สัมภาษณ์พิเศษ ดร.นิพนธ์ ตั้งแสงประทีป หมดยุคเฟื่องฟูสื่อทีวี: 5 ปีสุดท้าย ใครจะต่อสัมปทานบ้าง
อุตสาหกรรมทีวี(รอด)แค่บางช่อง คนทำสื่อต้องปรับตัวหนัก
ท่ามกลางการปลดพนักงานข่าวในวงการทีวีจำนวนมากมายหลายช่อง ทำให้หลายคนจับตามองอุตสาหกรรมทีวีที่กำลังจะเข้าสู่ 5 ปีสุดท้ายของการประมูลทีวีดิจิทัลในรอบแรกและรอบต่อไป รวมถึงอนาคตวงการสื่อว่าจะมีทิศทางอย่างไร
brand inside สัมภาษณ์ “ดร.นันท์วิสิทธิ์ ตั้งแสงประทีป” อาจารย์ประจำหลักสูตรการสร้างสรรค์ดิจิทัลคอนเทนต์และสื่อ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ หรือที่คนในวงการวิชาชีพสื่อมวลชนรู้จักกันในชื่อ “นิพนธ์ ตั้งแสงประทีป”
ทีวีดิจิทัลรอบแรกละลายทรัพย์ เหลือ 5 ปีสุดท้าย เริ่มตัดเนื้อร้ายทิ้ง
ปัจจุบันผู้ประกอบกิจการที่ประมูลช่องทีวีดิจิทัล เหลือเวลาอีกประมาณ 5 ปีก่อนจะหมดสัมปทาน ซึ่งตลอดระยะเวลา10 ปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบกิจการแต่ละช่องก็เห็นกันแล้วว่ารายได้ กำไร และขาดทุนเป็นอย่างไร
นี่คือปัจจัยสำคัญที่จะใช้ในการตัดสินใจว่าจะไปต่อหรือไม่
ต้องยอมรับว่า ทีวีหลายช่องผู้ประกอบกิจการก็ประมูลมาด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน เช่น ผู้ประกอบกิจการที่มีธุรกิจอื่นของตัวเองที่มีการโฆษณาสินค้าในธุรกิจของตัวเอง นอกเหนือจากการหารายได้จากโฆษณาทางตรง ก็จะถูกประเมินออกมาเป็นค่าโฆษณาที่เคยต้องเสียไปกับสื่ออื่นๆ
ขณะที่ผู้ประกอบการบางรายอาจมีรายได้ทางตรงจากเม็ดเงินโฆษณาเพียงอย่างเดียว ดังนั้นผู้ประกอบการแต่ละช่องน่าจะมีการประเมินการได้รายได้จากระยะเวลาที่เหลือแล้ว จึงตัดสินใจลดจำนวนคนเลิกจ้างอย่างสถานการณ์ที่เห็นในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา
หมดยุคเฟื่องฟูสื่อทีวี: 5 ปีสุดท้าย ใครจะต่อสัมปทานบ้าง
สัมภาษณ์พิเศษ ดร.นิพนธ์ ตั้งแสงประทีป หมดยุคเฟื่องฟูสื่อทีวี: 5 ปีสุดท้าย ใครจะต่อสัมปทานบ้าง
อุตสาหกรรมทีวี(รอด)แค่บางช่อง คนทำสื่อต้องปรับตัวหนัก
ท่ามกลางการปลดพนักงานข่าวในวงการทีวีจำนวนมากมายหลายช่อง ทำให้หลายคนจับตามองอุตสาหกรรมทีวีที่กำลังจะเข้าสู่ 5 ปีสุดท้ายของการประมูลทีวีดิจิทัลในรอบแรกและรอบต่อไป รวมถึงอนาคตวงการสื่อว่าจะมีทิศทางอย่างไร
brand inside สัมภาษณ์ “ดร.นันท์วิสิทธิ์ ตั้งแสงประทีป” อาจารย์ประจำหลักสูตรการสร้างสรรค์ดิจิทัลคอนเทนต์และสื่อ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ หรือที่คนในวงการวิชาชีพสื่อมวลชนรู้จักกันในชื่อ “นิพนธ์ ตั้งแสงประทีป”
ทีวีดิจิทัลรอบแรกละลายทรัพย์ เหลือ 5 ปีสุดท้าย เริ่มตัดเนื้อร้ายทิ้ง
ปัจจุบันผู้ประกอบกิจการที่ประมูลช่องทีวีดิจิทัล เหลือเวลาอีกประมาณ 5 ปีก่อนจะหมดสัมปทาน ซึ่งตลอดระยะเวลา10 ปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบกิจการแต่ละช่องก็เห็นกันแล้วว่ารายได้ กำไร และขาดทุนเป็นอย่างไร
นี่คือปัจจัยสำคัญที่จะใช้ในการตัดสินใจว่าจะไปต่อหรือไม่
ต้องยอมรับว่า ทีวีหลายช่องผู้ประกอบกิจการก็ประมูลมาด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน เช่น ผู้ประกอบกิจการที่มีธุรกิจอื่นของตัวเองที่มีการโฆษณาสินค้าในธุรกิจของตัวเอง นอกเหนือจากการหารายได้จากโฆษณาทางตรง ก็จะถูกประเมินออกมาเป็นค่าโฆษณาที่เคยต้องเสียไปกับสื่ออื่นๆ
ขณะที่ผู้ประกอบการบางรายอาจมีรายได้ทางตรงจากเม็ดเงินโฆษณาเพียงอย่างเดียว ดังนั้นผู้ประกอบการแต่ละช่องน่าจะมีการประเมินการได้รายได้จากระยะเวลาที่เหลือแล้ว จึงตัดสินใจลดจำนวนคนเลิกจ้างอย่างสถานการณ์ที่เห็นในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา