JJNY : ชาวนาพ้อ 20 ปีราคาข้าวโตแค่โลละสิบกว่าบาท│เอกชนห่วงกำลังซื้อวูบ│ประมูลดาวเทียมรอบ 2 จ่อล่ม!│รัสเซียใช้งบขยายสุสาน

ค่าจ้างดำนา พุ่งวันละ 400 บาท เลี้ยงข้าว-เครื่องดื่ม ชาวนาพ้อ 20 ปีราคาข้าวโตแค่โลละสิบกว่าบาท
https://www.matichon.co.th/region/news_4706688#google_vignette
 
 
ค่าจ้างดำนา พุ่งวันละ 400 บาท แถมเลี้ยงข้าว-เครื่องดื่ม ชาวนาพ้อ 20 ปี หมูเติบโต 300% ข้าวเติบโตแค่โลละ 11-12 บาท วอนรัฐบาล ช่วยเซฟรายจ่าย ไม่ต้องอุ้ม แค่พยุงหน่อยก็ยังดี 
 
เมื่อวันที่ 29 กรกฏาคม ที่บ้านหนองคูไชย ต.หนองแสง อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม เจ้าของที่นาว่าจ้างแรงงานในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียงจำนวน 15 คน มาร่วมลงแขกดำนา บนพื้นที่นา 6 ไร่ โดยปีนี้ค่าจ้างแรงงานพุ่งขึ้นไปถึง 350-400 บาท ต่อวัน จากปีก่อนอยู่ที่ 300 บาท แถมเลี้ยงอาหารกลางวัน เครื่องดื่ม  และน้ำแก้เมื่อย
 
นายพสิษฐ์ ก่อเกิดธนทรัพย์ บ้านหนองคูไชย อ.วาปีปทุม กล่าวว่า ตนได้ว่าจ้างแรงงานทั้งในหมู่บ้านและหมู่บ้างใกล้เคียงมาลงแขกดำนา โดยค่าจ้างแรงงานดำนาปีนี้อยู่ที่ 350-400 บาทต่อคนต่อวัน ซึ่งปีก่อนค่าจ้างอยู่ที่วันละ 300 บาท แต่ปีนี้ค่าแรงเพิ่มขึ้น เพราะหาแรงงานยากขึ้น แถมสภาพเศรษฐกิจก็ไม่ดี เลยอยากให้ทุกคนมีรายได้พอได้เลี้ยงปากท้อง ซึ่งนอกจากค่าแรงแล้วก็จะมีการเลี้ยงอาหารกลางวัน เครื่องดื่ม อาทิ  กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง น้ำอัดลม ยันน้ำแก้เมื่อย หลังจากเสร็จงานด้วย ซึ่งแรงงานชุดนี้ต้องจองกันข้ามเดือนตั้งแต่ตอนหว่านกล้ากันเลยทีเดียว ซึ่งจะเริ่มงานกันตั้งแต่เช้า ประมาณ 07.30 น. จนถึงเสร็จงาน
 
ส่วนปีนี้ต้นทุนการทำนาเพิ่มสูงขึ้น ตั้งแต่ค่าไถ ต้องไถ 2 รอบ ค่าถอนกล้า มัดละ 4-5 บาท ค่าปุ๋ย กระสอบละ 1,000 กว่าบาท รวมๆ แล้วก็เกือบ 20,000 บาท ซึ่งก็ภาวนาขอให้ปีนี้ข้าวราคาดี ขายข้าวได้ราคา
 
หากมองย้อนกลับไป 20 ปีที่แล้ว ราคาหมูโลละ 60 บาท ข้าวตันละ 7,000 บาท มาปัจจุบัน หมูโลละ 180-200 บาท เติบโต 300% ส่วนข้าวเติบโตมาแค่โลละ 11-12 บาท โตไม่ถึง 50% ในรอบ 20 ปี ตลาดข้าวก็กว้าง แต่ทำไมไม่ได้ราคา เราทำนาปี ทำปีละครั้ง รัฐเพิ่มราคาให้อีกได้มั้ย เพราะชาวนาเวลาเอาข้าวไปขาย  ก็ต้องไปจ่ายหนี้ ธ.ก.ส. หนี้ออมสิน บางคนขายข้าวแต่ไม่มีข้าวจะกิน ต้องเอาเงินขายข้าวกลับไปซื้อข้าว
 
ฝากไปถึงรัฐบาลว่า ถ้าใส่ใจเรื่องข้าวจริงๆ มีการกระทำมากกว่าวาทกรรมที่ว่า คนไทยมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีกินมีใช้ตลอดไปพร้อมๆ กัน อยากให้เก่งที่การกระทำมากกว่า  รัฐต้องไปหาตลาด หาดีมานซัพพลาย หาพื้นที่ขายให้ได้ราคา ไม่ใช่มากำหนดราคากับเกษตรกร โครงการไร่ละพันตอนนี้อยู่ไหน ปุ๋ยคนละครึ่งอยู่ไหน  เนื้อหาจริงๆ อยู่ไหนก็ไม่รู้ แต่หากโครงการมาจริงๆ รัฐมาช่วย ก็รับ เพราะชาวนารายรับไม่มี รัฐก็ต้องช่วยเซฟรายจ่าย จะได้อยู่ได้ ไม่ได้ให้อุ้ม แต่ให้พยุงเราหน่อยก็ยังดี
 
ด้านนางทองแตง ทูลคำรัก อายุ 70 ปี เกษตรกรบ้านไชยทอง ต.หนองแสง อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม กล่าวว่า ตนมารับจ้างดำนาทุกปี ปีนี้ทำนาตัวเองเสร็จแล้ว ก็เลยออกมารับจ้าง ได้วันละ 400 บาท ทางเจ้าของนาเลี้ยงกับข้าว ยายรับจ้างดำนามาตั้งอายุ 17 ปี ดำนาไม่ยาก แต่ต้องใช้ประสบการณ์ ซึ่งในการเตรียมตัวมาทำงานในแต่ละวัน ก็ต้องกินข้าว กินยาให้เรียบร้อย ตรงเวลา เพราะว่าเป็นโรคเบาหวาน กับไขมัน  กินข้าวเสร็จแล้วมาทำงาน ก็ทำให้ไม่เหนื่อยง่าย สามารถทำงานเรื่อยๆ ดีกว่าอยู่ที่บ้านเฉยๆ ไม่ได้ทำอะไร  ออกมาหารายได้ให้มีกินมีใช้ดีกว่า
 


เอกชนห่วงกำลังซื้อวูบ ผลกระทบศก.ชะลอตัวยาว จี้เร่งเบิกจ่ายงบพยุงครึ่งปีหลัง
https://www.matichon.co.th/economy/news_4706105

เอกชนห่วงกำลังซื้อวูบ ผลกระทบศก.ชะลอตัวยาว จี้เร่งเบิกจ่ายงบพยุงครึ่งปีหลัง
 
นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ภาพเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมานั้น เศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัวและอยู่ในภาวะการชะลอตัว ส่งผลต่อเศรษฐกิจในหลายประเทศ รวมถึงไทยด้วย โดยพบว่า กำลังซื้อของผู้บริโภคทั่วโลกปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง ภาคการส่งออกที่มีผลต่อจีดีพีในสัดส่วนขนาดใหญ่ หดตัวลงแม้ยังไม่ได้ลดลงจนถึงขั้นติดลบ แต่สัญญาณด้านการผลิตเริ่มชัดเจนขึ้นอย่างต่อเนื่องว่า มีการลดกำลังการผลิตเพื่อการส่งออก รวมถึงมีแนวโน้มที่จะหดตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้กำลังซื้อคนในประเทศปรับลดลงตามด้วย
 
นายวิศิษฐ์ กล่าวว่า เครื่องยนต์ที่มีผลต่อจีดีพีในสัดส่วนที่สูงอีกตัว เป็นเรื่องภาคการท่องเที่ยว ซึ่งในอดีตจนถึงปัจจุบัน ถือว่าเป็นตัวช่วยจีดีพีมาตลอด แต่ในภาพรวมขณะนี้พบว่า การท่องเที่ยวก็ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจมากพอสมควร ถึงแม้จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเที่ยวไทยเพิ่มขึ้นเกือบถึงระดับก่อนเกิดโควิด-19 ปี 2562 แล้ว แต่การใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่อหัวต้องยอมรับว่าปรับน้อยลง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่มีการชะลอตัว ทำให้การใช้จ่ายลดลง คือคนส่วนใหญ่ไม่กล้าใช้เงิน ถึงแม้อยากท่องเที่ยว แต่ก็เป็นการเที่ยวอย่างประหยัด ไม่เหมือนช่วงก่อนโควิดที่เศรษฐกิจยังอยู่ในช่วงขาขึ้น ทำให้มีการจับจ่ายใช้สอยมากเป็นปกติ

นายวิศิษฐ์ กล่าวว่า ครึ่งหลังของปีนี้ ตัวที่จะช่วยดันเศรษฐกิจให้เติบโต นอกจากท่องเที่ยวที่จะมีเม็ดเงินจากต่างชาติเข้ามามากขึ้นตามฤดูกาลท่องเที่ยว (ไฮซีซั่น) อีกตัวที่คาดว่าจะมาเป็นตัวช่วยในไตรมาส 3 นี้ เนื่องจากล่าช้ามามากพอสมควรคือ การใช้จ่ายของภาครัฐที่คาดหวังว่าไตรมาส 3 หากผลเชิงบวกออกมาอย่างเต็มที่ การใช้จ่ายของภาครัฐที่เหลือใช้ประมาณ 3 เดือน หากมีการอัดฉีดการใช้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพสูงสุด อาจทำให้มีการหมุนเวียนเศรษฐกิจในประเทศดีขึ้น ส่วนภาพการลงทุนไม่ว่าจะเป็นในไทยหรือต่างประเทศก็อยู่ในช่วงที่ถือว่าไม่ได้ฟื้นตัวมากนัก เนื่องจากนักลงทุนก็ต้องระมัดระวังการขยายกิจการ เพราะกำลังซื้อซื้อของผู้บริโภคยังไม่กลับมา การลงทุนหากทำแล้วยังไม่สามารถขายให้ใครเพิ่มขึ้นได้ ก็ต้องรอจังหวะต่อไป
 
จากการที่กระทรวงการคลังปรับประมาณการจีดีพีปี 2567 โตที่ 2.7% ถือว่าเป็นการเริ่มส่งสัญญาณถึงผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย เนื่องจากหากไปเทียบกับหลายประเทศในอาเซียนซึ่งอยู่ในภาวะมีโอกาสเติบโต ขณะที่ประเทศไทยยังอยู่ในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว รวมถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สะท้อนออกมาผ่านการปรับลดลง ถือเป็นเรื่องสำคัญในระยะกลางและยาว ที่รัฐบาลจะต้องหาวิธีในการปรับโครงสร้างการผลิตต่างๆ ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลก นอกเหนือจากการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นที่จะมีออกมาผ่านโครงการดิจิทัลวอลเล็ตด้วย” นายวิศิษฐ์ กล่าว



“กสทช.”ประมูลดาวเทียมรอบ 2 จ่อล่ม! ยังไม่มีเอกชนสนใจยื่นเข้าร่วม.
https://www.dailynews.co.th/news/3696236/

“กสทช.”ประมูลดาวเทียมรอบ 2 จ่อล่ม! ยังไม่มีเอกชนสนใจยื่นเข้าร่วม
 
ส่อแวว ต้องคืนวงโคจรให้ ไอทียู หลังกสทช.เปิดให้เอกชนยื่นร่วมประมูลดาวเทียมรอบ 2 ใน 2 วงโคจรที่ประมูลไม่ออก แต่ไม่มีเอกชนสนใจยื่นเข้าร่วมประมูลเลย
 
แหล่งข่าวจาก สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(สำนักงาน กสทช.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ สำนักงาน กสทช.ได้กำหนดกรอบเวลา ในการจัดการประมูลการใช้สิทธิโคจรดาวเทียม ณ ต่าแหน่งวงโคจร  50.5 ,51  องศาตะวันออก(อี ) และ 142 อี  ในลักษณะจัดชุด( แพคเก็จ) ที่ยังไม่สามารถจัดประมูลออก เนื่องจากไม่มีเอกชนรายใดสนใจเข้าร่วมประมูลเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 66 ที่ผ่านมา ทำให้ต้องนำมาจัดประมูลใหม่ เป็นครั้งที่ 2 โดยได้วางกรอบการจัดประมูล ไว้ดังนี้ คือ วันที่ 4-25 มิถุนายน 67 เปิดให้มีการรับเอกสารการคัดเลือก วันที่ 26 มิถุนายน ประชุมเพื่อชี้แจงกระบวนการคัดเลือก และการออกแบบคำขอรับอนุญาต... สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/news/3696236/

จากนั้นวันที่ 23 กรกฎาคม  เปิดให้เอกชนที่สนใจเข้ายื่นเอกสาร และหลักฐานการขอใบอนุญาต และชำระค่าพิจารณาคำขอ วางหลักประกันการขอรับใบอนุญาต  หลังจากนั้นในวันที่  13 สิงหาคม จะทำการประกาศรายชื่อผู้ผ่านคุณสมบัติ  และวันที่ 21 สิงหาคม จะนัดเอกชนที่เข้าร่วมประมูลประชุมเพื่อชี้แจง กระบวนการประมูล กฎหมายประมูล และการประมูลรอบสาธิต และวันที่ 24 สิงหาคม  จัดให้มีการประมูล ต่อจากนั้น วันที่31 สิงหาคม ภายหลัง 7 วัน จากการประมูล  ทางกสทช. จะทำการรับรองผลการประมูล

แหล่งข่าว กล่าวต่อว่า ทั้งนี้หลังจากเปิดให้รับเอกสาร มีเอกชน 2 ราย คือ  บริษัท สเปซ เทค อินโนเวชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ ไทยคม และ บริษัท พร้อม เทคนิคอล จำกัด เข้ารับเอกสารรายละเอียดในการประมูล แต่เมื่อมาถึง 23 กรกฎาคม ที่ผ่านมา  ที่เปิดให้เอกชนที่สนใจเข้ายื่นเอกสาร และหลักฐานการขอใบอนุญาต กลับไม่มีเอกชนรายใดยื่นเอกสาร เข้าร่วมประมูลแต่อย่างใด  ทำให้มีความเป็นไปได้ว่า เมื่อไม่มีเอกชนสนใจ  ซึ่งตามหลักเกณฑ์แล้ว เมื่อทางสำนักงาน กสทช.สามารถจัดการประมูลในสองวงโคจรนี้ได้ ก็ต้องส่งสิทธิการใช้งานคืนกลับให้ สหภาพโทรคมนาคม ระหว่างประเทศ (ไอทียู)

ทั้งนี้สาเหตุที่ วงโคจรทั้งสองตำแหน่ง ที่ไม่มีเอกชนเข้าร่วมประมูล น่าจะมีสาเหตุจากการเอกชน มองว่า เป็นวงโคจรที่มีพื้นที่การให้บริการที่ทับซ้อนกับของเดิมที่เอกชนมีอยู่แล้ว และก็มีคู่แข่งจาก ต่างประเทศในพื้นที่ ก็มีให้บริการอยู่แล้ว ทำให้เป็นวงโคจรที่ไม่น่า มีโอกาสที่จะทำธุรกิจอาจไม่คุ้มกับการลงทุน และยังต้องแข่งขันกับต่างประเทศ และหากเข้าร่วมประมูลและได้รับสิทธิก็ต้องเป็นภาระในการจัดหาดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรตามข้อกำหนด ไม่เช่นนั้นจะโดนค่าปรับ
 
อย่างไรก็ตามในช่วงที่ผ่านมา บอร์ด กสทช. ได้ การแก้ไขปรับปรุง และ (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาต ให้ใช้สิทธิ์ในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียม  เพื่อดึงดูดให้เอกชนสนใจเข้าร่วมประมูล อาทิปรับลดราคาลง โดยวงโคจร 50.5,51 องศาตะวันออก จากเดิม ราคา 374 ล้านบาท เหลือ 41 ล้านบาท และ วงโคจร 142 องศาตะวันออก ราคา 189 ล้านบาท เหลือ 23 ล้านบาท  แต่ก็ได้เพิ่มเงื่อนไขผลตอบแทนให้กับรัฐ เป็น X% ของรายได้ต่อปี ด้วย โดยมีขั้นต่ำเริ่มที่ 2.5% หากมีการเคาะราคาต่อครั้งก็จะต้องจ่ายเพิ่มขึ้นครั้งละ 0.25% ด้วย  แต่ยังไม่มีเอกชนสนใจ

นอกจากนี้ ยังมีประเด็นการจ่ายค่าปรับ กรณีผู้ชนะประมูลได้สิทธิวงโคจรไปแล้วไม่ สามารถนำไป ประกอบธุรกิจได้นั้น จะโดนปรับตามราคาเริ่มต้นประมูลเท่ากับราคาครั้งที่ผ่านมาคือ วงโคจร 50.5,51 องศาตะวันออก ราคา 374 ล้านบาท และ วงโคจร 142 องศาตะวันออก ราคา 189 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม แม้ว่า ได้มีการปรับลดราคาเริ่มต้นการประมูลลง แต่ก็ได้เพิ่มเงื่อนไขผลตอบแทนให้กับรัฐ เป็น X% ของรายได้ต่อปี ด้วย โดยมีขั้นต่ำเริ่มที่ 2.5% หากมีการเคาะราคาต่อครั้งก็จะต้องจ่ายเพิ่มขึ้นครั้งละ 0.25% ด้วย 
 
นอกจากได้ ยังได้ปรับเงื่อนไขการมีดาวเทียมเป็นของตนเอง จากเดิม 3 ปี เป็น 5 ปี เพื่อให้มีระยะเวลา ในการดำเนินการ ที่ผ่อนคลายมากขึ้น เพราะพื้นที่ให้บริการ ของดาวเทียมในครั้งนี้อยู่ต่างประเทศ อย่างไรก็ตามเงื่อนไข ในการนำคลื่นความถี่ขึ้นใช้งานกับดาวเทียมเพื่อรักษาสิทธิวงโคจรยังคง ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามข้อบังคับ ของ สหภาพ โทรคมนาคมระหว่างประเทศ(ไอทียู) เช่นเดิม.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่