World Bank มอง ความไม่แน่นอนของโครงการดิจิทัลวอลเล็ตทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ควรยืดการผ่อนคลายนโยบายการเงินออกไปก่อนเนื่องจากความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อจากโครงการดังกล่าว พร้อมประเมินว่า หากไม่มีดิจิทัลวอลเล็ต ตามทฤษฎีแล้วแบงก์ชาติสามารถลดดอกเบี้ยอีก 0.50% ให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้า
ธนาคารโลก (World Bank) ระบุในรายงานตามติดเศรษฐกิจไทย (Thailand Economic Monitor) ฉบับล่าสุดว่า “ถ้าไม่มีโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ตามหลัก Taylor Rule แสดงให้เห็นว่า ธปท. ยังมีพื้นที่ (Room) ให้ผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมอีก 50 bps หรืออาจลดดอกเบี้ย 0.5% ในกรณีฐาน (Baseline) หากพิจารณาถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ช้ากว่าที่คาดไว้ การปิดช่องว่างทางผลผลิตในปี 2025 หรือหลังจากนั้นที่ล่าช้าออกไป ประกอบกับคาดการณ์เงินเฟ้อที่ยังยึดเหนี่ยวกับเป้าหมายไว้ได้”
โดย World Bank ยังมองด้วยว่า ความเป็นไปได้ที่รัฐบาลจะดำเนินโครงการดิจิทัลวอลเล็ต (ที่ยังคงมีความไม่แน่นอน) อาจจะกระตุ้นการบริโภคภาคเอกชนและอาจเพิ่มแรงกดดันด้านเงินเฟ้อได้ จึงอาจทำให้การผ่อนคลายนโยบายการเงิน (Monetary Policy Accommodation) ของ ธปท. ยังไม่เกิดขึ้น เนื่องจากดิจิทัลวอลเล็ตอาจเปลี่ยนแปลงสมดุลของความเสี่ยงจากการเติบโตทางเศรษฐกิจไปสู่ภาวะเงินเฟ้อได้
โดย ดร.เกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสประจำประเทศไทย ธนาคารโลก กล่าวกับ THE STANDARD WEALTH ว่า รายงานระบุว่าโดยรวมแล้ว (กนง.) ถึงอย่างไรก็ไม่ควรลดดอกเบี้ยนโยบาย เนื่องจากความไม่แน่นอนของโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ซึ่งยังไม่ชัดเจนว่าจะเริ่มเมื่อไร ใช้งบประมาณจากส่วนไหนบ้าง และผู้ที่จะได้รับเป็นใครบ้าง ซึ่งถ้ามีรายละเอียดเราจึงจะประเมินผลได้ เพราะฉะนั้น ธปท. ควรจะคงดอกเบี้ยไว้ก่อน เนื่องจากความไม่แน่นอนของผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ
“แต่ถ้าไม่มีโครงการดิจิทัลวอลเล็ต จากคำนวนตามหลัก Taylor Rule ก็แสดงให้เห็นว่า (กนง.) มีโอกาสที่จะลดดอกเบี้ยได้ เนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัวมากกว่าที่คาด” ดร.เกียรติพงศ์ กล่าว
รายงานยังระบุด้วยว่า “ธนาคารกลางคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเป็นกลาง (Neutral) แต่ความเสี่ยงจากแรงกดดันด้านราคาที่ซ่อนอยู่ (จากมาตรการอุดหนุนก่อนหน้านี้) รวมทั้งผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการดิจิทัลวอลเล็ตต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ และอัตราเงินเฟ้อทำให้นโยบายการเงินมีความซับซ้อน”
ทั้งนี้ ตามการประเมินเบื้องต้นของ World Bank ระบุว่า ดิจิทัลวอลเล็ตอาจกระตุ้นเศรษฐกิจได้ราว 0.5-1% ของ GDP เท่านั้น แต่กลับมีต้นทุนราว 2.7% ของ GDP
ในปีนี้ ธปท. คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 2.5% ท่ามกลางแรงกดดันให้ลดอัตราดอกเบี้ยลง ซึ่งเป็นผลให้รัฐบาลหนุนให้ธนาคารพาณิชย์และธนาคารของรัฐปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับลูกค้ารายย่อย
โดยก่อนหน้านี้ธนาคารพาณิชย์รายใหญ่และธนาคารของรัฐได้ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลง 0.25% เป็นเวลา 6 เดือนภายในสิ้นเดือนเมษายน เพื่อแบ่งเบาภาระดอกเบี้ยให้กับบุคคลที่มีความเปราะบางและ SMEs ในระยะสั้น
อย่างไรก็ตาม World Bank ยังมองว่า มาตรการนี้อาจกระทบการส่งผ่านนโยบายการเงิน (Monetary Policy Transmission) และไม่น่าจะสามารถแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างในหนี้ภาคครัวเรือนได้
ที่มา : THE STANDARD WEALTH
World Bank เผย หากไม่มี ‘ดิจิทัลวอลเล็ต’ แบงก์ชาติไทยมีโอกาสลดดอกเบี้ย 0.5%
ธนาคารโลก (World Bank) ระบุในรายงานตามติดเศรษฐกิจไทย (Thailand Economic Monitor) ฉบับล่าสุดว่า “ถ้าไม่มีโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ตามหลัก Taylor Rule แสดงให้เห็นว่า ธปท. ยังมีพื้นที่ (Room) ให้ผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมอีก 50 bps หรืออาจลดดอกเบี้ย 0.5% ในกรณีฐาน (Baseline) หากพิจารณาถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ช้ากว่าที่คาดไว้ การปิดช่องว่างทางผลผลิตในปี 2025 หรือหลังจากนั้นที่ล่าช้าออกไป ประกอบกับคาดการณ์เงินเฟ้อที่ยังยึดเหนี่ยวกับเป้าหมายไว้ได้”
โดย World Bank ยังมองด้วยว่า ความเป็นไปได้ที่รัฐบาลจะดำเนินโครงการดิจิทัลวอลเล็ต (ที่ยังคงมีความไม่แน่นอน) อาจจะกระตุ้นการบริโภคภาคเอกชนและอาจเพิ่มแรงกดดันด้านเงินเฟ้อได้ จึงอาจทำให้การผ่อนคลายนโยบายการเงิน (Monetary Policy Accommodation) ของ ธปท. ยังไม่เกิดขึ้น เนื่องจากดิจิทัลวอลเล็ตอาจเปลี่ยนแปลงสมดุลของความเสี่ยงจากการเติบโตทางเศรษฐกิจไปสู่ภาวะเงินเฟ้อได้
โดย ดร.เกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสประจำประเทศไทย ธนาคารโลก กล่าวกับ THE STANDARD WEALTH ว่า รายงานระบุว่าโดยรวมแล้ว (กนง.) ถึงอย่างไรก็ไม่ควรลดดอกเบี้ยนโยบาย เนื่องจากความไม่แน่นอนของโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ซึ่งยังไม่ชัดเจนว่าจะเริ่มเมื่อไร ใช้งบประมาณจากส่วนไหนบ้าง และผู้ที่จะได้รับเป็นใครบ้าง ซึ่งถ้ามีรายละเอียดเราจึงจะประเมินผลได้ เพราะฉะนั้น ธปท. ควรจะคงดอกเบี้ยไว้ก่อน เนื่องจากความไม่แน่นอนของผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ
“แต่ถ้าไม่มีโครงการดิจิทัลวอลเล็ต จากคำนวนตามหลัก Taylor Rule ก็แสดงให้เห็นว่า (กนง.) มีโอกาสที่จะลดดอกเบี้ยได้ เนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัวมากกว่าที่คาด” ดร.เกียรติพงศ์ กล่าว
รายงานยังระบุด้วยว่า “ธนาคารกลางคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเป็นกลาง (Neutral) แต่ความเสี่ยงจากแรงกดดันด้านราคาที่ซ่อนอยู่ (จากมาตรการอุดหนุนก่อนหน้านี้) รวมทั้งผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการดิจิทัลวอลเล็ตต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ และอัตราเงินเฟ้อทำให้นโยบายการเงินมีความซับซ้อน”
ทั้งนี้ ตามการประเมินเบื้องต้นของ World Bank ระบุว่า ดิจิทัลวอลเล็ตอาจกระตุ้นเศรษฐกิจได้ราว 0.5-1% ของ GDP เท่านั้น แต่กลับมีต้นทุนราว 2.7% ของ GDP
ในปีนี้ ธปท. คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 2.5% ท่ามกลางแรงกดดันให้ลดอัตราดอกเบี้ยลง ซึ่งเป็นผลให้รัฐบาลหนุนให้ธนาคารพาณิชย์และธนาคารของรัฐปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับลูกค้ารายย่อย
โดยก่อนหน้านี้ธนาคารพาณิชย์รายใหญ่และธนาคารของรัฐได้ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลง 0.25% เป็นเวลา 6 เดือนภายในสิ้นเดือนเมษายน เพื่อแบ่งเบาภาระดอกเบี้ยให้กับบุคคลที่มีความเปราะบางและ SMEs ในระยะสั้น
อย่างไรก็ตาม World Bank ยังมองว่า มาตรการนี้อาจกระทบการส่งผ่านนโยบายการเงิน (Monetary Policy Transmission) และไม่น่าจะสามารถแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างในหนี้ภาคครัวเรือนได้
ที่มา : THE STANDARD WEALTH