็นสิ่งที่จำเป็นในชีวิต เพราะว่าเราเป็นพุทธศาสนิกชน ที่ใช้คำว่า “พุทธศาสนิกชน” หมายความถึงคนที่เลื่อมใสแล้วในพระธรรม แต่ถ้าเป็นพุทธศาสนิกชนแล้วก็ไม่ศึกษาธรรม ก็เหมือนกับไม่ใช่พุทธศาสนิกชน เพราะเหตุว่าไม่รู้ว่าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร แล้วก็สอนอะไร แต่พระธรรมที่ทรงแสดงถึง ๔๕ พรรษามากมาย แต่เราจะเริ่มได้ไม่ว่าเมื่อไร ที่ไหน อย่างไร เช่นในขณะนี้ต้องเป็นผู้ละเอียดที่จะต้องเข้าใจแม้คำแรก คือ “ธรรม” หรือ “ศาสนา”
ศาสนาคือคำสอน พระพุทธศาสนา คือ คำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงสอนเรื่องอะไร ทรงสอนธรรมที่เราใช้คำว่า “พระธรรม” เพราะว่า พระรัตนตรัยมี ๓ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

สำหรับพระพุทธเจ้าเราทราบว่า ทรงประกอบด้วยพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ พระมหากรุณาคุณ แต่พระธรรม ถ้าเราไม่ศึกษา เราจะไม่ทราบเลย แล้วพระสงฆ์ที่นี่หมายถึงผู้เป็นพระอริยบุคคล ผู้ที่ฟังพระธรรมแล้วอบรมเจริญปัญญาจนสามารถดับกิเลสได้ เช่น พระอรหันต์

มีใครชอบกิเลสบ้างไหมคะ หรือยังไม่รู้จักว่า กิเลสคืออะไร ชอบหรือไม่ชอบคะ ชอบใช่ไหมค่ะ ชอบกิเลสเป็นบางอย่าง นี่ก็เป็นความจริงใจ เพราะว่าเราชอบกิเลสบางอย่าง และไม่ชอบกิเลสบางอย่าง อย่างโทสะ ความโกรธ ความขุ่นใจ ความเสียใจ ความน้อยใจ เราไม่ชอบแน่ ไม่ว่าใคร เด็กๆ ก็ไม่ชอบ แต่กิเลสบางอย่างเราชอบ เช่น ความติดข้อง ความเพลิดเพลิน ความสนุกสนาน

เพราะฉะนั้น พระธรรมที่ทรงแสดงเป็นเรื่องจริงแล้วคำตอบก็ตรง คือคำตอบตรงกับความจริง แต่ทรงแสดงไว้ว่า กิเลสทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นความติดข้อง ความสนุกสนานซึ่งเป็นโลภะ หรือโทสะ ความขุ่นเคืองใจ ความน้อยใจ ความเสียใจ ความไม่สบายใจทุกอย่างไม่มีใครชอบ แต่ทั้งหมดที่เป็นกิเลส ความหมายของกิเลส คือ สภาพธรรมที่ทำให้จิตเศร้าหมอง “เศร้าหมอง” ที่นี่ไม่ได้หมายความว่า โศกเศร้า เศร้าหมองที่นี่หมายความว่า มีมลทิน คือไม่ผ่องใส

เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นได้ว่า พระธรรมที่ทรงแสดงจากการตรัสรู้ ให้เราละกิเลสด้วยปัญญา เพราะเหตุว่าสิ่งใดก็ตามที่จะทำให้จิตใจไม่ผ่องใส สิ่งนั้นควรจะละ ไม่ใช่ควรจะติด แต่ไม่ได้ทรงแสดงแบบบังคับว่า ให้ละๆ ๆ เป็นไปไม่ได้ที่ใครจะมาบอกหรือบังคับให้เราละสิ่งนั้น ละสิ่งนี้ แต่ให้ฟังพระธรรมจนกระทั่งเห็นจริง เห็นโทษ แล้วปัญญานั้นเองจะทำหน้าที่ละคลายกิเลสไปตามลำดับ ไม่ใช่ทีเดียวหมดเลย เป็นไปไม่ได้ที่ใครจะหมดโลภะ ไม่เหลือเลย ผู้ที่หมดโลภะ ไม่เหลือเลย มีบุคคลเดียวคือพระอรหันต์ แต่ผู้ที่ยังไม่ใช่พระอรหันต์ จะค่อยๆ หมดกิเลสตั้งแต่ขั้นแรก คือ ความเห็นผิด ความไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังมีอยู่ จนกระทั่งสามารถรู้แจ้งอริยสัจธรรม และละกิเลสไป แต่เราคงยังไปไม่ถึงตอนนั้น ต้องเริ่มฟังเหมือนเข้าโรงเรียนอนุบาลเลยจริงๆ
เพราะฉะนั้น ถ้ามีใครบอกได้ว่า “ธรรม” คืออะไร พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม สิ่งที่ทรงแสดงเราเรียกว่า “พระธรรม” เพราะฉะนั้น ก่อนอื่นก็ควรพิจารณาให้เข้าใจจริงๆ ว่า ธรรมคืออะไร นี่เป็นจุดตั้งต้นของการศึกษาพระพุทธศาสนา หรือว่าจะเข้าใจพระพุทธศาสนาจริงๆ ต้องเข้าใจทุกคำที่ได้ยินตามลำดับ พอที่จะมีใครตอบได้ไหมคะว่า ธรรมคืออะไร ยากไหมคะ เคยได้ยินบ่อยๆ ใช่ไหมคะ ธรรมหรือพระธรรม แล้วธรรมคืออะไร คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แล้วสั่งสอนเรื่องอะไรล่ะคะ คำตอบเยอะเลย เรื่องละความชั่ว ทำความดีให้ถึงพร้อม ทำจิตให้บริสุทธิ์ ย่อลงมาแล้ว ยากไหมคะละความชั่ว แค่นี้เราต้องตรงแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้ายากไหมที่ให้ละความชั่ว ยาก ถ้ายังมีเราอยู่ตราบใด ละได้ไหม ไม่ได้ แต่ต้องเป็นปัญญาจริงๆ เพราะว่าปัญญาทำหน้าที่รู้แล้วละสิ่งที่ไม่ดีทั้งหมด ทำความดีให้ถึงพร้อมก็ยากไหมคะ ไม่ใช่แค่ทาน ยังต้องศีลอีก และชำระจิตให้บริสุทธิ์ หมายความว่าให้หมดจดจากกิเลส ยิ่งยากใหญ่ ถ้ามิฉะนั้นแล้วถ้าไม่ทรงแสดงอย่างนั้น ไม่ทรงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแน่นอน ลองคิดดูว่า วันนี้เรามีกิเลสไหมคะ วันนี้ มี แล้วคิดดูจะละได้อย่างไร มีใครสักคนไหมที่ไม่ใช่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วสามารถให้เราเกิดปัญญาจนสามารถละกิเลสได้ บุคคลนั้นต้องเป็นผู้เลิศที่สุด เพราะกิเลสไม่ใช่สิ่งที่เราจะเอาเงินไปซื้อแล้วทิ้งไป ให้หมดไปได้ ไม่มีใครสามารถหมดกิเลสได้ด้วยเงินทอง แต่กลับยิ่งติด แต่การที่เราสามารถเห็นพระคุณ ถ้าเราเกิดโกรธ แล้วรู้ว่า เราบังคับความโกรธไม่ได้เลย แต่ผู้ที่แสดงธรรมจนสามารถทำให้เราดับความโกรธ ไม่เกิดอีกเลย ผู้นั้นคือพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า และไม่ใช่แต่เฉพาะความโกรธ ความติดข้องต้องการ ซึ่งเป็นเหตุให้เราเป็นทุกข์ ลองคิดดู ถ้าเราไม่ติดข้อง ไม่ต้องการอะไรเลย จะดีไหมคะ จะสบายไหม ไม่เดือดร้
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่