สืบเนื่องจากกระทู้เรื่อง สังขารปรินิพพายี และอสังขารปรินิพพานยี มีการพูดถึงปฏิปทา ๔
เห็นว่าน่าจะมีประโยชน์มากขึ้น ถ้าได้นำเนื้อที่มีมาในพระไตรปิฎกและอรรถกถา
ได้อธิบายขยายความในเรื่องปฏิปทาในการปฏิบัติกรรมฐานทั้ง ๔ แบบ
อันเป็นพื้นฐานที่จำเป็นและสำคัญในการปฏิบัติของเพื่อนสมาชิก
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
[๑๖๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่
ได้ปราศรัยกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้ถามท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า
ดูกรท่านผู้มีอายุโมคคัลลานะ ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ
ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ๑
ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ๑
สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ๑
สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ๑
ดูกรท่านผู้มีอายุ ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนี้
จิตของท่านหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน
เพราะอาศัยปฏิปทาข้อไหน
ท่านพระมหาโมคคัลลานะตอบว่า
ดูกรท่านผู้มีอายุสารีบุตร ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ฯลฯ บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนี้
จิตของผมหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน เพราะอาศัยทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯ
จาก
http://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=21&item=167&items=1&preline=0&pagebreak=1&mode=bracket
เนื้อหาเดียวกัน แต่พระมหาโมคคัลานะ ถามพระสารีบุตรบ้างว่า บรรลุธรรมด้วยปฏิปทาใด
พระสารีบุตรตอบว่า สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา
อรรถกถาอธิบายว่า
พระมหาโมคคัลลานะนั้น ท่านมีปฏิปทาแบบ สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา(ง่ายแต่ช้า) ในเบื้องต้น
แต่เมื่อตอนจะสำเร็จอรหัตมรรค ท่านปฏิบัติแบบ ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา(ยากแต่เร็ว)
ส่วนพระสารีบุตรนั้น ในเบื้องต้นท่านปฏิบัติแบบ สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา (ง่ายแต่ช้า)ในเบื้องต้น
แต่เมื่อตอนจะสำเร็จอรหัตมรรค ท่านปฏิบัติแบบ สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา (ง่ายแต่เร็ว)
ทีนี้ ปฏิปทาแบบทุกขาปฏิปทาและสุขาปฏิปทานั้น ใครจะปฏิบัติแบบไหนดีละ
พระพุทธเจ้าอธิบายบุคคลผู้ควรปฏิบัติแบบ ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา(ปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า)ไว้อย่างนี้
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ โดยปรกติเป็นคนมีราคะกล้าย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่ราคะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติเป็นคนมีโทสะกล้าย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โทสะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติเป็นคนมีโมหะกล้า ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โมหะเนืองๆ บ้าง
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ของเขาปรากฏว่าอ่อน
เขาย่อมบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะได้ช้า เพราะอินทรีย์ ๕ เหล่านี้อ่อน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯ"
ส่วนปฏิปทาแบบทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา (ปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว) ก็มีเนื้อความเดียวกัน ต่างกันเพียงแต่ว่า
ปฏิปทาแบบรู้ได้เร็วนั้น มีอินทรีย์ ๕ แก่กล้า จึงสามารถรู้ได้เร็ว
ทีนี้สุขาปฏิปทาละเป็นยังไง พระพุทธเจ้าตรัสอย่างนี้
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขาปฏิปทาทันธาภิญญาเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ โดยปรกติไม่เป็นคนมีราคะกล้า
ย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่ราคะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติไม่เป็นผู้มีโทสะกล้า ย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โทสะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติไม่เป็นผู้มีโมหะกล้า ย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โมหะเนืองๆ บ้าง
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ของเขาปรากฏว่าอ่อน
เขาย่อมได้บรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะช้า เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้อ่อน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯ
ทีนี้ ปฏิปทาแบบทุกขาปฏิปทาทั้งสองและสุขาปฏิปทาทั้งสองนั้นแตกต่างกันอย่างไร
พระพุทธเจ้าอธิบายทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา(ปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า)ไว้อย่างนี้
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม มีความสำคัญในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล
มีความสำคัญในโลกทั้งปวงว่าไม่น่ายินดี พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าไม่เที่ยง
อนึ่ง มรณสัญญาของเธอตั้งอยู่ดีแล้วในภายใน
เธอเข้าไปอาศัยธรรมอันเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้
คือ สัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ของเธอปรากฏว่าอ่อน
เธอได้บรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะช้า เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้อ่อน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯ"
แน่นอนว่า ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ก็ปฏิบัติเหมือนกัน แต่อินทรีย์แก้กล้ากว่า จึงบรรลุธรรมได้เร็วกว่า
ส่วนสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา พระพุทธเจ้าตรัสให้ปฏิบัติแบบนี้
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขาปฏิปทาทันธาภิญญาเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่
บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร
เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย
เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้
บรรลุจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุขเพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
เธออาศัยธรรมอันเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้ คือ สัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญาอยู่
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ของเธอปรากฏว่าอ่อน
เธอบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะช้าเพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้อ่อน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯ"
และเหมือนเดิมคือ สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ก็ปฏิบัติเหมือนกัน เพียงแต่อินทรียแก่กล้ากว่า จึงบรรลุธรรมได้เร็วกว่า
ส่วนในอรรถกถา ธรรมสังคณีปกรณ์นั้น
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=162
ท่านแยกแยะโดยละเอียดพอยกมาคร่าวๆว่า
ถ้าปฏิบัติกรรมฐานแล้วมีมีธรรมอันเป็นอุปสรรค เช่น นิวรณ์มาก เรียกว่าทุกขาปฏิปทา ปฏิบัติลำบาก
แต่ถ้ามีธรรมอันเป็นอุปสรรคน้อย ก็เรียกว่า สุขาปฏิปทา ปฏิบัติได้ง่าย
อันนี้ก็จะเห็นได้ว่าตรงกับพุทธพจน์ที่ว่า บุคคลย่อมมีกิเลสไม่สม่ำเสมอกัน
ถ้าปฏิบัติจากอุปจารสมาธิแล้วเข้าอัปปนาสมาธิได้ช้า เรียกว่า ทันธาภิญญา คือ รู้ได้ช้า
แต่ถ้าปฏิบัติจากอุปจารสมาธิแล้วเข้าอัปนาสมาธิได้องค์ฌานได้เร็ว เรียกว่า ขิปปาภิญญา คือ รู้ได้เร็ว
ถ้าปฏิบัติในสัปปายะ ก็จะปฏิบัติได้ง่าย บรรลุเร็ว
แต่ถ้าปฏิบัติในอสัปปายะ ก็จะปฏิบัติลำบาก บรรลุช้า
ถ้าพิจารณาตัดปลิโพธก่อน ก็จะปฏิบัติได้ง่าย บรรลุเร็ว
แต่ถ้าไม่พิจารณาตัดปลิโพธก่อน ก็จะปฏิบัติลำบาก บรรลุช้า
ถ้าทำอัปปนาโกศลให้ได้ คือ ความรู้ในการเกื้อกูลฌานในจิต ก็จะบรรลุเร็ว
แต่ถ้าไม่ทำอัปปนาโกศลให้ได้ ก็จะบรรลุช้า (อัปปานาโกศลคืออะไรขอให้ใช้ google นะครับ)
ถ้าเจริญกรรมฐานมีสมถะ ก็จะปฏิบัติได้ง่าย
แต่ถ้าเจริญกรรมฐานแบบไม่มีสมถะ ก็จะปฏิบัติลำบาก
ถ้าเจริญวิปัสสนาด้วยก็จะบรรลุเร็ว
แต่ถ้าไม่เจริญวิปัสสนาก็จะบรรลุช้า
พระสารีบุตรสอบถามพระมหาโมคคัลลานะในเรื่องการปฏิบัติเพื่อบรรลุมรรคผล
เห็นว่าน่าจะมีประโยชน์มากขึ้น ถ้าได้นำเนื้อที่มีมาในพระไตรปิฎกและอรรถกถา
ได้อธิบายขยายความในเรื่องปฏิปทาในการปฏิบัติกรรมฐานทั้ง ๔ แบบ
อันเป็นพื้นฐานที่จำเป็นและสำคัญในการปฏิบัติของเพื่อนสมาชิก
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
[๑๖๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่
ได้ปราศรัยกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้ถามท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า
ดูกรท่านผู้มีอายุโมคคัลลานะ ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ
ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ๑
ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ๑
สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ๑
สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ๑
ดูกรท่านผู้มีอายุ ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนี้
จิตของท่านหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน
เพราะอาศัยปฏิปทาข้อไหน
ท่านพระมหาโมคคัลลานะตอบว่า
ดูกรท่านผู้มีอายุสารีบุตร ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ฯลฯ บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนี้
จิตของผมหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน เพราะอาศัยทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯ
จาก http://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=21&item=167&items=1&preline=0&pagebreak=1&mode=bracket
เนื้อหาเดียวกัน แต่พระมหาโมคคัลานะ ถามพระสารีบุตรบ้างว่า บรรลุธรรมด้วยปฏิปทาใด
พระสารีบุตรตอบว่า สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา
อรรถกถาอธิบายว่า
พระมหาโมคคัลลานะนั้น ท่านมีปฏิปทาแบบ สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา(ง่ายแต่ช้า) ในเบื้องต้น
แต่เมื่อตอนจะสำเร็จอรหัตมรรค ท่านปฏิบัติแบบ ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา(ยากแต่เร็ว)
ส่วนพระสารีบุตรนั้น ในเบื้องต้นท่านปฏิบัติแบบ สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา (ง่ายแต่ช้า)ในเบื้องต้น
แต่เมื่อตอนจะสำเร็จอรหัตมรรค ท่านปฏิบัติแบบ สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา (ง่ายแต่เร็ว)
ทีนี้ ปฏิปทาแบบทุกขาปฏิปทาและสุขาปฏิปทานั้น ใครจะปฏิบัติแบบไหนดีละ
พระพุทธเจ้าอธิบายบุคคลผู้ควรปฏิบัติแบบ ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา(ปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า)ไว้อย่างนี้
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ โดยปรกติเป็นคนมีราคะกล้าย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่ราคะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติเป็นคนมีโทสะกล้าย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โทสะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติเป็นคนมีโมหะกล้า ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โมหะเนืองๆ บ้าง
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ของเขาปรากฏว่าอ่อน
เขาย่อมบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะได้ช้า เพราะอินทรีย์ ๕ เหล่านี้อ่อน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯ"
ส่วนปฏิปทาแบบทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา (ปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว) ก็มีเนื้อความเดียวกัน ต่างกันเพียงแต่ว่า
ปฏิปทาแบบรู้ได้เร็วนั้น มีอินทรีย์ ๕ แก่กล้า จึงสามารถรู้ได้เร็ว
ทีนี้สุขาปฏิปทาละเป็นยังไง พระพุทธเจ้าตรัสอย่างนี้
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขาปฏิปทาทันธาภิญญาเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ โดยปรกติไม่เป็นคนมีราคะกล้า
ย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่ราคะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติไม่เป็นผู้มีโทสะกล้า ย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โทสะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติไม่เป็นผู้มีโมหะกล้า ย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โมหะเนืองๆ บ้าง
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ของเขาปรากฏว่าอ่อน
เขาย่อมได้บรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะช้า เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้อ่อน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯ
ทีนี้ ปฏิปทาแบบทุกขาปฏิปทาทั้งสองและสุขาปฏิปทาทั้งสองนั้นแตกต่างกันอย่างไร
พระพุทธเจ้าอธิบายทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา(ปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า)ไว้อย่างนี้
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม มีความสำคัญในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล
มีความสำคัญในโลกทั้งปวงว่าไม่น่ายินดี พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าไม่เที่ยง
อนึ่ง มรณสัญญาของเธอตั้งอยู่ดีแล้วในภายใน
เธอเข้าไปอาศัยธรรมอันเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้
คือ สัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ของเธอปรากฏว่าอ่อน
เธอได้บรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะช้า เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้อ่อน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯ"
แน่นอนว่า ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ก็ปฏิบัติเหมือนกัน แต่อินทรีย์แก้กล้ากว่า จึงบรรลุธรรมได้เร็วกว่า
ส่วนสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา พระพุทธเจ้าตรัสให้ปฏิบัติแบบนี้
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขาปฏิปทาทันธาภิญญาเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่
บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร
เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย
เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้
บรรลุจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุขเพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
เธออาศัยธรรมอันเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้ คือ สัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญาอยู่
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ของเธอปรากฏว่าอ่อน
เธอบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะช้าเพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้อ่อน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯ"
และเหมือนเดิมคือ สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ก็ปฏิบัติเหมือนกัน เพียงแต่อินทรียแก่กล้ากว่า จึงบรรลุธรรมได้เร็วกว่า
ส่วนในอรรถกถา ธรรมสังคณีปกรณ์นั้น
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=162
ท่านแยกแยะโดยละเอียดพอยกมาคร่าวๆว่า
ถ้าปฏิบัติกรรมฐานแล้วมีมีธรรมอันเป็นอุปสรรค เช่น นิวรณ์มาก เรียกว่าทุกขาปฏิปทา ปฏิบัติลำบาก
แต่ถ้ามีธรรมอันเป็นอุปสรรคน้อย ก็เรียกว่า สุขาปฏิปทา ปฏิบัติได้ง่าย
อันนี้ก็จะเห็นได้ว่าตรงกับพุทธพจน์ที่ว่า บุคคลย่อมมีกิเลสไม่สม่ำเสมอกัน
ถ้าปฏิบัติจากอุปจารสมาธิแล้วเข้าอัปปนาสมาธิได้ช้า เรียกว่า ทันธาภิญญา คือ รู้ได้ช้า
แต่ถ้าปฏิบัติจากอุปจารสมาธิแล้วเข้าอัปนาสมาธิได้องค์ฌานได้เร็ว เรียกว่า ขิปปาภิญญา คือ รู้ได้เร็ว
ถ้าปฏิบัติในสัปปายะ ก็จะปฏิบัติได้ง่าย บรรลุเร็ว
แต่ถ้าปฏิบัติในอสัปปายะ ก็จะปฏิบัติลำบาก บรรลุช้า
ถ้าพิจารณาตัดปลิโพธก่อน ก็จะปฏิบัติได้ง่าย บรรลุเร็ว
แต่ถ้าไม่พิจารณาตัดปลิโพธก่อน ก็จะปฏิบัติลำบาก บรรลุช้า
ถ้าทำอัปปนาโกศลให้ได้ คือ ความรู้ในการเกื้อกูลฌานในจิต ก็จะบรรลุเร็ว
แต่ถ้าไม่ทำอัปปนาโกศลให้ได้ ก็จะบรรลุช้า (อัปปานาโกศลคืออะไรขอให้ใช้ google นะครับ)
ถ้าเจริญกรรมฐานมีสมถะ ก็จะปฏิบัติได้ง่าย
แต่ถ้าเจริญกรรมฐานแบบไม่มีสมถะ ก็จะปฏิบัติลำบาก
ถ้าเจริญวิปัสสนาด้วยก็จะบรรลุเร็ว
แต่ถ้าไม่เจริญวิปัสสนาก็จะบรรลุช้า