อานาปานสังยุต
เอกธรรมวรรคที่ ๑ /เอกธรรมสูตร /ว่าด้วยอานาปานสติ
[๑๓๐๕] พระนครสาวัตถี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม
อันหนึ่ง อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก ธรรมอันหนึ่งเป็นไฉน? คืออานาปานสติ.
[๑๓๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งปีติหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งปีติหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งสุขหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งสุขหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งจิตสังขารหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับจิตสังขารหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับจิตสังขารหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งจิตหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งจิตหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้บันเทิงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักทำจิตให้บันเทิงหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตมั่นหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตมั่นหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเปลื้องจิตหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักเปลื้องจิตหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แลย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=7590&Z=7619&pagebreak=0
*อรรถกถาสั้นมาก... แต่... อิอิ
ธรรมอย่างเอก ชื่อว่าเอกธรรม.
คำใดที่เหลืออันจะพึงกล่าวในที่นี้ คำนั้นทั้งหมดได้กล่าวไว้เสร็จแล้วในนิเทศที่ว่าด้วยอานาปานนัสสติกัมมัฏฐาน ในวิสุทธิมรรค.
**แปลว่าไปตามอ่านเพิ่มเติมเอาเองที่ตำราวิสุทธิมรรคเด้อ สำนวนในวิสุทธิมรรค vintage มากครับ
อ่านแล้วรื่นรมย์หรรษาสบายใจมาก จะขออนุญาตคัดสำนวนสบายๆมาให้อ่านกันพอออกรสชาติ
โยคาพจรเมื่อทรมานน้ำจิตอันร้ายอันจำเริญคุ้นเคยมาด้วยดื่มกินซึ่งรสอาหาร คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะนั้น
อปเนตฺวา พรากเสียจากอารมณ์มีรูปเป็นต้นแล้ว จึงเข้าไปยังป่าแลต้นไม้ที่สงัดแล้ว
พึงเอาสติต่างเชือกผูกลูกโคคือจิตเข้าไว้ในเสา คือลมอันหายใจออกหายใจเข้า แลจิตนั้นก็ดิ้นไปข้างโน้นข้างนี้
มิได้ซึ่งอารมณ์มีรูปเป็นต้น อันเคยสั่งสมมาแต่ก่อน มิอาจจะตัดเชือกคือสติให้ขาดออกได้แล้ว ก็จะทรุดแน่นอนอยู่ด้วยอุปจาร...
พระอานาปานสติกรรมฐานนี้ มุทฺธ ภูตํ เป็นยอดมงกุฏแห่งพระกรรมฐานทั้งปวง...
เกิดจตุตถฌานเป็นที่ตั้งแล้ว จะได้พิจารณาจิตเจตสิกในฌานเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และตรัสรู้ซึ่งพระอรหัตตผลฌานอันประเสริฐ...
ลักษณะพระธรรมภาวนานี้ ชื่อว่าพระกายานุปัสสนา ว่าพระสมาธิฌานได้ด้วยจำเริญธรรม
คือสติระลึกปัญญาพิจารณากาย คือลมหายใจออกเข้าอันยาวแลสั้นด้วยกาลอันช้าแลเร็วนั้น... ฯลฯ
***หาอ่านเพิ่มเติมจากวิสุทธิมรรคเล่ม ๒ เอาเองนะครับ
จึงจะถามความเห็นเพื่อนๆสมาชิก ว่า คำเหล่านี้ท่านเข้าใจว่าอย่างไรบ้าง
- เราจักรู้แจ้งจิตสังขารหายใจออก/เข้า
- เราจักทำจิตให้บันเทิงหายใจออก/เข้า
สำหรับผมแล้ว การพิจารณาลมหายใจ เช่น อานาปานสตินี้ เป็นสมถะ-วิปัสสนาที่สมบูรณ์แบบ
และสามารถเทียบเคียงวิธีการนี้กับการเจริญกรรมฐานกองอื่นได้ไม่ยาก
คุยเฟื่องเรื่อง อานปานสังยุต อะไรอย่างไรกันบ้าง
เอกธรรมวรรคที่ ๑ /เอกธรรมสูตร /ว่าด้วยอานาปานสติ
[๑๓๐๕] พระนครสาวัตถี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม
อันหนึ่ง อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก ธรรมอันหนึ่งเป็นไฉน? คืออานาปานสติ.
[๑๓๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งปีติหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งปีติหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งสุขหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งสุขหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งจิตสังขารหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับจิตสังขารหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับจิตสังขารหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งจิตหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งจิตหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้บันเทิงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักทำจิตให้บันเทิงหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตมั่นหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตมั่นหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเปลื้องจิตหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักเปลื้องจิตหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แลย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=7590&Z=7619&pagebreak=0
*อรรถกถาสั้นมาก... แต่... อิอิ
ธรรมอย่างเอก ชื่อว่าเอกธรรม.
คำใดที่เหลืออันจะพึงกล่าวในที่นี้ คำนั้นทั้งหมดได้กล่าวไว้เสร็จแล้วในนิเทศที่ว่าด้วยอานาปานนัสสติกัมมัฏฐาน ในวิสุทธิมรรค.
**แปลว่าไปตามอ่านเพิ่มเติมเอาเองที่ตำราวิสุทธิมรรคเด้อ สำนวนในวิสุทธิมรรค vintage มากครับ
อ่านแล้วรื่นรมย์หรรษาสบายใจมาก จะขออนุญาตคัดสำนวนสบายๆมาให้อ่านกันพอออกรสชาติ
โยคาพจรเมื่อทรมานน้ำจิตอันร้ายอันจำเริญคุ้นเคยมาด้วยดื่มกินซึ่งรสอาหาร คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะนั้น
อปเนตฺวา พรากเสียจากอารมณ์มีรูปเป็นต้นแล้ว จึงเข้าไปยังป่าแลต้นไม้ที่สงัดแล้ว
พึงเอาสติต่างเชือกผูกลูกโคคือจิตเข้าไว้ในเสา คือลมอันหายใจออกหายใจเข้า แลจิตนั้นก็ดิ้นไปข้างโน้นข้างนี้
มิได้ซึ่งอารมณ์มีรูปเป็นต้น อันเคยสั่งสมมาแต่ก่อน มิอาจจะตัดเชือกคือสติให้ขาดออกได้แล้ว ก็จะทรุดแน่นอนอยู่ด้วยอุปจาร...
พระอานาปานสติกรรมฐานนี้ มุทฺธ ภูตํ เป็นยอดมงกุฏแห่งพระกรรมฐานทั้งปวง...
เกิดจตุตถฌานเป็นที่ตั้งแล้ว จะได้พิจารณาจิตเจตสิกในฌานเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และตรัสรู้ซึ่งพระอรหัตตผลฌานอันประเสริฐ...
ลักษณะพระธรรมภาวนานี้ ชื่อว่าพระกายานุปัสสนา ว่าพระสมาธิฌานได้ด้วยจำเริญธรรม
คือสติระลึกปัญญาพิจารณากาย คือลมหายใจออกเข้าอันยาวแลสั้นด้วยกาลอันช้าแลเร็วนั้น... ฯลฯ
***หาอ่านเพิ่มเติมจากวิสุทธิมรรคเล่ม ๒ เอาเองนะครับ
จึงจะถามความเห็นเพื่อนๆสมาชิก ว่า คำเหล่านี้ท่านเข้าใจว่าอย่างไรบ้าง
- เราจักรู้แจ้งจิตสังขารหายใจออก/เข้า
- เราจักทำจิตให้บันเทิงหายใจออก/เข้า
สำหรับผมแล้ว การพิจารณาลมหายใจ เช่น อานาปานสตินี้ เป็นสมถะ-วิปัสสนาที่สมบูรณ์แบบ
และสามารถเทียบเคียงวิธีการนี้กับการเจริญกรรมฐานกองอื่นได้ไม่ยาก