สรกล อดุลยานนท์ นักเขียนนามปากกา “หนุ่มเมืองจันท์” เขียน 6 เรื่องเล่านักธุรกิจเมืองไทย เรื่องที่น่าเศร้าประเทศมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร ?
วันที่ 15 กรกฎาคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสรกล อดุลยานนท์ นักเขียนและที่ปรึกษาด้านธุรกิจ นามปากกา “หนุ่มเมืองจันท์” ได้เขียนบทความในเฟซบุ๊ก ระบุถึงเรื่องเล่าที่เขาได้พูดคุยกับนักธุรกิจเมืองไทย
6 เรื่องเศร้าของเมืองไทย
1.มีผู้บริหารหนุ่มคนหนึ่ง ไปร่วมประชุม Summer Davos Forum ที่เมืองต้าเหลียง สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนของผู้นำระดับสูงและหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วโลก
เขาเล่าว่าผู้นำประเทศใหญ่ ๆ และนักลงทุนก็จะมาพูดคุยกับตัวแทนของไทยเหมือนกับประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน
แต่ที่ผิดปกติก็คือ…เขาเปรียบเทียบว่าเหมือนเราเป็นผู้หญิง หนุ่ม ๆ ก็มาคุยกับเราเหมือนคุยกับสาวเวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฯลฯ พูดคุยกันดีมาก แต่ตอนจบ หนุ่มคนนี้ขอเบอร์ทุกคน ยกเว้นเรา
2.ผู้ใหญ่ด้านการเงินคนหนึ่ง เล่าว่าทุกปีเขาจะพาบริษัทยักษ์ใหญ่ของเมืองไทยที่อยู่ในตลาดหุ้นไปโรดโชว์คุยกับนักลงทุนใหญ่ของโลก เพื่อดึงดูดให้เขามาลงทุนในหุ้นบริษัทตัวเอง แต่ปีนี้เป็นปีแรก ที่โทร.ไปหานักลงทุนใหญ่ ๆ แล้วไม่มีใครอยากนัดคุยกับเรา เหมือนกับรู้สึกว่า …เสียเวลา
3.ผู้บริหารระดับสูงด้านการเงินอีกคนหนึ่ง เล่าว่าเขาไปเปิดสาขาที่เวียดนาม เจอคนเวียดนามทำงานแล้วตกใจ ทุกคนขยันมาก ทำงานดึก ๆ แทบทุกวัน เลิกงานแล้วไม่ยอมเลิก หลังโควิด เรียกพนักงานที่ทำงาน work from home กลับเข้ามาทำงานที่สำนักงาน ไม่มีใครบ่ายเบี่ยงเลย
เขาเปรียบเปรยเรื่อง “ความมุ่งมั่น“ ของคนเวียดนามว่าพนักงานส่วนใหญ่ขี่มอเตอร์ไซค์มาทำงาน
“แต่ผมเห็นสายตาของเขาตอนมองรถยนต์วิ่งผ่าน เหมือนกับจะบอกตัวเองว่าวันหนึ่งกูจะขับรถยนต์บ้าง”
4.เจ้าของบริษัทวัสดุก่อสร้างใหญ่รายหนึ่ง เล่าว่าเขาเคยมีโรงงานไมัอัดของตัวเอง แต่หลายปีที่ผ่านมาเจอ “ไม้อัดจีน” ถล่มตลาด ทนอยู่ได้พักใหญ่ เขาก็ตัดสินใจปิดโรงงานไม้อัดเพราะสู้จีนไม่ได้
ตอนแรกโกรธ เพราะเชื่อว่าจีนทุ่มตลาด ตัดราคา
ล่าสุดมีนักลงทุนจีนมาขอซื้อที่ดินของเขาไปสร้างโรงงานไม้อัด ยอมจ่ายเบี้ยบ้ายรายทางทุกอย่างจนต้นทุนในการก่อสร้างโรงงานของเขาสูงกว่าคนไทย แต่พอเริ่มผลิตไม้อัด ปรากฏว่าไม้อัดที่โรงงานนี้ขายลูกค้า
ถูกกว่าที่ซื้อจากเมืองจีนอีก เมื่อเข้าไปดูโรงงาน เขารู้เลยว่าที่ไทยสู้จีนไม่ได้ ไม่ใช่เรื่องการทุ่มตลาด
แต่เป็นเรื่องประสิทธิภาพในการผลิต
5.เจ้าของโรงงานประกอบรถอีวีรายหนึ่ง เล่าว่าเขาเคยใช้คนงานไทยประกอบรถยนต์
ตัวเลขเป๊ะ ๆ จำไม่ได้ ประมาณว่าคนงานไทย 50 คน ประกอบรถอีวีได้เดือนละ 5 คัน แต่ลองใช้คนจีนมาทำบ้าง แรงงานจีน 10 คนผลิตได้เดือนละ 6 คัน
6.น้องคนหนึ่งทำธุรกิจเอสเอ็มอี เคยลองทำโฟกัสกรุ๊ปนักศึกษาจีนที่มาเรียนในเมืองไทย
เขาถามว่าทำไมเรียนจบแล้วอยากทำงานที่บ้านเรา
เธอตอบว่าข้อแรก เพราะเมืองไทยน่าอยู่..ฟังแล้วปลื้ม
ข้อที่สอง ทำงานในเมืองไทย เธอได้เปรียบเพราะพูดภาษาจีนได้ บริษัทส่วนใหญ่ต้องการ…มีเหตุผล
ข้อที่สาม ทำงานที่จีนการแข่งขันสูงมาก เธอสู้ไม่ได้ ถ้าทำงานที่จีนเธออยู่ระดับกลางถึงล่าง โอกาสที่จะขึ้นมาอยู่ระดับบน ๆ ยาก…น่าสงสาร
ข้อที่สี่ อยู่เมืองไทย ทำงานแข่งกับคนไทย “สบายมาก” เพราะเธอขยันกว่า
…เจ็บปวดมาก
ขอยืนยันว่าทุก “เรื่องเล่า” ได้ฟังมาจริง ๆ และเจ้าของเรื่องเล่าแต่ละคน เอ่ยชื่อแล้วคนส่วนใหญ่รู้จัก
ขอย้ำว่าทุกคนไม่ได้สนุกกับ ”เรื่องเล่า“ ของตัวเองเลย แต่เล่าด้วย “ความเจ็บปวด”
เมืองไทยเดินมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร ?
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ :
https://www.prachachat.net/general/news-1608083
6 เรื่องเล่าจากนักธุรกิจเมืองไทย น่าเศร้าประเทศมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร ?
วันที่ 15 กรกฎาคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสรกล อดุลยานนท์ นักเขียนและที่ปรึกษาด้านธุรกิจ นามปากกา “หนุ่มเมืองจันท์” ได้เขียนบทความในเฟซบุ๊ก ระบุถึงเรื่องเล่าที่เขาได้พูดคุยกับนักธุรกิจเมืองไทย
6 เรื่องเศร้าของเมืองไทย
1.มีผู้บริหารหนุ่มคนหนึ่ง ไปร่วมประชุม Summer Davos Forum ที่เมืองต้าเหลียง สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนของผู้นำระดับสูงและหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วโลก
เขาเล่าว่าผู้นำประเทศใหญ่ ๆ และนักลงทุนก็จะมาพูดคุยกับตัวแทนของไทยเหมือนกับประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน
แต่ที่ผิดปกติก็คือ…เขาเปรียบเทียบว่าเหมือนเราเป็นผู้หญิง หนุ่ม ๆ ก็มาคุยกับเราเหมือนคุยกับสาวเวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฯลฯ พูดคุยกันดีมาก แต่ตอนจบ หนุ่มคนนี้ขอเบอร์ทุกคน ยกเว้นเรา
2.ผู้ใหญ่ด้านการเงินคนหนึ่ง เล่าว่าทุกปีเขาจะพาบริษัทยักษ์ใหญ่ของเมืองไทยที่อยู่ในตลาดหุ้นไปโรดโชว์คุยกับนักลงทุนใหญ่ของโลก เพื่อดึงดูดให้เขามาลงทุนในหุ้นบริษัทตัวเอง แต่ปีนี้เป็นปีแรก ที่โทร.ไปหานักลงทุนใหญ่ ๆ แล้วไม่มีใครอยากนัดคุยกับเรา เหมือนกับรู้สึกว่า …เสียเวลา
3.ผู้บริหารระดับสูงด้านการเงินอีกคนหนึ่ง เล่าว่าเขาไปเปิดสาขาที่เวียดนาม เจอคนเวียดนามทำงานแล้วตกใจ ทุกคนขยันมาก ทำงานดึก ๆ แทบทุกวัน เลิกงานแล้วไม่ยอมเลิก หลังโควิด เรียกพนักงานที่ทำงาน work from home กลับเข้ามาทำงานที่สำนักงาน ไม่มีใครบ่ายเบี่ยงเลย
เขาเปรียบเปรยเรื่อง “ความมุ่งมั่น“ ของคนเวียดนามว่าพนักงานส่วนใหญ่ขี่มอเตอร์ไซค์มาทำงาน
“แต่ผมเห็นสายตาของเขาตอนมองรถยนต์วิ่งผ่าน เหมือนกับจะบอกตัวเองว่าวันหนึ่งกูจะขับรถยนต์บ้าง”
4.เจ้าของบริษัทวัสดุก่อสร้างใหญ่รายหนึ่ง เล่าว่าเขาเคยมีโรงงานไมัอัดของตัวเอง แต่หลายปีที่ผ่านมาเจอ “ไม้อัดจีน” ถล่มตลาด ทนอยู่ได้พักใหญ่ เขาก็ตัดสินใจปิดโรงงานไม้อัดเพราะสู้จีนไม่ได้
ตอนแรกโกรธ เพราะเชื่อว่าจีนทุ่มตลาด ตัดราคา
ล่าสุดมีนักลงทุนจีนมาขอซื้อที่ดินของเขาไปสร้างโรงงานไม้อัด ยอมจ่ายเบี้ยบ้ายรายทางทุกอย่างจนต้นทุนในการก่อสร้างโรงงานของเขาสูงกว่าคนไทย แต่พอเริ่มผลิตไม้อัด ปรากฏว่าไม้อัดที่โรงงานนี้ขายลูกค้า
ถูกกว่าที่ซื้อจากเมืองจีนอีก เมื่อเข้าไปดูโรงงาน เขารู้เลยว่าที่ไทยสู้จีนไม่ได้ ไม่ใช่เรื่องการทุ่มตลาด
แต่เป็นเรื่องประสิทธิภาพในการผลิต
5.เจ้าของโรงงานประกอบรถอีวีรายหนึ่ง เล่าว่าเขาเคยใช้คนงานไทยประกอบรถยนต์
ตัวเลขเป๊ะ ๆ จำไม่ได้ ประมาณว่าคนงานไทย 50 คน ประกอบรถอีวีได้เดือนละ 5 คัน แต่ลองใช้คนจีนมาทำบ้าง แรงงานจีน 10 คนผลิตได้เดือนละ 6 คัน
6.น้องคนหนึ่งทำธุรกิจเอสเอ็มอี เคยลองทำโฟกัสกรุ๊ปนักศึกษาจีนที่มาเรียนในเมืองไทย
เขาถามว่าทำไมเรียนจบแล้วอยากทำงานที่บ้านเรา
เธอตอบว่าข้อแรก เพราะเมืองไทยน่าอยู่..ฟังแล้วปลื้ม
ข้อที่สอง ทำงานในเมืองไทย เธอได้เปรียบเพราะพูดภาษาจีนได้ บริษัทส่วนใหญ่ต้องการ…มีเหตุผล
ข้อที่สาม ทำงานที่จีนการแข่งขันสูงมาก เธอสู้ไม่ได้ ถ้าทำงานที่จีนเธออยู่ระดับกลางถึงล่าง โอกาสที่จะขึ้นมาอยู่ระดับบน ๆ ยาก…น่าสงสาร
ข้อที่สี่ อยู่เมืองไทย ทำงานแข่งกับคนไทย “สบายมาก” เพราะเธอขยันกว่า
…เจ็บปวดมาก
ขอยืนยันว่าทุก “เรื่องเล่า” ได้ฟังมาจริง ๆ และเจ้าของเรื่องเล่าแต่ละคน เอ่ยชื่อแล้วคนส่วนใหญ่รู้จัก
ขอย้ำว่าทุกคนไม่ได้สนุกกับ ”เรื่องเล่า“ ของตัวเองเลย แต่เล่าด้วย “ความเจ็บปวด”
เมืองไทยเดินมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร ?
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.prachachat.net/general/news-1608083