อหังการ์ “นายใหญ่บุรีรัมย์” กระดานการเมืองดำเนินมาสู่จุดเปลี่ยน หลังมีการเปิดเผยรายชื่อ 200 คนที่ได้รับเลือกเป็น สว.ชุดใหม่ คาดว่าหากไม่มีอุบัติเหตุระหว่างทางเดือน ก.ค.น่าจะมีการประกาศรับรองผล และเริ่มปฏิบัติหน้าที่หลังการประชุมวุฒิสภานัดแรก
ชื่อที่ออกมาต้องบอกว่า มีเซอร์ไพรส์ โดยเฉพาะ “สมชาย วงศ์สวัสดิ์” อดีตนายกรัฐมนตรี น้องเขยของทักษิณ ชินวัตร สอบตกอย่างเหลือเชื่อ ทั้งที่ก่อนหน้านี้มีข่าววางตัวให้เป็นประธานวุฒิสภาคนใหม่เสียด้วยซ้ำ
แน่นอนว่า การที่ “สมชาย” ไม่ผ่านเข้าสู่สภาสูง นอกจากจะสั่นสะเทือนถึง “บ้านจันทร์ส่องหล้า” รวมถึงเกมอำนาจหลังจากนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
กลับกันเมื่อส่องรายชื่อ สว.รอบนี้ แค่เริ่มต้นก็เริ่มส่งสัญญาณไปถึง “กระดานการเมือง” รวมถึงแต้มต่อรองที่อาจเปลี่ยนไปหลังจากนี้
หลายฝ่ายประเมินเป็นเสียงเดียวกันรายชื่อสว.รอบนี้ ชัดเจนว่า เกินครึ่งแวดล้อมไปด้วยพลพรรคที่มีความแอบอิงแนบชิด กับ “นายใหญ่-นายรอง” รวมถึงบรรดา “ซุ้มบ้านใหญ่” สายสีน้ำเงิน
ไล่เรียงแต่ละรายชื่อ อาทิ “บิ๊กเกรียง” พล.อ.เกรียงไกร ศรีรักษ์ อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 และอดีตประธานคณะที่ปรึกษารมว.มหาดไทยและเป็นเพื่อนรัก “มท.หนู” อนุทิน ชาญวีรกูล
“67เสียง” เดดล็อกแก้รัฐธรรมนูญ
อีกอำนาจของสภาสูงชุดนี้ ที่สำคัญไม่แพ้กัน นั่นคือ พิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ต้องใช้การประชุมร่วมของสองสภา โดยนอกจากจะต้องใช้เสียงกึ่งหนึ่งแล้ว ในวาระที่หนึ่งและสาม ยังต้องใช้เสียงของ สว. อย่างน้อยหนึ่งในสาม ร่วมเห็นชอบด้วยเท่ากับว่า หากมี สว. ชุดใหม่ 200 คนจะต้องได้เสียง สว.ที่เห็นชอบ อย่างน้อย 67 เสียงฉะนั้นเมื่อฝั่งหนึ่งฝั่งใดกุมอำนาจสภาฯสูงแน่นอนว่า ย่อมถือแต้มต่อรองไว้ในมือ
องค์กรอิสระ” หมากลับตัวใหม่
อีกหนึ่งหมากลับที่ต้องจับตาคือ นั่นคือ สว.ชุดนี้จะยังคงไว้ซึ่งอำนาจในการเห็นชอบบุคคลดำรงตำแหน่งองค์กรอิสระ เช่น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการการเลือกตั้ง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน รวมถึงให้ความเห็นชอบตำแหน่งระดับสูงในหน่วยงานรัฐอื่น ๆ เช่น อัยการสูงสุด
โดยเฉพาะในยามที่บรรดาคดีความของ“บิ๊กเนมการเมือง”ที่คั่งค้างอยู่ในองค์กรต่างๆ เหล่านี้โฟกัสไปที่ศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ซึ่งเป็นองค์กรที่สามารถ“ชี้เป็นชี้ตายทางการเมือง”ได้เลยทีเดียว แต่ก็ต้องยอมรับเช่นกันว่า องค์กรอิสระบางองค์กรอยู่ในสภาวะ“ปลา2น้ำ” ปัจจุบันยังคงหลงเหลือ“สายตรง”ที่ได้รับแรงหนุนจาก“ขั้วอำนาจเก่า”ทำหน้าที่คานอำนาจอยู่
โดยเฉพาะพรรคภูมิใจไทย ซึ่งมี “คดียุบพรรค” จากกรณี “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ”อดีตเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย และอดีต รมว.คมนาคม ถือหุ้น หจก.บุรีเจริญคอนสตรัคชั่น โดยมิชอบรวมถึงคดี“จริยธรรมร้ายแรง” ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องมาจากคดีดังกล่าว ที่ยังค้างคาอยู่ในเวลานี้
ก่อนหน้านี้มีข่าวมาเป็นระยะ “คีย์แมนสีน้ำเงิน” พยายามสายตรงหาเบอร์ใหญ่ตึกไทยคู่ฟ้า รวมถึงบ้านจันทร์ฯ เพื่อเคลียร์ทางสะดวก แต่ดูเหมือนจะไม่มีสัญญาณตอบรับจากปลายทาง จนมีการจับตาว่าผลพวงจากคดีดังกล่าว อาจทำให้ภูมิใจไทยมี “แต้มต่อรอง” ลดลง บางกระแสถึงขั้นตีความไปไกลถึง“ฉากทัศน์สีน้ำเงิน” ที่เลวร้ายที่สุด ซึ่งอาจเกิด “เกมพลิกกระดาน”
ไม่ต่างจากฝั่งผู้มีอำนาจบางคนที่อาจต้องขบคิดปรับแผน “แก้เกมใหม่” หลังจากนี้ !!
ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com
สว.สีน้ำเงิน ยึดสภาสูง 61% เกมพลิกกระดาน สะเทือนบ้านจันทร์ส่องหล้า
แน่นอนว่า การที่ “สมชาย” ไม่ผ่านเข้าสู่สภาสูง นอกจากจะสั่นสะเทือนถึง “บ้านจันทร์ส่องหล้า” รวมถึงเกมอำนาจหลังจากนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
กลับกันเมื่อส่องรายชื่อ สว.รอบนี้ แค่เริ่มต้นก็เริ่มส่งสัญญาณไปถึง “กระดานการเมือง” รวมถึงแต้มต่อรองที่อาจเปลี่ยนไปหลังจากนี้
หลายฝ่ายประเมินเป็นเสียงเดียวกันรายชื่อสว.รอบนี้ ชัดเจนว่า เกินครึ่งแวดล้อมไปด้วยพลพรรคที่มีความแอบอิงแนบชิด กับ “นายใหญ่-นายรอง” รวมถึงบรรดา “ซุ้มบ้านใหญ่” สายสีน้ำเงิน
ไล่เรียงแต่ละรายชื่อ อาทิ “บิ๊กเกรียง” พล.อ.เกรียงไกร ศรีรักษ์ อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 และอดีตประธานคณะที่ปรึกษารมว.มหาดไทยและเป็นเพื่อนรัก “มท.หนู” อนุทิน ชาญวีรกูล
อีกอำนาจของสภาสูงชุดนี้ ที่สำคัญไม่แพ้กัน นั่นคือ พิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ต้องใช้การประชุมร่วมของสองสภา โดยนอกจากจะต้องใช้เสียงกึ่งหนึ่งแล้ว ในวาระที่หนึ่งและสาม ยังต้องใช้เสียงของ สว. อย่างน้อยหนึ่งในสาม ร่วมเห็นชอบด้วยเท่ากับว่า หากมี สว. ชุดใหม่ 200 คนจะต้องได้เสียง สว.ที่เห็นชอบ อย่างน้อย 67 เสียงฉะนั้นเมื่อฝั่งหนึ่งฝั่งใดกุมอำนาจสภาฯสูงแน่นอนว่า ย่อมถือแต้มต่อรองไว้ในมือ
องค์กรอิสระ” หมากลับตัวใหม่
อีกหนึ่งหมากลับที่ต้องจับตาคือ นั่นคือ สว.ชุดนี้จะยังคงไว้ซึ่งอำนาจในการเห็นชอบบุคคลดำรงตำแหน่งองค์กรอิสระ เช่น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการการเลือกตั้ง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน รวมถึงให้ความเห็นชอบตำแหน่งระดับสูงในหน่วยงานรัฐอื่น ๆ เช่น อัยการสูงสุด
โดยเฉพาะในยามที่บรรดาคดีความของ“บิ๊กเนมการเมือง”ที่คั่งค้างอยู่ในองค์กรต่างๆ เหล่านี้โฟกัสไปที่ศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ซึ่งเป็นองค์กรที่สามารถ“ชี้เป็นชี้ตายทางการเมือง”ได้เลยทีเดียว แต่ก็ต้องยอมรับเช่นกันว่า องค์กรอิสระบางองค์กรอยู่ในสภาวะ“ปลา2น้ำ” ปัจจุบันยังคงหลงเหลือ“สายตรง”ที่ได้รับแรงหนุนจาก“ขั้วอำนาจเก่า”ทำหน้าที่คานอำนาจอยู่
โดยเฉพาะพรรคภูมิใจไทย ซึ่งมี “คดียุบพรรค” จากกรณี “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ”อดีตเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย และอดีต รมว.คมนาคม ถือหุ้น หจก.บุรีเจริญคอนสตรัคชั่น โดยมิชอบรวมถึงคดี“จริยธรรมร้ายแรง” ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องมาจากคดีดังกล่าว ที่ยังค้างคาอยู่ในเวลานี้
ก่อนหน้านี้มีข่าวมาเป็นระยะ “คีย์แมนสีน้ำเงิน” พยายามสายตรงหาเบอร์ใหญ่ตึกไทยคู่ฟ้า รวมถึงบ้านจันทร์ฯ เพื่อเคลียร์ทางสะดวก แต่ดูเหมือนจะไม่มีสัญญาณตอบรับจากปลายทาง จนมีการจับตาว่าผลพวงจากคดีดังกล่าว อาจทำให้ภูมิใจไทยมี “แต้มต่อรอง” ลดลง บางกระแสถึงขั้นตีความไปไกลถึง“ฉากทัศน์สีน้ำเงิน” ที่เลวร้ายที่สุด ซึ่งอาจเกิด “เกมพลิกกระดาน”
ไม่ต่างจากฝั่งผู้มีอำนาจบางคนที่อาจต้องขบคิดปรับแผน “แก้เกมใหม่” หลังจากนี้ !!
ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com