"เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว" เมื่อเห็นคำนี้ หมายถึงอะไร?? ไอติม? พระอาทิตย์? เม็ดมะขาม? หนังยาง? หรือ ผมหน้าม้ายามต้องลม? หากถามคนซัก 10 คน คำตอบก็คงจะมีแตกต่างกันไป หรืออาจจะซ้ำกันบ้าง แล้วคำตอบไหนหล่ะเป็นคำตอบที่ถูก???
~~ในฤดูร้อน ช่วงปลายเดือนสิงหาคม ฉันชวนน้องสาวไปเก็บมะเดื่อข้างทางด้วยกัน เมื่อไปถึงต้นมะเดื่อที่ขึ้นอยู่ริมทะเลสาบ น้องก็ปีนขึ้นไปบนต้นแล้วเลือกเก็บแต่ผลที่สุกงอม ส่วนฉันไม่อยากปีนเพราะกลัวกิ่งรับน้ำหนักฉันไม่ไหวและถ้ามันหักก็น่าเสียดาย ก็เลยเดินเล่นถ่ายรูปและบันทึกวีดีโออยู่ใกล้ๆ ไปเรื่อยๆ
"โห พี่ดูสิ ลูกใหญ่มาก" น้องบอกปนดีใจ แล้วยื่นให้ฉันที่กำลังก้มๆเงยๆเก็บภาพอยู่ด้านล่าง ดูความใหญ่ของผลมะเดื่อที่เกือบเต็มกำมือ
ฉันยิ้มรับพร้อมบอก "เก็บระวังนะ อย่าไปยืนบนกิ่งอ่อนๆ และวางเท้าดีๆระวังลื่น ตอนเช้าแบบนี้ กิ่งไม้ยังเปียกชื้น"
"โอเค" น้องตอบรับคำ แล้วโน้มกิ่งมะเดื่อด้านบนลงมา เพื่อเก็บผลมะเดื่อที่อยู่ไกลจนเกินเอื้อมมือไปถึง
"เย็นจัง" เสียงน้องบอกมาอีก ฉันจึงมองกลับขึ้นไปและเห็นน้องกำลังกำๆมะเดื่อ แล้วเอามาแนบกับผิวแก้ม~~
.
ครั้งก่อนที่ไปเก็บมะเดื่อริมคลองอีกที่ ที่อยู่แถวบ้านฉัน น้องปีนข้ามรั้วกั้นแล้วเด็ดผลสุกมากิน น้องก็บอกฉันอย่างนี้เหมือนกัน ว่าเนื้อมะเดื่อมีความเย็น ฉันซึ่งเดินเล่นเก็บมะเดื่อกินมาหลายปี กลับไม่เคยสังเกตเรื่องพวกนี้เลย สำหรับฉันมันหวานและมีความเลิศรส เป็นผลไม้ที่ชอบที่สุดชนิดหนึ่ง ฉันรู้อยู่แค่นั้น ส่วนน้องที่เพิ่งมาเก็บกับฉันครั้งแรก กลับสังเกตอะไรที่แตกต่างออกไปได้
(ป.ล. ก่อนหน้าฉันไม่เคยชวนน้องมาก่อน เพราะน้องทำงาน 2 ที่ จึงไม่อยากรบกวนเวลาพักผ่อน และเวลาน้อยนิดที่น้องจะมีให้ครอบครัว)
ฉันคิดว่าน้องต้องใช้สมาธิในการทำงาน จึงทำให้มีสมาธิแน่วแน่ระดับนึง เมื่อใช้ชีวิตสบายๆ สมาธิต่อสิ่งตรงหน้าจึงดี หรือเรียกว่าอยู่กับปัจจุบันได้ดี เมื่อจิตใจไม่ค่อยแกว่งและวอกแวกไปนึกคิดปรุงแต่งเรื่องอื่น ก็ทำให้สังเกตเห็นและรับรู้สิ่งต่างๆที่ปรากฎอยู่ตอนนั้นได้ละเอียด..
.
"เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว" จึงเป็นประสบการณ์จากการสัมผัส รับรู้ ลักษณะเหล่านั้น แล้วสื่อออกมาตามภาษาแม่ของตน ส่วนภาษาธรรมก็คือ 'ปรมัตถธรรม' นั่นเอง มันคือลักษณะตามความเป็นจริงแบบปรมัตถ์ ก่อนที่ความรู้สึกนึกคิด และประสบการณ์อื่นจะเพิ่มเติมเข้ามา ว่ามันเป็นมะเดื่อ เป็นไอติม เป็นพระอาทิตย์ เป็นเม็ดมะขาม เป็นผมหน้าม้าของฉันที่ปลิวไหว ฯลฯ อ้าว แล้วเม็ดมะขาม กับผมหน้าม้าของฉัน มันไม่ใช่ความจริงหรือ คำตอบคือมันก็เป็นความจริงนั่นแหละ ซึ่งในทางธรรมเรียกว่าจริงแบบสมมุติ
แล้วปรมัตถ์กับสมมุติอย่างไหนจริงกว่า ถูกต้องกว่า ก็แล้วใจจะให้มันจริงกว่า ถูกกว่า ไปเพื่ออะไร ท่านให้รู้ตามความเป็นจริง จริงแบบปรมัตถ์เป็นอย่างไร จริงแบบสมมุติเป็นอย่างไร ก็จะเป็นการเห็นที่เกิดประโยชน์ได้ไหม อย่างไรหนอ!?
"เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว" นอกจากจะเป็นลักษณะโลกภายนอกแล้ว ภายในกายในใจก็มีลักษณะเดียวกัน แต่ในใจจะเป็นลักษณะนามธรรม เช่นความอ่อน ความแข็งแรง เป็นต้น
~~ในครั้งแรกที่ฉันเปิดคลิปนำภาวนา และปฏิบัติตามไปด้วยนั้น พระอาจารย์ที่กล่าวนำภาวนา แนะให้สังเกตความรู้สึกในร่างกาย ที่ปรากฎอยู่ในขณะนั้น และให้สังเกตลักษณะเหล่านั้นอย่างเป็นกลางๆ ว่ามันอุ่น มันแข็ง มันอ่อน มันเป็นยังไง มันรับรู้ได้ตรงโน้นบ้างตรงนี้บ้าง แล้วมันก็หายไปบ้าง ก็สังเกตไป และเมื่อจิตใจเริ่มตั้งมั่น ไม่ค่อยวอกแวกฟุ้งซ่าน ก็มารับรู้ลมหายใจที่มีลักษณะสั้นยาว อุ่นเย็น..
ฉันก็ทำตามไปแบบงูๆปลาๆ จนจบคลิปประมาณ 10 นาที สิ่งที่สังเกตเห็นได้ชัดในตอนนั้นคือ ระดับความเศร้าและความไม่สบายใจ ที่มีในใจก่อนการเริ่มภาวนา มันลดฮวบลงไป จนแทบจะหายไปเลย
'ฉันในตอนนั้น' เปรียบเสมือนปลาที่เพิ่งรู้จักน้ำ ได้เห็นน้ำครั้งแรก.. เหมือนเป็นภาชนะที่คว่ำอยู่ตลอดแล้วพลิกหงายขึ้นมาเห็นแสงสว่างไสว... อะไรกัน คำสอนพุทธคืออะไรแบบนี้หรือ ฉันไม่เคยรู้มาก่อนเลย~~
🎯เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว🎯
~~ในฤดูร้อน ช่วงปลายเดือนสิงหาคม ฉันชวนน้องสาวไปเก็บมะเดื่อข้างทางด้วยกัน เมื่อไปถึงต้นมะเดื่อที่ขึ้นอยู่ริมทะเลสาบ น้องก็ปีนขึ้นไปบนต้นแล้วเลือกเก็บแต่ผลที่สุกงอม ส่วนฉันไม่อยากปีนเพราะกลัวกิ่งรับน้ำหนักฉันไม่ไหวและถ้ามันหักก็น่าเสียดาย ก็เลยเดินเล่นถ่ายรูปและบันทึกวีดีโออยู่ใกล้ๆ ไปเรื่อยๆ
"โห พี่ดูสิ ลูกใหญ่มาก" น้องบอกปนดีใจ แล้วยื่นให้ฉันที่กำลังก้มๆเงยๆเก็บภาพอยู่ด้านล่าง ดูความใหญ่ของผลมะเดื่อที่เกือบเต็มกำมือ
ฉันยิ้มรับพร้อมบอก "เก็บระวังนะ อย่าไปยืนบนกิ่งอ่อนๆ และวางเท้าดีๆระวังลื่น ตอนเช้าแบบนี้ กิ่งไม้ยังเปียกชื้น"
"โอเค" น้องตอบรับคำ แล้วโน้มกิ่งมะเดื่อด้านบนลงมา เพื่อเก็บผลมะเดื่อที่อยู่ไกลจนเกินเอื้อมมือไปถึง
"เย็นจัง" เสียงน้องบอกมาอีก ฉันจึงมองกลับขึ้นไปและเห็นน้องกำลังกำๆมะเดื่อ แล้วเอามาแนบกับผิวแก้ม~~
.
ครั้งก่อนที่ไปเก็บมะเดื่อริมคลองอีกที่ ที่อยู่แถวบ้านฉัน น้องปีนข้ามรั้วกั้นแล้วเด็ดผลสุกมากิน น้องก็บอกฉันอย่างนี้เหมือนกัน ว่าเนื้อมะเดื่อมีความเย็น ฉันซึ่งเดินเล่นเก็บมะเดื่อกินมาหลายปี กลับไม่เคยสังเกตเรื่องพวกนี้เลย สำหรับฉันมันหวานและมีความเลิศรส เป็นผลไม้ที่ชอบที่สุดชนิดหนึ่ง ฉันรู้อยู่แค่นั้น ส่วนน้องที่เพิ่งมาเก็บกับฉันครั้งแรก กลับสังเกตอะไรที่แตกต่างออกไปได้
(ป.ล. ก่อนหน้าฉันไม่เคยชวนน้องมาก่อน เพราะน้องทำงาน 2 ที่ จึงไม่อยากรบกวนเวลาพักผ่อน และเวลาน้อยนิดที่น้องจะมีให้ครอบครัว)
ฉันคิดว่าน้องต้องใช้สมาธิในการทำงาน จึงทำให้มีสมาธิแน่วแน่ระดับนึง เมื่อใช้ชีวิตสบายๆ สมาธิต่อสิ่งตรงหน้าจึงดี หรือเรียกว่าอยู่กับปัจจุบันได้ดี เมื่อจิตใจไม่ค่อยแกว่งและวอกแวกไปนึกคิดปรุงแต่งเรื่องอื่น ก็ทำให้สังเกตเห็นและรับรู้สิ่งต่างๆที่ปรากฎอยู่ตอนนั้นได้ละเอียด..
.
"เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว" จึงเป็นประสบการณ์จากการสัมผัส รับรู้ ลักษณะเหล่านั้น แล้วสื่อออกมาตามภาษาแม่ของตน ส่วนภาษาธรรมก็คือ 'ปรมัตถธรรม' นั่นเอง มันคือลักษณะตามความเป็นจริงแบบปรมัตถ์ ก่อนที่ความรู้สึกนึกคิด และประสบการณ์อื่นจะเพิ่มเติมเข้ามา ว่ามันเป็นมะเดื่อ เป็นไอติม เป็นพระอาทิตย์ เป็นเม็ดมะขาม เป็นผมหน้าม้าของฉันที่ปลิวไหว ฯลฯ อ้าว แล้วเม็ดมะขาม กับผมหน้าม้าของฉัน มันไม่ใช่ความจริงหรือ คำตอบคือมันก็เป็นความจริงนั่นแหละ ซึ่งในทางธรรมเรียกว่าจริงแบบสมมุติ
แล้วปรมัตถ์กับสมมุติอย่างไหนจริงกว่า ถูกต้องกว่า ก็แล้วใจจะให้มันจริงกว่า ถูกกว่า ไปเพื่ออะไร ท่านให้รู้ตามความเป็นจริง จริงแบบปรมัตถ์เป็นอย่างไร จริงแบบสมมุติเป็นอย่างไร ก็จะเป็นการเห็นที่เกิดประโยชน์ได้ไหม อย่างไรหนอ!?
"เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว" นอกจากจะเป็นลักษณะโลกภายนอกแล้ว ภายในกายในใจก็มีลักษณะเดียวกัน แต่ในใจจะเป็นลักษณะนามธรรม เช่นความอ่อน ความแข็งแรง เป็นต้น
~~ในครั้งแรกที่ฉันเปิดคลิปนำภาวนา และปฏิบัติตามไปด้วยนั้น พระอาจารย์ที่กล่าวนำภาวนา แนะให้สังเกตความรู้สึกในร่างกาย ที่ปรากฎอยู่ในขณะนั้น และให้สังเกตลักษณะเหล่านั้นอย่างเป็นกลางๆ ว่ามันอุ่น มันแข็ง มันอ่อน มันเป็นยังไง มันรับรู้ได้ตรงโน้นบ้างตรงนี้บ้าง แล้วมันก็หายไปบ้าง ก็สังเกตไป และเมื่อจิตใจเริ่มตั้งมั่น ไม่ค่อยวอกแวกฟุ้งซ่าน ก็มารับรู้ลมหายใจที่มีลักษณะสั้นยาว อุ่นเย็น..
ฉันก็ทำตามไปแบบงูๆปลาๆ จนจบคลิปประมาณ 10 นาที สิ่งที่สังเกตเห็นได้ชัดในตอนนั้นคือ ระดับความเศร้าและความไม่สบายใจ ที่มีในใจก่อนการเริ่มภาวนา มันลดฮวบลงไป จนแทบจะหายไปเลย
'ฉันในตอนนั้น' เปรียบเสมือนปลาที่เพิ่งรู้จักน้ำ ได้เห็นน้ำครั้งแรก.. เหมือนเป็นภาชนะที่คว่ำอยู่ตลอดแล้วพลิกหงายขึ้นมาเห็นแสงสว่างไสว... อะไรกัน คำสอนพุทธคืออะไรแบบนี้หรือ ฉันไม่เคยรู้มาก่อนเลย~~