- ภาพรวมไม่เชิงว่าจะนำเสนอชีวประวัติของตัวลุง Robby Muller หรือ ตีแผ่เบื้องหลังอุตสาหกรรมภาพยนตร์ซะทีเดียว อารมณ์เหมือนนั่งดูสมุด Friendship ที่ถูกพบในลิ้นชักเก่า ๆ แล้วนำมาเปิดดูปรากฎว่าข้างในเป็นบันทึก Diary ของลุงตอนมีชีวิตอยู่ ไม่ว่าจะเป็นภาพโพลารอยด์ ,เทป Hi8 หรือ ถ่าย Video จากภาพยนตร์ที่กำกับไปกว่า 70 เรื่องผสมถ่ายภาพส่วนตัวที่ถูกจารึกตามกาลเวลา ด้วยความที่ตัวสารคดีมีเวลาจำกัดคงไม่อาจนำข้อมูลที่หามาใส่รวมได้ทั้งหมด ดังนั้นผู้กำกับ Claire Pijman คงจะเอาอันที่สำคัญมาใส่แล้วเรียงต่อกันเป็นทอด ๆ ให้ได้ความยาวที่กำหนด ระหว่างดูจึงสังเกตุว่าวิธีการเล่าไม่ได้เรียง Timeline อย่างเห็นได้ชัด ถ้าคนที่ไม่ได้คลุกคลีอยู่กับวงการภาพยนตร์โดยเฉพาะทางฝั่งยุโรปช่วงก่อนปี 2000’s จะไม่รู้จักว่าตาลุงนี่เป็นใคร? แม้แต่ตัวผมที่ดูหนังบ่อยก็ไม่รู้จักเช่นกัน จนได้มาดูก็ประหลาดใจว่า เฮ้ย ! ตาลุงนี่มันสุดยอดปรมาจารย์ทางด้านภาพนี่หว่า ? แถมเคย Featuring กับผู้กำกับชื่อดังมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นลุง Wim Wenders , ลุง Jim Jarmusch กระทั่ง ลุง Lars Von Trier ที่จริงมีอีกแต่จำได้แค่นี้ แล้วแต่ละคนที่ร่วมงานก็ระดับเทพด้านความติสท์ทั้งนั้น
- ระยะเวลา 1 ชั่วโมง 26 นาที ขณะดูไปใจนึงมีความรู้สึกว่ายืดไปนิดตามสไตล์หนังสารคดีเพราะจับสารไม่ค่อยถูกแต่อีกใจก็ดูเพลิน ๆ ไปกับ Footage แบบ Handicam ที่คัดมามากมายมหาศาล ที่จำได้ก็มีเรื่อง Paris,Texas (1984) ของลุง Wim , Dead Man (1995) ของลุง Jim หรือ Dancer in the Dark (2000) ของลุง Lars เป็นต้น สลับสับเปลี่ยนกับชีวิตส่วนตัวของลุงไปมาโดยมีคำบรรยายและบทสนทนาจากการถูกสัมภาษณ์ผู้ที่เคยทำงานกับลุงไปด้วยว่า Feedback หลังจากที่ได้ร่วมงานกับลุง Robbie เป็นอย่างไร ? จะจริงหรือไม่จริงก็สุดแท้ แต่ทั้งหมดที่กล่าวมามันคือความในใจจากเพื่อนร่วมรุ่นที่เคยร่วมงานมาแล้วด้วยความสัตย์จริง
- ด้วยความที่ตัวสารคดีไม่เรียง Timeline เป็นวรรคเป็นเวรว่าเหตุการณ์ไหนเกิดก่อนหรือเกิดหลัง โดยเฉพาะ Part ชีวิตส่วนตัวของลุงที่สุดท้ายเราก็ไม่ได้รู้จักมักจี่อยู่ดีว่าเป็นใคร ? มาจากไหน ? เรียนจบอะไร ? เหตุใดถึงอยากเป็นผู้กำกับภาพ ? รู้แค่ว่าลุงเป็นผู้กำกับภาพไปแล้วแค่นั้น เพราะ ตอนเปิดเรื่องมาก็ประเคนด้วยภาพทิวทัศน์จากกล้องของลุงขึ้นมาถ่ายนกชมไม้ที่กำลังพริ้วไหวเหนือสายลมตรง ๆ แถมภาพรวมก็เทไปที่ผลงานซะมากกว่า มันเลยทำให้ในส่วน Life ของลุงถูกบอกเล่าเพียงฉาบฉวยเพื่อกินเวลาดูจบก็ลืมไปเสียแล้ว
- สรุป ชอบ ถึงไม่เคยรู้จักตัวตนลุงแต่ด้วยความชอบดูหนังเลยสามารถจูนติดกับเรื่องได้ไม่ยาก ถ้าให้เปรียบเทียบก็คงเป็นจดหมายรักแด่เหล่า FC ผู้ศรัทราในตัวลุง Robby ได้รำลึกห้วงเวลาที่ผ่านมา รวมถึงผู้ที่ชอบศึกษาภาพยนตร์อย่างกว้างขวางโดยเฉพาะวงการฝั่งยุโรปช่วงก่อนปี 2000’s ลงมาที่มีเรื่องราวทางด้านประวัติศาสตร์ให้พูดถึงและเป็นต้นแบบของศิลปินที่มีวิสัยทัศน์ไม่เหมือนใคร ถึงเข้าใจบ้างมึนบ้างแต่อย่างน้อยสารเหล่านั้นก็ได้เห็นอีกมุมนึงของลุงที่ยกหัวโขนออกด้วยการสวมบทเป็นพ่อบ้านลูก 2 (ตามที่เห็น) แต่มิวายยังชอบหยิบกล้องขึ้นมาถ่ายกิจวัตรของลูก ๆ ทั้งในบ้านหรือตามที่ต่าง ๆ จึงไม่แปลกใจว่าทำไมลุงถึงถูกยกย่องจากบรรดาผู้กำกับสายอาร์ตที่เคยร่วมงานด้วยกันว่าเป็นผู้กำกับภาพที่สวยงามที่สุดเป็นอันดับต้น ๆ ของวงการภาพยนตร์แต่ที่ไม่เข้าใจคือทำไมลุงชอบถ่ายในห้องน้ำกันหนักหนา ? แล้วมาแทบทุก Scene คือ ชอบแวะเข้าห้องน้ำเป็นประจำ ถ่ายหน้าตัวเองในกระจกเพื่อเช็คความหล่อไม่ว่าแต่นี่ลุงแกเล่นถ่ายตรงโถส้วมแล้วซูมเข้าไปในขณะที่น้ำกำลังหมุนติ๊ว ๆ ลงในชักโครกอย่างช้า ๆ ราวกับกำลังถูกสะกดจิตให้ท่องนะโมสังโขยังไงยังงั้น ดีที่ไม่มีอุจจาระโผล่มาด้วยแค่นี้ก็ขมคออิตายห่าอยู่แล้ว เฮือก !!
ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านครับ เมื่อได้อ่านแล้ว สามารถกด Like & Share บทความของผม EM Pascal เพื่อเป็นกำลังใจในการพรรณนาครั้งต่อไป ขอบคุณครับ
[CR] ์No.116 Robby Muller : Living the Light (2018) : ย้อนความหนัง ส่องผ่านฟิลม์
- ภาพรวมไม่เชิงว่าจะนำเสนอชีวประวัติของตัวลุง Robby Muller หรือ ตีแผ่เบื้องหลังอุตสาหกรรมภาพยนตร์ซะทีเดียว อารมณ์เหมือนนั่งดูสมุด Friendship ที่ถูกพบในลิ้นชักเก่า ๆ แล้วนำมาเปิดดูปรากฎว่าข้างในเป็นบันทึก Diary ของลุงตอนมีชีวิตอยู่ ไม่ว่าจะเป็นภาพโพลารอยด์ ,เทป Hi8 หรือ ถ่าย Video จากภาพยนตร์ที่กำกับไปกว่า 70 เรื่องผสมถ่ายภาพส่วนตัวที่ถูกจารึกตามกาลเวลา ด้วยความที่ตัวสารคดีมีเวลาจำกัดคงไม่อาจนำข้อมูลที่หามาใส่รวมได้ทั้งหมด ดังนั้นผู้กำกับ Claire Pijman คงจะเอาอันที่สำคัญมาใส่แล้วเรียงต่อกันเป็นทอด ๆ ให้ได้ความยาวที่กำหนด ระหว่างดูจึงสังเกตุว่าวิธีการเล่าไม่ได้เรียง Timeline อย่างเห็นได้ชัด ถ้าคนที่ไม่ได้คลุกคลีอยู่กับวงการภาพยนตร์โดยเฉพาะทางฝั่งยุโรปช่วงก่อนปี 2000’s จะไม่รู้จักว่าตาลุงนี่เป็นใคร? แม้แต่ตัวผมที่ดูหนังบ่อยก็ไม่รู้จักเช่นกัน จนได้มาดูก็ประหลาดใจว่า เฮ้ย ! ตาลุงนี่มันสุดยอดปรมาจารย์ทางด้านภาพนี่หว่า ? แถมเคย Featuring กับผู้กำกับชื่อดังมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นลุง Wim Wenders , ลุง Jim Jarmusch กระทั่ง ลุง Lars Von Trier ที่จริงมีอีกแต่จำได้แค่นี้ แล้วแต่ละคนที่ร่วมงานก็ระดับเทพด้านความติสท์ทั้งนั้น
- ระยะเวลา 1 ชั่วโมง 26 นาที ขณะดูไปใจนึงมีความรู้สึกว่ายืดไปนิดตามสไตล์หนังสารคดีเพราะจับสารไม่ค่อยถูกแต่อีกใจก็ดูเพลิน ๆ ไปกับ Footage แบบ Handicam ที่คัดมามากมายมหาศาล ที่จำได้ก็มีเรื่อง Paris,Texas (1984) ของลุง Wim , Dead Man (1995) ของลุง Jim หรือ Dancer in the Dark (2000) ของลุง Lars เป็นต้น สลับสับเปลี่ยนกับชีวิตส่วนตัวของลุงไปมาโดยมีคำบรรยายและบทสนทนาจากการถูกสัมภาษณ์ผู้ที่เคยทำงานกับลุงไปด้วยว่า Feedback หลังจากที่ได้ร่วมงานกับลุง Robbie เป็นอย่างไร ? จะจริงหรือไม่จริงก็สุดแท้ แต่ทั้งหมดที่กล่าวมามันคือความในใจจากเพื่อนร่วมรุ่นที่เคยร่วมงานมาแล้วด้วยความสัตย์จริง
- ด้วยความที่ตัวสารคดีไม่เรียง Timeline เป็นวรรคเป็นเวรว่าเหตุการณ์ไหนเกิดก่อนหรือเกิดหลัง โดยเฉพาะ Part ชีวิตส่วนตัวของลุงที่สุดท้ายเราก็ไม่ได้รู้จักมักจี่อยู่ดีว่าเป็นใคร ? มาจากไหน ? เรียนจบอะไร ? เหตุใดถึงอยากเป็นผู้กำกับภาพ ? รู้แค่ว่าลุงเป็นผู้กำกับภาพไปแล้วแค่นั้น เพราะ ตอนเปิดเรื่องมาก็ประเคนด้วยภาพทิวทัศน์จากกล้องของลุงขึ้นมาถ่ายนกชมไม้ที่กำลังพริ้วไหวเหนือสายลมตรง ๆ แถมภาพรวมก็เทไปที่ผลงานซะมากกว่า มันเลยทำให้ในส่วน Life ของลุงถูกบอกเล่าเพียงฉาบฉวยเพื่อกินเวลาดูจบก็ลืมไปเสียแล้ว
- สรุป ชอบ ถึงไม่เคยรู้จักตัวตนลุงแต่ด้วยความชอบดูหนังเลยสามารถจูนติดกับเรื่องได้ไม่ยาก ถ้าให้เปรียบเทียบก็คงเป็นจดหมายรักแด่เหล่า FC ผู้ศรัทราในตัวลุง Robby ได้รำลึกห้วงเวลาที่ผ่านมา รวมถึงผู้ที่ชอบศึกษาภาพยนตร์อย่างกว้างขวางโดยเฉพาะวงการฝั่งยุโรปช่วงก่อนปี 2000’s ลงมาที่มีเรื่องราวทางด้านประวัติศาสตร์ให้พูดถึงและเป็นต้นแบบของศิลปินที่มีวิสัยทัศน์ไม่เหมือนใคร ถึงเข้าใจบ้างมึนบ้างแต่อย่างน้อยสารเหล่านั้นก็ได้เห็นอีกมุมนึงของลุงที่ยกหัวโขนออกด้วยการสวมบทเป็นพ่อบ้านลูก 2 (ตามที่เห็น) แต่มิวายยังชอบหยิบกล้องขึ้นมาถ่ายกิจวัตรของลูก ๆ ทั้งในบ้านหรือตามที่ต่าง ๆ จึงไม่แปลกใจว่าทำไมลุงถึงถูกยกย่องจากบรรดาผู้กำกับสายอาร์ตที่เคยร่วมงานด้วยกันว่าเป็นผู้กำกับภาพที่สวยงามที่สุดเป็นอันดับต้น ๆ ของวงการภาพยนตร์แต่ที่ไม่เข้าใจคือทำไมลุงชอบถ่ายในห้องน้ำกันหนักหนา ? แล้วมาแทบทุก Scene คือ ชอบแวะเข้าห้องน้ำเป็นประจำ ถ่ายหน้าตัวเองในกระจกเพื่อเช็คความหล่อไม่ว่าแต่นี่ลุงแกเล่นถ่ายตรงโถส้วมแล้วซูมเข้าไปในขณะที่น้ำกำลังหมุนติ๊ว ๆ ลงในชักโครกอย่างช้า ๆ ราวกับกำลังถูกสะกดจิตให้ท่องนะโมสังโขยังไงยังงั้น ดีที่ไม่มีอุจจาระโผล่มาด้วยแค่นี้ก็ขมคออิตายห่าอยู่แล้ว เฮือก !!
ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านครับ เมื่อได้อ่านแล้ว สามารถกด Like & Share บทความของผม EM Pascal เพื่อเป็นกำลังใจในการพรรณนาครั้งต่อไป ขอบคุณครับ
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้