ขออนุญาต แชร์ วิธีการลดการเกิด AGEs (Advanced Glycation End Products)

AGEs (สารเร่งความชรา) เกิดจาก?
Glycation คือ กระบวนการเมื่อร่างกายได้รับน้ำตาล ซึ่งไปเกาะกับโครงสร้างร่างกาย คือ โปรตีน ไขมัน จึงเกิดปฏิกิริยาเคมี ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในรูปร่าง เซลล์ผิดรูปที่แข็งกว่าเดิม มีความหยืดหยุ่นน้อย และทำให้อวัยวะเสื่อมเร็วขึ้น และก่อให้เกิดสารที่ชื่อว่า AGEs (Advanced glycation end product)

AGEs (สารเร่งความชรา) เริ่มต้นจากอาหาร!
การบริโภคอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต แป้ง และน้ำตาล ซึ่งเป็นอาหารกลุ่มที่มีระดับ Hight Glycemic Index : GI  (ดัชนีน้ำตาล:สูง) เมื่อบริโภคเข้าไปร่างกายจะดูดซึมน้ำตาลเข้ากระแสเลือด
หากระดับน้ำตาลในกระแสเลือดขึ้นเร็วเกินไป → ตับอ่อนหลั่งฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ → น้ำตาลในกระแสเลือดล้น →  น้ำตาลสะสมจะรวมกับไขมัน โปรตีน (AGEs)

การบริโภคอาหารที่ถูกการแปรรูป เช่น ขนมปัง เบเกอร์รี แป้งที่ขัดสี น้ำหวาน ไอศกรีม  
อาหารกลุ่มที่ผ่านความร้อน Millard (สีน้ำตาล) น้ำตาล + แป้ง + ความร้อน  เช่น เบเกอร์รี, พะโล้, เนื้อสัตว์แปรรูป, ปิ้ง, ย่าง, ทอด
 

การป้องกัน
1. อาหารที่มี AGEs น้อย
- อาหารไม่ผ่านการแปรรูป/ไม่ใช้ความร้อนเป็นเวลานาน, Glycemic index ต่ำ กลุ่มที่มีไฟเบอร์สูง
2. สมุนไพรไทยลดสารอนุมูลอิสระ
- มะขามป้อม, สมอไทย, ลูกยอ ,หอม , กระเทียม, ชา, ขมิ้น, มะระขี้นก, น้ำส้มสายชู, น้ำมะนาว, ตำลึง
3. อาหารเสิรม Supplement
-คาร์โนซีน(Carnosin) 
-เบนโฟไทอะมีน (Benfotiamine) วิตามินบี1
-เควอเซติน  (Quercetin)
-โรสแมรี (Rosemarry)
-Vit C
-N-Acetylcysteine (NAC)
-Glutathione
-B-Vitamin
Get moving
4. ออกกำลังกาย/เคลื่อนไหวร่างกาย
 

AGEs มากเกินไปจะทำให้เกิดอะไร?
1. ขัดขวางการทำงานของเซลล์ (Cellular transport)
2. ทำให้เกิดสารอนุมูลอิสระ ( Stimulate free radical Production)
3. กระตุ้นการอักเสบมากขึ้น (Activate Pro-Inflammatory cytokines)
4. ระบบภูมิคุ้มกันแปรปรวน Immunogenic
5. ร่างกายจะต่อต้านเนื่องจากคิดว่าเป็นสารแปลกปลอม

โรคที่เกิดจากการมี AGEs มากเกินไป
1. Cataract ต้อกระจกตาเสื่อม
2. Kidney Disease and Renal Failure ไตวาย
3. ATHEROSCLEROSIS ภาวะหลอดเลือดแข็งตัว
4. ALZHEIMER’S อัลไซเมอร์
5. ความแก่ชราของผิวพรรณ
6. Peripheral Neuropathy ปลายประสาทเสื่อม/อักเสบ

จากการวิจัยพบว่า AGEs เป็นตัวทําลายคอลลาเจน
รวมไปถึง ใยโปรตีนในผิวหนัง ส่งผลให้เกิดริ้วรอยและมีจุดด่างดําตามมา นอกจากนี้ยังมีผลกระทบต่อเซลล์สมองก่อให้เกิดโรคอัลไซเมอร์

อีกทั้งยังเป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากโมเลกุลของน้ำตาลที่ไปเกาะโปรตีนในหลอดเลือดนั้นส่งผลให้ความยืดหยุ่นของหลอดเลือดลดลง"

Three ways to prevent diabetes
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

คลิปนี้ให้ข้อมูลที่ละเอียดดีมากเกี่ยวกับโรคเบาหวาน แต่เป็นภาษาอังกฤษ (และผู้เชี่ยวชาญที่ถูกสัมภาษณ์เป็นคนสกอตแลนด์ สำเนียงจึงฟังยากเล็กน้อย) ผมจึงขอสรุปสาระสำคัญดังนี้
1.ศ. Sattar เล่าว่า คนเอเชียมีความเสี่ยงสูงกว่าคนผิวขาวในการจะเป็นโรคเบาหวานประมาณ 2-4 เท่า โดยน่าจะเป็นเพราะตับอ่อนของคนเอเชียมีสมรรถภาพต่ำกว่า ส่วนสาเหตุที่ผู้หญิงมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานน้อยกว่าผู้ชายก็เพราะว่า ผู้หญิงเก็บไขมันใต้ผิวหนัง (โดยเฉพาะที่บั้นท้ายและต้นแขนและต้นขา) ได้มากกว่าผู้ชายที่ไขมันจะเข้าไปกระจุกตัวที่อวัยวะสำคัญๆ ที่กลางท้อง

2.เบาหวานนั้น อาจจะไม่ได้เกิดการกินน้ำตาลมากเกินพอเสมอไป แต่จากการกินมากเกินไปในภาพรวมทำให้มีไขมันส่วนเกินที่เข้าไปกระจุกอยู่ในที่ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย

3.อินซูลิน ที่ผลิตโดยตับอ่อนนั้นมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการรักษาความสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อกินอาหารแป้งและ/หรือน้ำตาล ระดับน้ำตาลในเลือดจะเพิ่มสูงขึ้น อินซูลินก็จะหลั่งออกมาเพิ่มขึ้นเพื่อ “เปิดประตู” ให้น้ำตาลไหลเข้าไปเก็บเอาไว้ที่เซลล์ต่างๆ โดยเฉพาะเซลล์กล้ามเนื้อ
และพร้อมกันนั้น ระดับอินซูลินที่สูงขึ้นจะส่งสัญญาณให้ตับหยุดการผลิตน้ำตาล ในทางตรงกันข้าม ตอนนอนหลับกลางคืนที่ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ระดับอินซูลินก็จะลดต่ำลง ส่งสัญญาณให้ตับผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยความชาดแคลน เพราะร่างกายจำเป็นต้องใช้น้ำตาลตลอดเวลา โดยเฉพาะอวัยวะสำคัญๆ ที่ใช้พลังงานมาก เช่น สมองและหัวใจ เป็นต้น

4.การเข้าสู่ภาวะก่อน (เสี่ยง) เป็นเบาหวาน (pre-diabetic) จะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจมากกว่าคนที่ระดับน้ำตาลปกติประมาณ 1 เท่าตัว (ค่าน้ำตาลในเลือดประมาณ 100-125 mg/dl หรือน้ำตาลสะสม (HbA1c) 5.7-6.4%) ซึ่งการวัดน้ำตาลสะสมนั้น แม่นยำกว่า และควรให้อยู่ที่ระดับต่ำกว่า 5.7%

5.ปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เป็นโรคเบาหวานคือ การที่น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 5 กิโลกรัมหรือมากกว่า เอวเริ่มใหญ่ขึ้น (ผู้ชายไม่ควรเกิน 37 นิ้ว ผู้หญิง 34 นิ้ว) ความดันโลหิตสูงขั้น (ตัวบนเกิน 140 ตัวล่างเกิน 85) และระดับคอเลสเตอรอลสูงเกินเกณฑ์ (ท่านผู้อ่านควรทราบข้อมูลตรงนี้ครับ)

6.เมื่อเรากินอาหารมากเกินไป เราจะบังคับให้ตับอ่อนทำงานหนัก (ผลิตอินซูลินจำนวนมากตลอดเวลา) แต่ก็ยังไม่สามารถกำจัดพลังงานส่วนเกินได้จนต้องแปลงเป็นไขมันที่เข้าไปเกาะตัวที่ตับและที่กล้ามเนื้อ (และที่อื่นๆ)
แต่เมื่อมีไขมันมาเกาะตับมากขึ้น ตับจะไม่สามารถรับสัญญาณจากอินซูลิน (ดื้ออินซูลิน) ทำให้ไม่หยุดผลิตอินซูลินเมื่อสมควรหยุด เร่งให้เกิดอาการดื้ออินซูลิน กล้ามเนื้อที่มีไขมันมากขึ้นจะดื้ออินซูลินและมีความต้องการพลังงานลดลง
โดยสรุปคือ   โรคเบาหวานเกิดเพราะร่างกายเอาไขมัน (ส่วนเกิน) ไปเก็บเอาไว้ “ผิดที่ผิดทาง”

7.ภาวะเบาหวานจะทำให้อวัยวะสำคัญๆ เสื่อมสภาพ ได้แก่ ตับอ่อน ตับ (ไขมันพอกตับกับเป็นโรคที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาก) และนำไปสู่อาการไตวาย (ไม่ใช่เพราะการกินอาหารเค็มอย่างเดียว) ความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ ตาบอดและแผลหายช้า เป็นต้น
การเป็นโรคเบาหวานกำลังเพิ่มขึ้นอย่างมาก ส่วนหนึ่งเพราะภาวะเบาหวานนั้นใช้เวลาพัฒนาหลายปีและไม่ค่อยมีอาการที่ชัดเจนในตอนแรก การมีระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์สูงเป็นตัวชี้วัดความเสี่ยงของการเป็นโรคเบาหวาน
นอกจากนั้นการเป็นเบาหวานก็อาจมีอาการบางอย่าง เช่น การต้องปัสสาวะบ่อย (เพื่อขับน้ำตาลออกจากร่างกาย) การเป็นแผลบ่อยๆ และแผลหายช้า ตลอดจนความรู้สึกอ่อนเพลีย
จึงควรระมัดระวังไม่ให้น้ำหนักตัวสูงเกินเกณฑ์ โดยเฉพาะที่รอบเอวและควรออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อรักษากล้ามเนื้อให้สามารถเผาผลาญพลังงาน เพื่อไม่ให้มีส่วนเกินที่จะต้องถูกแปลงเป็นไขมันและไปพอกตับและตับอ่อน (และอวัยวะอื่นๆ) ครับ

ขอบคุณที่มา
https://www.bangkokbiznews.com/health/well-being/1122304#google_vignette
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่