https://www.youtube.com/watch?v=kJckBZoK8RQ&t=132s
ผมเห็นสื่อนี้ของ ThaiPBS เอานักวิชาการซักคนมาอธิบายว่า "มีคลื่นความร้อนในประเทศไทยจริง ๆ นะ"
เอาความรู้เรื่องฤดูร้อนของประเทศไทยที่ผมเข้าใจมาเนิ่นนานก่อนนะ
1. ดวงอาทิตย์ใต้ขึ้นมาจากซีกโลกใต้ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนมากขึ้นเนื่องจากรังสีของดวงอาทิตย์
2. ความกดอากาศของประเทศไทยโดยทั่วจะเป็น "หย่อมความกดอากาศต่ำ" เนื่องจากดวงอาทิตย์ส่งพลังงานความร้อนลงมาทำให้อากาศลอยขึ้นกลายเป็นความกดอากาศต่ำ
3. ลมมรสุมที่พัดเข้าสู่ประเทศไทยเป็นแค่ลมใต้หรือลมตะวันออกเฉียงใต้มีไม่มีความชื้นมากพอเหมือนลมฤดูฝน แต่ก็มากพอทำให้เกิดพายุฤดูร้อนได้
4. ฤดูร้อนของประเทศไทยกินเวลาตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ ถึง กลางเดือนพฤษภาคม (ในทางวิชาการ) หากลมใต้พัดเบากว่าปกติอากาศจะยิ่งร้อนจัดมาก เช่นปี 2567
แต่ผมดูสื่อของ ThaiPBS ก็มีอะไรที่มีข้อสังเกตอยู่
- เขาอธิบายว่าคลื่นความร้อนเกิดจากบริเวณความกดอากาศสูง ซึ่งก็ถูกต้อง และมันก็จะแผ่ไปได้ คือเคลื่อนที่ได้ พอไปอ่านนิยามของหลาย ๆ ประเทศเขาก็เขียนว่าหากอุณหภูมิสูงขึ้นฉับพลันทั้งกลางวันและกลางคืนติดต่อกัน 3 วัน (แล้วแต่นิยาม) ก็ถูกนิยามว่าเป็นคลื่นความร้อน แล้วมันก็จะคลายลงในเวลาสัปดาห์กว่า ๆ คือมันเคลื่อนที่ไปที่อื่น
แต่... ลองไปดูแผนที่อากาศของประเทศไทยตั้งแต่เริ่มมีให้ดู ผมไม่เคยเห็นว่าในฤดูร้อนตรงประเทศไทยมันจะเป็นความกดอากาศสูงเลย มันเป็นแต่ L ตลอดฤดูร้อน เพราะความร้อนจากดวงอาทิตย์ทำให้อากาศลอยตัวขึ้น และบริเวณความกดอากาศสูงที่แผ่มาถึงประเทศไทยได้มีแค่ "มวลอากาศเย็น" ที่แผ่ลงมาและปะทะเป็นพายุฤดูร้อนเท่านั้นอะ ตั้งแต่ผมเกิดมาเจออยู่แค่นี้
- แล้วอากาศร้อนในประเทศไทยมันกินเวลาตั้ง 4 เดือน แล้วร้อนกลางวัน อุณหภูมิก็ลงตอนกลางคืน (ปีที่แล้วกลางวัน 44 องศา ต่ำสุด 28 องศาก็ถือว่าลมเยอะอยู่) คลื่นความร้อนอะไรอยู่ยาวนานตั้งหลายเดือน
การอธิบายว่าอากาศร้อนขึ้นเป็นเพราะภาวะโลกร้อนมันก็เข้าใจได้ แต่การบอกว่ามีคลื่นความร้อนทำให้ประเทศไทยอากาศร้อนขึ้น มันแปลก ๆ มันอธิบายในทางอุตุนิยมวิทยาได้ยังไงอะ แล้วนักวิชาการคนนี้ไม่ได้เป็นนักอุตุนิยมวิทยาเสียด้วย เชื่อได้ไหม
ประเทศไทยอากาศร้อนเพราะ "คลื่นความร้อน" ?? จริงหรือ??
ผมเห็นสื่อนี้ของ ThaiPBS เอานักวิชาการซักคนมาอธิบายว่า "มีคลื่นความร้อนในประเทศไทยจริง ๆ นะ"
เอาความรู้เรื่องฤดูร้อนของประเทศไทยที่ผมเข้าใจมาเนิ่นนานก่อนนะ
1. ดวงอาทิตย์ใต้ขึ้นมาจากซีกโลกใต้ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนมากขึ้นเนื่องจากรังสีของดวงอาทิตย์
2. ความกดอากาศของประเทศไทยโดยทั่วจะเป็น "หย่อมความกดอากาศต่ำ" เนื่องจากดวงอาทิตย์ส่งพลังงานความร้อนลงมาทำให้อากาศลอยขึ้นกลายเป็นความกดอากาศต่ำ
3. ลมมรสุมที่พัดเข้าสู่ประเทศไทยเป็นแค่ลมใต้หรือลมตะวันออกเฉียงใต้มีไม่มีความชื้นมากพอเหมือนลมฤดูฝน แต่ก็มากพอทำให้เกิดพายุฤดูร้อนได้
4. ฤดูร้อนของประเทศไทยกินเวลาตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ ถึง กลางเดือนพฤษภาคม (ในทางวิชาการ) หากลมใต้พัดเบากว่าปกติอากาศจะยิ่งร้อนจัดมาก เช่นปี 2567
แต่ผมดูสื่อของ ThaiPBS ก็มีอะไรที่มีข้อสังเกตอยู่
- เขาอธิบายว่าคลื่นความร้อนเกิดจากบริเวณความกดอากาศสูง ซึ่งก็ถูกต้อง และมันก็จะแผ่ไปได้ คือเคลื่อนที่ได้ พอไปอ่านนิยามของหลาย ๆ ประเทศเขาก็เขียนว่าหากอุณหภูมิสูงขึ้นฉับพลันทั้งกลางวันและกลางคืนติดต่อกัน 3 วัน (แล้วแต่นิยาม) ก็ถูกนิยามว่าเป็นคลื่นความร้อน แล้วมันก็จะคลายลงในเวลาสัปดาห์กว่า ๆ คือมันเคลื่อนที่ไปที่อื่น
แต่... ลองไปดูแผนที่อากาศของประเทศไทยตั้งแต่เริ่มมีให้ดู ผมไม่เคยเห็นว่าในฤดูร้อนตรงประเทศไทยมันจะเป็นความกดอากาศสูงเลย มันเป็นแต่ L ตลอดฤดูร้อน เพราะความร้อนจากดวงอาทิตย์ทำให้อากาศลอยตัวขึ้น และบริเวณความกดอากาศสูงที่แผ่มาถึงประเทศไทยได้มีแค่ "มวลอากาศเย็น" ที่แผ่ลงมาและปะทะเป็นพายุฤดูร้อนเท่านั้นอะ ตั้งแต่ผมเกิดมาเจออยู่แค่นี้
- แล้วอากาศร้อนในประเทศไทยมันกินเวลาตั้ง 4 เดือน แล้วร้อนกลางวัน อุณหภูมิก็ลงตอนกลางคืน (ปีที่แล้วกลางวัน 44 องศา ต่ำสุด 28 องศาก็ถือว่าลมเยอะอยู่) คลื่นความร้อนอะไรอยู่ยาวนานตั้งหลายเดือน
การอธิบายว่าอากาศร้อนขึ้นเป็นเพราะภาวะโลกร้อนมันก็เข้าใจได้ แต่การบอกว่ามีคลื่นความร้อนทำให้ประเทศไทยอากาศร้อนขึ้น มันแปลก ๆ มันอธิบายในทางอุตุนิยมวิทยาได้ยังไงอะ แล้วนักวิชาการคนนี้ไม่ได้เป็นนักอุตุนิยมวิทยาเสียด้วย เชื่อได้ไหม