เรื่องของวงการสื่อ #ทีวีดิจิตอล !!!
ทำไมปลดคน?
ทำไมเจ๊ง?
เริ่มต้นขึ้นจากธุรกิจสื่อที่ยุคหนึ่งนั้นคือความเกรียงไกร ใครก็อยากเข้ามาอยู่ในวงการนี้ มหาวิทยาลัยแทบทุกที่เอาจริงเอาจังกับสาขาวิชานิเทศศาสตร์ ผลิตคนออกมาแต่ละปีไม่ตำกว่า 2,000 อัตรา แบ่งสายงานง่ายๆตามสื่อคือ TV, printing, Radio, Advertising
ชีวิตทุกคนอยู่กันอย่างรุ่งเรืองในวงการ ค่าตัวสูง รายได้ดี มีโบนัส ซื้อตัวย้ายค่ายกันอย่างสนุก
ทีวี1ช่องมีคนทำงานเหยียบ1,000 หรือบางที่มากกว่านั้น ตีเฉลี่ยก่อนประมูล ทีวีหลักมี6ช่อง มีคนทำงาน6ช่องนี้ไม่ต่ำกว่า5,000 ยังไม่นับรวมทีวีดาวเทียมอีกมหาศาล
ทีวีดาวเทียมในยุครุ่งเรือง(ย้อนไป5ปีที่แล้ว) คนไทยก็ดูได้อยู่แล้ว เพราะคนส่วนใหญ่ในประเทศดูทีวีผ่านจานดาวเทียม จานดำมากสุด / จานส้ม / จานฟ้า จานแดง เคเบิ้ลทีวี ฯลฯ แต่ก็มีคนส่วนหนึ่งที่ก็ใช้เสาก้างปลาดูทีวี
เจ้าของช่องทีวีก็มีต้นทุน ดาวเทียมก็จ่ายค่าสัญญาณให้กับแต่ละจาน(อาจมีค่าเลขช่อง) ส่วนทีวี6ช่องก็จ่ายสัมปทานให้รัฐ เช่น อสมท.ที่เป็นผู้ให้บริการ
คนดูทีวีก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไรดูได้มานานและต่อเนื่อง
วันนึงกสทช.ก็บอกว่าต้องจัดระเบียบคลื่นความถี่ทั้งหมดใหม่...
ให้เปิดประมูลช่องตั้ง40กว่าช่อง โดยประกาศเงื่อนไข ใครอยากมีทีวี หรือทำธุรกิจสื่อทางนี้ ต้องแสดงความจำนงเพราะการประมูลนี้จะถือสัมปทาน15ปี ไม่มีใครสามารถมาขอได้อีกหลังจากนี้
...ทีวี6ช่อง ยังไงก็ต้องไป ลงทุนไปแล้ว...
...ทีวีดาวเทียม ก็อยู่ไม่ได้เพราะถ้าไม่ประมูล ดูทรงแล้วก็ไม่รู้จะทำทีวีต่อยังไง...
...สื่ออื่น รู้ตัวว่าต้องต่อยอดธุรกิจ เพราะดิจิตอลเริ่มมา อยู่กับสิ่งพิมพ์อย่างเดียวไม่ได้แน่...
แล้วจะไม่ประมูลได้ไง
จ่ายค่าสัมปทาน ค่าMUXส่งสัญญาณ ค่าคูปองกระตุ้นให้คนใช้ นี่ก็เป็น1/3ของต้นทุนที่แพงขึ้นกว่าค่าดาวเทียมต่างๆรวมกันแล้ว
แต่คูปองก็เหลือเพียบบบ (เพราะเขาใช้จานกันไง)
ขณะที่อีกห้องประชุมหนึ่งกสทช.ประมูล 3G/4G = คนไทยจะได้ใช้เน็ตมือถือที่แรงมากขึ้น และแรงขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับ Global platform อย่าง Google, FB, Twitter, IG โฟกัสไปที่การทำให้คนทั้งโลกเสพทุกอย่างได้จากมือถือ
นั่นเท่ากับว่า...
เราต้องคิดที่จะเลือกกดช่องจากรีโมททีวีมี 24 ช่อง แล้วก็เลือกอ่าน ดูคลิป ดูหนัง ฟังเพลง จากมือถือ ที่ฟีดของมาให้แบบแทบไม่ต้องเลือก เพราะนับวัน AI ยิ่งฉลาดและรู้ใจเรามากขึ้นทุกวัน
แต่เรามีเวลาเท่าเดิม...
ตัวเลือกมากขึ้น... Time spent ในแต่ละช่องทางเลยน้อยลงมาก
กลับมาดูที่มาของรายได้บ้าง และช่องทางของรายจ่าย เพราะมันจะมาตอบความอยู่รอด
ทีวีจะได้เงินต่อเมื่อมีเรตติ้ง ขณะที่เรตติ้งติดอยับกล่องตัวอย่างที่คาดว่ามีประมาณ2,000กล่องทั่วประเทศ(อยู่ที่ไหนไม่เคยเห็น) เมื่อก่อนละครมีเรตติ้งแตะ20 (1เรตติ้ง=คนดูประมาณ660,000คน) แต่ตอนนี้เรตติ้งสูงถึง 6 - 10 ก็น้ำตาใหลแล้ว
อะไรหายไป...? กล่องหาย หรือคนดูหาย
ทีนี้มาพอเรตติ้งสูงค่าโฆษณาก็สูงตามหลายแสนบาท/นาที ขายไม่กี่ชั่วโมงก็เลี้ยงคนในช่องได้แล้ว
ยังมีโมเดลธุรกิจของผู้ผลิตรายการอีก บริษัทเหล่านี้มีเพียบ ซื้อเวลาช่องลงุทนผลิตแล้วขายโฆษณาได้
คนในวงการนี้วนไปมามีเป็นหมื่นคน...
แต่ตอนนี้โลกเปลี่ยน ช่องมีเยอะ คนดูลดลง การมองเห็นโฆษณาของคนก็น้อยลง สินค้าก็ไม่ได้เป้าหมาย
บางช่องขายได้แต่ราคาลง บางช่องขายได้บ้างแบบราคาถูกสุดๆ
จากแสน จากหมื่น เหลือหลักพัน...
Commit CPRP เรตติ้งถึงก็จ่ายเต็ม ไม่ถึงก็จ่ายตามจริง สมมุติว่า ทีวีขายโฆษณานาทีละ 30,000 บาท โดยต้องมีคนดู1เรตติ้ง(660,000คน)
เกิดมีคนดูแค่10%ของเรตติ้ง1 = 66,000คน โฆษณาก็จ่ายแค่10%เช่นกัน เท่ากับจ่ายแค่ 3,000บาท!!!
ถูกกว่าซื้อ Ad FB อีกเหอะ555
แล้วรายการ1ชั่วโมง มีเวลาโฆษณา10นาที = ชั่วโมงนั้นมีรายได้ 30,000 บาท
ยังไม่พอค่าไฟสตูดิโอ กับค่ารถนักข่าวภาคสนามเลย
เช่นกัน อีกฟากนึง มือถือก็เน็ตดีเหลือเกิน ดูอะไรก็ได้ สนุก สั้น กระชับ
ทีวีต้องหยิบรีโมทมากดแล้วนั่งดู...
มือถือ...สไลด์มันตั้งแต่รถไฟฟ้า ยังห้องน้ำ...
รายจ่ายสูง รายได้ตก อุปกรณ์รื้อไม่ได้ คนก็เลยต้องเป็นฝ่ายไป
คนยิ่งออกไปจากอุตสาหกรรมนี้มากเท่าไหร่ ยิ่งไปก่อให้เกิดผลงานที่จะไปอยู่ในมือถือมากขึ้นเท่านั้น
ใช่...มือถือมีของดีมันก็คือการแย่งเวลาจากหน้าจอทีวีไปอีก
เขียนยาวมาก ใครอ่านถึงจุดนี้บ้าง..
คุณได้แบ่งเวลาจากเรตติ้งทีวีและสื่ออื่นออกมาเยอะแล้วนะ555
สรุปสุดท้าย...
จำนวนสื่อลด คนทำน้อยลง คนที่มีก็ปรับตัว คนเรียนมาก็ปรับตัว หลักสูตรก็แก้ไขใหม่กันหมด
Multi-skill คำที่พูดกันมาก แต่ทำไม่ง่าย และต้องเริ่มไปแล้วตั้งแต่เมื่อวาน!!!
สุดท้ายนี้ทั้งหมดเป็นมุมมองจากความคิดเห็นส่วนตัวที่มีข้อมูลอยู่ หากใครเห็นว่าผิดไปจากนี้ โปรดชี้แนะครับ
ทำไมปลดคน? ทำไมเจ๊ง? เรื่องของวงการสื่อ #ทีวีดิจิตอล
ทำไมปลดคน?
ทำไมเจ๊ง?
เริ่มต้นขึ้นจากธุรกิจสื่อที่ยุคหนึ่งนั้นคือความเกรียงไกร ใครก็อยากเข้ามาอยู่ในวงการนี้ มหาวิทยาลัยแทบทุกที่เอาจริงเอาจังกับสาขาวิชานิเทศศาสตร์ ผลิตคนออกมาแต่ละปีไม่ตำกว่า 2,000 อัตรา แบ่งสายงานง่ายๆตามสื่อคือ TV, printing, Radio, Advertising
ชีวิตทุกคนอยู่กันอย่างรุ่งเรืองในวงการ ค่าตัวสูง รายได้ดี มีโบนัส ซื้อตัวย้ายค่ายกันอย่างสนุก
ทีวี1ช่องมีคนทำงานเหยียบ1,000 หรือบางที่มากกว่านั้น ตีเฉลี่ยก่อนประมูล ทีวีหลักมี6ช่อง มีคนทำงาน6ช่องนี้ไม่ต่ำกว่า5,000 ยังไม่นับรวมทีวีดาวเทียมอีกมหาศาล
ทีวีดาวเทียมในยุครุ่งเรือง(ย้อนไป5ปีที่แล้ว) คนไทยก็ดูได้อยู่แล้ว เพราะคนส่วนใหญ่ในประเทศดูทีวีผ่านจานดาวเทียม จานดำมากสุด / จานส้ม / จานฟ้า จานแดง เคเบิ้ลทีวี ฯลฯ แต่ก็มีคนส่วนหนึ่งที่ก็ใช้เสาก้างปลาดูทีวี
เจ้าของช่องทีวีก็มีต้นทุน ดาวเทียมก็จ่ายค่าสัญญาณให้กับแต่ละจาน(อาจมีค่าเลขช่อง) ส่วนทีวี6ช่องก็จ่ายสัมปทานให้รัฐ เช่น อสมท.ที่เป็นผู้ให้บริการ
คนดูทีวีก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไรดูได้มานานและต่อเนื่อง
วันนึงกสทช.ก็บอกว่าต้องจัดระเบียบคลื่นความถี่ทั้งหมดใหม่...
ให้เปิดประมูลช่องตั้ง40กว่าช่อง โดยประกาศเงื่อนไข ใครอยากมีทีวี หรือทำธุรกิจสื่อทางนี้ ต้องแสดงความจำนงเพราะการประมูลนี้จะถือสัมปทาน15ปี ไม่มีใครสามารถมาขอได้อีกหลังจากนี้
...ทีวี6ช่อง ยังไงก็ต้องไป ลงทุนไปแล้ว...
...ทีวีดาวเทียม ก็อยู่ไม่ได้เพราะถ้าไม่ประมูล ดูทรงแล้วก็ไม่รู้จะทำทีวีต่อยังไง...
...สื่ออื่น รู้ตัวว่าต้องต่อยอดธุรกิจ เพราะดิจิตอลเริ่มมา อยู่กับสิ่งพิมพ์อย่างเดียวไม่ได้แน่...
แล้วจะไม่ประมูลได้ไง
จ่ายค่าสัมปทาน ค่าMUXส่งสัญญาณ ค่าคูปองกระตุ้นให้คนใช้ นี่ก็เป็น1/3ของต้นทุนที่แพงขึ้นกว่าค่าดาวเทียมต่างๆรวมกันแล้ว
แต่คูปองก็เหลือเพียบบบ (เพราะเขาใช้จานกันไง)
ขณะที่อีกห้องประชุมหนึ่งกสทช.ประมูล 3G/4G = คนไทยจะได้ใช้เน็ตมือถือที่แรงมากขึ้น และแรงขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับ Global platform อย่าง Google, FB, Twitter, IG โฟกัสไปที่การทำให้คนทั้งโลกเสพทุกอย่างได้จากมือถือ
นั่นเท่ากับว่า...
เราต้องคิดที่จะเลือกกดช่องจากรีโมททีวีมี 24 ช่อง แล้วก็เลือกอ่าน ดูคลิป ดูหนัง ฟังเพลง จากมือถือ ที่ฟีดของมาให้แบบแทบไม่ต้องเลือก เพราะนับวัน AI ยิ่งฉลาดและรู้ใจเรามากขึ้นทุกวัน
แต่เรามีเวลาเท่าเดิม...
ตัวเลือกมากขึ้น... Time spent ในแต่ละช่องทางเลยน้อยลงมาก
กลับมาดูที่มาของรายได้บ้าง และช่องทางของรายจ่าย เพราะมันจะมาตอบความอยู่รอด
ทีวีจะได้เงินต่อเมื่อมีเรตติ้ง ขณะที่เรตติ้งติดอยับกล่องตัวอย่างที่คาดว่ามีประมาณ2,000กล่องทั่วประเทศ(อยู่ที่ไหนไม่เคยเห็น) เมื่อก่อนละครมีเรตติ้งแตะ20 (1เรตติ้ง=คนดูประมาณ660,000คน) แต่ตอนนี้เรตติ้งสูงถึง 6 - 10 ก็น้ำตาใหลแล้ว
อะไรหายไป...? กล่องหาย หรือคนดูหาย
ทีนี้มาพอเรตติ้งสูงค่าโฆษณาก็สูงตามหลายแสนบาท/นาที ขายไม่กี่ชั่วโมงก็เลี้ยงคนในช่องได้แล้ว
ยังมีโมเดลธุรกิจของผู้ผลิตรายการอีก บริษัทเหล่านี้มีเพียบ ซื้อเวลาช่องลงุทนผลิตแล้วขายโฆษณาได้
คนในวงการนี้วนไปมามีเป็นหมื่นคน...
แต่ตอนนี้โลกเปลี่ยน ช่องมีเยอะ คนดูลดลง การมองเห็นโฆษณาของคนก็น้อยลง สินค้าก็ไม่ได้เป้าหมาย
บางช่องขายได้แต่ราคาลง บางช่องขายได้บ้างแบบราคาถูกสุดๆ
จากแสน จากหมื่น เหลือหลักพัน...
Commit CPRP เรตติ้งถึงก็จ่ายเต็ม ไม่ถึงก็จ่ายตามจริง สมมุติว่า ทีวีขายโฆษณานาทีละ 30,000 บาท โดยต้องมีคนดู1เรตติ้ง(660,000คน)
เกิดมีคนดูแค่10%ของเรตติ้ง1 = 66,000คน โฆษณาก็จ่ายแค่10%เช่นกัน เท่ากับจ่ายแค่ 3,000บาท!!!
ถูกกว่าซื้อ Ad FB อีกเหอะ555
แล้วรายการ1ชั่วโมง มีเวลาโฆษณา10นาที = ชั่วโมงนั้นมีรายได้ 30,000 บาท
ยังไม่พอค่าไฟสตูดิโอ กับค่ารถนักข่าวภาคสนามเลย
เช่นกัน อีกฟากนึง มือถือก็เน็ตดีเหลือเกิน ดูอะไรก็ได้ สนุก สั้น กระชับ
ทีวีต้องหยิบรีโมทมากดแล้วนั่งดู...
มือถือ...สไลด์มันตั้งแต่รถไฟฟ้า ยังห้องน้ำ...
รายจ่ายสูง รายได้ตก อุปกรณ์รื้อไม่ได้ คนก็เลยต้องเป็นฝ่ายไป
คนยิ่งออกไปจากอุตสาหกรรมนี้มากเท่าไหร่ ยิ่งไปก่อให้เกิดผลงานที่จะไปอยู่ในมือถือมากขึ้นเท่านั้น
ใช่...มือถือมีของดีมันก็คือการแย่งเวลาจากหน้าจอทีวีไปอีก
เขียนยาวมาก ใครอ่านถึงจุดนี้บ้าง..
คุณได้แบ่งเวลาจากเรตติ้งทีวีและสื่ออื่นออกมาเยอะแล้วนะ555
สรุปสุดท้าย...
จำนวนสื่อลด คนทำน้อยลง คนที่มีก็ปรับตัว คนเรียนมาก็ปรับตัว หลักสูตรก็แก้ไขใหม่กันหมด
Multi-skill คำที่พูดกันมาก แต่ทำไม่ง่าย และต้องเริ่มไปแล้วตั้งแต่เมื่อวาน!!!
สุดท้ายนี้ทั้งหมดเป็นมุมมองจากความคิดเห็นส่วนตัวที่มีข้อมูลอยู่ หากใครเห็นว่าผิดไปจากนี้ โปรดชี้แนะครับ