คำพูดที่ว่า “ปีนี้ ร้อนกว่าปีที่แล้วอีกนะ” ไม่ใช่คำบ่นลอย ๆ ตามอารมณ์คนเมื่อต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่ร้อนจัดในปี 2024 แต่คำพูดนี้ถูกยืนยันแล้วจากสถาบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโคเปอร์นิคัสของสหภาพยุโรป หรือ CS3 ที่ระบุว่าปี 2024 เป็นปีที่โลกร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์
จูเลียน นิโคลัส นักวิทยาศาสตร์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของ CS3 เปิดเผยว่าอุณหภูมิของเดือนมกราคม ปี 2024 นั้นสูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปี 2023 ซึ่งเป็นปีที่ถูกจัดอันดับให้เป็นปีร้อนที่สุดของโลก นับตั้งแต่ข้อมูลนี้ถูกบันทึกไว้ตั้งแต่ปี 1850 โดยอุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างผิดปกตินี้ มีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ และปรากฏการณ์เอลนีโญ ซึ่งทำให้น้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกอุ่นขึ้น โลกจึงมีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นนั่นเอง
“ใครที่ติดตามข่าวการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ก็คงจะเคยได้ยินว่าปี 2023 ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์แล้ว แต่ปี 2024 นี้อุณหภูมิพุ่งสูงขึ้นอย่างผิดปกติ อุณหภูมิโลกเฉลี่ยสูงขึ้น 1.62 องศาเซลเซียส และทำสถิติใหม่ที่สูงกว่าปีที่แล้ว ซึ่งอยู่ที่ 1.48 องศาเซลเซียส” ผู้เชี่ยวชาญของ CS3 กล่าว
แล้วการที่ 2024 เป็นปีที่โลกร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ ส่งผลกระทบอย่างไรต่อมนุษย์บ้าง ?
ในปี 2024 เกิดคลื่นความร้อนในหลายพื้นที่ทั่วโลก และทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายพันคน เช่น แถบซาเฮล (Sahel) พื้นที่รอยต่อบริเวณทะเลทรายซาฮารา ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ของ 11 ประเทศในทวีปแอฟริกา ขณะที่ผลกระทบต่อเอเชียหลายประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์และกัมพูชา รัฐบาลตัดสินใจประกาศหยุดการเรียนการสอนเพื่อปกป้องสุขภาพของนักเรียนจากความร้อน
ช่วงกลางปี 2024 รัฐบาลอินเดียสั่งให้แรงงานหยุดการทำงานกลางแจ้งในช่วงเวลากลางวัน หลังเจอกับอากาศร้อนจัด 52.9 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิสูงที่สุดเท่าที่อินเดียเคยบันทึกมา และทำให้มีประชาชนกว่า 50 ราย เสียชีวิตจากภาวะภาวะฮีตสโตรก (Heat Stroke) ขณะเดียวกันประเทศเพื่อนบ้านอย่างปากีสถานต้องประสบกับสภาพอากาศที่ร้อนจัด ซึ่งทำให้พืชผลผลิตทางการเกษตรหลายหมื่นไร่ต้องถูกทำลายอีกด้วย
สภาพอากาศที่ร้อนจัดเป็นแค่ส่วนยอดของภูเขาน้ำแข็งแห่งความแปรปรวนทางสภาพอากาศเท่านั้น เพราะตลอดปี 2024 โลกเผชิญกับสภาพอากาศที่เลวร้ายอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี ไม่ว่าจะเป็นฝนที่ตกหนักจนเหมือนฟ้าถล่ม ทำให้เกิดอุทกภัยในอัฟกานิสถานและปากีสถานครั้งรุนแรงที่สุดในรอบ 30 ปี คร่าชีวิตผู้คนไป 1,084 ราย ขณะที่พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นยางิ ถูกนับเป็นเหตุภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงที่สุดของเอเชียในปีนี้ และรุนแรงเป็นอันดับ 2 ของโลก ส่งผลทำให้ประชาชนในจีน เวียดนาม และภาคเหนือของไทย ได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จนทำให้ยอดผู้เสียชีวิต 844 ราย
น้ำท่วมในปากีสถาน น้ำท่วมในปากีสถาน
ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มากกว่าความร้อน
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต และทำให้ผู้พลัดถิ่นพึ่งพาตนเองได้ยากขึ้น โดยมีการคาดการณ์ว่าภัยพิบัติจากความหิวโหยและโรคภัยไข้เจ็บอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 400,000 คนต่อปี และจะเพิ่มขึ้นเป็น 700,000 คนต่อปีภายในปี 2030 รวมถึงทำให้เศรษฐกิจโลกสูญเสีย 2.5% ของ GDP ในแต่ละปีอีกด้วย
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดแผ่นดินไหวอีกด้วย จอห์น แคสซิดี นักธรณีวิทยาแผ่นดินไหวจากสำนักงานสำรวจธรณีวิทยาของแคนาดาและมหาวิทยาลัยวิกตอเรีย อธิบายว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจทำให้เกิดแผ่นดินไหวถี่ขึ้น และรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นทำให้ธารน้ำแข็งละลาย เมื่อน้ำที่ละลายจากธารน้ำแข็งไหลออกลงสู่ทะเล แผ่นดินที่เคยอยู่ใต้ธารน้ำแข็งก็จะยกตัวสูงขึ้น
แคสซิดีเปรียบเทียบปรากฏการณ์นี้กับการต้มเส้นบะหมี่ เขาอธิบายว่าเมื่อเราต้มเส้นบะหมี่ในหม้อด้วยการใช้ที่คีบกดลงไป เส้นก็จะจมอยู่อย่างนั้นตราบเท่าที่มีแรงกดเอาไว้ แต่เมื่อเราปล่อยที่คีบ เส้นก็จะลอยขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งการเปรียบเทียบเส้นบะหมี่กับแผ่นดินนี้ ทำให้เห็นภาพชัดขึ้นว่าธารน้ำแข็งที่มีแรงกดต่อแผ่นดินน้อยลงเนื่องจากการละลาย จะส่งผลอย่างไรต่อแผ่นดินที่เคยอยู่ใต้ธารน้ำแข็ง ทั้งนี้ แผ่นดินไหวไม่ได้ทำให้เกิดความเสียหายเนื่องจากการเคลื่อนตัวของแผ่นดินเท่านั้น แต่ยังมีผลกระทบต่าง ๆ ตามมา เช่น ไฟไหม้ ดินถล่ม และสึนามิ
แผ่นดินไหวขนาด 7.5 เขย่าญี่ปุ่นรับวันปีใหม่
เมื่อวันที่ 1 มกราคม ปี 2024 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ผู้คนทั่วโลกกำลังเฉลิมฉลองกับการก้าวเข้าสู่ศักราชใหม่ แต่ไม่ใช่กับญี่ปุ่น โดยเวลา 16.10 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) เกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาด 7.5 ที่คาบสมุทรโนโตะ จังหวัดอิชิกาวะ และได้สร้างความเสียหายใหญ่หลวง โดยมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 57 คน ข้อมูลจาก NHK ระบุว่ามีผู้ติดอยู่ใต้ซากอาคารในเมืองวาจิมะ ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด
เหตุแผ่นดินไหวในครั้งนั้น ทำให้เกิดอาคารถล่ม ไฟไหม้ และเกิดคลื่นสึนามิขนาดเล็ก 1.2 เมตร ในเมืองซูสุ เจ้าหน้าที่หลายร้อยคน รวมถึงกองกำลังป้องกันตัวเองของญี่ปุ่น (SDF) ถูกส่งไปยังพื้นที่เพื่อช่วยเหลือผู้รอดชีวิต ขณะที่ถนนถูกตัดขาด และอาคารกว่า 200 หลังในถนนอาซาอิจิ ย่านตลาดยอดนิยมของเมืองวาจิมะ ถูกไฟไหม้ทั้งหมด
อดีตนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น ฟูมิโอะ คิชิดะ ระบุว่าการช่วยเหลือกำลังดำเนินการ โดยใช้ทั้งทางบก อากาศ และทะเล ขณะเดียวกัน ประชาชนกว่า 27,700 คน ยังคงพักอยู่ในศูนย์อพยพ 336 แห่ง แม้ว่าความเสียหายจากแผ่นดินไหวในครั้งนี้จะไม่อยู่ในระดับเดียวกับแผ่นดินไหวเมื่อปี 2011 ซึ่งทำให้เกิดภัยพิบัติฟุกุชิมะ แต่เหตุการณ์นี้ก็ยังเตือนให้เห็นถึงความเปราะบางของพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงต่อแผ่นดินไหวในญี่ปุ่น
ไต้หวันแผ่นดินไหวรุนแรง เสียหายหนักทั้งชีวิตและเศรษฐกิจ
วันที่ 2 เมษายน ปี 2024 เกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาด 7.4 ใกล้เมืองฮวาเหลียนของไต้หวัน และสร้างความสูญเสียครั้งใหญ่ เหตุการณ์นี้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 17 คน บาดเจ็บกว่า 1,100 คน อาคาร 870 หลังพังเสียหาย และทำให้เกิดดินถล่มครั้งใหญ่ที่กักขังผู้คนในอุโมงค์และหมู่บ้านห่างไกล รวมถึงเกิดคลื่นสึนามิในพื้นที่ใกล้เคียง ที่แม้ว่าจะมีระบบเตือนภัยล่วงหน้าเพื่อช่วยลดความเสียหาย แต่ผลกระทบก็ยังคงรุนแรง
เหตุแผ่นดินไหวในครั้งนั้นประเมินเป็นมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจราว 28,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และทำให้เกิดการยกเครื่องเหตุแผ่นดินไหวในไต้หวันครั้งใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นแผนรับมือความเสียหายในระยะยาว การก่อสร้างอาคารใหม่ การปรับปรุงมาตรฐานอาคาร ระบบเตือนภัยล่วงหน้าที่ดีขึ้น ไปจนถึงความช่วยเหลือด้านการเงินและการเยียวยาจิตใจของผู้ประสบภัย ทั้งนี้ เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดจากการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกยูเรเชียนและฟิลิปปินส์ในบริเวณวงแหวนแห่งไฟแปซิฟิก ซึ่งทำให้พื้นที่นี้มีความเสี่ยงต่อแผ่นดินไหวสูง
แผ่นดินไหวในไต้หวัน ทำให้อาคารถล่ม แผ่นดินไหวในไต้หวัน ทำให้อาคารถล่ม
ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีความเป็นรูปธรรมมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งในแง่ของการสูญเสียชีวิต มูลค่าทางเศรษฐกิจ และอุณหภูมิโลกเฉลี่ยที่เพิ่มสูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ไม่ได้หมายความว่าความพยายามของข้อตกลงปารีส ซึ่งเป็นความร่วมมือระดับนานาชาติในการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะสูญเปล่า แต่สัญญาณเหล่านี้คือภาพสะท้อนของความเร่งด่วนและจริงจังในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องในแต่ละภาคส่วนและทุกคนบนโลกต้องร่วมมือกัน เพื่อการดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมาย และฟื้นฟูโลกให้กลับมาเป็นดาวเคราะห์สีฟ้าที่ร่มรื่นอีกครั้ง
ข้อมูลจาก:
https://www.amarintv.com/spotlight/world/503248
ที่สุดแห่งปี 2024 การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ โลกร้อนสุดเป็นประวัติการณ์
จูเลียน นิโคลัส นักวิทยาศาสตร์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของ CS3 เปิดเผยว่าอุณหภูมิของเดือนมกราคม ปี 2024 นั้นสูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปี 2023 ซึ่งเป็นปีที่ถูกจัดอันดับให้เป็นปีร้อนที่สุดของโลก นับตั้งแต่ข้อมูลนี้ถูกบันทึกไว้ตั้งแต่ปี 1850 โดยอุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างผิดปกตินี้ มีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ และปรากฏการณ์เอลนีโญ ซึ่งทำให้น้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกอุ่นขึ้น โลกจึงมีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นนั่นเอง
“ใครที่ติดตามข่าวการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ก็คงจะเคยได้ยินว่าปี 2023 ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์แล้ว แต่ปี 2024 นี้อุณหภูมิพุ่งสูงขึ้นอย่างผิดปกติ อุณหภูมิโลกเฉลี่ยสูงขึ้น 1.62 องศาเซลเซียส และทำสถิติใหม่ที่สูงกว่าปีที่แล้ว ซึ่งอยู่ที่ 1.48 องศาเซลเซียส” ผู้เชี่ยวชาญของ CS3 กล่าว
แล้วการที่ 2024 เป็นปีที่โลกร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ ส่งผลกระทบอย่างไรต่อมนุษย์บ้าง ?
ในปี 2024 เกิดคลื่นความร้อนในหลายพื้นที่ทั่วโลก และทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายพันคน เช่น แถบซาเฮล (Sahel) พื้นที่รอยต่อบริเวณทะเลทรายซาฮารา ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ของ 11 ประเทศในทวีปแอฟริกา ขณะที่ผลกระทบต่อเอเชียหลายประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์และกัมพูชา รัฐบาลตัดสินใจประกาศหยุดการเรียนการสอนเพื่อปกป้องสุขภาพของนักเรียนจากความร้อน
ช่วงกลางปี 2024 รัฐบาลอินเดียสั่งให้แรงงานหยุดการทำงานกลางแจ้งในช่วงเวลากลางวัน หลังเจอกับอากาศร้อนจัด 52.9 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิสูงที่สุดเท่าที่อินเดียเคยบันทึกมา และทำให้มีประชาชนกว่า 50 ราย เสียชีวิตจากภาวะภาวะฮีตสโตรก (Heat Stroke) ขณะเดียวกันประเทศเพื่อนบ้านอย่างปากีสถานต้องประสบกับสภาพอากาศที่ร้อนจัด ซึ่งทำให้พืชผลผลิตทางการเกษตรหลายหมื่นไร่ต้องถูกทำลายอีกด้วย
สภาพอากาศที่ร้อนจัดเป็นแค่ส่วนยอดของภูเขาน้ำแข็งแห่งความแปรปรวนทางสภาพอากาศเท่านั้น เพราะตลอดปี 2024 โลกเผชิญกับสภาพอากาศที่เลวร้ายอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี ไม่ว่าจะเป็นฝนที่ตกหนักจนเหมือนฟ้าถล่ม ทำให้เกิดอุทกภัยในอัฟกานิสถานและปากีสถานครั้งรุนแรงที่สุดในรอบ 30 ปี คร่าชีวิตผู้คนไป 1,084 ราย ขณะที่พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นยางิ ถูกนับเป็นเหตุภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงที่สุดของเอเชียในปีนี้ และรุนแรงเป็นอันดับ 2 ของโลก ส่งผลทำให้ประชาชนในจีน เวียดนาม และภาคเหนือของไทย ได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จนทำให้ยอดผู้เสียชีวิต 844 ราย
น้ำท่วมในปากีสถาน น้ำท่วมในปากีสถาน
ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มากกว่าความร้อน
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต และทำให้ผู้พลัดถิ่นพึ่งพาตนเองได้ยากขึ้น โดยมีการคาดการณ์ว่าภัยพิบัติจากความหิวโหยและโรคภัยไข้เจ็บอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 400,000 คนต่อปี และจะเพิ่มขึ้นเป็น 700,000 คนต่อปีภายในปี 2030 รวมถึงทำให้เศรษฐกิจโลกสูญเสีย 2.5% ของ GDP ในแต่ละปีอีกด้วย
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดแผ่นดินไหวอีกด้วย จอห์น แคสซิดี นักธรณีวิทยาแผ่นดินไหวจากสำนักงานสำรวจธรณีวิทยาของแคนาดาและมหาวิทยาลัยวิกตอเรีย อธิบายว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจทำให้เกิดแผ่นดินไหวถี่ขึ้น และรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นทำให้ธารน้ำแข็งละลาย เมื่อน้ำที่ละลายจากธารน้ำแข็งไหลออกลงสู่ทะเล แผ่นดินที่เคยอยู่ใต้ธารน้ำแข็งก็จะยกตัวสูงขึ้น
แคสซิดีเปรียบเทียบปรากฏการณ์นี้กับการต้มเส้นบะหมี่ เขาอธิบายว่าเมื่อเราต้มเส้นบะหมี่ในหม้อด้วยการใช้ที่คีบกดลงไป เส้นก็จะจมอยู่อย่างนั้นตราบเท่าที่มีแรงกดเอาไว้ แต่เมื่อเราปล่อยที่คีบ เส้นก็จะลอยขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งการเปรียบเทียบเส้นบะหมี่กับแผ่นดินนี้ ทำให้เห็นภาพชัดขึ้นว่าธารน้ำแข็งที่มีแรงกดต่อแผ่นดินน้อยลงเนื่องจากการละลาย จะส่งผลอย่างไรต่อแผ่นดินที่เคยอยู่ใต้ธารน้ำแข็ง ทั้งนี้ แผ่นดินไหวไม่ได้ทำให้เกิดความเสียหายเนื่องจากการเคลื่อนตัวของแผ่นดินเท่านั้น แต่ยังมีผลกระทบต่าง ๆ ตามมา เช่น ไฟไหม้ ดินถล่ม และสึนามิ
แผ่นดินไหวขนาด 7.5 เขย่าญี่ปุ่นรับวันปีใหม่
เมื่อวันที่ 1 มกราคม ปี 2024 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ผู้คนทั่วโลกกำลังเฉลิมฉลองกับการก้าวเข้าสู่ศักราชใหม่ แต่ไม่ใช่กับญี่ปุ่น โดยเวลา 16.10 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) เกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาด 7.5 ที่คาบสมุทรโนโตะ จังหวัดอิชิกาวะ และได้สร้างความเสียหายใหญ่หลวง โดยมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 57 คน ข้อมูลจาก NHK ระบุว่ามีผู้ติดอยู่ใต้ซากอาคารในเมืองวาจิมะ ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด
เหตุแผ่นดินไหวในครั้งนั้น ทำให้เกิดอาคารถล่ม ไฟไหม้ และเกิดคลื่นสึนามิขนาดเล็ก 1.2 เมตร ในเมืองซูสุ เจ้าหน้าที่หลายร้อยคน รวมถึงกองกำลังป้องกันตัวเองของญี่ปุ่น (SDF) ถูกส่งไปยังพื้นที่เพื่อช่วยเหลือผู้รอดชีวิต ขณะที่ถนนถูกตัดขาด และอาคารกว่า 200 หลังในถนนอาซาอิจิ ย่านตลาดยอดนิยมของเมืองวาจิมะ ถูกไฟไหม้ทั้งหมด
อดีตนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น ฟูมิโอะ คิชิดะ ระบุว่าการช่วยเหลือกำลังดำเนินการ โดยใช้ทั้งทางบก อากาศ และทะเล ขณะเดียวกัน ประชาชนกว่า 27,700 คน ยังคงพักอยู่ในศูนย์อพยพ 336 แห่ง แม้ว่าความเสียหายจากแผ่นดินไหวในครั้งนี้จะไม่อยู่ในระดับเดียวกับแผ่นดินไหวเมื่อปี 2011 ซึ่งทำให้เกิดภัยพิบัติฟุกุชิมะ แต่เหตุการณ์นี้ก็ยังเตือนให้เห็นถึงความเปราะบางของพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงต่อแผ่นดินไหวในญี่ปุ่น
ไต้หวันแผ่นดินไหวรุนแรง เสียหายหนักทั้งชีวิตและเศรษฐกิจ
วันที่ 2 เมษายน ปี 2024 เกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาด 7.4 ใกล้เมืองฮวาเหลียนของไต้หวัน และสร้างความสูญเสียครั้งใหญ่ เหตุการณ์นี้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 17 คน บาดเจ็บกว่า 1,100 คน อาคาร 870 หลังพังเสียหาย และทำให้เกิดดินถล่มครั้งใหญ่ที่กักขังผู้คนในอุโมงค์และหมู่บ้านห่างไกล รวมถึงเกิดคลื่นสึนามิในพื้นที่ใกล้เคียง ที่แม้ว่าจะมีระบบเตือนภัยล่วงหน้าเพื่อช่วยลดความเสียหาย แต่ผลกระทบก็ยังคงรุนแรง
เหตุแผ่นดินไหวในครั้งนั้นประเมินเป็นมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจราว 28,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และทำให้เกิดการยกเครื่องเหตุแผ่นดินไหวในไต้หวันครั้งใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นแผนรับมือความเสียหายในระยะยาว การก่อสร้างอาคารใหม่ การปรับปรุงมาตรฐานอาคาร ระบบเตือนภัยล่วงหน้าที่ดีขึ้น ไปจนถึงความช่วยเหลือด้านการเงินและการเยียวยาจิตใจของผู้ประสบภัย ทั้งนี้ เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดจากการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกยูเรเชียนและฟิลิปปินส์ในบริเวณวงแหวนแห่งไฟแปซิฟิก ซึ่งทำให้พื้นที่นี้มีความเสี่ยงต่อแผ่นดินไหวสูง
แผ่นดินไหวในไต้หวัน ทำให้อาคารถล่ม แผ่นดินไหวในไต้หวัน ทำให้อาคารถล่ม
ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีความเป็นรูปธรรมมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งในแง่ของการสูญเสียชีวิต มูลค่าทางเศรษฐกิจ และอุณหภูมิโลกเฉลี่ยที่เพิ่มสูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ไม่ได้หมายความว่าความพยายามของข้อตกลงปารีส ซึ่งเป็นความร่วมมือระดับนานาชาติในการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะสูญเปล่า แต่สัญญาณเหล่านี้คือภาพสะท้อนของความเร่งด่วนและจริงจังในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องในแต่ละภาคส่วนและทุกคนบนโลกต้องร่วมมือกัน เพื่อการดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมาย และฟื้นฟูโลกให้กลับมาเป็นดาวเคราะห์สีฟ้าที่ร่มรื่นอีกครั้ง
ข้อมูลจาก: https://www.amarintv.com/spotlight/world/503248