ปิยบุตร ปลุกผู้แทนฯ ใช้อำนาจตัวเอง โต้กลับศาล-เกมยุบพรรค ด้วย 3 วาระใหญ่
https://www.matichon.co.th/politics/news_4726043
ปิยบุตร แนะผู้แทนฯ ผนึกกำลังโต้กลับ ศาล-กติกายุบพรรค ใช้อำนาจตัวเอง ผลักดัน 3 วาระใหญ่
เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2567 นาย
ปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า อดีตเลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ ได้โพสต์ผ่านแอพพลิเคชั่น X เรื่อง [ช่องทางการต่อสู้ในระบบสถาบันการเมืองในระยะเฉพาะหน้า] โดยระบุว่า
ในระยะเฉพาะหน้า ประชาชนอาจยังอ่อนล้าจาก “นิติสงคราม” และปัญหาทางเศรษฐกิจ การชุมนุมอาจยังไม่ลุกลาม
ผู้แทนราษฎรต้องใช้อำนาจที่ตนมี ผลักดันวาระในสภา เพื่อแปลงเจตจำนงของประชาชนให้บังเกิดผล
ผมเห็นว่า ผู้แทนราษฎรต้องตอบโต้ศาลรัฐธรรมนูญ และกระบวนการยุบพรรคกลับไป ดังนี้
1. เสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม เปลี่ยนองค์ประกอบและที่มาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือยกเลิกศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อตั้งองค์กรใหม่ทำหน้าที่แทน
2. เสนอร่าง พ.ร.ป.ศาลรัฐธรรมนูญ และวิธีพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ ยกเลิกความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ
3. เสนอร่าง พ.ร.ป.พรรคการเมือง ยกเลิกการยุบพรรคการเมือง
ผู้แทนราษฎรผู้ถืออำนาจแก้ไขรัฐธรรมนูญ อำนาจตรากฎหมาย แทนประชาชน ต้องใช้อำนาจเหล่านี้ ตามกระบวนการ ตามระบบ ต่อสู้กลับไปครับ
https://x.com/Piyabutr_FWP/status/1821399597434167499
วิโรจน์ มั่นใจ เช็กแค่ใจก็รู้ ส.ส.ก้าวไกลพร้อมเพรียงเข้าพรรคใหม่แน่ ยังอุบชื่อคนชิงส.ส.พิษณุโลก
https://www.matichon.co.th/politics/news_4725123
‘วิโรจน์’ เผย ส.ส.ก้าวไกล เช็กแค่ใจแล้วพร้อมเพรียงกันเข้าบ้านใหม่ ชี้ อุณหภูมิการเมืองวันนี้ไม่จำเป็นต้องซื้อตัวแล้ว ระบุหัวหน้าพรรคใหม่ไม่เกี่ยวเป็นเพศไหน ขออย่าเปรียบเทียบหัวหน้าเก่า-ใหม่ เชื่อมั่นทุกคนมีเคล็ดวิชาเด่นในตัวเอง อุบชื่อคนลงชิง ส.ส.พิษณุโลก
เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 8 สิงหาคม ที่รัฐสภา นาย
วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ อดีตพรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ถึงการเปิดตัวพรรคใหม่ในวันพรุ่งนี้ (9 ส.ค.) ว่า หลายคนถามว่าเราได้เช็กชื่อ ส.ส.ที่จะไปพรรคใหม่หรือไม่นั้น ต้องบอกว่าเราไม่ได้เช็กชื่อแต่เราเช็กหัวใจกัน เราพูดคุยกัน เท่าที่หารือกันตนคิดว่าน่าจะไปสมัครพรรคใหม่พร้อมกัน ส่วนชื่อพรรคใหม่นั้นให้รอฟังทีเดียวเลย ซึ่งตนก็ยังไม่รู้ชัดเหมือนกัน แต่ยืนยันว่าพวกเราจะไปในที่ใหม่อย่างพร้อมเพรียง ส่วนการต้านกำลังคนที่จะมาซื้อ ส.ส.ของเรานั้นตนคิดว่าทุกคนก็รู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมันอธิบายยากในเรื่องของความยุติธรรม และเราก็รู้ว่าที่มาของเรามาจากความไว้เนื้อเชื่อใจของประชาชน 14 ล้านเสียง และทุกคนตระหนักดีว่าในอดีตคนที่เป็นงูเห่า หักหลังกับความไว้วางใจของประชาชนก็มีจุดจบอย่างไร ดังนั้นเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ไม่ต้องบอกกันอยู่แล้วทุกคนตระหนักอยู่ในใจอยู่แล้ว และตนว่าปัจจุบันวันนี้ดินฟ้าอากาศ อุณหภูมิทางการเมืองไม่ได้มีความจำเป็นที่จะมาซื้อตัวกัน และความมุ่งมั่นของ ส.ส.เราก็ต่างไปจากเดิม ดังนั้นตนจึงมั่นใจว่าจะไม่มีปัญหาอะไรในรอบนี้
เมื่อถามว่ามีการซื้อ ส.ส.ในราคา 20-30 ล้านบาทจริงหรือไม่ นาย
วิโรจน์กล่าวว่า สำหรับตนว่าไม่จริง ไม่รู้ว่าจะซื้อไปทำไมเขาก็คงเป็นการทาบทามกันเองตามประสาคนที่เคยทำคงลองถามไถ่ดู ได้ก็ดีฟรีก็เบิ้ล
เมื่อถามอีกว่าการเปิดตัวพรรคใหม่ทันทีถือเป็นการกันเรื่องซื้อตัวด้วยหรือไม่ นายวิโรจน์กล่าวว่า เรื่องนี้เราตกลงร่วมกันตั้งแต่แรกที่เราเข้ามาทำงานพรรคก้าวไกลอยู่แล้ว ว่าจะทำอย่างไรให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นกับการขับเคลื่อนอุดมการณ์ของพรรคก้าวไกล เราเรียกว่าวิธีนี้เป็นแผน 2 หรือแพลนบี ซึ่งจริงๆ เราตกลงเรื่องแพลนนี้กันมาแล้วว่าถ้าเกิดอุบัติเหตุอะไรเราจะร้อยรักดวงใจกันไปอย่างพร้อมเพรียงกัน ไม่มีการบังคับแต่เป็นการตกลงกันแต่แรกอยู่แล้ว
เมื่อถามถึงตำแหน่งหัวหน้าพรรคคนใหม่ที่เป็นชื่อ น.ส.
ศิริกัญญา ตันสกุล ไว้ นาย
วิโรจน์กล่าวว่า รอการแถลงอย่างเป็นทางการดีกว่า ส่วนถ้าถามว่าคุณสมบัติจะเป็นอย่างไรนั้นคงต้องเป็นคนที่สามารถที่จะขับเคลื่อนอุดมการณ์ของพรรคต่อไปได้อย่างมั่นคง ไม่เกี่ยวว่าจะเป็นผู้หญิง เพราะพรรคเราเคารพความหลากหลายเพศวิถีอยู่แล้ว
เมื่อถามย้ำว่าจะถูกนำมาเปรียบเทียบกับ นาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หรือไม่ นาย
วิโรจน์กล่าวว่า หัวหน้าแต่ละคนมีจุดเด่นแตกต่างกัน ดังนั้นไม่ใช่เรื่องที่จะเอาหัวหน้าแต่ละคนมาเปรียบเทียบ แต่ตนเชื่อว่าหัวหน้าพรรคแต่ละคนก็มีท่าไม้ตายเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง และตนยืนยันว่าเคล็ดวิชาต่างๆ ของหัวหน้าพรรคเราล้ำเลิศ
เมื่อถามว่าอารมณ์ตอนนี้ยังเสียใจหรือโกรธอยู่หรือไม่ นาย
วิโรจน์กล่าวว่า ถ้าต้องยอมรับก็มี เฮ้อบ้าง แต่เราต้องทำงานต่อ คือแผนงานทั้งหมดที่เกิดขึ้นนั้นเราว่างไว้เลยวันที่ 7 สิงหาคมไปแล้ว เพราะเรารู้ว่าต่อให้ 7 สิงหาคมจะเกิดอะไรขึ้นเราก็ไม่หยุด เราก็ต้องเดินหน้าต่อ ดังนั้นมีงานอะไรเราก็ทำต่อ
เมื่อถามถึงการเลือกตั้ง ส.ส.ซ่อมที่เขต 1 พิษณุโลก แทน นาย
ปดิพัทธ์ สันติภาดา ที่ถูกตัดสิทธิจากคำวินิจฉัยยุบพรรค นาย
วิโรจน์กล่าวว่า ส่งลงแน่นอน จะเป็นใครก็อุบไว้ก่อน แต่เป็นคนที่ทำงานกับพรรคเรามานาน
เมื่อถามถึง 40 ส.ส.ของพรรคที่ถูกยื่นตรวจสอบจริยธรรมไปยัง ป.ป.ช. นาย
วิโรจน์กล่าวว่า ตนคิดว่าพรรคการเมืองที่พยายามสร้างการเปลี่ยนแปลงและผลักในประเทศพัฒนานั้นส่วนมากจะมีวิบากกรรมเช่นนี้ แต่ก็คิดว่าคนที่ทำให้เกิดวิบากกรรมแบบนี้เขาต้องการให้บ้านเมืองอยู่ในกรอบในแบบที่เขาอยากให้เป็นแบบเดิมใช่หรือไม่ แต่ถ้าเรารู้ว่าวิบากกรรมเหล่านั้นเขาสร้างเพื่อสิ่งนั้นเราเองจะยอมให้เขาได้สิ่งนั้นหรือ ดังนั้นสิ่งที่เราทำได้คือสร้างระบบงาน ระบบพรรคที่ประชาชนไว้วางใจและขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้า
เมื่อถามว่า การยุบพรรคครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้าย นาย
วิโรจน์กล่าวว่า เราคาดหวังว่าจะเป็นครั้งสุดท้าย ถ้าพวกเราร่วมมือกับพรรคในรัฐบาลอย่างพรรคเพื่อไทยร่วมกันแก้ไข พ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดสรรอำนาจ ที่พอควรให้กับหน่วยงานองค์กรอิสระ
เมื่อถามอีกว่าจะมีผลอะไรในสภาหรือไม่เพราะเสียโควต้านายปดิพัทธ์ ไม่ได้เป็นรองประธานสภาแล้ว นาย
วิโรจน์กล่าวว่า คงต้องรอติดตาม เชื่อว่าคนที่ขึ้นมาเป็นรองประธานสภาคงต้องมีความเป็นกลาง ดังนั้นรองประธานสภาจะเป็นใครเราก็ทำงานได้เหมือนเดิม
อนุกมธ.หมอคางดำ ซัด กรมประมง เมินความเดือดร้อนปชช. ไร้เอกสารแจงความเสียหาย ‘ณัฐชา’ เผย 15 ส.ค.สรุปผล
https://www.matichon.co.th/politics/news_4725630
อนุกมธ.หมอคางดำ ซัด กรมประมง เมินความเดือดร้อนปชช. ไร้เอกสารแจงความเสียหาย ‘ณัฐชา’ เล็งสรุปผลเผย 15 ส.ค. ก่อนแถลงต่อสังคม
เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ที่รัฐสภา นาย
ณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ อดีตพรรคก้าวไกล ในฐานะรองประธานคณะอนุกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาศึกษาสาเหตุ และแนวทางการแก้ไขปัญหา รวมถึงผลกระทบจากการนำเข้าปลาหมอคางดำ เพื่อการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ในราชอาณาจักรไทย เปิดเผยก่อนการประชุม กมธ.ว่า วันนี้มีการเชิญหน่วยงานที่สามารถประเมินมูลค่าความเสียหายมาร่วมให้ข้อมูล ทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่มีการประเมินความเสียหายทางเศรษฐกิจไปแล้ว อย่างน้อยตำบลละ 100 ล้านบาทต่อปี ซึ่งเราจะทำให้ภาครัฐได้รับรู้ว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้น เป็นวงกว้างแค่ไหน และหาแนวทางดำเนินการให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น ในการช่วยเหลือประชาชน
นาย
ณัฐชากล่าวว่า จนถึงวันนี้ยังไม่ได้รับความชัดเจนจากหน่วยงานภาครัฐถึงสาเหตุการระบาดของปลาหมอคางดำ แต่ยืนยันว่ากระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติจะทำให้ชัดเจน โดยคาดว่าจะแถลงสรุปผลการทำงานได้ภายในสัปดาห์หน้า จากนั้นจะสรุปเรื่องส่งให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมไปถึงคณะรัฐมนตรีที่ควรต้องเอาผิดต้นตอ ผู้ก่อเรื่อง หรือผู้มีส่วนร่วมกับปัญหาที่เกิดขึ้น ให้มารับผิดชอบในส่วนนี้ ทั้งนี้ หน่วยงานภาครัฐจะไปดำเนินการต่อหรือไม่ ทางอนุกรรมาธิการไม่สามารถแทรกแซงการทำงานได้ แต่ยืนยันว่าจะสรุปผลออกมาทั้งหมด แล้วให้ประชาชนตัดสินใจ
นาย
ณัฐชากล่าวว่า สำหรับบรรยากาศในห้องประชุม ทางศูนย์วิจัยและพัฒนาเครื่องมือด้านการประเมินผลตอบแทนทางสังคม วิทยาลัยพัฒนศาสตร์
ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้นำเสนอผลสำรวจการระบาดของสัตว์น้ำต่างถิ่น ปลาหมอคางดำ กับความสูญเสียทางเศรษฐกิจด้านการประมงของ ต.แพรกหนามแดง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ซึ่งพบปรากฏการณ์การระบาดของปลาหมอคางดำ ในปี 2562 แต่จากการสรุปพบว่า ในปี 2559 สร้างความเสียหายต่อรายได้ประมงของชุมชนลดลง 5%, ปี 2560 สร้างความเสียหายต่อรายได้ประมงของชุมชนลดลง 10%, ปี 2561 สร้างความเสียหายต่อรายได้ประมงในชุมชนลดลง 15% (ปัจจุบันคาดการณ์ความเสียหายต่อรายได้ไม่ต่ำกว่า 90% โดยอ้างอิงความเสียหายจากสื่อในพื้นที่)
ขณะที่ ผู้แทนทางกรมประมง ชี้แจงว่า ตั้งแต่ปี 2560 มีสำรวจผลความเสียหายของเกษตรกร โดยสำรวจกว่า 500 ฟาร์มจาก 3 อำเภอ จ.สมุทรสงคราม เสียหายประมาณ 150-350 ล้านบาทต่อปี แต่นาย
ณัฐชาบอกว่า ถ้าศึกษาข้อมูลมาตั้งแต่ต้น จนถึงขณะนี้ก็ยังหาผู้รับผิดชอบไม่ได้ ไม่รู้ว่ากรมประมงทำอะไรอยู่ และผลลัพธ์ที่ออกมาก็ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน ที่สำคัญผลสำรวจที่ชี้แจงวันนี้ เมื่อขอดูเอกสารก็ไม่มี ไม่ได้เอามา แล้วจะให้ทำอย่างไร
จากนั้น นพ.
วาโย อัศวรุ่งเรือง ประธานอนุ กมธ.ฯ ซึ่งเข้ามาประชุมทีหลัง ได้กล่าวต่อผู้แทนกรมประมงที่มาชี้แจงวันนี้ว่า เมื่อมาชี้แจง แต่ไม่มีเอกสารมา ควรเชิญออกจากห้องประชุมดีหรือไม่ หรือให้โทรไปแจ้งที่หน่วยงาน ให้ส่งแฟกซ์ข้อมูลมา การประชุมกินภาษีของชาวบ้าน แต่มาแล้วไม่พร้อม เสียเวลา จะเสียชื่ออธิบดีด้วย ตนอุตส่าห์เคยชมไปตั้งเยอะ
หลังจบการประชุม นายณัฐชาให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า วันนี้เน้นการประเมินมูลค่าความเสียหายเป็นสำคัญ ส่วนเรื่องการฟ้องดำเนินคดีก็มีสภาทนายความมาร่วมสังเกตการณ์ และดำเนินการเพื่อที่จะเป็นตัวแทนประชาชนในการฟ้องร้อง ซึ่งในหลายจังหวัดก็เริ่มแล้ว แต่สิ่งสำคัญคือถ้าเรื่องขึ้นสู่ศาล จะต้องมีตัวเลขมูลค่าความเสียหาย แต่หน่วยงานรัฐ อย่างกรมประมง กลับไม่รอบคอบ ไม่มีการวิเคราะห์หรือพิจารณามูลค่าความเสียหายของเกษตรกรแม้แต่ครั้งเดียว แต่มีสิ่งที่เรียกว่าคล้ายรายงานประเมินความเสียหาย คือรายงานการประชุมขออนุมัติวงเงิน 11.4 ล้านบาท เมื่อปี 2561 เพื่อไปช่วยเหลือเกษตรกร ด้วยการรับซื้อปลาหมอคางดำ กิโลกรัมละ 20 บาทในขณะนั้น โดยระบุความเสียหายราวปีละ 150-350 บาทซึ่งถือเป็นเพียงข้อสรุปที่ประเมินจากเกษตรกร แต่ไม่ได้ทำเป็นลายลักษณ์อักษร ก็รู้สึกเสียใจ เพราะกรมประมง เกี่ยวข้องโดยตรง และต้องสู้แทนเกษตรกรแต่การต่อสู้ครั้งนี้กลายเป็นการต่อสู้ที่ไม่เต็มที่
นาย
ณัฐชากล่าวว่า แต่ในขณะที่หน่วยงานวิจัยอย่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ประเมินความเสียหายย้อนหลังเอาไว้ราวปีละ 130 ล้านบาท จากปัญหาใน 1 ตำบลเท่านั้น ซึ่งขณะนี้มูลค่าความเสียหายจนถึงปัจจุบันแพร่กระจายไป 17 จังหวัด 40 อำเภอ มีเกษตรกรที่ลงทะเบียนเดือดร้อนกว่า 40,000 ราย แต่กรมประมงไม่เคยประเมินมูลค่าความเสียหาย จากนี้ก็ต้องขอความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ช่วยประเมินมูลค่าความเสียหาย เพราะในอนาคตอันใกล้ต้องใช้ข้อมูลนี้ในเรื่องคดีความอย่างแน่นอน
“
มีแต่การสำรวจและสอบถามเกษตรกรในเบื้องต้น แต่ไม่มีใครหยิบประเด็นเรื่องนี้เป็นเรื่องหลัก อาจเป็นเพราะไม่ได้คิดจะฟ้องร้องเอกชน ดังนั้นมูลค่าความเสียหายตรงนี้ก็ไม่รู้ว่าดำเนินการไปแล้วจะเอาไปใช้ในส่วนไหน ซึ่งอาจเป็นเหตุผลนี้ก็ได้” นาย
ณัฐชากล่าว
JJNY : 5in1 ปิยบุตร ปลุกผู้แทนฯ│วิโรจน์ เช็กแค่ใจ│อนุกมธ.หมอคางดำซัดกรมประมง│โรงงานไทยวิกฤต│จีนเผชิญสภาพอากาศร้อนจัด
https://www.matichon.co.th/politics/news_4726043
ปิยบุตร แนะผู้แทนฯ ผนึกกำลังโต้กลับ ศาล-กติกายุบพรรค ใช้อำนาจตัวเอง ผลักดัน 3 วาระใหญ่
เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2567 นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า อดีตเลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ ได้โพสต์ผ่านแอพพลิเคชั่น X เรื่อง [ช่องทางการต่อสู้ในระบบสถาบันการเมืองในระยะเฉพาะหน้า] โดยระบุว่า
ในระยะเฉพาะหน้า ประชาชนอาจยังอ่อนล้าจาก “นิติสงคราม” และปัญหาทางเศรษฐกิจ การชุมนุมอาจยังไม่ลุกลาม
ผู้แทนราษฎรต้องใช้อำนาจที่ตนมี ผลักดันวาระในสภา เพื่อแปลงเจตจำนงของประชาชนให้บังเกิดผล
ผมเห็นว่า ผู้แทนราษฎรต้องตอบโต้ศาลรัฐธรรมนูญ และกระบวนการยุบพรรคกลับไป ดังนี้
1. เสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม เปลี่ยนองค์ประกอบและที่มาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือยกเลิกศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อตั้งองค์กรใหม่ทำหน้าที่แทน
2. เสนอร่าง พ.ร.ป.ศาลรัฐธรรมนูญ และวิธีพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ ยกเลิกความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ
3. เสนอร่าง พ.ร.ป.พรรคการเมือง ยกเลิกการยุบพรรคการเมือง
ผู้แทนราษฎรผู้ถืออำนาจแก้ไขรัฐธรรมนูญ อำนาจตรากฎหมาย แทนประชาชน ต้องใช้อำนาจเหล่านี้ ตามกระบวนการ ตามระบบ ต่อสู้กลับไปครับ
https://x.com/Piyabutr_FWP/status/1821399597434167499
วิโรจน์ มั่นใจ เช็กแค่ใจก็รู้ ส.ส.ก้าวไกลพร้อมเพรียงเข้าพรรคใหม่แน่ ยังอุบชื่อคนชิงส.ส.พิษณุโลก
https://www.matichon.co.th/politics/news_4725123
‘วิโรจน์’ เผย ส.ส.ก้าวไกล เช็กแค่ใจแล้วพร้อมเพรียงกันเข้าบ้านใหม่ ชี้ อุณหภูมิการเมืองวันนี้ไม่จำเป็นต้องซื้อตัวแล้ว ระบุหัวหน้าพรรคใหม่ไม่เกี่ยวเป็นเพศไหน ขออย่าเปรียบเทียบหัวหน้าเก่า-ใหม่ เชื่อมั่นทุกคนมีเคล็ดวิชาเด่นในตัวเอง อุบชื่อคนลงชิง ส.ส.พิษณุโลก
เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 8 สิงหาคม ที่รัฐสภา นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ อดีตพรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ถึงการเปิดตัวพรรคใหม่ในวันพรุ่งนี้ (9 ส.ค.) ว่า หลายคนถามว่าเราได้เช็กชื่อ ส.ส.ที่จะไปพรรคใหม่หรือไม่นั้น ต้องบอกว่าเราไม่ได้เช็กชื่อแต่เราเช็กหัวใจกัน เราพูดคุยกัน เท่าที่หารือกันตนคิดว่าน่าจะไปสมัครพรรคใหม่พร้อมกัน ส่วนชื่อพรรคใหม่นั้นให้รอฟังทีเดียวเลย ซึ่งตนก็ยังไม่รู้ชัดเหมือนกัน แต่ยืนยันว่าพวกเราจะไปในที่ใหม่อย่างพร้อมเพรียง ส่วนการต้านกำลังคนที่จะมาซื้อ ส.ส.ของเรานั้นตนคิดว่าทุกคนก็รู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมันอธิบายยากในเรื่องของความยุติธรรม และเราก็รู้ว่าที่มาของเรามาจากความไว้เนื้อเชื่อใจของประชาชน 14 ล้านเสียง และทุกคนตระหนักดีว่าในอดีตคนที่เป็นงูเห่า หักหลังกับความไว้วางใจของประชาชนก็มีจุดจบอย่างไร ดังนั้นเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ไม่ต้องบอกกันอยู่แล้วทุกคนตระหนักอยู่ในใจอยู่แล้ว และตนว่าปัจจุบันวันนี้ดินฟ้าอากาศ อุณหภูมิทางการเมืองไม่ได้มีความจำเป็นที่จะมาซื้อตัวกัน และความมุ่งมั่นของ ส.ส.เราก็ต่างไปจากเดิม ดังนั้นตนจึงมั่นใจว่าจะไม่มีปัญหาอะไรในรอบนี้
เมื่อถามว่ามีการซื้อ ส.ส.ในราคา 20-30 ล้านบาทจริงหรือไม่ นายวิโรจน์กล่าวว่า สำหรับตนว่าไม่จริง ไม่รู้ว่าจะซื้อไปทำไมเขาก็คงเป็นการทาบทามกันเองตามประสาคนที่เคยทำคงลองถามไถ่ดู ได้ก็ดีฟรีก็เบิ้ล
เมื่อถามอีกว่าการเปิดตัวพรรคใหม่ทันทีถือเป็นการกันเรื่องซื้อตัวด้วยหรือไม่ นายวิโรจน์กล่าวว่า เรื่องนี้เราตกลงร่วมกันตั้งแต่แรกที่เราเข้ามาทำงานพรรคก้าวไกลอยู่แล้ว ว่าจะทำอย่างไรให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นกับการขับเคลื่อนอุดมการณ์ของพรรคก้าวไกล เราเรียกว่าวิธีนี้เป็นแผน 2 หรือแพลนบี ซึ่งจริงๆ เราตกลงเรื่องแพลนนี้กันมาแล้วว่าถ้าเกิดอุบัติเหตุอะไรเราจะร้อยรักดวงใจกันไปอย่างพร้อมเพรียงกัน ไม่มีการบังคับแต่เป็นการตกลงกันแต่แรกอยู่แล้ว
เมื่อถามถึงตำแหน่งหัวหน้าพรรคคนใหม่ที่เป็นชื่อ น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล ไว้ นายวิโรจน์กล่าวว่า รอการแถลงอย่างเป็นทางการดีกว่า ส่วนถ้าถามว่าคุณสมบัติจะเป็นอย่างไรนั้นคงต้องเป็นคนที่สามารถที่จะขับเคลื่อนอุดมการณ์ของพรรคต่อไปได้อย่างมั่นคง ไม่เกี่ยวว่าจะเป็นผู้หญิง เพราะพรรคเราเคารพความหลากหลายเพศวิถีอยู่แล้ว
เมื่อถามย้ำว่าจะถูกนำมาเปรียบเทียบกับ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หรือไม่ นายวิโรจน์กล่าวว่า หัวหน้าแต่ละคนมีจุดเด่นแตกต่างกัน ดังนั้นไม่ใช่เรื่องที่จะเอาหัวหน้าแต่ละคนมาเปรียบเทียบ แต่ตนเชื่อว่าหัวหน้าพรรคแต่ละคนก็มีท่าไม้ตายเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง และตนยืนยันว่าเคล็ดวิชาต่างๆ ของหัวหน้าพรรคเราล้ำเลิศ
เมื่อถามว่าอารมณ์ตอนนี้ยังเสียใจหรือโกรธอยู่หรือไม่ นายวิโรจน์กล่าวว่า ถ้าต้องยอมรับก็มี เฮ้อบ้าง แต่เราต้องทำงานต่อ คือแผนงานทั้งหมดที่เกิดขึ้นนั้นเราว่างไว้เลยวันที่ 7 สิงหาคมไปแล้ว เพราะเรารู้ว่าต่อให้ 7 สิงหาคมจะเกิดอะไรขึ้นเราก็ไม่หยุด เราก็ต้องเดินหน้าต่อ ดังนั้นมีงานอะไรเราก็ทำต่อ
เมื่อถามถึงการเลือกตั้ง ส.ส.ซ่อมที่เขต 1 พิษณุโลก แทน นายปดิพัทธ์ สันติภาดา ที่ถูกตัดสิทธิจากคำวินิจฉัยยุบพรรค นายวิโรจน์กล่าวว่า ส่งลงแน่นอน จะเป็นใครก็อุบไว้ก่อน แต่เป็นคนที่ทำงานกับพรรคเรามานาน
เมื่อถามถึง 40 ส.ส.ของพรรคที่ถูกยื่นตรวจสอบจริยธรรมไปยัง ป.ป.ช. นายวิโรจน์กล่าวว่า ตนคิดว่าพรรคการเมืองที่พยายามสร้างการเปลี่ยนแปลงและผลักในประเทศพัฒนานั้นส่วนมากจะมีวิบากกรรมเช่นนี้ แต่ก็คิดว่าคนที่ทำให้เกิดวิบากกรรมแบบนี้เขาต้องการให้บ้านเมืองอยู่ในกรอบในแบบที่เขาอยากให้เป็นแบบเดิมใช่หรือไม่ แต่ถ้าเรารู้ว่าวิบากกรรมเหล่านั้นเขาสร้างเพื่อสิ่งนั้นเราเองจะยอมให้เขาได้สิ่งนั้นหรือ ดังนั้นสิ่งที่เราทำได้คือสร้างระบบงาน ระบบพรรคที่ประชาชนไว้วางใจและขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้า
เมื่อถามว่า การยุบพรรคครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้าย นายวิโรจน์กล่าวว่า เราคาดหวังว่าจะเป็นครั้งสุดท้าย ถ้าพวกเราร่วมมือกับพรรคในรัฐบาลอย่างพรรคเพื่อไทยร่วมกันแก้ไข พ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดสรรอำนาจ ที่พอควรให้กับหน่วยงานองค์กรอิสระ
เมื่อถามอีกว่าจะมีผลอะไรในสภาหรือไม่เพราะเสียโควต้านายปดิพัทธ์ ไม่ได้เป็นรองประธานสภาแล้ว นายวิโรจน์กล่าวว่า คงต้องรอติดตาม เชื่อว่าคนที่ขึ้นมาเป็นรองประธานสภาคงต้องมีความเป็นกลาง ดังนั้นรองประธานสภาจะเป็นใครเราก็ทำงานได้เหมือนเดิม
อนุกมธ.หมอคางดำ ซัด กรมประมง เมินความเดือดร้อนปชช. ไร้เอกสารแจงความเสียหาย ‘ณัฐชา’ เผย 15 ส.ค.สรุปผล
https://www.matichon.co.th/politics/news_4725630
อนุกมธ.หมอคางดำ ซัด กรมประมง เมินความเดือดร้อนปชช. ไร้เอกสารแจงความเสียหาย ‘ณัฐชา’ เล็งสรุปผลเผย 15 ส.ค. ก่อนแถลงต่อสังคม
เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ที่รัฐสภา นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ อดีตพรรคก้าวไกล ในฐานะรองประธานคณะอนุกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาศึกษาสาเหตุ และแนวทางการแก้ไขปัญหา รวมถึงผลกระทบจากการนำเข้าปลาหมอคางดำ เพื่อการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ในราชอาณาจักรไทย เปิดเผยก่อนการประชุม กมธ.ว่า วันนี้มีการเชิญหน่วยงานที่สามารถประเมินมูลค่าความเสียหายมาร่วมให้ข้อมูล ทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่มีการประเมินความเสียหายทางเศรษฐกิจไปแล้ว อย่างน้อยตำบลละ 100 ล้านบาทต่อปี ซึ่งเราจะทำให้ภาครัฐได้รับรู้ว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้น เป็นวงกว้างแค่ไหน และหาแนวทางดำเนินการให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น ในการช่วยเหลือประชาชน
นายณัฐชากล่าวว่า จนถึงวันนี้ยังไม่ได้รับความชัดเจนจากหน่วยงานภาครัฐถึงสาเหตุการระบาดของปลาหมอคางดำ แต่ยืนยันว่ากระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติจะทำให้ชัดเจน โดยคาดว่าจะแถลงสรุปผลการทำงานได้ภายในสัปดาห์หน้า จากนั้นจะสรุปเรื่องส่งให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมไปถึงคณะรัฐมนตรีที่ควรต้องเอาผิดต้นตอ ผู้ก่อเรื่อง หรือผู้มีส่วนร่วมกับปัญหาที่เกิดขึ้น ให้มารับผิดชอบในส่วนนี้ ทั้งนี้ หน่วยงานภาครัฐจะไปดำเนินการต่อหรือไม่ ทางอนุกรรมาธิการไม่สามารถแทรกแซงการทำงานได้ แต่ยืนยันว่าจะสรุปผลออกมาทั้งหมด แล้วให้ประชาชนตัดสินใจ
นายณัฐชากล่าวว่า สำหรับบรรยากาศในห้องประชุม ทางศูนย์วิจัยและพัฒนาเครื่องมือด้านการประเมินผลตอบแทนทางสังคม วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้นำเสนอผลสำรวจการระบาดของสัตว์น้ำต่างถิ่น ปลาหมอคางดำ กับความสูญเสียทางเศรษฐกิจด้านการประมงของ ต.แพรกหนามแดง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ซึ่งพบปรากฏการณ์การระบาดของปลาหมอคางดำ ในปี 2562 แต่จากการสรุปพบว่า ในปี 2559 สร้างความเสียหายต่อรายได้ประมงของชุมชนลดลง 5%, ปี 2560 สร้างความเสียหายต่อรายได้ประมงของชุมชนลดลง 10%, ปี 2561 สร้างความเสียหายต่อรายได้ประมงในชุมชนลดลง 15% (ปัจจุบันคาดการณ์ความเสียหายต่อรายได้ไม่ต่ำกว่า 90% โดยอ้างอิงความเสียหายจากสื่อในพื้นที่)
ขณะที่ ผู้แทนทางกรมประมง ชี้แจงว่า ตั้งแต่ปี 2560 มีสำรวจผลความเสียหายของเกษตรกร โดยสำรวจกว่า 500 ฟาร์มจาก 3 อำเภอ จ.สมุทรสงคราม เสียหายประมาณ 150-350 ล้านบาทต่อปี แต่นายณัฐชาบอกว่า ถ้าศึกษาข้อมูลมาตั้งแต่ต้น จนถึงขณะนี้ก็ยังหาผู้รับผิดชอบไม่ได้ ไม่รู้ว่ากรมประมงทำอะไรอยู่ และผลลัพธ์ที่ออกมาก็ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน ที่สำคัญผลสำรวจที่ชี้แจงวันนี้ เมื่อขอดูเอกสารก็ไม่มี ไม่ได้เอามา แล้วจะให้ทำอย่างไร
จากนั้น นพ.วาโย อัศวรุ่งเรือง ประธานอนุ กมธ.ฯ ซึ่งเข้ามาประชุมทีหลัง ได้กล่าวต่อผู้แทนกรมประมงที่มาชี้แจงวันนี้ว่า เมื่อมาชี้แจง แต่ไม่มีเอกสารมา ควรเชิญออกจากห้องประชุมดีหรือไม่ หรือให้โทรไปแจ้งที่หน่วยงาน ให้ส่งแฟกซ์ข้อมูลมา การประชุมกินภาษีของชาวบ้าน แต่มาแล้วไม่พร้อม เสียเวลา จะเสียชื่ออธิบดีด้วย ตนอุตส่าห์เคยชมไปตั้งเยอะ
หลังจบการประชุม นายณัฐชาให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า วันนี้เน้นการประเมินมูลค่าความเสียหายเป็นสำคัญ ส่วนเรื่องการฟ้องดำเนินคดีก็มีสภาทนายความมาร่วมสังเกตการณ์ และดำเนินการเพื่อที่จะเป็นตัวแทนประชาชนในการฟ้องร้อง ซึ่งในหลายจังหวัดก็เริ่มแล้ว แต่สิ่งสำคัญคือถ้าเรื่องขึ้นสู่ศาล จะต้องมีตัวเลขมูลค่าความเสียหาย แต่หน่วยงานรัฐ อย่างกรมประมง กลับไม่รอบคอบ ไม่มีการวิเคราะห์หรือพิจารณามูลค่าความเสียหายของเกษตรกรแม้แต่ครั้งเดียว แต่มีสิ่งที่เรียกว่าคล้ายรายงานประเมินความเสียหาย คือรายงานการประชุมขออนุมัติวงเงิน 11.4 ล้านบาท เมื่อปี 2561 เพื่อไปช่วยเหลือเกษตรกร ด้วยการรับซื้อปลาหมอคางดำ กิโลกรัมละ 20 บาทในขณะนั้น โดยระบุความเสียหายราวปีละ 150-350 บาทซึ่งถือเป็นเพียงข้อสรุปที่ประเมินจากเกษตรกร แต่ไม่ได้ทำเป็นลายลักษณ์อักษร ก็รู้สึกเสียใจ เพราะกรมประมง เกี่ยวข้องโดยตรง และต้องสู้แทนเกษตรกรแต่การต่อสู้ครั้งนี้กลายเป็นการต่อสู้ที่ไม่เต็มที่
นายณัฐชากล่าวว่า แต่ในขณะที่หน่วยงานวิจัยอย่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ประเมินความเสียหายย้อนหลังเอาไว้ราวปีละ 130 ล้านบาท จากปัญหาใน 1 ตำบลเท่านั้น ซึ่งขณะนี้มูลค่าความเสียหายจนถึงปัจจุบันแพร่กระจายไป 17 จังหวัด 40 อำเภอ มีเกษตรกรที่ลงทะเบียนเดือดร้อนกว่า 40,000 ราย แต่กรมประมงไม่เคยประเมินมูลค่าความเสียหาย จากนี้ก็ต้องขอความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ช่วยประเมินมูลค่าความเสียหาย เพราะในอนาคตอันใกล้ต้องใช้ข้อมูลนี้ในเรื่องคดีความอย่างแน่นอน
“มีแต่การสำรวจและสอบถามเกษตรกรในเบื้องต้น แต่ไม่มีใครหยิบประเด็นเรื่องนี้เป็นเรื่องหลัก อาจเป็นเพราะไม่ได้คิดจะฟ้องร้องเอกชน ดังนั้นมูลค่าความเสียหายตรงนี้ก็ไม่รู้ว่าดำเนินการไปแล้วจะเอาไปใช้ในส่วนไหน ซึ่งอาจเป็นเหตุผลนี้ก็ได้” นายณัฐชากล่าว