อานิสงส์แห่งอานาปานสติ 7 ประการ

ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ์ ก็อาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่
   ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า เธอนั้น มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก
   เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่า ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว
   เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น
   เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า "เราเป็นผู้รู้พร้อมซึ่งกายยั้งปวง หายใจเข้า"
ว่า "เราย่อมรู้ชัดซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า"
ว่า "เราเป็นผู้รู้พร้อมซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก"
   เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่าใจ "เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้ระงับ หายใจเข้า" ว่า "เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้ระงับ หายใจออก"
   เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า "เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า" ว่า "เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก"
  เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า "เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า" ว่า "เราเป็นผู้รู้พร้อมซึ่งสุข หายใจออก"
   เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า "เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะจิตตสังขาร หายใจเข้า" ว่า "เราเป็นผู้รู้พร้อมซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก" ว่า "เราเป็นผู้รู้พร้อมซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก"
   เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า "เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้ระงับ หายใจเข้า" ว่า "เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้ระงับ หายใจออก"
   เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า "เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก" ว่า " หายใจออก" ว่า "เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก"
   เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า "เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจเข้า" ว่า "เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งหายใจออก"
   เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า "เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจเข้า" ว่า "เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจออก"
   เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า "เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า"
ว่า "เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก"
   เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า "เราผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า" ว่า "เราเป็นเห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก"
   เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า "เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า" ว่า "เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก"
   เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า "เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจเข้า" ว่า "เราเห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก"
   เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า "เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจเข้า" ว่า ""เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก"
   ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่.
   ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่ออานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว  อยู่อย่างนี้ ผลอานิสงส์ ๗ ประการ ย่อมเป็นสิ่งที่หวังได้.
   ผลอานิสงส์ ๗ ประการ เป็นอย่างไรเล่า ?
   ผลอานิสงส์ ๗ ประการ คือ
   ๑. การบรรลุอรหัตตผลทันทีในปัจจุบันนี้
   ๒. ถ้าไม่เช่นนั้น ย่อมบรรลุอรหัตตผลในกาลแห่งมรณะ
   ๓. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ย่อมเป็น อันตราปรินิพพายี
   ๔. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ย่อมเป็น อุปหัจจปรินิพพายี
    ๕. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ย่อมเป็น อสังขารปรินิพพายี
    ๖.ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ย่อมเป็น สสังขารปรินิพพายี
    ๗.ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ย่อมเป็น อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี
ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ผลอานิสงส์ ๗ ประการเหล่านี้ ย่อมหวังได้ ดังนี้.
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่