ร้านอาหารเมินร่วม 'ดิจิทัลวอลเล็ต' โอดยอดขายวูบ ขอเร่งแก้ให้ตรงจุด หวั่นเป็นโดมิโน
https://ch3plus.com/news/political/morning/410348
ร้านอาหารเมินร่วม 'ดิจิทัลวอลเล็ต' โอดยอดขายวูบ ขอเร่งแก้ให้ตรงจุด หวั่นเป็นโดมิโน
รับชมผ่านยูทูบได้ที่ :
https://youtu.be/AMnhhARz42I
"ชัชชาติ" ของบ 9 หมื่นล้าน ปี 68 สภากทม.เตรียมพิจารณา 30 ก.ค.นี้
https://siamrath.co.th/n/554348
นาย
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า คณะผู้บริหาร เตรียมเสนอร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 วงเงิน 9 หมื่นล้านบาท ต่อที่ประชุมสภากรุงเทพมหานคร ในวันที่ 30 ก.ค. นี้ ซึ่งการตั้งงบประมาณ 90,000 ล้านบาท เพื่อให้หน่วยรับงบประมาณและหน่วยงานในกำกับมีงบประมาณรายจ่ายเพียงพอในการดำเนินการกิจตามอำนาจหน้าที่และขับเคลื่อนนโยบายตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 แผนพัฒนา กรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี ระยะที่3 (พ.ศ.2566 - 2570 ) แผนปฏิบัติราชการกรุงเทพมหานคร ประจำปี พ.ศ. 2568 แผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. 2568 ของหน่วยรับงบประมาณสอดคล้องกับสภาวะการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน
ทั้งนี้ กทม. ได้กำหนดนโยบายและแนวทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2568 ดังนี้
1. ดำเนินนโยบาย งบประมาณแบบสมดุลภายใต้กรอบประมาณการรายรับ เพื่อความยั่งยืนทางการคลัง และความจำเป็นของการใช้จ่ายในการจัดบริการประชาชน
2. ให้หน่วยรับงบประมาณจัดลำดับความสำคัญของภารกิจ โดยพิจารณาถึงความจำเป็นเร่งด่วน ความคุ้มค่าตามศักยภาพของหน่วยงาน ความพร้อมในการดำเนินงาน และขีดความสามารถในการใช้จ่ายงประมาณ เพื่อให้สามารถจัดสรรงบประมาณได้อย่างสมเหตุสมผล มีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด
3. สัดส่วนงบลงทุนกำหนดให้ต้องมีงบประมาณเพื่อการลงทุนจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของงบประมาณ รายจ่ายประจำปี และกำหนดสัดส่วนงบกลางรายการสำรองจ่ายทั่วไปไม่น้อยกว่าร้อยละ 1.5 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี
4. กำหนดจำนวนปีและสัดส่วนวงเงินงบประมาณการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายจ่ายข้ามปี สำหรับงบประมาณโครงการใหม่ควรกำหนดจำนวนปีให้ผูกพันไม่เกิน 5 ปี และในปีแรกพิจารณาตั้งงบประมาณตามความเหมาะสม
โดยงบประมาณปี 68 วงเงิน 9 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วย
1. งบบุคลากร 21,411.134 ล้านบาท
2. งบดำเนินงาน 18,481.444 ล้านบาท
3. งบกลาง 16,796,525.490 ล้านบาท แบ่งเป็น 13 รายการ ดังนี้
1.เงินสำรองจ่ายทั่วไป กรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น 500 ล้านบาท
2. เงินสำรองจ่ายทั่วไป กรณีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เกี่ยวกับน้ำท่วม 150 ล้านบาท
3. เงินสำรองจ่ายทั่วไป กรณีค่าใช้จ่ายเพื่อการพัฒนากรุงเทพมหานคร 700 ล้านบาท
4. เงินช่วยเหลือข้าราชการและลูกจ้าง 3,543 ล้านบาท
5. เงินบำเหน็จลูกจ้าง 1,603,600,000 บาท
6. ค่าติดตั้งไฟฟ้าสาธารณะ 100 ล้านบาท
7. เงินสำรองสำหรับค่างานส่วนที่เพิ่มตามสัญญาแบบปรับราคาได้ 30 ล้านบาท
8. เงินสำรองสำหรับค่าใช้จ่ายบุคลากร 550 ล้านบาท
9. ค่าใช้จ่ายและหรือนโยบายที่ได้รับมอบจากรัฐบาล 3,850 ล้านบาท
10. เงินรางวัลและเงินช่วยเหลือสำหรับผลการปฏิบัติราชการประจำปี 500 ล้านบาท
11. เงินสำรองสำหรับภาระผูกพันที่ค้างจ่ายตามกฎหมาย 1,864,318,500 บาท
12. เงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของ กทม. 200 ล้านบาท
และ 13. เงินสำรองสำหรับจ่ายเป็นเงินบำเหน็จบำนาญข้าราชการกรุงเทพมหานคร 3,205,606,990 บาท
4.รายการ/โครงการผูกพันงบประมาณ 15,663.978 ล้านบาท แบ่งเป็น รายการ/โครงการผูกพันงบประมาณ เดิม 15,060.927 ล้านบาท รายการ/โครงการผูกพันงบประมาณใหม่ 603.051 ล้านบาท 5. งบลงทุน 10,083.134 ล้านบาท 6. รายจ่ายอื่น 4,061.063 ล้านบาท และ 7. งบเงินอุดหนุน 3,504.145 ล้านบาท
หนักสุดรอบหลายสิบปี พายุถล่มจันทบุรี ทุเรียนล้มกว่า 80 ต้น โรงเรียนเละ โชคดีเป็นวันหยุด
https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_777777860002
หนักสุดรอบหลายสิบปี พายุถล่มจันทบุรี ทุเรียนล้มกว่า 80 ต้น โรงเรียนเละ โชคดีเป็นวันหยุด ป้ายโฆษณา หลังคาอาคารปลิวว่อน
วันที่ 28 ก.ค. 2567 นาย
จักรพงษ์ พันธุ์โชติ นายอำเภอขลุง จ.จันทบุรี รับแจ้งเกิดภัยพิบัติ มีพายุลมพัดแรงในพื้นที่ จึงมอบหมายให้ทุกตำบลในพื้นที่เร่งสำรวจความเสียหาย เบื้องต้นได้รับรายงานว่า มีโรงเรียน วัด และสวนทุเรียนของชาวบ้าน ถูกพายุพัดได้รับผลกระทบ ซึ่งเป็นภัยพิบัติที่หนักสุดในรอบหลายสิบปี โดยเฉพาะโรงเรียนขลุงรัชดาถิเษก และสวนผลไม้พื้นที่ หมู่ 2 และหมู่ 4 ต.วันยาว อ.ขลุง
ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่โรงเรียนขลุงรัชดาภิเษก พบต้นไม้หลายสิบต้นทั่วบริเวณโรงเรียน ล้มระเนระนาด ทับเสาไฟฟ้า, อาคารเรียน, บ้านพักครู ตลอดจนประตูรั้วและโรงจอดรถ กระเบื้องหลังคาโบสถ์ ปลิวว่อน กระจายเกลื่อนทั่วบริเวณ และยังพบป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ถูกแรงลมพัดโค่นล้มลงมา โชคดีขณะเกิดเหตุเป็นช่วงเย็น ไม่มีคนอยู่ ทำให้ไม่มีใครได้รับอันตราย
จากการดูภาพกล้องวงจรปิดภายในโรงเรียน เผยคลิปวินาทีเหตุการณ์ขณะเกิดพายุงวงช้างพัดกระหน่ำเข้าใส่ ส่งผลทำให้ต้นไม้อายุกว่า 30 ปี นับสิบต้น โค่นล้มระเนระนาด ทับอาคารเรียน เสาไฟฟ้าแรงสูง จนเกิดประกายและเสียงระเบิดดังสนั่นหวั่นไหว นอกจากนี้ยังพัดกระเบื้องหลังคาวัดที่อยู่ใกล้ปลิวว่อนหลุดหายไปทั้งแถบ
ต่อมาผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปยังสวนผลไม้ พื้นที่หมู่ 2 และหมู่ 4 ต.วันยาว อ.ขลุง ซึ่งเป็นสวนทุเรียนของ นาย
สมชาย ยิ้มสกุล อายุ 56 ปี หลังได้รับรายงานว่า มีต้นทุเรียนถูกพายุหักโค่นล้ม ได้รับความเสียหายเกือบ 80 ต้น
สอบถามนาย
สมชาย เจ้าของทุเรียน เปิดเผยา ตนทำสวนทุเรียนบนเนื้อที่ 7 ไร่ ปลูกทุเรียนอายุตั้งแต่ 10-15 ปี ไว้จำนวนกว่า 100 ต้น โดยช่วงเย็นวันที่ 27 ก.ค. ที่ผ่านมา มีฝนตกต่อเนื่องตลอดทั้งวัน กระทั่งเวลา 18.30 น. มีพายุลมแรงพัดเข้ามาในสวนไม่ถึง 10 นาที ตอนนั้นทั้งตกใจทั้งกลัว แต่ทำอะไรไม่ได้
นาย
สมชาย กล่าวต่อว่า หลังพายุฝนสงบได้รีบเข้าไปตรวจสอบ พบต้นทุเรียนพันธุ์กระดุม และหมอนทอง ถูกพายุพัดโค่นล้มได้รับความเสียหาย ทั้งหมด 71 ต้น และยังมีต้นทุเรียนในสวนฝั่งตรงข้ามของเพื่อนบ้านถูกแรงลมหักโค่นอีกจำนวน 8 ต้น
นอกจากนี้ ผู้สื่อข่าวยังได้เดินทางไปในพื้นที่หมู่ 4 ต.วันยาว อ.ขลุง หลังรับแจ้งว่า มีต้นกระบกขนาดใหญ่ อายุกว่า 200 ปี ถูกพายุพัดหักโค่นอีก 1 ต้น จากการตรวจสอบ พบต้นกระบกดังกล่าว มีขนาดลำต้นไม่ต่ำกว่า 6-7 คนโอบ มีการตั้งศาลไว้ 4 หลัง
เจ้าของบอกว่า ต้นกระบกดังกล่าวถูกพบตั้งแต่สมัยรุ่นทวด ขณะเกิดเหตุมีแม่อยู่ที่บ้าน บอกว่าเกิดพายุลมพัดแรงอย่างไม่เคยเห็นมาก่อน จนสามารถพัดต้นกระบกที่สูงใหญ่และแข็งแรงโค่นล้มลงได้ โชคดีที่ไม่มีใครในบ้านได้รับบาดเจ็บ.
JJNY : ร้านอาหารเมินร่วม'ดิจิทัลวอลเล็ต'│"ชัชชาติ"ของบ│พายุถล่มจันทบุรี ทุเรียนล้ม โรงเรียนเละ│‘บลิงเกน’จวกจีน ทำผิดกม.
https://ch3plus.com/news/political/morning/410348
ร้านอาหารเมินร่วม 'ดิจิทัลวอลเล็ต' โอดยอดขายวูบ ขอเร่งแก้ให้ตรงจุด หวั่นเป็นโดมิโน
รับชมผ่านยูทูบได้ที่ : https://youtu.be/AMnhhARz42I
"ชัชชาติ" ของบ 9 หมื่นล้าน ปี 68 สภากทม.เตรียมพิจารณา 30 ก.ค.นี้
https://siamrath.co.th/n/554348
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า คณะผู้บริหาร เตรียมเสนอร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 วงเงิน 9 หมื่นล้านบาท ต่อที่ประชุมสภากรุงเทพมหานคร ในวันที่ 30 ก.ค. นี้ ซึ่งการตั้งงบประมาณ 90,000 ล้านบาท เพื่อให้หน่วยรับงบประมาณและหน่วยงานในกำกับมีงบประมาณรายจ่ายเพียงพอในการดำเนินการกิจตามอำนาจหน้าที่และขับเคลื่อนนโยบายตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 แผนพัฒนา กรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี ระยะที่3 (พ.ศ.2566 - 2570 ) แผนปฏิบัติราชการกรุงเทพมหานคร ประจำปี พ.ศ. 2568 แผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. 2568 ของหน่วยรับงบประมาณสอดคล้องกับสภาวะการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน
ทั้งนี้ กทม. ได้กำหนดนโยบายและแนวทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2568 ดังนี้
1. ดำเนินนโยบาย งบประมาณแบบสมดุลภายใต้กรอบประมาณการรายรับ เพื่อความยั่งยืนทางการคลัง และความจำเป็นของการใช้จ่ายในการจัดบริการประชาชน
2. ให้หน่วยรับงบประมาณจัดลำดับความสำคัญของภารกิจ โดยพิจารณาถึงความจำเป็นเร่งด่วน ความคุ้มค่าตามศักยภาพของหน่วยงาน ความพร้อมในการดำเนินงาน และขีดความสามารถในการใช้จ่ายงประมาณ เพื่อให้สามารถจัดสรรงบประมาณได้อย่างสมเหตุสมผล มีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด
3. สัดส่วนงบลงทุนกำหนดให้ต้องมีงบประมาณเพื่อการลงทุนจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของงบประมาณ รายจ่ายประจำปี และกำหนดสัดส่วนงบกลางรายการสำรองจ่ายทั่วไปไม่น้อยกว่าร้อยละ 1.5 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี
4. กำหนดจำนวนปีและสัดส่วนวงเงินงบประมาณการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายจ่ายข้ามปี สำหรับงบประมาณโครงการใหม่ควรกำหนดจำนวนปีให้ผูกพันไม่เกิน 5 ปี และในปีแรกพิจารณาตั้งงบประมาณตามความเหมาะสม
โดยงบประมาณปี 68 วงเงิน 9 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วย
1. งบบุคลากร 21,411.134 ล้านบาท
2. งบดำเนินงาน 18,481.444 ล้านบาท
3. งบกลาง 16,796,525.490 ล้านบาท แบ่งเป็น 13 รายการ ดังนี้
1.เงินสำรองจ่ายทั่วไป กรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น 500 ล้านบาท
2. เงินสำรองจ่ายทั่วไป กรณีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เกี่ยวกับน้ำท่วม 150 ล้านบาท
3. เงินสำรองจ่ายทั่วไป กรณีค่าใช้จ่ายเพื่อการพัฒนากรุงเทพมหานคร 700 ล้านบาท
4. เงินช่วยเหลือข้าราชการและลูกจ้าง 3,543 ล้านบาท
5. เงินบำเหน็จลูกจ้าง 1,603,600,000 บาท
6. ค่าติดตั้งไฟฟ้าสาธารณะ 100 ล้านบาท
7. เงินสำรองสำหรับค่างานส่วนที่เพิ่มตามสัญญาแบบปรับราคาได้ 30 ล้านบาท
8. เงินสำรองสำหรับค่าใช้จ่ายบุคลากร 550 ล้านบาท
9. ค่าใช้จ่ายและหรือนโยบายที่ได้รับมอบจากรัฐบาล 3,850 ล้านบาท
10. เงินรางวัลและเงินช่วยเหลือสำหรับผลการปฏิบัติราชการประจำปี 500 ล้านบาท
11. เงินสำรองสำหรับภาระผูกพันที่ค้างจ่ายตามกฎหมาย 1,864,318,500 บาท
12. เงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของ กทม. 200 ล้านบาท
และ 13. เงินสำรองสำหรับจ่ายเป็นเงินบำเหน็จบำนาญข้าราชการกรุงเทพมหานคร 3,205,606,990 บาท
4.รายการ/โครงการผูกพันงบประมาณ 15,663.978 ล้านบาท แบ่งเป็น รายการ/โครงการผูกพันงบประมาณ เดิม 15,060.927 ล้านบาท รายการ/โครงการผูกพันงบประมาณใหม่ 603.051 ล้านบาท 5. งบลงทุน 10,083.134 ล้านบาท 6. รายจ่ายอื่น 4,061.063 ล้านบาท และ 7. งบเงินอุดหนุน 3,504.145 ล้านบาท
หนักสุดรอบหลายสิบปี พายุถล่มจันทบุรี ทุเรียนล้มกว่า 80 ต้น โรงเรียนเละ โชคดีเป็นวันหยุด
https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_777777860002
หนักสุดรอบหลายสิบปี พายุถล่มจันทบุรี ทุเรียนล้มกว่า 80 ต้น โรงเรียนเละ โชคดีเป็นวันหยุด ป้ายโฆษณา หลังคาอาคารปลิวว่อน
วันที่ 28 ก.ค. 2567 นายจักรพงษ์ พันธุ์โชติ นายอำเภอขลุง จ.จันทบุรี รับแจ้งเกิดภัยพิบัติ มีพายุลมพัดแรงในพื้นที่ จึงมอบหมายให้ทุกตำบลในพื้นที่เร่งสำรวจความเสียหาย เบื้องต้นได้รับรายงานว่า มีโรงเรียน วัด และสวนทุเรียนของชาวบ้าน ถูกพายุพัดได้รับผลกระทบ ซึ่งเป็นภัยพิบัติที่หนักสุดในรอบหลายสิบปี โดยเฉพาะโรงเรียนขลุงรัชดาถิเษก และสวนผลไม้พื้นที่ หมู่ 2 และหมู่ 4 ต.วันยาว อ.ขลุง
ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่โรงเรียนขลุงรัชดาภิเษก พบต้นไม้หลายสิบต้นทั่วบริเวณโรงเรียน ล้มระเนระนาด ทับเสาไฟฟ้า, อาคารเรียน, บ้านพักครู ตลอดจนประตูรั้วและโรงจอดรถ กระเบื้องหลังคาโบสถ์ ปลิวว่อน กระจายเกลื่อนทั่วบริเวณ และยังพบป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ถูกแรงลมพัดโค่นล้มลงมา โชคดีขณะเกิดเหตุเป็นช่วงเย็น ไม่มีคนอยู่ ทำให้ไม่มีใครได้รับอันตราย
จากการดูภาพกล้องวงจรปิดภายในโรงเรียน เผยคลิปวินาทีเหตุการณ์ขณะเกิดพายุงวงช้างพัดกระหน่ำเข้าใส่ ส่งผลทำให้ต้นไม้อายุกว่า 30 ปี นับสิบต้น โค่นล้มระเนระนาด ทับอาคารเรียน เสาไฟฟ้าแรงสูง จนเกิดประกายและเสียงระเบิดดังสนั่นหวั่นไหว นอกจากนี้ยังพัดกระเบื้องหลังคาวัดที่อยู่ใกล้ปลิวว่อนหลุดหายไปทั้งแถบ
ต่อมาผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปยังสวนผลไม้ พื้นที่หมู่ 2 และหมู่ 4 ต.วันยาว อ.ขลุง ซึ่งเป็นสวนทุเรียนของ นายสมชาย ยิ้มสกุล อายุ 56 ปี หลังได้รับรายงานว่า มีต้นทุเรียนถูกพายุหักโค่นล้ม ได้รับความเสียหายเกือบ 80 ต้น
สอบถามนายสมชาย เจ้าของทุเรียน เปิดเผยา ตนทำสวนทุเรียนบนเนื้อที่ 7 ไร่ ปลูกทุเรียนอายุตั้งแต่ 10-15 ปี ไว้จำนวนกว่า 100 ต้น โดยช่วงเย็นวันที่ 27 ก.ค. ที่ผ่านมา มีฝนตกต่อเนื่องตลอดทั้งวัน กระทั่งเวลา 18.30 น. มีพายุลมแรงพัดเข้ามาในสวนไม่ถึง 10 นาที ตอนนั้นทั้งตกใจทั้งกลัว แต่ทำอะไรไม่ได้
นายสมชาย กล่าวต่อว่า หลังพายุฝนสงบได้รีบเข้าไปตรวจสอบ พบต้นทุเรียนพันธุ์กระดุม และหมอนทอง ถูกพายุพัดโค่นล้มได้รับความเสียหาย ทั้งหมด 71 ต้น และยังมีต้นทุเรียนในสวนฝั่งตรงข้ามของเพื่อนบ้านถูกแรงลมหักโค่นอีกจำนวน 8 ต้น
นอกจากนี้ ผู้สื่อข่าวยังได้เดินทางไปในพื้นที่หมู่ 4 ต.วันยาว อ.ขลุง หลังรับแจ้งว่า มีต้นกระบกขนาดใหญ่ อายุกว่า 200 ปี ถูกพายุพัดหักโค่นอีก 1 ต้น จากการตรวจสอบ พบต้นกระบกดังกล่าว มีขนาดลำต้นไม่ต่ำกว่า 6-7 คนโอบ มีการตั้งศาลไว้ 4 หลัง
เจ้าของบอกว่า ต้นกระบกดังกล่าวถูกพบตั้งแต่สมัยรุ่นทวด ขณะเกิดเหตุมีแม่อยู่ที่บ้าน บอกว่าเกิดพายุลมพัดแรงอย่างไม่เคยเห็นมาก่อน จนสามารถพัดต้นกระบกที่สูงใหญ่และแข็งแรงโค่นล้มลงได้ โชคดีที่ไม่มีใครในบ้านได้รับบาดเจ็บ.