(1)
คงไม่มีอะไรน่าสนใจไปกว่าการได้เห็นผลงานของผู้กำกับชั้นอ๋อง “โรเบิร์ต เซเมคคิส” (Robert Zemeckis) เจ้าของภาพยนตร์ขึ้นหิ้งในช่วงยุค 90 มากมาย ไล่ตั้งแต่ Back to the Future ทั้ง 3 ภาค (1985-1990) Forrest Gump (1994) และ Cast Away (2000) แม้ว่าหลังจากนั้นงานของเขาจะไม่ได้กลายเป็นไอคอนของยุค แต่ก็ยังได้รับคำวิจารณ์ในแง่บวกอยู่ ทั้ง Flight (2012) The Walk (2015) และ Allied (2016) จะสังเกตได้ว่าที่ผ่านมางานของเซเมคคิสมีความหลากหมายมาก จนไม่แปลกใจถ้า Here ผลงานเรื่องล่าสุดของเขาจะมีกิมมิค จนแทบจะกลายเป็น “หนังทดลอง” เลยทีเดียว
(2)
เป็นเรื่องกล้าหาญชาญชัยอย่างมากหากคิดจะสร้างภาพยนตร์สักเรื่องที่ทั้งเรื่องมีอยู่แค่ “เฟรมเดียว” หรือภาพจากมุมเดียวโดยไม่ขยับกล้องไปไหนเลย เพราะว่าวิธีการแบบนี้มันโคตะระ “เสี่ยง” ประหนึ่ง “ฟิลิปป์ เปอตีต์” (Philippe Petit) เดินไต่เชือกข้ามตึกแฝดเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์เมื่อปี ค.ศ.1974 ในภาพยนตร์เรื่อง The Walk (ของเซเมคคิสเอง) ยังไงยังงั้น ซึ่งข้อเสียหลักๆ ของการถ่ายแบบนี้ คือ มันทำให้หนังไม่สามารถพาผู้ชมไปเกาะติดเรื่องราวได้แบบตามแบบปกติ มันจึงเป็นเหมือนว่าเหล่าตัวละครนำเรื่องราวของพวกเขามาประเคนให้ผู้ชมแทน ซึ่งมันก็ขาดความรู้สึกไม่เป็นธรรมชาติสะกิดใจอยู่เป็นระยะ
(3)
เมื่อผู้ชมมีชะตากรรมไม่ต่างจากผีเจ้าที่ ที่อยู่มาตั้งแต่ยุคครีเทเชียส(หรือเก่ากว่านั้น) จนถึงปัจจุบัน แม้อาจฟังดูน่าสนุก แต่มันกลับกลายเป็นความทรมานมากกว่า เพราะในช่วงแรกตัวหนังถ่ายทอดเรื่องราวอย่างสะเปะสะปะและไม่เรียงตามเวลา คงมีแต่ตัวของผู้กำกับเซเมคคิสเท่านั้นที่รู้ว่ามันสื่อถึงอะไร แต่ในมุมของผู้ชม ความวกวนและกระโดดไปมาของ “กระแสเวลา” แบบนั้น มันชวนให้เวียนหัวไม่น้อย (วัดใจได้เลยว่าจะอยู่หรือไป) กว่าจะจับเนื้อเรื่องได้ ก็ตอนได้เห็นสองตัวละครนำอย่าง ริชาร์ด (Tom Hanks) และมาร์กาเร็ต (Robin Wright) เข้า“ฉาก”มา
(4)
ซึ่งก็ต้องบอกตามตรงว่าการร้อยเรียงเรื่องราวของ Here นี่แหละที่เป็นปัญหาใหญ่ คงเพราะเซเมคคิสต้องการสร้างมิติในการดำเนินเรื่อง จึงต้องเล่ามันให้กระโดดไปมาเหมือนเล่น Pogo Stick จนเวียนหัวแบบนั้น แต่ผลลัพธ์ที่ได้คงต้องบอกว่า มันไม่เวิร์คเท่าไหร่นัก หนำซ้ำยังถาโถมผู้ชมด้วยข้อมูลอย่างไม่หยุดหย่อน ทั้งเหตุการณ์และตัวละครมากมายที่ปรากฏขึ้นมาจนไม่รู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ควรโฟกัสดี แม้จะพอจับใจความได้ว่าเหตุการณ์และตัวละครที่ถูกนำเสนอในช่วงใกล้เคียงกัน จะมีสาระและแก่นสำคัญที่คล้ายกัน แต่มันไม่ค่อยบันเทิงเท่าไหร่ถ้าพูดตรงๆ
(5)
การถูกจำกัดอยู่แค่เฟรมเดียวนอกจากจะเป็นการจำกัดการเล่าเรื่องแล้ว การตัดต่อก็ยังต้องไม่ใช้วิธีแบบเดิมๆ เพราะมันจะทำให้วัตถุในภาพกระโดดไปมาจนไม่น่าอภิรมย์แบบสุดๆ ทางแก้ที่เกิดขึ้น คือ เราจะเห็นว่า มีการขึ้นภาพของฉากถัดไปหรือสิ่งที่จะตัดไป ขึ้นมาเป็นกรอบเล็กๆ ก่อน แล้วค่อย dissolve หรือละลายภาพเดิมออกไปเพื่อป้องกันการกระโดด ซึ่งวิธีนี้ถูกใช้เกือบทั้งเรื่อง อาจจะไม่สามารถตัดสินได้ว่ามันเวิร์คหรือไม่เวิร์ค แต่ความรู้สึกที่เกิดขึ้นไม่รู้ว่าจะแรงไปไหม ถ้าจะบอกว่ามันเหมือนกับการนั่งดู Presentation ของครอบครัวใครสักคนเป็นระยะเวลากว่า 1 ชั่วโมง 44 นาที
(6)
หากจะบอกว่า Here เป็นผลงานของคนแก่ในวัยบั้นปลายก็คงไม่ผิดนัก ผู้กำกับโรเบิร์ต เซเมคคิส ในวัย 72 ขวบ และเอริค ร็อธ (Eric Roth) คนเขียนบทในวัย 79 ขวบ ผู้เคยปลุกปั้น Forrest Gump (1994) ด้วยกันมา เห็นได้ชัดว่าในครั้งนี้เป็นผลงานที่ตกผลึกจากคนที่ผ่านโลกมานาน จนเหมือนเป็นบันทึกความทรงจำของทั้งในระดับบุคคล ตั้งแต่ความรัก การงาน ครอบครัว ไปจนถึงระดับสังคมที่มีกระแสกาลเวลาของประวัติศาสตร์อเมริกา ทั้งการเมืองและเศรษฐกิจ เป็นลมพัดพาให้ครอบครัวทุกครอบครัวที่เคยอาศัยในบ้านหลังนี้ต้องประสบกับชะตากรรมที่มีทั้งทุกข์และสุขระคนกันไป
(7)
ทุนระดับ 50 ล้านเหรียญฯ ของ Here ส่วนใหญ่ถูกใช้ไปกับเทคโนโลยี De-Aging เพื่อย้อนวัยสองนักแสดงนำให้สามารถรับบทหนุ่มสาวได้อีกครั้ง(น่าเสียดายที่เสียงของทอม แฮงค์ไม่ถูกย้อนวัยด้วย) ผลลัพธ์ที่ได้น่าพึงพอใจดีอยู่ ถ้าไม่นับบางเฟรมที่ดูลอยๆ แยกชั้นระหว่างตัวละครหน้ากล้องกับฉากอย่างชัดเจนจะแจ้ง อาจจะกล่าวได้ว่ามันคือการทำหนังทดลองแสนแพง ที่หากไม่ใช่ชื่อชั้นของเซเมคคิสก็คงไม่มีใครกล้าทำอะไรแบบนี้แน่ๆ (ถึงอยากก็คงไม่ได้ทำ)
(8)
ท้ายที่สุดเรื่องราวใน Here แสดงถึงกฏไตรลักษณ์ที่ว่าด้วย การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ของหลักศาสนาพุทธได้ชัดเจนมาก จนเกือบปลงสังขาร พอๆ กับเสียงที่เล็ดลอดจากปากของริชาร์ดที่บอกว่า “เวลามันผ่าน(บิน)ไปไวเหลือเกิน” ที่คงเป็นแก่นสำคัญที่สุดที่คนวัยบั้นปลายอย่างเซเมคคิสอยากบอกผู้คนไว้ ซึ่งหากมองข้ามเรื่องข้อจำกัดทั้งปวงไปก็นับว่าเป็นงานที่จรรโลงใจไม่น้อยเลยทีเดียว ถึงไม่ต้องเป็นคนแก่ก็เข้าถึงแก่นนี้ได้นะ
Story Decoder
[รีวิว] Here - จำลองชีวิตการเป็นวิญญาณติดที่นับล้านๆ ปี เพื่อซึมซับข้อคิดจากผู้กำกับระดับตำนาน
คงไม่มีอะไรน่าสนใจไปกว่าการได้เห็นผลงานของผู้กำกับชั้นอ๋อง “โรเบิร์ต เซเมคคิส” (Robert Zemeckis) เจ้าของภาพยนตร์ขึ้นหิ้งในช่วงยุค 90 มากมาย ไล่ตั้งแต่ Back to the Future ทั้ง 3 ภาค (1985-1990) Forrest Gump (1994) และ Cast Away (2000) แม้ว่าหลังจากนั้นงานของเขาจะไม่ได้กลายเป็นไอคอนของยุค แต่ก็ยังได้รับคำวิจารณ์ในแง่บวกอยู่ ทั้ง Flight (2012) The Walk (2015) และ Allied (2016) จะสังเกตได้ว่าที่ผ่านมางานของเซเมคคิสมีความหลากหมายมาก จนไม่แปลกใจถ้า Here ผลงานเรื่องล่าสุดของเขาจะมีกิมมิค จนแทบจะกลายเป็น “หนังทดลอง” เลยทีเดียว
(2)
เป็นเรื่องกล้าหาญชาญชัยอย่างมากหากคิดจะสร้างภาพยนตร์สักเรื่องที่ทั้งเรื่องมีอยู่แค่ “เฟรมเดียว” หรือภาพจากมุมเดียวโดยไม่ขยับกล้องไปไหนเลย เพราะว่าวิธีการแบบนี้มันโคตะระ “เสี่ยง” ประหนึ่ง “ฟิลิปป์ เปอตีต์” (Philippe Petit) เดินไต่เชือกข้ามตึกแฝดเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์เมื่อปี ค.ศ.1974 ในภาพยนตร์เรื่อง The Walk (ของเซเมคคิสเอง) ยังไงยังงั้น ซึ่งข้อเสียหลักๆ ของการถ่ายแบบนี้ คือ มันทำให้หนังไม่สามารถพาผู้ชมไปเกาะติดเรื่องราวได้แบบตามแบบปกติ มันจึงเป็นเหมือนว่าเหล่าตัวละครนำเรื่องราวของพวกเขามาประเคนให้ผู้ชมแทน ซึ่งมันก็ขาดความรู้สึกไม่เป็นธรรมชาติสะกิดใจอยู่เป็นระยะ
(3)
เมื่อผู้ชมมีชะตากรรมไม่ต่างจากผีเจ้าที่ ที่อยู่มาตั้งแต่ยุคครีเทเชียส(หรือเก่ากว่านั้น) จนถึงปัจจุบัน แม้อาจฟังดูน่าสนุก แต่มันกลับกลายเป็นความทรมานมากกว่า เพราะในช่วงแรกตัวหนังถ่ายทอดเรื่องราวอย่างสะเปะสะปะและไม่เรียงตามเวลา คงมีแต่ตัวของผู้กำกับเซเมคคิสเท่านั้นที่รู้ว่ามันสื่อถึงอะไร แต่ในมุมของผู้ชม ความวกวนและกระโดดไปมาของ “กระแสเวลา” แบบนั้น มันชวนให้เวียนหัวไม่น้อย (วัดใจได้เลยว่าจะอยู่หรือไป) กว่าจะจับเนื้อเรื่องได้ ก็ตอนได้เห็นสองตัวละครนำอย่าง ริชาร์ด (Tom Hanks) และมาร์กาเร็ต (Robin Wright) เข้า“ฉาก”มา
(4)
ซึ่งก็ต้องบอกตามตรงว่าการร้อยเรียงเรื่องราวของ Here นี่แหละที่เป็นปัญหาใหญ่ คงเพราะเซเมคคิสต้องการสร้างมิติในการดำเนินเรื่อง จึงต้องเล่ามันให้กระโดดไปมาเหมือนเล่น Pogo Stick จนเวียนหัวแบบนั้น แต่ผลลัพธ์ที่ได้คงต้องบอกว่า มันไม่เวิร์คเท่าไหร่นัก หนำซ้ำยังถาโถมผู้ชมด้วยข้อมูลอย่างไม่หยุดหย่อน ทั้งเหตุการณ์และตัวละครมากมายที่ปรากฏขึ้นมาจนไม่รู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ควรโฟกัสดี แม้จะพอจับใจความได้ว่าเหตุการณ์และตัวละครที่ถูกนำเสนอในช่วงใกล้เคียงกัน จะมีสาระและแก่นสำคัญที่คล้ายกัน แต่มันไม่ค่อยบันเทิงเท่าไหร่ถ้าพูดตรงๆ
(5)
การถูกจำกัดอยู่แค่เฟรมเดียวนอกจากจะเป็นการจำกัดการเล่าเรื่องแล้ว การตัดต่อก็ยังต้องไม่ใช้วิธีแบบเดิมๆ เพราะมันจะทำให้วัตถุในภาพกระโดดไปมาจนไม่น่าอภิรมย์แบบสุดๆ ทางแก้ที่เกิดขึ้น คือ เราจะเห็นว่า มีการขึ้นภาพของฉากถัดไปหรือสิ่งที่จะตัดไป ขึ้นมาเป็นกรอบเล็กๆ ก่อน แล้วค่อย dissolve หรือละลายภาพเดิมออกไปเพื่อป้องกันการกระโดด ซึ่งวิธีนี้ถูกใช้เกือบทั้งเรื่อง อาจจะไม่สามารถตัดสินได้ว่ามันเวิร์คหรือไม่เวิร์ค แต่ความรู้สึกที่เกิดขึ้นไม่รู้ว่าจะแรงไปไหม ถ้าจะบอกว่ามันเหมือนกับการนั่งดู Presentation ของครอบครัวใครสักคนเป็นระยะเวลากว่า 1 ชั่วโมง 44 นาที
(6)
หากจะบอกว่า Here เป็นผลงานของคนแก่ในวัยบั้นปลายก็คงไม่ผิดนัก ผู้กำกับโรเบิร์ต เซเมคคิส ในวัย 72 ขวบ และเอริค ร็อธ (Eric Roth) คนเขียนบทในวัย 79 ขวบ ผู้เคยปลุกปั้น Forrest Gump (1994) ด้วยกันมา เห็นได้ชัดว่าในครั้งนี้เป็นผลงานที่ตกผลึกจากคนที่ผ่านโลกมานาน จนเหมือนเป็นบันทึกความทรงจำของทั้งในระดับบุคคล ตั้งแต่ความรัก การงาน ครอบครัว ไปจนถึงระดับสังคมที่มีกระแสกาลเวลาของประวัติศาสตร์อเมริกา ทั้งการเมืองและเศรษฐกิจ เป็นลมพัดพาให้ครอบครัวทุกครอบครัวที่เคยอาศัยในบ้านหลังนี้ต้องประสบกับชะตากรรมที่มีทั้งทุกข์และสุขระคนกันไป
(7)
ทุนระดับ 50 ล้านเหรียญฯ ของ Here ส่วนใหญ่ถูกใช้ไปกับเทคโนโลยี De-Aging เพื่อย้อนวัยสองนักแสดงนำให้สามารถรับบทหนุ่มสาวได้อีกครั้ง(น่าเสียดายที่เสียงของทอม แฮงค์ไม่ถูกย้อนวัยด้วย) ผลลัพธ์ที่ได้น่าพึงพอใจดีอยู่ ถ้าไม่นับบางเฟรมที่ดูลอยๆ แยกชั้นระหว่างตัวละครหน้ากล้องกับฉากอย่างชัดเจนจะแจ้ง อาจจะกล่าวได้ว่ามันคือการทำหนังทดลองแสนแพง ที่หากไม่ใช่ชื่อชั้นของเซเมคคิสก็คงไม่มีใครกล้าทำอะไรแบบนี้แน่ๆ (ถึงอยากก็คงไม่ได้ทำ)
(8)
ท้ายที่สุดเรื่องราวใน Here แสดงถึงกฏไตรลักษณ์ที่ว่าด้วย การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ของหลักศาสนาพุทธได้ชัดเจนมาก จนเกือบปลงสังขาร พอๆ กับเสียงที่เล็ดลอดจากปากของริชาร์ดที่บอกว่า “เวลามันผ่าน(บิน)ไปไวเหลือเกิน” ที่คงเป็นแก่นสำคัญที่สุดที่คนวัยบั้นปลายอย่างเซเมคคิสอยากบอกผู้คนไว้ ซึ่งหากมองข้ามเรื่องข้อจำกัดทั้งปวงไปก็นับว่าเป็นงานที่จรรโลงใจไม่น้อยเลยทีเดียว ถึงไม่ต้องเป็นคนแก่ก็เข้าถึงแก่นนี้ได้นะ
Story Decoder