“หมอเปรม” จวกนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ตรงไหนบ้าง ไร้นโยบายส่งเสริมสนับสนุน รพ.ชุมชน รพ.สต.ไม่ได้รับการพัฒนาอย่างชัดเจน บุคลากรแพทย์ยังขาด สมองไหล หวั่นเป็นนโนบายไม่ประสบความสำเร็จ ตั้งกระทู้ถามรัฐบาล ปมมติถ่ายโอน รพ.สต.มีปัญหาสารพัด แต่กลับถูกนายกฯ เมิน ตั้งคำถามพบตัวเลขเงินบัตรทองฯกทม 1,500 ล้านบาท หายไปไหน? จี้รมว.สธ.ในฐานะประธานบอร์ด ตรวจสอบ
เมื่อวันที่ 13 ก.ย. นพ.เปรมศักดิ์ เพียยุระ สมาชิกวุฒิสภา จังหวัดขอนแก่น กล่าวในการประชุมร่วมกันของรัฐสภาครั้งที่ 2 (สมัยสามัญประจำปีครังที่หนึ่ง) เป็นพิเศษ ว่า ตนมาจากกลุ่มอาชีพสาธารณสุข จึงจะขออภิปรายนโยบายทางด้านนี้โดยเฉพาะ ตนเข้าใจดีว่า รัฐบาลหลงใหลในกับดักความสำเร็จของโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค จากนโยบายวันนั้น ทำให้แปลงมาเป็น 30 บาทรักษาทุกที่ ดูเหมือนว่าจะเป็นนโยบายที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดตามที่ประชาสัมพันธ์ไปแล้ว
"จากนโยบายหน้า 10 ข้อ 3 ระบุว่า รัฐบาลจะยกระดับนโยบายสาธารณสุขให้ดีกว่าเดิม โดยรัฐบาลนี้จะต่อยอดจากรัฐบาลที่แล้ว โดยการยกระดับสาธารณสุขไทยจาก 30 บาทรักษาทุกโรค จากความสำเร็จนับสิบปีมาเป็น 30 บาทรักษาทุกที่ ผ่านการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพในระบบบริการสาธารณสุข และการขยายเครือข่ายในระบบบริการปฐมภูมิ" นพ.เปรมศักดิ์ กล่าว
- 30 บาทรักษาทุกที่ อยู่ที่ไหนบ้าง
นพ.เปรมศักดิ์ กล่าวว่า ถ้าจะทำให้ 30 บาทรักษาทุกที่ ขอถามตรง ๆ ง่าย ๆ ที่ไหนบ้าง ในวันนี้ไม่มีนโยบายส่งเสริม สนับสนุนโรงพยาบาลชุมชน ในอำเภอต่าง ๆ อย่างชัดเจน โรงพยาบาลในพื้นที่ต่าง ๆ วันนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ยังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างชัดเจน ยังมองไม่เห็นหน่วยบริการที่ใกล้บ้านที่สุด อย่างนี้จะส่งเสริม 30 บาทรักษาทุกที่ ได้อย่างไร
ประชาชนส่วนใหญ่ไปโรงพยาบาลที่มีความพร้อม ความเจริญในการให้บริการ ทั้งแพทย์ พยาบาล และเครื่องมือแพทย์ ส่วนจะเปิดให้คลินิกเอกชน ร้านขายยา เข้ามาร่วมให้บริการเพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการ ลดความแออัดของโรงพยาบาล ก็ไม่มีแนวทางที่ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า ในชนบทมีบุคลากรทางการแพทย์อย่างพอเพียงหรือไม่ มีแต่สมองไหลอย่างที่เห็นกันอยู่ แล้วจะมีแรงดึงดูดเอกชนที่ไหนไปเปิดให้บริการ และทำให้เกิด 30 บาทรักษาทุกที่ได้ตามที่ประกาศนโยบายไว้
สำคัญก็ คือ จะเป็นการดึงงบประมาณด้านสาธารณสุขของประเทศกลับไปสู่เมืองใหญ่ ขยายความเหลื่อมล้ำมากกว่าเดิม ทำให้นโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ กลายเป็นนโยบายที่ไม่ประสบความสำเร็จ และยังสวนทางกับนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ที่เริ่มต้นไว้อย่างแน่นอน
- ทวงถามงบบัตรทอง กทม.
การบริหารของระบบสุขภาพนั้น กรุงเทพมหานคร (กทม.) มีเงินหายที่ กทม. 1,500 ล้านบาท งบประมาณรักษาพยาบาลเป็นกลุ่มหนึ่งของงบประมาณ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) งบก้อนที่ 2 เรียกว่า งบป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ หรืองบ PP ในปี 2566 งบรักษาพยาบาล ผู้ป่วยใน ผู้ป่วยนอก 2,685 ล้านบาทของ กทม. มีรายจ่าย 3,246 ล้านบาท ขาดงบประมาณ 560.65 ล้านบาท แต่งบป้องกันและส่งเสริมนั้นไม่ได้ใช้ต้องส่งคืน 592 ล้านบาท และยังมีงบของกลุ่มคน NON UC อีก 955 ล้านบาท รวมแล้วเหลือเงิน 1,546 ล้านบาท จริง ๆ เงินเกินกับเงินขาด เห็นชัดเจนว่า เงินเกิน 1,500 ล้านบาท
- ปัญหาเงินขาด กระทบการรักษาพยาบาล
ปรากฎว่า มีการนำข้อมูลนี้ไปประชุม บอร์ด สปสช. บอกว่า งบก้อนนี้จะเกลี่ยกลับมาเป็นการรักษาพยาบาลที่ขาดไปได้ไหม มีบิ๊กใน สปสช. บอกว่า ถ้าจะเอางบฯนี้ไป ให้ข้ามศพไปก่อน มีการประท้วง เอาศพมาวาง บอกจะขอข้ามศพ ตอนนี้ประชาชนจะเป็นศพกันหมดแล้ว เพราะเงินค่ารักษาพยาบาลไม่พอ จนถึงวันนี้ จากปี 2566 ถึง 2567
งบนี้ 1,500 ล้านบาท หายไปไหน พอทวงถามก็บอกว่า มีนโยบายพิเศษ บอกว่า สั่งไปลงกับนโยบายฝ่ายการเมือง จึงอยากจะถามนายกฯว่า ได้เอาไปใช้อย่างไรหรือไม่ ถ้าตอบว่า ไม่ได้เป็นนายกฯ ช่วงนั้นมาก่อน ก็สอบถามกลับไปหารัฐมนตรีได้ว่า เงินหายไปไหน 1,500 ล้าน ถ้าไปหายที่ทุ่งกุลาร้องไห้ อาจเข้าใจได้ว่า ไปเพราะความเจริญ แต่นี่หายที่ กทม. ใจกลางกรุงเทพ ไม่ควรจะหายแม้แต่บาทเดียว
- จี้รมว.สธ.ในฐานะประธานบอร์ด สปสช.เคลียร์เงินบัตรทองหายด่วน!
"ผมเห็นกับตาแล้วสงสารว่า ทำไมไม่เกลี่ยเงินที่มันขาดแค่ 500 กว่าล้านบาท แต่มีเงินเกินถึง 1,500 ล้านบาท เกลี่ยให้ไปแก้ปัญหาได้ ผมขอถามไปที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขด้วย เพราะได้รัฐมนตรีช่วยเป็นคู่หูดูโอ้ถูกคอกัน และผมอยากให้ตามหางบก้อนนี้ให้ผมหน่อย รมว.สธ.ตามหาเงินอย่าไปตามหาโคล้านตัว ให้ตามหาเงินก้อนนี้ ให้ประชาชนได้รับการดูแลและแก้ไขทันเหตุการณ์ ถ้า รมว.สธ.ในฐานะประธานบอร์ด สปสช. ตามหาไม่เจอ ก็ขอให้นายกฯ ในฐานะเป็นประธานซุปเปอร์บอร์ดที่มีการตั้งขึ้นโดยอดีตนายกฯ นายเศรษฐา ทวีสิน ตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติ โดยเป็นประธาน จากที่น.ส.แพทองธาร ชินวัตร เคยเป็นรองประธาน ตอนนี้ขึ้นเป็นประธานแทนแล้ว ขอให้ได้ดูแลตรงนี้ โดยเฉพาะงบฯปี 2567 จะเหลือ จะขาดเท่าไหร่ แก้ไม่ให้ซ้ำรอย ปี 2566 ได้หรือไม่ นี่เป็นเสียงฝากจากคนไข้ที่รอคอยการช่วยเหลือ
คณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติ เป็นกรรมการที่มีนายกฯเป็นประธาน มีบุคคลที่เกี่ยวข้องสามารถสั่งการได้ทั้งประเทศไทยเป็นคณะกรรมการ คาดว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาให้ประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่รอคอยความช่วยเหลือในเรื่องสุขภาพอนามัย.
https://www.hfocus.org/content/2024/09/31655
“สว.หมอเปรม” จี้ “รมว.สธ.สมศักดิ์” เคลียร์งบบัตรทองกทม. เงินงบประมาณบัตรทองฯ 1,500 ล้านบาท หายไปไหน ?
เมื่อวันที่ 13 ก.ย. นพ.เปรมศักดิ์ เพียยุระ สมาชิกวุฒิสภา จังหวัดขอนแก่น กล่าวในการประชุมร่วมกันของรัฐสภาครั้งที่ 2 (สมัยสามัญประจำปีครังที่หนึ่ง) เป็นพิเศษ ว่า ตนมาจากกลุ่มอาชีพสาธารณสุข จึงจะขออภิปรายนโยบายทางด้านนี้โดยเฉพาะ ตนเข้าใจดีว่า รัฐบาลหลงใหลในกับดักความสำเร็จของโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค จากนโยบายวันนั้น ทำให้แปลงมาเป็น 30 บาทรักษาทุกที่ ดูเหมือนว่าจะเป็นนโยบายที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดตามที่ประชาสัมพันธ์ไปแล้ว
"จากนโยบายหน้า 10 ข้อ 3 ระบุว่า รัฐบาลจะยกระดับนโยบายสาธารณสุขให้ดีกว่าเดิม โดยรัฐบาลนี้จะต่อยอดจากรัฐบาลที่แล้ว โดยการยกระดับสาธารณสุขไทยจาก 30 บาทรักษาทุกโรค จากความสำเร็จนับสิบปีมาเป็น 30 บาทรักษาทุกที่ ผ่านการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพในระบบบริการสาธารณสุข และการขยายเครือข่ายในระบบบริการปฐมภูมิ" นพ.เปรมศักดิ์ กล่าว
- 30 บาทรักษาทุกที่ อยู่ที่ไหนบ้าง
นพ.เปรมศักดิ์ กล่าวว่า ถ้าจะทำให้ 30 บาทรักษาทุกที่ ขอถามตรง ๆ ง่าย ๆ ที่ไหนบ้าง ในวันนี้ไม่มีนโยบายส่งเสริม สนับสนุนโรงพยาบาลชุมชน ในอำเภอต่าง ๆ อย่างชัดเจน โรงพยาบาลในพื้นที่ต่าง ๆ วันนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ยังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างชัดเจน ยังมองไม่เห็นหน่วยบริการที่ใกล้บ้านที่สุด อย่างนี้จะส่งเสริม 30 บาทรักษาทุกที่ ได้อย่างไร
ประชาชนส่วนใหญ่ไปโรงพยาบาลที่มีความพร้อม ความเจริญในการให้บริการ ทั้งแพทย์ พยาบาล และเครื่องมือแพทย์ ส่วนจะเปิดให้คลินิกเอกชน ร้านขายยา เข้ามาร่วมให้บริการเพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการ ลดความแออัดของโรงพยาบาล ก็ไม่มีแนวทางที่ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า ในชนบทมีบุคลากรทางการแพทย์อย่างพอเพียงหรือไม่ มีแต่สมองไหลอย่างที่เห็นกันอยู่ แล้วจะมีแรงดึงดูดเอกชนที่ไหนไปเปิดให้บริการ และทำให้เกิด 30 บาทรักษาทุกที่ได้ตามที่ประกาศนโยบายไว้
สำคัญก็ คือ จะเป็นการดึงงบประมาณด้านสาธารณสุขของประเทศกลับไปสู่เมืองใหญ่ ขยายความเหลื่อมล้ำมากกว่าเดิม ทำให้นโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ กลายเป็นนโยบายที่ไม่ประสบความสำเร็จ และยังสวนทางกับนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ที่เริ่มต้นไว้อย่างแน่นอน
- ทวงถามงบบัตรทอง กทม.
การบริหารของระบบสุขภาพนั้น กรุงเทพมหานคร (กทม.) มีเงินหายที่ กทม. 1,500 ล้านบาท งบประมาณรักษาพยาบาลเป็นกลุ่มหนึ่งของงบประมาณ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) งบก้อนที่ 2 เรียกว่า งบป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ หรืองบ PP ในปี 2566 งบรักษาพยาบาล ผู้ป่วยใน ผู้ป่วยนอก 2,685 ล้านบาทของ กทม. มีรายจ่าย 3,246 ล้านบาท ขาดงบประมาณ 560.65 ล้านบาท แต่งบป้องกันและส่งเสริมนั้นไม่ได้ใช้ต้องส่งคืน 592 ล้านบาท และยังมีงบของกลุ่มคน NON UC อีก 955 ล้านบาท รวมแล้วเหลือเงิน 1,546 ล้านบาท จริง ๆ เงินเกินกับเงินขาด เห็นชัดเจนว่า เงินเกิน 1,500 ล้านบาท
- ปัญหาเงินขาด กระทบการรักษาพยาบาล
ปรากฎว่า มีการนำข้อมูลนี้ไปประชุม บอร์ด สปสช. บอกว่า งบก้อนนี้จะเกลี่ยกลับมาเป็นการรักษาพยาบาลที่ขาดไปได้ไหม มีบิ๊กใน สปสช. บอกว่า ถ้าจะเอางบฯนี้ไป ให้ข้ามศพไปก่อน มีการประท้วง เอาศพมาวาง บอกจะขอข้ามศพ ตอนนี้ประชาชนจะเป็นศพกันหมดแล้ว เพราะเงินค่ารักษาพยาบาลไม่พอ จนถึงวันนี้ จากปี 2566 ถึง 2567 งบนี้ 1,500 ล้านบาท หายไปไหน พอทวงถามก็บอกว่า มีนโยบายพิเศษ บอกว่า สั่งไปลงกับนโยบายฝ่ายการเมือง จึงอยากจะถามนายกฯว่า ได้เอาไปใช้อย่างไรหรือไม่ ถ้าตอบว่า ไม่ได้เป็นนายกฯ ช่วงนั้นมาก่อน ก็สอบถามกลับไปหารัฐมนตรีได้ว่า เงินหายไปไหน 1,500 ล้าน ถ้าไปหายที่ทุ่งกุลาร้องไห้ อาจเข้าใจได้ว่า ไปเพราะความเจริญ แต่นี่หายที่ กทม. ใจกลางกรุงเทพ ไม่ควรจะหายแม้แต่บาทเดียว
- จี้รมว.สธ.ในฐานะประธานบอร์ด สปสช.เคลียร์เงินบัตรทองหายด่วน!
"ผมเห็นกับตาแล้วสงสารว่า ทำไมไม่เกลี่ยเงินที่มันขาดแค่ 500 กว่าล้านบาท แต่มีเงินเกินถึง 1,500 ล้านบาท เกลี่ยให้ไปแก้ปัญหาได้ ผมขอถามไปที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขด้วย เพราะได้รัฐมนตรีช่วยเป็นคู่หูดูโอ้ถูกคอกัน และผมอยากให้ตามหางบก้อนนี้ให้ผมหน่อย รมว.สธ.ตามหาเงินอย่าไปตามหาโคล้านตัว ให้ตามหาเงินก้อนนี้ ให้ประชาชนได้รับการดูแลและแก้ไขทันเหตุการณ์ ถ้า รมว.สธ.ในฐานะประธานบอร์ด สปสช. ตามหาไม่เจอ ก็ขอให้นายกฯ ในฐานะเป็นประธานซุปเปอร์บอร์ดที่มีการตั้งขึ้นโดยอดีตนายกฯ นายเศรษฐา ทวีสิน ตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติ โดยเป็นประธาน จากที่น.ส.แพทองธาร ชินวัตร เคยเป็นรองประธาน ตอนนี้ขึ้นเป็นประธานแทนแล้ว ขอให้ได้ดูแลตรงนี้ โดยเฉพาะงบฯปี 2567 จะเหลือ จะขาดเท่าไหร่ แก้ไม่ให้ซ้ำรอย ปี 2566 ได้หรือไม่ นี่เป็นเสียงฝากจากคนไข้ที่รอคอยการช่วยเหลือ
คณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติ เป็นกรรมการที่มีนายกฯเป็นประธาน มีบุคคลที่เกี่ยวข้องสามารถสั่งการได้ทั้งประเทศไทยเป็นคณะกรรมการ คาดว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาให้ประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่รอคอยความช่วยเหลือในเรื่องสุขภาพอนามัย.
https://www.hfocus.org/content/2024/09/31655