เอฟเฟ็กต์ธุรกิจรายใหญ่ปิดโรงงาน ลามธุรกิจรายกลาง-เล็กปิดตัวตาม แบงก์ประสานเสียงเอสเอ็มอีอ่วม เจอสารพัด สินค้าจีนทะลัก-หนี้ครัวเรือนสูง “กรุงไทย-กสิกรไทย” ห่วงกลุ่มโรงงานผลิตแบบเก่า-ไม่ปรับตัว ไปไม่รอดหลังเจอสินค้าจีนถล่ม “ผยง” เผยลงทุนใหม่ลดลงต่างชาติเน้นหาของถูก-ไม่มีจ้างงาน จับตาสัญญาณปิดกิจการยังเพิ่มขึ้น นายแบงก์ยันพร้อมประคองช่วยลูกหนี้ต่อเนื่อง
ปิด รง.สะเทือนซัพพลายเชน
แหล่งข่าวจากสถาบันการเงินขนาดใหญ่เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ”ว่า จากที่เศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวไม่ทั่วถึง กำลังซื้ออ่อนแอจากภาระหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ส่งผลไปยังตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับลดลง 20-30% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน (YOY) และยอดขายรถยนต์ที่ปรับลดลง 30% และการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐที่ล่าช้า รวมถึงผลกระทบจากสินค้าจีนที่ทะลักเข้ามา ส่งผลต่อการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยอย่างมาก โดยจะเห็นว่ามีการทยอยปิดโรงงานและคนตกงานให้เห็นต่อเนื่อง
โดยธนาคารเริ่มเห็นสัญญาณผลกระทบจากการปิดตัวของโรงงานขนาดใหญ่ ลามสู่รายกลาง หรือธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่เป็นธุรกิจเกี่ยวเนื่องซัพพลายเชนของธุรกิจรายใหญ่ เช่น โรงงานเหล็ก เตาหลอมเหล็กที่หยุดการผลิต เพราะมีต้นทุนสูงเมื่อเทียบกับสินค้าจีนที่มีการนำเข้ามา กลุ่มเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เช่น วัสถุก่อสร้าง รวมถึงโรงงานที่เป็นซัพพลายรถยนต์ เป็นต้น จะเห็นว่าเริ่มทยอยปิดตัวลง โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่แข็งแรงและสายป่านไม่ยาวมากนัก ซึ่งแนวโน้มสัญญาณการปิดตัวของธุรกิจและโรงงานยังคงมีเพิ่มขึ้น
ลงทุนใหม่ไม่เกิด
ส่งผลแนวโน้มสินเชื่อเอสเอ็มอีในปีนี้ ในแง่การปล่อยสินเชื่อใหม่อาจจะไม่ได้ขยายตัว แต่จะเป็นการประคองลูกค้ารายเดิม เนื่องจากการลงทุนใหม่เกิดขึ้นน้อยกว่าเดิม รวมถึงการช่วยลูกค้าในการปรับโครงสร้างหนี้ หรือกรณีรายที่ไม่ไหวจะตัดขายสินทรัพย์ชำระหนี้ โดยจะพิจารณาเป็นรายกรณี
“ตอนนี้สินเชื่อเอสเอ็มอีอยู่ในโหมดแก้หนี้ ประคองตัว เพราะคนไม่มีกำลังซื้อ คนเที่ยวน้อยลง โรงแรม 2-3 ดาวอาจจะเหนื่อยกว่า 4 ดาว หรือกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ที่ยอดขายตก ไม่มีกระแสเงินสดก็ลำบาก ผู้รับเหมารายใหญ่ลามมารายกลาง หรือภาคผลิตที่โดนผลกระทบจากสินค้าจีนทยอยปิดตัวกันไป ภาพตอนนี้ลามเป็นลูกโซ่หมด”
ต่างชาติเข้ามาหาของถูก
นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ภาพสัญญาณการปิดโรงงานรายใหญ่มองว่า กระทบต่อธุรกิจเอสเอ็มอีและรายเล็กแน่นอน แต่จะเป็นเรื่องของซัพพลายเชน สะท้อนว่าโรงงานเหล่านั้นไม่สามารถปรับตัวได้ทัน และเป็นโรงงานผลิตโครงสร้างแบบเก่า ขายของแบบเก่า ทำให้ผู้ประกอบการทยอยปิดตัวลง โดยเป็นผลกระทบทั่วโลก อย่างไรก็ดี เชื่อว่าภาครัฐน่าจะเข้าไปช่วยในเรื่องของการจ้างงาน
โดยตัวเลขการปิดโรงงานเมื่อเทียบกับการเปิดใหม่ แม้จะเห็นว่าการเปิดใหม่จะสูงกว่า แต่จะพบว่า 1.การลงทุนใหม่ไม่ได้เพียงพอกับตัวเลขการปิด คือ อัตราการปิดตัว Rate of Shutting Down สูงกว่า Rate of New Registration 2.ตัวเลขจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ระบุว่า เม็ดเงินลงทุนใหม่ลดลง โดยต่างชาติเข้ามาไม่ได้เกิดจ้างงาน แต่หมายถึงการหาของถูก และ 3.กลุ่มที่ปิดส่วนใหญ่ คือ เอสเอ็มอี ซึ่งเป็นกลุ่มสร้างรายได้ประมาณ 30% ของจีดีพี มีจ้างงานประมาณ 70%
“เราต้องกระตุ้นลูกค้าเร่งปฏิรูปธุรกิจของเขาในมิติที่ทำให้แข่งขันได้ โดยเฉพาะธุรกิจเอสเอ็มอีขนาดเล็ก ซึ่งตอนนี้เจอพายุถาโถมจากเรื่องสินค้าจีน วันนี้เราหวังว่าการปฏิรูปของกลุ่มลูกค้าจะเกิดขึ้นในเวลาอีกไม่นาน แต่ก็ต้องแข่งขันกับเวลา โดยเราพร้อมที่จะให้ทุนใหม่ สินเชื่อใหม่กับลูกค้าที่จะปรับตัว แต่สิ่งที่กังวลหลายคนต้องการแค่จะอยู่ให้พ้นวันพรุ่งนี้ ขณะที่การปรับโครงสร้างหนี้ให้ลูกค้ายังคงเกิดขึ้นต่อเนื่อง และปรับโครงสร้างหนี้ตามแต่ละกลุ่มเป้าหมาย เพราะเศรษฐกิจมีทั้ง K ที่เป็นขาบน และ K ขาล่าง ตลอดจนทุกภาคส่วน ภาคธนาคาร เอกชน ภาครัฐ และผู้ประกอบการจะต้องร่วมกัน”
สัญญาณ “ปิดตัว” เพิ่มขึ้น
นายชัยยศ ตันติพิสุทธิ์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ภาพรวมของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในช่วงที่เหลือของปีนี้ยังค่อนข้างเหนื่อย หากภาพเศรษฐกิจยังไม่ได้ปรับตัวดีขึ้น ภาคอุตสาหกรรมยังเจอแรงกดดันจากการแข่งขันทั้งในประเทศที่มาในรูปแพลตฟอร์มการค้า ขณะที่การส่งออก ตอนนี้เศรษฐกิจทั่วโลกก็ไม่ได้ดี ทำให้กำลังซื้อทั่วโลกลดลง แม้ว่าภาคท่องเที่ยวของไทยจะขยายตัวได้ แต่ยังไม่ได้ทั่วถึง
ดังนั้นจะเริ่มเห็นผลกระทบจากการปิดตัวของธุรกิจและโรงงานขนาดใหญ่ Tier 1 และ Tier 2 ขยายสู่ซัพพลายเอสเอ็มอีที่ทยอยปิดกิจการตาม โดยเฉพาะในภาคตะวันออก ซึ่งธนาคารเห็นสัญญาณ เช่น ลูกค้ากลุ่มซัพพลายเชนรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ได้รับผลกระทบจากการแข่งขันด้านราคาของสินค้าจีน เป็นต้น โดยมองไปข้างหน้ายังมีสัญญาณการปิดกิจการเพิ่มขึ้น เพราะมีปัจจัยกดดันทั้งเรื่องสินค้าจีนที่ต้นทุนถูกกว่า และการกีดกันทางการค้า ทำให้สินค้าจีนจะไหลเข้ามาแถบอาเซียน รวมถึงไทย และเกิดการดัมพ์ราคาแข่งกัน
“เมื่อโรงงานขนาดใหญ่เทียร์ 1 และ 2 ปิด แน่นอนรายเล็กก็โดนไปด้วย ซึ่งเราก็มีลูกค้าเจอปัญหาและปิดโรงงานเหมือนกัน โดยเราก็รีบเข้าไปให้การช่วยเหลือทันที ซึ่งจะดูว่าลูกค้ามีผลกระทบอะไรบ้าง และปรับโครงสร้างหนี้ให้ลูกค้า รวมถึงแผนในอนาคตลูกค้าจะมีแผนการอย่างไรต่อไป แต่ส่วนใหญ่ลูกค้าจะเร่งเคลียร์เรื่องหน้าบ้าน เช่น การเลิกจ้างพนักงาน เคลียร์บัญชี และค่อยมาดำเนินการกับธนาคาร”
แบงก์ช่วยเติมสภาพคล่อง
นายไพโรจน์ ชื่นครุฑ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านกลยุทธ์และวางแผนธุรกิจองค์กร เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ตอนนี้อาจจะประเมินตัวเลขผลกระทบจากการปิดโรงงานของผู้ประกอบการขนาดใหญ่ได้ค่อนข้างยาก แต่จะเห็นว่ามีค่ายรถยนต์ 2 แบรนด์ได้ประกาศปิดโรงงาน ซึ่งย่อมกระทบต่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่เป็นซัพพลายเชน ซึ่งธนาคารได้เข้าไปให้ความช่วยเหลือต่อเนื่อง
“หากภาครัฐมีนโยบายลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ชัดเจน เช่น กลุ่มรถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) อาจจะต้องรักษาสมดุลไม่ให้เกิดผลกระทบต่อกลุ่มรถยนต์สันดาป (ICE) และต้องบาลานซ์การลงทุน ไม่ได้เน้นเฉพาะจีนอย่างเดียว แต่ต้องรวมไปถึงญี่ปุ่น เกาหลีด้วย และเชื่อว่าสถานการณ์จะทยอยดีขึ้นหลังมีการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ”
นางสยุมรัตน์ มาระเนตร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเอสเอ็มอี ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า ธนาคารยอมรับว่ามีลูกค้าเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบและปิดตัวลงบ้าง แต่ไม่มาก และมีแรงงานจำนวนไม่สูง โดยธนาคารได้ให้การช่วยเหลือลูกค้าที่เริ่มมีปัญหาอย่างต่อเนื่องจากสัญญาณเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้ากว่าคาด ส่งผลให้ลูกค้าขาดสภาพคล่อง ขายของได้ยากขึ้น ธนาคารจะเข้าไปช่วยสนับสนุนด้านสภาพคล่อง
“เอสเอ็มอีที่ปิดโรงงานมีบ้าง แต่ไม่เยอะ ซึ่งเราก็ช่วยเหลือลูกค้าเต็มที่ นอกจากนี้เรายังมีการตรวจสุขภาพลูกค้า ทำให้หนี้เสียพอร์ตเอสเอ็มอีลดลง รวมถึงเรายังดึงสินเชื่อภาครัฐ เช่น ซอฟต์โลน เข้ามาช่วยสนับสนุนลูกค้าอีกทางด้วย”...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ :
https://www.prachachat.net/finance/news-1647203
สัญญาณ “ปิดโรงงาน” พุ่งต่อ แบงก์ห่วงสะเทือนเอสเอ็มอี
ปิด รง.สะเทือนซัพพลายเชน
แหล่งข่าวจากสถาบันการเงินขนาดใหญ่เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ”ว่า จากที่เศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวไม่ทั่วถึง กำลังซื้ออ่อนแอจากภาระหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ส่งผลไปยังตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับลดลง 20-30% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน (YOY) และยอดขายรถยนต์ที่ปรับลดลง 30% และการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐที่ล่าช้า รวมถึงผลกระทบจากสินค้าจีนที่ทะลักเข้ามา ส่งผลต่อการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยอย่างมาก โดยจะเห็นว่ามีการทยอยปิดโรงงานและคนตกงานให้เห็นต่อเนื่อง
โดยธนาคารเริ่มเห็นสัญญาณผลกระทบจากการปิดตัวของโรงงานขนาดใหญ่ ลามสู่รายกลาง หรือธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่เป็นธุรกิจเกี่ยวเนื่องซัพพลายเชนของธุรกิจรายใหญ่ เช่น โรงงานเหล็ก เตาหลอมเหล็กที่หยุดการผลิต เพราะมีต้นทุนสูงเมื่อเทียบกับสินค้าจีนที่มีการนำเข้ามา กลุ่มเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เช่น วัสถุก่อสร้าง รวมถึงโรงงานที่เป็นซัพพลายรถยนต์ เป็นต้น จะเห็นว่าเริ่มทยอยปิดตัวลง โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่แข็งแรงและสายป่านไม่ยาวมากนัก ซึ่งแนวโน้มสัญญาณการปิดตัวของธุรกิจและโรงงานยังคงมีเพิ่มขึ้น
ลงทุนใหม่ไม่เกิด
ส่งผลแนวโน้มสินเชื่อเอสเอ็มอีในปีนี้ ในแง่การปล่อยสินเชื่อใหม่อาจจะไม่ได้ขยายตัว แต่จะเป็นการประคองลูกค้ารายเดิม เนื่องจากการลงทุนใหม่เกิดขึ้นน้อยกว่าเดิม รวมถึงการช่วยลูกค้าในการปรับโครงสร้างหนี้ หรือกรณีรายที่ไม่ไหวจะตัดขายสินทรัพย์ชำระหนี้ โดยจะพิจารณาเป็นรายกรณี
“ตอนนี้สินเชื่อเอสเอ็มอีอยู่ในโหมดแก้หนี้ ประคองตัว เพราะคนไม่มีกำลังซื้อ คนเที่ยวน้อยลง โรงแรม 2-3 ดาวอาจจะเหนื่อยกว่า 4 ดาว หรือกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ที่ยอดขายตก ไม่มีกระแสเงินสดก็ลำบาก ผู้รับเหมารายใหญ่ลามมารายกลาง หรือภาคผลิตที่โดนผลกระทบจากสินค้าจีนทยอยปิดตัวกันไป ภาพตอนนี้ลามเป็นลูกโซ่หมด”
ต่างชาติเข้ามาหาของถูก
นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ภาพสัญญาณการปิดโรงงานรายใหญ่มองว่า กระทบต่อธุรกิจเอสเอ็มอีและรายเล็กแน่นอน แต่จะเป็นเรื่องของซัพพลายเชน สะท้อนว่าโรงงานเหล่านั้นไม่สามารถปรับตัวได้ทัน และเป็นโรงงานผลิตโครงสร้างแบบเก่า ขายของแบบเก่า ทำให้ผู้ประกอบการทยอยปิดตัวลง โดยเป็นผลกระทบทั่วโลก อย่างไรก็ดี เชื่อว่าภาครัฐน่าจะเข้าไปช่วยในเรื่องของการจ้างงาน
โดยตัวเลขการปิดโรงงานเมื่อเทียบกับการเปิดใหม่ แม้จะเห็นว่าการเปิดใหม่จะสูงกว่า แต่จะพบว่า 1.การลงทุนใหม่ไม่ได้เพียงพอกับตัวเลขการปิด คือ อัตราการปิดตัว Rate of Shutting Down สูงกว่า Rate of New Registration 2.ตัวเลขจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ระบุว่า เม็ดเงินลงทุนใหม่ลดลง โดยต่างชาติเข้ามาไม่ได้เกิดจ้างงาน แต่หมายถึงการหาของถูก และ 3.กลุ่มที่ปิดส่วนใหญ่ คือ เอสเอ็มอี ซึ่งเป็นกลุ่มสร้างรายได้ประมาณ 30% ของจีดีพี มีจ้างงานประมาณ 70%
“เราต้องกระตุ้นลูกค้าเร่งปฏิรูปธุรกิจของเขาในมิติที่ทำให้แข่งขันได้ โดยเฉพาะธุรกิจเอสเอ็มอีขนาดเล็ก ซึ่งตอนนี้เจอพายุถาโถมจากเรื่องสินค้าจีน วันนี้เราหวังว่าการปฏิรูปของกลุ่มลูกค้าจะเกิดขึ้นในเวลาอีกไม่นาน แต่ก็ต้องแข่งขันกับเวลา โดยเราพร้อมที่จะให้ทุนใหม่ สินเชื่อใหม่กับลูกค้าที่จะปรับตัว แต่สิ่งที่กังวลหลายคนต้องการแค่จะอยู่ให้พ้นวันพรุ่งนี้ ขณะที่การปรับโครงสร้างหนี้ให้ลูกค้ายังคงเกิดขึ้นต่อเนื่อง และปรับโครงสร้างหนี้ตามแต่ละกลุ่มเป้าหมาย เพราะเศรษฐกิจมีทั้ง K ที่เป็นขาบน และ K ขาล่าง ตลอดจนทุกภาคส่วน ภาคธนาคาร เอกชน ภาครัฐ และผู้ประกอบการจะต้องร่วมกัน”
สัญญาณ “ปิดตัว” เพิ่มขึ้น
นายชัยยศ ตันติพิสุทธิ์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ภาพรวมของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในช่วงที่เหลือของปีนี้ยังค่อนข้างเหนื่อย หากภาพเศรษฐกิจยังไม่ได้ปรับตัวดีขึ้น ภาคอุตสาหกรรมยังเจอแรงกดดันจากการแข่งขันทั้งในประเทศที่มาในรูปแพลตฟอร์มการค้า ขณะที่การส่งออก ตอนนี้เศรษฐกิจทั่วโลกก็ไม่ได้ดี ทำให้กำลังซื้อทั่วโลกลดลง แม้ว่าภาคท่องเที่ยวของไทยจะขยายตัวได้ แต่ยังไม่ได้ทั่วถึง
ดังนั้นจะเริ่มเห็นผลกระทบจากการปิดตัวของธุรกิจและโรงงานขนาดใหญ่ Tier 1 และ Tier 2 ขยายสู่ซัพพลายเอสเอ็มอีที่ทยอยปิดกิจการตาม โดยเฉพาะในภาคตะวันออก ซึ่งธนาคารเห็นสัญญาณ เช่น ลูกค้ากลุ่มซัพพลายเชนรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ได้รับผลกระทบจากการแข่งขันด้านราคาของสินค้าจีน เป็นต้น โดยมองไปข้างหน้ายังมีสัญญาณการปิดกิจการเพิ่มขึ้น เพราะมีปัจจัยกดดันทั้งเรื่องสินค้าจีนที่ต้นทุนถูกกว่า และการกีดกันทางการค้า ทำให้สินค้าจีนจะไหลเข้ามาแถบอาเซียน รวมถึงไทย และเกิดการดัมพ์ราคาแข่งกัน
“เมื่อโรงงานขนาดใหญ่เทียร์ 1 และ 2 ปิด แน่นอนรายเล็กก็โดนไปด้วย ซึ่งเราก็มีลูกค้าเจอปัญหาและปิดโรงงานเหมือนกัน โดยเราก็รีบเข้าไปให้การช่วยเหลือทันที ซึ่งจะดูว่าลูกค้ามีผลกระทบอะไรบ้าง และปรับโครงสร้างหนี้ให้ลูกค้า รวมถึงแผนในอนาคตลูกค้าจะมีแผนการอย่างไรต่อไป แต่ส่วนใหญ่ลูกค้าจะเร่งเคลียร์เรื่องหน้าบ้าน เช่น การเลิกจ้างพนักงาน เคลียร์บัญชี และค่อยมาดำเนินการกับธนาคาร”
แบงก์ช่วยเติมสภาพคล่อง
นายไพโรจน์ ชื่นครุฑ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านกลยุทธ์และวางแผนธุรกิจองค์กร เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ตอนนี้อาจจะประเมินตัวเลขผลกระทบจากการปิดโรงงานของผู้ประกอบการขนาดใหญ่ได้ค่อนข้างยาก แต่จะเห็นว่ามีค่ายรถยนต์ 2 แบรนด์ได้ประกาศปิดโรงงาน ซึ่งย่อมกระทบต่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่เป็นซัพพลายเชน ซึ่งธนาคารได้เข้าไปให้ความช่วยเหลือต่อเนื่อง
“หากภาครัฐมีนโยบายลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ชัดเจน เช่น กลุ่มรถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) อาจจะต้องรักษาสมดุลไม่ให้เกิดผลกระทบต่อกลุ่มรถยนต์สันดาป (ICE) และต้องบาลานซ์การลงทุน ไม่ได้เน้นเฉพาะจีนอย่างเดียว แต่ต้องรวมไปถึงญี่ปุ่น เกาหลีด้วย และเชื่อว่าสถานการณ์จะทยอยดีขึ้นหลังมีการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ”
นางสยุมรัตน์ มาระเนตร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเอสเอ็มอี ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า ธนาคารยอมรับว่ามีลูกค้าเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบและปิดตัวลงบ้าง แต่ไม่มาก และมีแรงงานจำนวนไม่สูง โดยธนาคารได้ให้การช่วยเหลือลูกค้าที่เริ่มมีปัญหาอย่างต่อเนื่องจากสัญญาณเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้ากว่าคาด ส่งผลให้ลูกค้าขาดสภาพคล่อง ขายของได้ยากขึ้น ธนาคารจะเข้าไปช่วยสนับสนุนด้านสภาพคล่อง
“เอสเอ็มอีที่ปิดโรงงานมีบ้าง แต่ไม่เยอะ ซึ่งเราก็ช่วยเหลือลูกค้าเต็มที่ นอกจากนี้เรายังมีการตรวจสุขภาพลูกค้า ทำให้หนี้เสียพอร์ตเอสเอ็มอีลดลง รวมถึงเรายังดึงสินเชื่อภาครัฐ เช่น ซอฟต์โลน เข้ามาช่วยสนับสนุนลูกค้าอีกทางด้วย”...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.prachachat.net/finance/news-1647203