อรรถกถา ธรรมสังคณีปกรณ์จิตตุปปาทกัณฑ์ กุศลธรรม รูปาวจรกุศล กสิณ ฌาน ปฏิปทา ๔
อรรถกถาจิตตุปปาทกัณฑ์
อธิบายปฏิปทา ๔
บัดนี้ เพื่อแสดงประเภทลำดับปฏิปทา เพราะธรรมดาว่าฌานนี้ย่อมสำเร็จด้วยลำดับปฏิปทานั้น ฉะนั้น จึงทรงปรารภคำมีอาทิว่า กตเม ธมฺมา กุสลา อีก.
ในปฏิปทาเหล่านั้น ฌานที่ชื่อว่าทุกขาปฏิปทา เพราะอรรถว่าฌานนั้นปฏิบัติลำบาก
ที่ชื่อว่าทันธาภิญญา เพราะฌานนั้นรู้ได้ยาก
ด้วยประการฉะนี้ แม้คำทั้ง ๓ คือ ทุกขาปฏิปทาก็ดี ทันธาภิญญาก็ดี ปฐวีกสิณก็ดี เป็นชื่อของฌานทั้งนั้น.
แม้ในคำเป็นต้นว่า ทุกฺขาปฏิปทํขิปฺปาภิญฺญํ ก็นัยนี้เหมือนกัน.
บรรดาปฏิปทาเป็นต้นเหล่านั้น การเจริญฌานตั้งแต่เริ่มตั้งใจครั้งแรกจนถึงอุปจารแห่งฌานนั้นๆ เกิดขึ้นเป็นไป เรียกว่าปฏิปทา.
ส่วนปัญญาที่ดำเนินไปตั้งแต่อุปจารจนถึงอัปปนา เรียกว่าอภิญญา.
ก็ปฏิปทานี้นั้นย่อมเป็นทุกข์แก่บุคคลบางคน อธิบายว่า ชื่อว่าปฏิบัติยาก ไม่ได้เสพความสุขเพราะความที่ปัจจนิกธรรมมีนิวรณ์เป็นต้นทำให้ฟุ้งขึ้น. ปฏิปทาของบางคนเป็นสุข เพราะไม่มีปัจจนิกธรรมเช่นนั้น
แม้อภิญญาของบางคนก็ช้า คือเป็นธรรมชาติอ่อน ไม่เป็นไปโดยรวดเร็ว อภิญญาของบางคนรวดเร็ว คือไม่ช้า เป็นไปโดยรวดเร็ว
เพราะฉะนั้น บุคคลใด เมื่อข่มกิเลสทั้งหลายด้วยวิปัสสนาญาณตั้งแต่ต้น ลำบากอยู่ ย่อมข่มได้โดยยาก พร้อมทั้งสังขารและสัมปโยคะ ปฏิปทาของบุคคลนั้น ชื่อว่าทุกขาปฏิปทา (ปฏิบัติลำบาก).
ส่วนบุคคลใด ข่มกิเลสได้แล้วอบรมอัปปนาอยู่ ย่อมบรรลุถึงความเป็นองค์ฌานได้โดยกาลช้านาน ปฏิปทาของบุคคลนั้น ชื่อว่าทันธาภิญญา (รู้ได้ช้า). บุคคลใดย่อมบรรลุถึงความเป็นองค์ฌานได้โดยเร็ว ปฏิปทาของบุคคลนั้น ชื่อว่าขิปปาภิญญา (รู้ได้เร็ว). บุคคลใดเมื่อข่มกิเลสทั้งหลายไม่ลำบากข่มได้โดยง่าย ปฏิปทาของบุคคลนั้น ชื่อว่าสุขาปฏิปทา (ปฏิบัติสะดวก).
ในอธิการแห่งฌานเหล่านั้น สัปปายะและอสัปปายะก็ดี บุรพกิจมีการตัดปลิโพธเป็นต้นก็ดี อัปปนาโกศลก็ดี ข้าพเจ้าอธิบายไว้ในจิตตภาวนานิทเทสในวิสุทธิมรรคแล้ว.
ในปฏิปทามีสัปปายะเป็นต้นเหล่านั้น บุคคลใดเสพอสัปปายะ ปฏิปทาของบุคคลนั้นก็เป็นทุกขาปฏิปทาและทันธาภิญญา.
บุคคลใดเสพสัปปายะ ปฏิปทาของบุคคลนั้นก็เป็นสุขาปฏิปทาและขิปปาภิญญา.
ส่วนบุคคลใดเสพอสัปปายะในส่วนเบื้องต้น ย่อมเสพสัปปายะในเวลาภายหลัง หรือว่า เสพสัปปายะในกาลส่วนเบื้องต้น เสพอสัปปายะในกาลภายหลัง บัณฑิตพึงทราบว่าปฏิปทาและอภิญญาของบุคคลนั้นปะปนกัน.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่า พระโยคาวจรไม่ทำบุรพกิจมีการตัดปลิโพธเป็นต้นอย่างนั้นให้สำเร็จก่อนแล้วเจริญภาวนา ปฏิปทาของเขาเป็นทุกขาปฏิปทา โดยปริยายตรงกันข้ามเป็นสุขาปฏิปทา.
อนึ่ง เมื่อพระโยคาวจรไม่ทำอัปปนาโกศลให้สำเร็จ อภิญญาของเขาก็เป็นทันธาภิญญา เมื่อทำอัปปนาโกศลให้สำเร็จ อภิญญาของเขาก็เป็นขิปปาภิญญา.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบประเภทแห่งปฏิปทาและอภิญญาเหล่านั้นด้วยอำนาจตัณหาและอวิชชา และด้วยอำนาจแห่งการบำเพ็ญสมถะและวิปัสสนา.
จริงอยู่ ปฏิปทาของบุคคลผู้ถูกตัณหาครอบงำแล้ว เป็นทุกขาปฏิปทา
ปฏิปทาของผู้ไม่ถูกตัณหาครอบงำแล้ว เป็นสุขาปฏิปทา
และปฏิปทาของบุคคลผู้ถูกอวิชชาครอบงำแล้ว เป็นทุกขาภิญญา ปฏิปทาของผู้ไม่ถูกอวิชชาครอบงำแล้ว เป็นขิปปาภิญญา
อนึ่ง บุคคลใดไม่สร้างความดีในสมถะไว้ ปฏิปทาของบุคคลนั้นเป็นทุกขาปฏิปทา ปฏิปทาของบุคคลผู้สร้างความดีในสมถะไว้ เป็นสุขาปฏิปทา.
ก็บุคคลใดไม่ทำอธิการไว้ในวิปัสสนา ปฏิปทาของบุคคลนั้นเป็นทันธาภิญญา ปฏิปทาของผู้ทำอธิการไว้ในวิปัสสนาเป็นขิปปาภิญญา.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบประเภทแห่งปฏิปทาและอภิญญาเหล่านั้นด้วยสามารถแห่งกิเลสและอินทรีย์.
จริงอยู่ ปฏิปทาและอภิญญาของบุคคลมีกิเลสกล้า มีอินทรีย์อ่อนก็เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา.
ส่วนปฏิปทาและอภิญญาของผู้มีอินทรีย์กล้าก็เป็นขิปปาภิญญา.
ปฏิปทาและอภิญญาของบุคคลผู้มีกิเลสอ่อน อินทรีย์อ่อนก็เป็นสุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา.
ส่วนปฏิปทาและอภิญญาของบุคคลผู้มีอินทรีย์กล้าก็เป็นขิปปาภิญญา.
บรรดาปฏิปทาและอภิญญาเหล่านี้โดยประการที่กล่าวมานี้ บุคคลใดย่อมบรรลุฌาน เพราะปฏิบัติลำบากและรู้ได้ช้า ฌานนั้นของบุคคลนั้น เรียกว่าทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา. แม้คำที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.
ในอธิการแห่งฌานนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า สติเป็นสภาพสมควรแก่ปฐมฌานเป็นต้นนั้น ย่อมตั้งโดยชอบ ปัญญาเป็นฐิติภาคินี (มีส่วนตั้งมั่น) และพึงทราบปฏิปทาในการข่มไว้ด้วยสติตามที่กล่าวแล้วอย่างนี้ หรือด้วยความใคร่ในฌานนั้นๆ และพึงทราบอภิญญาในการอบรมอัปปนาของผู้บรรลุอุปจารฌานนั้นๆ.
อนึ่ง ปฏิปทาและอภิญญาย่อมมีแม้ด้วยสามารถแห่งการบรรลุก็ได้เหมือนกัน. เพราะว่า แม้ทุติยฌานที่บุคคลบรรลุปฐมฌานที่เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญาแล้ว บรรลุก็เป็นเช่นเดียวกันนั่นแหละ แม้ในฌานที่ ๓ ฌานที่ ๔ ก็นัยนี้แหละ. พึงทราบความต่างกัน ๔ อย่างด้วยสามารถแห่งปฏิปทาแม้ในฌานปัญจกนัย เหมือนในฌานจตุกนัย. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสฌาน ๒ นัย เป็นหมวด ๙ เป็น ๔ เพราะอำนาจแห่งปฏิปทา ด้วยประการฉะนี้.
ในฌานหมวด ๙ ปฏิปทา ๔ เหล่านั้น ว่าโดยพระบาลี ได้จิต ๓๖ ดวง แต่ว่าโดยอรรถ (ใจความ) ได้จิต ๒๐ ดวงเท่านั้น
เพราะความที่ฌานจตุกนัยก็รวมอยู่ในฌานปัญจกนัยแล.
ปฏิปทา ๔ จบ.
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=162
ลองทำสรุปง่ายๆกันดีมั้ยครับ หรือใครจะอธิบายขยายความอะไรเพิ่มเติมอีกบ้าง
ขอให้ทรงไว้ใน กามาวจรกุศลจิต เป็นปกติกันนะครับ
อธิบายปฏิปทา ๔ โดยนัยแห่งอรรถกถาจิตตุปปาทกัณฑ์
อรรถกถาจิตตุปปาทกัณฑ์
อธิบายปฏิปทา ๔
บัดนี้ เพื่อแสดงประเภทลำดับปฏิปทา เพราะธรรมดาว่าฌานนี้ย่อมสำเร็จด้วยลำดับปฏิปทานั้น ฉะนั้น จึงทรงปรารภคำมีอาทิว่า กตเม ธมฺมา กุสลา อีก.
ในปฏิปทาเหล่านั้น ฌานที่ชื่อว่าทุกขาปฏิปทา เพราะอรรถว่าฌานนั้นปฏิบัติลำบาก
ที่ชื่อว่าทันธาภิญญา เพราะฌานนั้นรู้ได้ยาก
ด้วยประการฉะนี้ แม้คำทั้ง ๓ คือ ทุกขาปฏิปทาก็ดี ทันธาภิญญาก็ดี ปฐวีกสิณก็ดี เป็นชื่อของฌานทั้งนั้น.
แม้ในคำเป็นต้นว่า ทุกฺขาปฏิปทํขิปฺปาภิญฺญํ ก็นัยนี้เหมือนกัน.
บรรดาปฏิปทาเป็นต้นเหล่านั้น การเจริญฌานตั้งแต่เริ่มตั้งใจครั้งแรกจนถึงอุปจารแห่งฌานนั้นๆ เกิดขึ้นเป็นไป เรียกว่าปฏิปทา.
ส่วนปัญญาที่ดำเนินไปตั้งแต่อุปจารจนถึงอัปปนา เรียกว่าอภิญญา.
ก็ปฏิปทานี้นั้นย่อมเป็นทุกข์แก่บุคคลบางคน อธิบายว่า ชื่อว่าปฏิบัติยาก ไม่ได้เสพความสุขเพราะความที่ปัจจนิกธรรมมีนิวรณ์เป็นต้นทำให้ฟุ้งขึ้น. ปฏิปทาของบางคนเป็นสุข เพราะไม่มีปัจจนิกธรรมเช่นนั้น
แม้อภิญญาของบางคนก็ช้า คือเป็นธรรมชาติอ่อน ไม่เป็นไปโดยรวดเร็ว อภิญญาของบางคนรวดเร็ว คือไม่ช้า เป็นไปโดยรวดเร็ว
เพราะฉะนั้น บุคคลใด เมื่อข่มกิเลสทั้งหลายด้วยวิปัสสนาญาณตั้งแต่ต้น ลำบากอยู่ ย่อมข่มได้โดยยาก พร้อมทั้งสังขารและสัมปโยคะ ปฏิปทาของบุคคลนั้น ชื่อว่าทุกขาปฏิปทา (ปฏิบัติลำบาก).
ส่วนบุคคลใด ข่มกิเลสได้แล้วอบรมอัปปนาอยู่ ย่อมบรรลุถึงความเป็นองค์ฌานได้โดยกาลช้านาน ปฏิปทาของบุคคลนั้น ชื่อว่าทันธาภิญญา (รู้ได้ช้า). บุคคลใดย่อมบรรลุถึงความเป็นองค์ฌานได้โดยเร็ว ปฏิปทาของบุคคลนั้น ชื่อว่าขิปปาภิญญา (รู้ได้เร็ว). บุคคลใดเมื่อข่มกิเลสทั้งหลายไม่ลำบากข่มได้โดยง่าย ปฏิปทาของบุคคลนั้น ชื่อว่าสุขาปฏิปทา (ปฏิบัติสะดวก).
ในอธิการแห่งฌานเหล่านั้น สัปปายะและอสัปปายะก็ดี บุรพกิจมีการตัดปลิโพธเป็นต้นก็ดี อัปปนาโกศลก็ดี ข้าพเจ้าอธิบายไว้ในจิตตภาวนานิทเทสในวิสุทธิมรรคแล้ว.
ในปฏิปทามีสัปปายะเป็นต้นเหล่านั้น บุคคลใดเสพอสัปปายะ ปฏิปทาของบุคคลนั้นก็เป็นทุกขาปฏิปทาและทันธาภิญญา.
บุคคลใดเสพสัปปายะ ปฏิปทาของบุคคลนั้นก็เป็นสุขาปฏิปทาและขิปปาภิญญา.
ส่วนบุคคลใดเสพอสัปปายะในส่วนเบื้องต้น ย่อมเสพสัปปายะในเวลาภายหลัง หรือว่า เสพสัปปายะในกาลส่วนเบื้องต้น เสพอสัปปายะในกาลภายหลัง บัณฑิตพึงทราบว่าปฏิปทาและอภิญญาของบุคคลนั้นปะปนกัน.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่า พระโยคาวจรไม่ทำบุรพกิจมีการตัดปลิโพธเป็นต้นอย่างนั้นให้สำเร็จก่อนแล้วเจริญภาวนา ปฏิปทาของเขาเป็นทุกขาปฏิปทา โดยปริยายตรงกันข้ามเป็นสุขาปฏิปทา.
อนึ่ง เมื่อพระโยคาวจรไม่ทำอัปปนาโกศลให้สำเร็จ อภิญญาของเขาก็เป็นทันธาภิญญา เมื่อทำอัปปนาโกศลให้สำเร็จ อภิญญาของเขาก็เป็นขิปปาภิญญา.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบประเภทแห่งปฏิปทาและอภิญญาเหล่านั้นด้วยอำนาจตัณหาและอวิชชา และด้วยอำนาจแห่งการบำเพ็ญสมถะและวิปัสสนา.
จริงอยู่ ปฏิปทาของบุคคลผู้ถูกตัณหาครอบงำแล้ว เป็นทุกขาปฏิปทา
ปฏิปทาของผู้ไม่ถูกตัณหาครอบงำแล้ว เป็นสุขาปฏิปทา
และปฏิปทาของบุคคลผู้ถูกอวิชชาครอบงำแล้ว เป็นทุกขาภิญญา ปฏิปทาของผู้ไม่ถูกอวิชชาครอบงำแล้ว เป็นขิปปาภิญญา
อนึ่ง บุคคลใดไม่สร้างความดีในสมถะไว้ ปฏิปทาของบุคคลนั้นเป็นทุกขาปฏิปทา ปฏิปทาของบุคคลผู้สร้างความดีในสมถะไว้ เป็นสุขาปฏิปทา.
ก็บุคคลใดไม่ทำอธิการไว้ในวิปัสสนา ปฏิปทาของบุคคลนั้นเป็นทันธาภิญญา ปฏิปทาของผู้ทำอธิการไว้ในวิปัสสนาเป็นขิปปาภิญญา.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบประเภทแห่งปฏิปทาและอภิญญาเหล่านั้นด้วยสามารถแห่งกิเลสและอินทรีย์.
จริงอยู่ ปฏิปทาและอภิญญาของบุคคลมีกิเลสกล้า มีอินทรีย์อ่อนก็เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา.
ส่วนปฏิปทาและอภิญญาของผู้มีอินทรีย์กล้าก็เป็นขิปปาภิญญา.
ปฏิปทาและอภิญญาของบุคคลผู้มีกิเลสอ่อน อินทรีย์อ่อนก็เป็นสุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา.
ส่วนปฏิปทาและอภิญญาของบุคคลผู้มีอินทรีย์กล้าก็เป็นขิปปาภิญญา.
บรรดาปฏิปทาและอภิญญาเหล่านี้โดยประการที่กล่าวมานี้ บุคคลใดย่อมบรรลุฌาน เพราะปฏิบัติลำบากและรู้ได้ช้า ฌานนั้นของบุคคลนั้น เรียกว่าทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา. แม้คำที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.
ในอธิการแห่งฌานนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า สติเป็นสภาพสมควรแก่ปฐมฌานเป็นต้นนั้น ย่อมตั้งโดยชอบ ปัญญาเป็นฐิติภาคินี (มีส่วนตั้งมั่น) และพึงทราบปฏิปทาในการข่มไว้ด้วยสติตามที่กล่าวแล้วอย่างนี้ หรือด้วยความใคร่ในฌานนั้นๆ และพึงทราบอภิญญาในการอบรมอัปปนาของผู้บรรลุอุปจารฌานนั้นๆ.
อนึ่ง ปฏิปทาและอภิญญาย่อมมีแม้ด้วยสามารถแห่งการบรรลุก็ได้เหมือนกัน. เพราะว่า แม้ทุติยฌานที่บุคคลบรรลุปฐมฌานที่เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญาแล้ว บรรลุก็เป็นเช่นเดียวกันนั่นแหละ แม้ในฌานที่ ๓ ฌานที่ ๔ ก็นัยนี้แหละ. พึงทราบความต่างกัน ๔ อย่างด้วยสามารถแห่งปฏิปทาแม้ในฌานปัญจกนัย เหมือนในฌานจตุกนัย. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสฌาน ๒ นัย เป็นหมวด ๙ เป็น ๔ เพราะอำนาจแห่งปฏิปทา ด้วยประการฉะนี้.
ในฌานหมวด ๙ ปฏิปทา ๔ เหล่านั้น ว่าโดยพระบาลี ได้จิต ๓๖ ดวง แต่ว่าโดยอรรถ (ใจความ) ได้จิต ๒๐ ดวงเท่านั้น
เพราะความที่ฌานจตุกนัยก็รวมอยู่ในฌานปัญจกนัยแล.
ปฏิปทา ๔ จบ.
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=162
ลองทำสรุปง่ายๆกันดีมั้ยครับ หรือใครจะอธิบายขยายความอะไรเพิ่มเติมอีกบ้าง
ขอให้ทรงไว้ใน กามาวจรกุศลจิต เป็นปกติกันนะครับ