JJNY : ถึงครากม.“ไร้ยางอาย”│ก้าวไกลห่วงรบ.ทุ่มงบหมดหน้าตัก│น้ำขังต้นทุเรียน 5วันยืนต้นตาย│คิมขอบคุณปูตินช่วยเหลืออุทกภัย

ยุบพรรคก้าวไกล ถึงครากฏหมาย “ไร้ยางอาย”แล้วหรือ? สนทนากับ อ.สุขุม-อ.มุนินทร์
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_4717074
 
 
รายการมีเรื่องมาเคลียร์ by ศิโรตม์ พูดคุยกับ รศ.สุขุม นวลสกุล อดีตอธิการบดี ม.รามคำแหง และ รศ.ดร.มุนินทร์ พงศาปาน คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ถึงคดีการยุบพรรคก้าวไกล โดยเชื่อว่าหากพิจารณาตามข้อกฏหมาย พรรคก้าวไกลไม่ควรถูกยุบ ขณะที่กรณีของ “เศรษฐา ทวีสิน” นายกฯ เห็นตรงกันว่าไม่หลุดจากตำแหน่ง และมองระบบกฏหมายของประเทศจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นของประเทศ

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ


ก้าวไกล ห่วง รบ.ทุ่มงบทำดิจิทัลวอลเล็ต หมดหน้าตัก หวั่น จัดงบรับมือภัยพิบัติได้ไม่เต็มที่
https://www.matichon.co.th/politics/news_4717030
 
‘นิติพล ก้าวไกล’ ชี้ รัฐทุ่มงบลง ‘ดิจิทัลวอลเล็ต’ หมดหน้าตัก ละเลย จัดงบเตรียมรับมือภัยพิบัติ มอง น้ำท่วมหลายจังหวัดภาคอีสาน-ภาคตะวันออก รบ.เคลื่อนไหวไม่มากเท่าที่ควร
 
เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม นายนิติพล ผิวเหมาะ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล กล่าวว่า แม้ว่าเรื่องเศรษฐกิจไทยในขณะนี้เป็นเรื่องสำคัญที่น่ากังวล แต่การบริหารจัดการงบประมาณต้องมีความเหมาะสม มีการจัดวางน้ำหนักความสำคัญให้ครอบคลุม ซึ่งสิ่งแวดล้อมเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องวางแผนให้ดี เพราะขณะนี้เรากำลังอยู่ในภาวะโลกรวน คือรวนหมดทั้งโลกที่ส่งผลถึงกันและทำให้ภัยพิบัติเกิดได้ถี่ขึ้น หนักขึ้น บางที่ไม่เคยเกิดก็เกิด หรือที่เคยเกิดก็เกิดรุนแรงแบบไม่เคยเจอมาก่อน ดังที่พี่น้องประชาชนหลายสิบจังหวัดกำลังประสบอุทกภัยอยู่ตอนนี้
 
แต่ผมเริ่มมองเห็นสัญญาณที่ไม่ดีนักในการรับมือสถานการณ์ภัยพิบัติหรือวิกฤตต่างๆ ของภาครัฐ และคิดว่าส่วนหนึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการบริหารจัดการงบประมาณของภาครัฐไม่มากก็น้อย เนื่องจากท่ามกลางกระแสตีปี๊บโหมผลงานการลงทะเบียนดิจิทัลวอลเล็ตคึกคัก สิ่งที่ซ่อนอยู่และดูเหมือนจะให้ความสำคัญน้อยกว่ามากคือสถานการณ์น้ำท่วมภาคอีสานและภาคตะวันออกซึ่งมีมากกว่าสิบจังหวัดได้รับผลกระทบแล้ว และยังไม่มีความเคลื่อนไหวในเรื่องนี้จากรัฐบาลมากนัก

นายนิติพลกล่าวต่อว่า เหตุภัยพิบัติเป็นเรื่องที่ต้องเตรียมพร้อม ทั้งก่อนเกิดเหตุ ไม่ว่าคน อุปกรณ์ การแจ้งเตือนภัย ช่วงเกิดเหตุที่ต้องเข้าไปกู้ภัยรวมถึงอาจต้องกู้ชีพ และการอพยพต่างๆ และหลังเกิดเหตุคือการฟื้นฟูเยียวยา ทั้งหมดควรเริ่มต้นตั้งแต่การมีแผนยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน รวมถึงมีงบประมาณที่พร้อมไว้ตลอดเวลาเพื่อสนับสนุนแผนงานและสร้างความอุ่นใจให้ทุกหน่วยงาน กล้าที่จะสั่งการทันทีที่มีเหตุ ไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลัง เช่นว่าประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติไปแล้วจะนำเงินที่ไหนไปเยียวยาประชาชน เป็นต้น แต่สิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้คือรัฐบาลขยับเรื่องนี้น้อยมาก มากจนเหมือนไม่อยากทำอะไร ผมขอสันนิษฐานว่าเป็นเพราะถ้าท่านขยับมากก็จะต้องควักงบกลางออกมามาก ซึ่งท่านไม่อยากใช้กลัวจะไปกระทบเงินที่กันไว้ใช้ในโครงการดิจิทัลวอลเล็ตหรือไม่ จึงทำให้ความทุกข์ยากของพี่น้องประชาชนถูกสื่อสารออกมาน้อย หรือให้ความสำคัญน้อยกว่าที่ควรเป็น

สถานการณ์ของประเทศตอนนี้การให้ความสำคัญกับการกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นเรื่องที่ควรทำก็จริงอยู่ แต่เราจะละเลยเรื่องอื่นด้วยไม่ได้ โดยเฉพาะเรื่องสิ่งแวดล้อม หรือภาวะโลกรวนที่ขณะนี้ถือว่าวิกฤตไปทั้งโลก ซึ่งไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการคาดการณ์ว่าจะได้รับผลกระทบสูงเป็นอันดับต้นๆ และจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากมาย เช่น สมมุติพืชผลเกษตรมีผลผลิตน้อยจากภาวะอากาศเปลี่ยน หรือมากจนล้นทำให้ตลาดราคาตก เหล่านี้ก็กระทบต่อเกษตรกรซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศทั้งสิ้น” นายนิติพลกล่าว

นายนิติพลกล่าวว่า เรายังมีวิกฤตจากคนทำขึ้นเองที่คาดไม่ถึงเข้ามาแทรกด้วย อย่างกรณีปลาหมอคางดำ ที่มูลค่าความเสียหายอาจไปถึงหลักหมื่นล้านบาทและทำให้นิเวศท้องถิ่นเสียไป แต่รัฐกลับเจียดงบกลางมาทำเรื่องนี้เพียง 450 ล้านบาท งบแค่นี้แค่ใช้เพื่อการรับซื้อในราคา 15-20 บาทต่อกิโลกรัมเพื่อดึงดูดให้จับก็ไม่พอแล้วเพราะปริมาณปลามันมหาศาลและกระจายไปเกือบทั่วประทศ ยังไม่ต้องพูดถึงการเยียวยาบ่อกุ้ง บ่อปูที่โดนเจ้าพวกคางดำเหล่านี้ทำลายเกลี้ยงบ่อ หากดูจากงบกลางที่เจียดมาแบบขอไปที ดูเหมือนรัฐไม่ได้มีแผนจะช่วยพวกเขาเลย

ผมคิดว่าปัญหาการใช้งบกลางหรืองบฉุกเฉินได้ไม่ลื่นไหล ไม่ใช่เพราะรัฐไม่มีเงิน แต่เป็นเพราะเอาเงินทั้งหน้าตักไปลงกับนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตหมดจึงเป็นห่วงจริงๆ ทั้งในเวลานี้และอนาคตที่เราต้องเผชิญภัยพิบัติที่จะถี่และแรงขึ้นเรื่อยๆ จากภาวะโลกรวน เราจะเหลือเงินไปรับมือสถานการณ์เหล่านี้ไหม ย้ำอีกครั้ง ผมไม่ปฏิเสธเรื่องการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ต้องทำอย่างมีแผนและเป้าหมาย ไม่ใช่ทำเพราะกลัวเสียหน้า และที่สำคัญคือต้องมีวิสัยทัศน์การเตรียมแผนรับมือความเสี่ยงต่างๆ ควรเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องจัดลำดับความสำคัญทางงบประมาณไว้ด้วย แต่ถ้าดูจากการจัดงบที่มุ่งไปเฉพาะดิจิทัลวอลเล็ตเท่านั้น ทำให้ผมรู้สึกกังวลต่ออนาคตจริงๆ” นายนิติพลกล่าว


  
ชาวสวนจันทบุรี สุดระทม น้ำท่วมครั้งนี้แทบหมดตัว น้ำขังต้นทุเรียน 5 วันยืนต้นตายเสียหายหลายล้าน
https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_9344381

ชาวสวนจันทบุรี สุดระทม น้ำท่วมครั้งนี้แทบหมดตัว น้ำขังต้นทุเรียน 5 วันไม่รอด ยืนต้นตายเสียหายหลายล้าน หวังหน่วยงานรัฐเยียวยา หาทางระบายน้ำได้เร็วขึ้น

วันที่ 4 ส.ค.2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี แม้ว่าเริ่มคลี่คลายบ้างแล้ว จากการลงพื้นที่สำรวจความเสียหายหลังน้ำลดในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะที่ ต.วันแซ้ม อ.มะขาม จ.จันทบุรี มีพื้นที่เกตรกรรมสวนผลไม้ถูกน้ำขังนาน 5 วัน ทำทุเรียนยืนต้นตาย คาดว่า อุทกภัยครั้งนี้จะส่งผลทำให้มีความเสียหายหลายล้านบาท
   
ขณะที่ระดับน้ำที่แม่น้ำจันทบุรี บริเวณรอยต่ออำเภอมะขาม ที่สะพานน้ำรักเกาะสาร ระดับน้ำลดลงกว่า 2 เมตร ชาวบ้านริม 2 ฝั่งคลอง ทยอยสำรวจความเสียหาย และปรากฏเด่นชัด จากสภาพต้นทุเรียน อายุ 1-4 ปี ใบกลายเป็นสีเหลือง เหี่ยวแห้งเฉา คาดว่าหลังจากนี้ อีกประมาณ 1 สัปดาห์ จะเห็นภาพความเสียหายชัดเจนมากขึ้น หรือที่เรียกว่า “ยืนต้นตาย
 
สอบถาม นายบุญอยู่ ชัยดิษฐ์ อายุ 62 ปี เจ้าของสวนทุเรียน หนึ่งในผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากอุทกภัยน้ำท่วมในครั้งนี้ เล่าถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นว่า หลังจากที่น้ำท่วมขังมานานเกือบหนึ่งสัปดาห์ ต้นทุเรียนอายุ 1-4 ปี มีสภาพใบเหลืองและทยอยยืนต้นตาย คาดว่าจะมีต้นทุเรียนเสียหาย ประมาณ  60 ถึง 80 ต้น
 
ส่วนต้นทุเรียนอายุ 5 ปีขึ้นไปที่เริ่มให้ผลผลิตแล้ว หลังจากนี้อาจต้องเผชิญกับโรคเชื้อรา รากเน่า โคนเน่า ซึ่งชาวสวนจำเป็นต้องเร่งสำรวจและหาองค์ความรู้ เพื่อมาเยียวยารักษาฟื้นฟูต้น ต้นทุเรียนที่เหลือ ให้อยู่ต่อไป
 
ยอมรับว่าหลังฝนตกหนักในช่วงวันที่ 27-28 ก.ค.ที่ผ่านมา เชื่อว่าน้ำจะเข้าท่วม บริเวณสวนทุเรียน และแม่น้ำสาขาของแม่น้ำจันทบุรี จะสามารถระบายน้ำออกได้ ภายใน 1-2 วัน ซึ่งเป็นเรื่องปกติเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี แต่สำหรับน้ำท่วมครั้งนี้ น้ำกลับระบายออกได้ช้า ทิ้งช่วง ส่งผลให้ทุเรียนแช่น้ำนาน ประมาณ 5 วัน จนต้นทุเรียนยืนต้นตาย
 
สำหรับในอนาคตยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะปลูกใหม่ทดแทน หรือเปลี่ยนมาปลูกพืชที่ทนน้ำ ทดแทนโดยหลังจากนี้คาดว่า หน่วยงานด้านเกษตรที่เกี่ยวข้องจะเข้ามาสำรวจความเสียหายซึ่งหลักเกณฑ์การเยียวยานั้น แน่นอนว่าไม่สามารถทดแทนต้นทุเรียนที่เสียหายไปได้ แต่เป็นการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรที่เกิดขึ้นถ้วนหน้า
 
ที่สำคัญ คือหน่วยงานภาครัฐ จะได้หาทางแก้ไขให้การระบายน้ำในพื้นที่วังแซ้ม ไหลออกสู่แม่น้ำจันทบุรีได้รวดเร็วกว่าครั้งนี้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่