ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติสมาธินี้แล เป็นธรรมอันเอก
ซึ่งเมื่อบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำสติปัฏฐานทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์;
สติปัฏฐานทั้ง ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำโพชฌงค์ทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์;
โพชฌงค์ทั้ง ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้ มากแล้ว ย่อมทำวิชชา และวิมุตติ ให้บริบูรณ์ได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติอันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้ว อย่างไร จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า
เธอนั้น มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่งกายทั้งปวง (สพฺพกายปฏิสำเวที) หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ (ปสฺสมฺภยำ กายสงฺขารำ) หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจออก
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ (ปีติปฏิสำเวที) หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้รู้ พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่งสุข (สุขปฏิสำเวที) หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่งจิตตสังขาร (จิตฺตสงฺขารปฏิสำเวที) หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ (ปสฺสมฺภยำ จิตฺตสงฺขารำ) หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ หายใจออก
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่งจิต (จิตฺตปฏิสำเวที) หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้รู้ พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้ทำจิต ให้ปราโมทย์ยิ่ง (อภิปฺปโมทยำ จิตฺตำ) หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจออก
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้ทำจิต ให้ตั้งมั่น (สมาท จิตฺตำ) หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้ทำจิต ให้ตั้งมั่น หายใจออก
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้ทำจิต ให้ปล่อยอยู่ (วิโมจยำ จิตฺตำ) หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้ทำ จิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้เห็นซึ่ง ความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ (อนิจฺจานุปสฺสี) หายใจเข้า ว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้เห็นซึ่ง ความจางคลายอยู่เป็นประจำ (วิราคานุปสฺสี) หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ(นิโรธานุปสฺสี)หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้เห็นซึ่ง ความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ(ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี) หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก
ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมมีผลใหญ่มีอนิสงส์ใหญ่
ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่ออานาปานสติอันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วอยู่อย่างนี้ ผลอานิสงส์อย่างใด อย่างหนึ่ง ในบรรดาผล ๒ ประการ เป็นสิ่งที่หวังได้
คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือว่าถ้ายังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็จักเป็น อนาคามี
อานาปานสติสมาธินี้แล เป็นธรรมอันเอกซึ่งเมื่อบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำสติปัฏฐานทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์
ซึ่งเมื่อบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำสติปัฏฐานทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์;
สติปัฏฐานทั้ง ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำโพชฌงค์ทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์;
โพชฌงค์ทั้ง ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้ มากแล้ว ย่อมทำวิชชา และวิมุตติ ให้บริบูรณ์ได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติอันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้ว อย่างไร จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า
เธอนั้น มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่งกายทั้งปวง (สพฺพกายปฏิสำเวที) หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ (ปสฺสมฺภยำ กายสงฺขารำ) หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจออก
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ (ปีติปฏิสำเวที) หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้รู้ พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่งสุข (สุขปฏิสำเวที) หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่งจิตตสังขาร (จิตฺตสงฺขารปฏิสำเวที) หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ (ปสฺสมฺภยำ จิตฺตสงฺขารำ) หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ หายใจออก
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่งจิต (จิตฺตปฏิสำเวที) หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้รู้ พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้ทำจิต ให้ปราโมทย์ยิ่ง (อภิปฺปโมทยำ จิตฺตำ) หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจออก
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้ทำจิต ให้ตั้งมั่น (สมาท จิตฺตำ) หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้ทำจิต ให้ตั้งมั่น หายใจออก
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้ทำจิต ให้ปล่อยอยู่ (วิโมจยำ จิตฺตำ) หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้ทำ จิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้เห็นซึ่ง ความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ (อนิจฺจานุปสฺสี) หายใจเข้า ว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้เห็นซึ่ง ความจางคลายอยู่เป็นประจำ (วิราคานุปสฺสี) หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ(นิโรธานุปสฺสี)หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้เห็นซึ่ง ความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ(ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี) หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก
ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมมีผลใหญ่มีอนิสงส์ใหญ่
ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่ออานาปานสติอันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วอยู่อย่างนี้ ผลอานิสงส์อย่างใด อย่างหนึ่ง ในบรรดาผล ๒ ประการ เป็นสิ่งที่หวังได้
คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือว่าถ้ายังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็จักเป็น อนาคามี