ก่อนอื่น ก็ต้องเข้าใจไปทีละคำ คำว่า กรรมฐาน หรือ กัมมัฏฐาน
ก็มีคำสองคำรวมกันคือ
คำว่า "กัมม" ซึ่งหมายถึง การกระทำ
รวมกับ "ฐาน" คือ ที่ตั้ง เมื่อแปลแล้วก็คือ ที่ตั้งแห่งการกระทำ
ซึ่งไม่ใช่ตัวตนที่กระทำ แต่เป็นกิจหน้าที่ของธรรมฝ่ายดี มีปัญญา เป็นต้น
แสดงให้เห็นถึงความเป็นจริงว่า มีที่ตั้งที่จะให้กุศลธรรมเจริญขึ้น
ทั้งในเรื่องของความสงบของจิต
ทั้งในเรื่องของความเห็นแจ้งสภาพธรรม
ตามความเป็นจริง
เพราะมีกรรมฐาน ๒ อย่าง คือ
สมถกรรมฐาน เป็นไปเพื่อสงบระงับกิเลส เพียงข่มกิเลสไว้เท่านั้น ไม่สามารถดับกิเลสได้อย่างเด็ดขาด กับ
วิปัสสนากรรมฐาน เป็นไปเพื่อการอบรมเจริญปัญญารู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง
สามารถดับกิเลสได้เป็นสมุจเฉท(ละได้อย่างเด็ดขาดไม่เกิดขึ้นอีก)
ในเรื่องของสมถกรรมฐาน กับวิปัสสนากรรมฐาน ก็จะต้องฟัง ต้องศึกษาให้ละเอียด ทรงมุ่งหมายถึงอะไรเป็นสำคัญ
ทั้งหมดทั้งปวงนั้นเป็นเรื่องของความเข้าใจถูก เห็นถูก ทั้งหมดเลย ถ้าหากไม่มี ความเข้าใจ
ก็จะไปทำอะไรด้วยความไม่เข้าใจ หรือว่า ด้วยความเป็นตัวตนซึ่งผิดคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง
เมื่อกล่าวถึงกรรมฐาน ๔๐ แล้ว
เป็นอารมณ์ของการอบรมเจริญสมถภาวนา
มีกสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ เป็นต้น
ไม่ใช่อารมณ์ของการเจริญวิปัสสนา
การอบรมเจริญสมถกัมมัฏฐาน แม้ในกาลสมัยที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติขึ้นในโลก
ก็มีการอบรมเจริญ สำหรับผู้ที่เห็นโทษเห็นภัยของอกุศลซึ่งทำให้จิตไม่สงบ
แต่ เมื่อมีการตรัสรู้ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วก็มีการอบรมเจริญปัญญา
ที่เป็นวิปัสสนากัมมัฏฐาน หรือ "วิปัสสนาภาวนา" ที่จะเป็นไปเพื่อความเข้าใจสภาพธรรม
ที่กำลังปรากฏว่า เป็นธรรม ไม่ใช่ตัวตนอย่างถูกต้องตามความเป็นจริง
การอบรมเจริญปัญญาจากการที่ได้ฟังพระธรรม และมีความเข้าใจขึ้นก็จะทำให้
มีการอบรมความเห็นถูก ในสิ่งที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง
ดังนั้น จึงสำคัญอยู่ที่การมีโอกาสได้ฟังได้ศึกษาพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง
ค่อยๆ สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปทีละเล็กทีละน้อย
เมื่อมีความเข้าใจอย่างถูกต้อง ก็จะไม่ไปในทางที่ผิด ครับ
พื้นฐานพระอภิธรรม
https://www.dhammahome.com/cd/topic/135
แนวทางการเจริญวิปัสนา
https://www.dhammahome.com/cd/topic/33
ว่าด้วยเรื่อง กรรมฐาน 40
ก่อนอื่น ก็ต้องเข้าใจไปทีละคำ คำว่า กรรมฐาน หรือ กัมมัฏฐาน
ก็มีคำสองคำรวมกันคือ
คำว่า "กัมม" ซึ่งหมายถึง การกระทำ
รวมกับ "ฐาน" คือ ที่ตั้ง เมื่อแปลแล้วก็คือ ที่ตั้งแห่งการกระทำ
ซึ่งไม่ใช่ตัวตนที่กระทำ แต่เป็นกิจหน้าที่ของธรรมฝ่ายดี มีปัญญา เป็นต้น
แสดงให้เห็นถึงความเป็นจริงว่า มีที่ตั้งที่จะให้กุศลธรรมเจริญขึ้น
ทั้งในเรื่องของความสงบของจิต
ทั้งในเรื่องของความเห็นแจ้งสภาพธรรม
ตามความเป็นจริง
เพราะมีกรรมฐาน ๒ อย่าง คือ
สมถกรรมฐาน เป็นไปเพื่อสงบระงับกิเลส เพียงข่มกิเลสไว้เท่านั้น ไม่สามารถดับกิเลสได้อย่างเด็ดขาด กับ
วิปัสสนากรรมฐาน เป็นไปเพื่อการอบรมเจริญปัญญารู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง
สามารถดับกิเลสได้เป็นสมุจเฉท(ละได้อย่างเด็ดขาดไม่เกิดขึ้นอีก)
ในเรื่องของสมถกรรมฐาน กับวิปัสสนากรรมฐาน ก็จะต้องฟัง ต้องศึกษาให้ละเอียด ทรงมุ่งหมายถึงอะไรเป็นสำคัญ
ทั้งหมดทั้งปวงนั้นเป็นเรื่องของความเข้าใจถูก เห็นถูก ทั้งหมดเลย ถ้าหากไม่มี ความเข้าใจ
ก็จะไปทำอะไรด้วยความไม่เข้าใจ หรือว่า ด้วยความเป็นตัวตนซึ่งผิดคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง
เมื่อกล่าวถึงกรรมฐาน ๔๐ แล้ว
เป็นอารมณ์ของการอบรมเจริญสมถภาวนา
มีกสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ เป็นต้น ไม่ใช่อารมณ์ของการเจริญวิปัสสนา
การอบรมเจริญสมถกัมมัฏฐาน แม้ในกาลสมัยที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติขึ้นในโลก
ก็มีการอบรมเจริญ สำหรับผู้ที่เห็นโทษเห็นภัยของอกุศลซึ่งทำให้จิตไม่สงบ
แต่ เมื่อมีการตรัสรู้ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วก็มีการอบรมเจริญปัญญา
ที่เป็นวิปัสสนากัมมัฏฐาน หรือ "วิปัสสนาภาวนา" ที่จะเป็นไปเพื่อความเข้าใจสภาพธรรม
ที่กำลังปรากฏว่า เป็นธรรม ไม่ใช่ตัวตนอย่างถูกต้องตามความเป็นจริง
การอบรมเจริญปัญญาจากการที่ได้ฟังพระธรรม และมีความเข้าใจขึ้นก็จะทำให้
มีการอบรมความเห็นถูก ในสิ่งที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง
ดังนั้น จึงสำคัญอยู่ที่การมีโอกาสได้ฟังได้ศึกษาพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง
ค่อยๆ สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปทีละเล็กทีละน้อย
เมื่อมีความเข้าใจอย่างถูกต้อง ก็จะไม่ไปในทางที่ผิด ครับ
พื้นฐานพระอภิธรรม https://www.dhammahome.com/cd/topic/135
แนวทางการเจริญวิปัสนา https://www.dhammahome.com/cd/topic/33