SLE (Systemic Lupus Erythematosus) หลายคนคงพอจะทราบว่าคือโรคภูมิแพ้ตัวเอง
คือภูมิต้านทานของตัวเองทำลายเนื้อเยื่อจนเกิดการอักเสบเรื้อรัง พบมากในคนอายุน้อยผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
หนึ่งในวิธีการรักษาคือการทานยาสเตียรอยด์เพื่อควบคุมการอักเสบของโรค อาจส่งผลให้ข้อสะโพกเสื่อมก่อนวัยอันควรได้
วันนี้พี่หมอฝั่งธน...จะมาให้ความรู้ มารู้จักกับโรค... SLE
โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือ SLE (Systemic Lupus Erythematosus) คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
โดยภูมิคุ้มกันของคน ๆ นั้นทำลายเนื้อเยื่อภายในร่างกายของตัวเองจนเกิดการอักเสบ
และสามารถทำให้เกิดความผิดปกติกับอวัยวะได้ทั่วร่างกาย พบได้ในเพศหญิงมากกว่าเพศชายในช่วงวัยเจริญพันธุ์
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยร่วมอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคได้ เช่น กรรมพันธุ์
(อาจจะมีสารพันธุกรรมบางชนิดที่สัมพันธ์กับการเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง)
ส่วนปัจจัยที่กระตุ้นให้โรคกำเริบมากขึ้น ได้แก่ การติดเชื้อภายในร่างกาย แสงแดด เป็นต้น
หากป่วยเป็นโรคนี้ร่างกายจะมีการสร้างโปรตีนชนิดหนึ่งขึ้นมาชื่อว่า Antinuclear Antibody ทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้ชัดเจน
ความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค
เกิดจากการใช้ยา และสารเคมีต่าง ๆ หรือยาประเภทควบคุมความดันเลือด ยาปฏิชีวนะ เป็นต้น
เกิดจากฮอร์โมน การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในบางครั้งจะส่งผลด้วย เช่น ช่วงตั้งครรภ์หรือช่วงที่เติบโตในแต่ละวัย เป็นต้น
การถ่ายทอดพันธุกรรม โรคหรืออาการบางชนิดที่เกิดในวงเครือญาติอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคพุ่มพวงได้
ปฏิกิริยาต่อแสงแดด สำหรับคนที่มีผิวหนังไวต่อแสงแดดจะทำให้เกิดผลข้างเคียงจากอาการแพ้ดังกล่าวได้
อาการของโรคมีได้ตั้งแต่ไม่มีอาการหรือมีน้อยมากแค่รู้สึกอ่อนเพลีย จนถึงมีอาการรุนแรงมาก
หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจเสียชีวิตได้ อาการอาจเกิดขึ้นทีละอย่าง หรือ หลายอย่างหรือเกิดขึ้นพร้อมกัน
ระบบที่มีความผิดปกติที่พบบ่อย คือ ผิวหนัง, ข้อ และไต
อาการทั่วไป มี อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดลง ครั่นเนื้อครั่นตัว มีไข้ เป็น ๆ หาย ๆ
อาการทางผิวหนัง ผื่นแดงที่หน้าบริเวณโหนกแก้ม แพ้แดด ผมร่วง แผลที่ริมฝีปากและข้างในปาก ลมพิษ
จุดแดงตามผิวหนังโดยเฉพาะที่ปลายนิ้วมือนิ้วเท้า ปวดปลายนิ้วมือเท้าเวลาถูกความเย็น เป็นต้น
อาการทางระบบข้อ กล้ามเนื้อ และกระดูก
มักเริ่มด้วยอาการปวดอย่างเดียวก่อน ต่อมาจึงมีบวม แดง และร้อน เป็นได้กับข้อต่าง ๆ ทั่วตัว
แล้วตามด้วยอาการข้อแข็งตอนเช้า พบข้อพิการประมาณร้อยละ 10 สำหรับกล้ามเนื้อและกระดูก
พบ มีอาการปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออักเสบ และกระดูกเสื่อม
อาการทางไต พบได้บ่อย มี บวม ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะน้อยลง และอาการที่เกิดจากภาวะไตวาย
ซึ่งในบางกรณีเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเป็นสาเหตุตายได้
อาการทางระบบประสาท เป็นที่ทราบกันดีว่าผู้ป่วยโรคนี้มักมีอาการทางระบบประสาท ซึ่งมีได้หลายอย่างตั้งแต่ปวดศีรษะ ชัก
ซึมจนถึงหมดสติได้ นอกจากนั้นก็อาจมีเลือดออกในสมอง อัมพฤกษ์ และอัมพาต
ส่วนทางด้านจิตใจก็มีการเปลี่ยนแปลงด้วย อาจมีอาการซึมเศร้า สับสนจนพูดไม่รู้เรื่อง
อาการทางเลือด จากการที่มีภูมิต่อต้านเม็ดเลือดชนิดต่าง ๆ ทำให้มีการทำลายเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว
และเกร็ดเลือด ทำให้เกิดอาการซีด ติดเชื้อง่ายเพราะเม็ดเลือดขาวลดลง และเลือดออกง่ายเพราะเกร็ดเลือดลดลง
อาการทางหัวใจและระบบไหลเวียนเลือด
อาการที่พบมีหอบเหนื่อยนอนราบไม่ได้จากภาวะหัวใจล้มเหลว ชีพจรเต้นผิดจังหวะจากกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
และอาจมีอาการเจ็บตื้อที่หน้าอกด้านซ้ายจากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ซึ่งเกิดจากมีพยาธิสภาพที่หลอดเลือดที่เลี้ยงหัวใจ
นอกจากนั้นอาจพบว่ามีความดันโลหิตสูง
อาการทางระบบทางเดินหายใจ อาจพบอาการเหนื่อย เจ็บเสียวหน้าอก ไอ อาการของทางระบบทางเดินหายใจนี้
แม้จะพบไม่บ่อยแต่ก็มีความสำคัญ ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจเป็นสาเหตุตายได้
อาการทางระบบทางเดินอาหาร มีอาการปวดท้องซึ่งอาจเกิดจากมีการอักเสบของลำไส้หรือตับอ่อนก็ได้
นอกจากอาการต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว ยังอาจมีอาการตาแห้ง ปากแห้งด้วยอาการต่าง ๆ อาจเกิดทีละอย่าง
อย่างไหนก่อนก็ได้หรืออาจเกิดพร้อมกันหลายอย่างก็ได้
ภาวะแทรกซ้อนจากโรค
หัวใจและสมอง เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ โรคหลอดเลือดสมอง หรือความจำเสื่อม เป็นต้น
ปัญหาทางโลหิต เช่น ภาวะโลหิตจาง การติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นต้น
นอกจากนี้ยังสามารถเกิดปัญหากับอวัยวะอื่น ๆ ได้ เช่น การอักเสบที่ไต ภาวะไตวาย ไปจนถึงเยื่อหุ้มปอดอักเสบ
ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้เป็นได้ตั้งแต่อาการที่รุนแรงน้อยไปจนถึงรุนแรงมากแล้วแต่บุคคล และปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย
โรคนี้สามารถรักษาได้แต่ต้องใช้เวลานานพอสมควร อีกทั้งยังต้องติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง
และทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ร่วมกับการดูแลตนเอง
อยู่ในสถานที่อากาศถ่ายเทได้สะดวกหลีกเลี่ยงการถูกแสงแดด
พักผ่อนให้เพียงพอ พยายามออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ในการติดตามอาการ และการเฝ้าระวังอาการที่กำเริบถือว่าสำคัญอย่างมากเนื่องจากบางอาการหากอาจส่งผลถึงขั้นเสียชีวิตได้
เนื่องจากโรคภูมิแพ้ตัวเองเป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด
วิธีการป้องกันจึงเป็นการดูแลสุขภาพร่างกายโดยรวมให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน
ลดความเครียด นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และหลากหลาย
หลีกเลี่ยงแสงแดด ป้องกันการติดเชื้อ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ไม่สูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์
หลีกเลี่ยง หรือลดการสัมผัสสารเคมี
แม้โรคแพ้ภูมิตัวเอง SLE จะยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็สามารถรักษาเพื่อบรรเทาอาการของโรคให้สงบลงได้
ด้วยการติดตามอาการอย่างต่อเนื่องและรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
รวมถึงปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวันร่วมด้วย ซึ่งไม่เพียงช่วยลดความเสี่ยงของโรคร่วมหรือภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้แล้ว
ยังช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้อีกด้วย
มารู้จักกับโรค..SLE
คือภูมิต้านทานของตัวเองทำลายเนื้อเยื่อจนเกิดการอักเสบเรื้อรัง พบมากในคนอายุน้อยผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
หนึ่งในวิธีการรักษาคือการทานยาสเตียรอยด์เพื่อควบคุมการอักเสบของโรค อาจส่งผลให้ข้อสะโพกเสื่อมก่อนวัยอันควรได้
วันนี้พี่หมอฝั่งธน...จะมาให้ความรู้ มารู้จักกับโรค... SLE
โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือ SLE (Systemic Lupus Erythematosus) คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
โดยภูมิคุ้มกันของคน ๆ นั้นทำลายเนื้อเยื่อภายในร่างกายของตัวเองจนเกิดการอักเสบ
และสามารถทำให้เกิดความผิดปกติกับอวัยวะได้ทั่วร่างกาย พบได้ในเพศหญิงมากกว่าเพศชายในช่วงวัยเจริญพันธุ์
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยร่วมอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคได้ เช่น กรรมพันธุ์
(อาจจะมีสารพันธุกรรมบางชนิดที่สัมพันธ์กับการเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง)
ส่วนปัจจัยที่กระตุ้นให้โรคกำเริบมากขึ้น ได้แก่ การติดเชื้อภายในร่างกาย แสงแดด เป็นต้น
หากป่วยเป็นโรคนี้ร่างกายจะมีการสร้างโปรตีนชนิดหนึ่งขึ้นมาชื่อว่า Antinuclear Antibody ทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้ชัดเจน
ความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค
เกิดจากการใช้ยา และสารเคมีต่าง ๆ หรือยาประเภทควบคุมความดันเลือด ยาปฏิชีวนะ เป็นต้น
เกิดจากฮอร์โมน การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในบางครั้งจะส่งผลด้วย เช่น ช่วงตั้งครรภ์หรือช่วงที่เติบโตในแต่ละวัย เป็นต้น
การถ่ายทอดพันธุกรรม โรคหรืออาการบางชนิดที่เกิดในวงเครือญาติอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคพุ่มพวงได้
ปฏิกิริยาต่อแสงแดด สำหรับคนที่มีผิวหนังไวต่อแสงแดดจะทำให้เกิดผลข้างเคียงจากอาการแพ้ดังกล่าวได้
อาการของโรคมีได้ตั้งแต่ไม่มีอาการหรือมีน้อยมากแค่รู้สึกอ่อนเพลีย จนถึงมีอาการรุนแรงมาก
หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจเสียชีวิตได้ อาการอาจเกิดขึ้นทีละอย่าง หรือ หลายอย่างหรือเกิดขึ้นพร้อมกัน
ระบบที่มีความผิดปกติที่พบบ่อย คือ ผิวหนัง, ข้อ และไต
อาการทั่วไป มี อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดลง ครั่นเนื้อครั่นตัว มีไข้ เป็น ๆ หาย ๆ
อาการทางผิวหนัง ผื่นแดงที่หน้าบริเวณโหนกแก้ม แพ้แดด ผมร่วง แผลที่ริมฝีปากและข้างในปาก ลมพิษ
จุดแดงตามผิวหนังโดยเฉพาะที่ปลายนิ้วมือนิ้วเท้า ปวดปลายนิ้วมือเท้าเวลาถูกความเย็น เป็นต้น
อาการทางระบบข้อ กล้ามเนื้อ และกระดูก
มักเริ่มด้วยอาการปวดอย่างเดียวก่อน ต่อมาจึงมีบวม แดง และร้อน เป็นได้กับข้อต่าง ๆ ทั่วตัว
แล้วตามด้วยอาการข้อแข็งตอนเช้า พบข้อพิการประมาณร้อยละ 10 สำหรับกล้ามเนื้อและกระดูก
พบ มีอาการปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออักเสบ และกระดูกเสื่อม
อาการทางไต พบได้บ่อย มี บวม ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะน้อยลง และอาการที่เกิดจากภาวะไตวาย
ซึ่งในบางกรณีเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเป็นสาเหตุตายได้
อาการทางระบบประสาท เป็นที่ทราบกันดีว่าผู้ป่วยโรคนี้มักมีอาการทางระบบประสาท ซึ่งมีได้หลายอย่างตั้งแต่ปวดศีรษะ ชัก
ซึมจนถึงหมดสติได้ นอกจากนั้นก็อาจมีเลือดออกในสมอง อัมพฤกษ์ และอัมพาต
ส่วนทางด้านจิตใจก็มีการเปลี่ยนแปลงด้วย อาจมีอาการซึมเศร้า สับสนจนพูดไม่รู้เรื่อง
อาการทางเลือด จากการที่มีภูมิต่อต้านเม็ดเลือดชนิดต่าง ๆ ทำให้มีการทำลายเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว
และเกร็ดเลือด ทำให้เกิดอาการซีด ติดเชื้อง่ายเพราะเม็ดเลือดขาวลดลง และเลือดออกง่ายเพราะเกร็ดเลือดลดลง
อาการทางหัวใจและระบบไหลเวียนเลือด
อาการที่พบมีหอบเหนื่อยนอนราบไม่ได้จากภาวะหัวใจล้มเหลว ชีพจรเต้นผิดจังหวะจากกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
และอาจมีอาการเจ็บตื้อที่หน้าอกด้านซ้ายจากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ซึ่งเกิดจากมีพยาธิสภาพที่หลอดเลือดที่เลี้ยงหัวใจ
นอกจากนั้นอาจพบว่ามีความดันโลหิตสูง
อาการทางระบบทางเดินหายใจ อาจพบอาการเหนื่อย เจ็บเสียวหน้าอก ไอ อาการของทางระบบทางเดินหายใจนี้
แม้จะพบไม่บ่อยแต่ก็มีความสำคัญ ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจเป็นสาเหตุตายได้
อาการทางระบบทางเดินอาหาร มีอาการปวดท้องซึ่งอาจเกิดจากมีการอักเสบของลำไส้หรือตับอ่อนก็ได้
นอกจากอาการต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว ยังอาจมีอาการตาแห้ง ปากแห้งด้วยอาการต่าง ๆ อาจเกิดทีละอย่าง
อย่างไหนก่อนก็ได้หรืออาจเกิดพร้อมกันหลายอย่างก็ได้
ภาวะแทรกซ้อนจากโรค
หัวใจและสมอง เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ โรคหลอดเลือดสมอง หรือความจำเสื่อม เป็นต้น
ปัญหาทางโลหิต เช่น ภาวะโลหิตจาง การติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นต้น
นอกจากนี้ยังสามารถเกิดปัญหากับอวัยวะอื่น ๆ ได้ เช่น การอักเสบที่ไต ภาวะไตวาย ไปจนถึงเยื่อหุ้มปอดอักเสบ
ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้เป็นได้ตั้งแต่อาการที่รุนแรงน้อยไปจนถึงรุนแรงมากแล้วแต่บุคคล และปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย
โรคนี้สามารถรักษาได้แต่ต้องใช้เวลานานพอสมควร อีกทั้งยังต้องติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง
และทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ร่วมกับการดูแลตนเอง
อยู่ในสถานที่อากาศถ่ายเทได้สะดวกหลีกเลี่ยงการถูกแสงแดด
พักผ่อนให้เพียงพอ พยายามออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ในการติดตามอาการ และการเฝ้าระวังอาการที่กำเริบถือว่าสำคัญอย่างมากเนื่องจากบางอาการหากอาจส่งผลถึงขั้นเสียชีวิตได้
เนื่องจากโรคภูมิแพ้ตัวเองเป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด
วิธีการป้องกันจึงเป็นการดูแลสุขภาพร่างกายโดยรวมให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน
ลดความเครียด นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และหลากหลาย
หลีกเลี่ยงแสงแดด ป้องกันการติดเชื้อ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ไม่สูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์
หลีกเลี่ยง หรือลดการสัมผัสสารเคมี
แม้โรคแพ้ภูมิตัวเอง SLE จะยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็สามารถรักษาเพื่อบรรเทาอาการของโรคให้สงบลงได้
ด้วยการติดตามอาการอย่างต่อเนื่องและรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
รวมถึงปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวันร่วมด้วย ซึ่งไม่เพียงช่วยลดความเสี่ยงของโรคร่วมหรือภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้แล้ว
ยังช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้อีกด้วย