ในเมื่อ Mad Max: Fury Road ถูกยกย่องให้เป็นภาพยนตร์แอ็กชันแห่งศตวรรษที่ 21 จะมีเหตุผลอันใดที่ผู้กำกับจอร์จ มิลเลอร์ (George Miller) จะสร้างภาคต่ออย่าง Furiosa: A Mad Max Saga ให้มีจังหวะจะโคนการเล่าเรื่องแบบเดิมกันเล่า แต่ถึงอยากจะทำแบบนั้นเรื่องราวของ “ฟูริโอซ่า” ก็คงไม่เอื้อให้เล่าได้แบบเดิมอย่างแน่นอน
.
ย้อนกลับไปที่ Mad Max: Fury Road ตัวละครสำคัญของเรื่องอย่างฟูริโอซ่านั้นเฉิดฉายขึ้นมาอย่างน่าประหลาด แม้ในช่วงแรกตัวละครที่นำผู้ชมเข้าสู่เรื่องราวจะเป็น แมกซ์ (Tom Hardy) ชายหนุ่มพเนจรที่ดวงแตกถูกพวกวอร์บอยจับตัวไปยังซิทาเดล (The Citadel) ดินแดนที่อยู่ภายใต้การปกครองของจอมเผด็จการอย่าง อิมมอร์ทัน โจ (Hugh Keays-Byrne) และได้พบกับฟูริโอซ่าอย่างที่เรารู้กันดี
.
ตัวละครฟูริโอซ่าที่รับบทโดย ชาร์ลิซ เธอรอน (Charlize Theron) นั้น สามารถเข้าไปนั่งในหัวใจของผู้ชมได้อย่างไม่ยากเย็น ด้วยการแสดงอันน่าทึ่งกับบทพูดอันน้อยนิด (ที่จริงก็น้อยเกือบทุกคน) ที่ถ่ายทอดบุคลิคความเด็ดเดี่ยวทรหดและทักษะการต่อสู้อันเก่งกาจ ไปจนถึงเป้าหมายของตัวละครที่ดูแล้วน่าสนใจและมีมิติมากซะยิ่งกว่าตัวของแมกซ์ด้วยซ้ำ จึงไม่น่าแปลกที่ผู้ชมจะอยากรู้ความเป็นมาของฟูริโอซ่า และผู้กำกับจอร์จ มิลเลอร์ ก็คงอยากจะเล่ามันอยู่แล้วด้วย
.
ใน Furiosa: A Mad Max Saga จึงเป็นเวทีสำหรับตัวละครนี้โดยเฉพาะ และเมื่อทำทั้งทีก็ไม่ควรเสียเที่ยว ก็เล่ามันตั้งแต่วัยเด็กไปเลยละกัน (ดีไม่เล่าตั้งแต่ทำคลอด ฮ่าๆ) นั่นจึงทำให้เราได้เห็นช่วงชีวิตของฟูริโอซ่า ตั้งแต่บ้านเกิดที่เป็นดินแดนเขียวชอุ่มอย่าง The Green Place การถูกลักพาตัวโดยพวกของดีเมนทัส (Chris Hemsworth) ไปจนถึงสาเหตุทำให้ได้อยู่ที่ซิทาเดล โดยทั้งหมดจอร์จ มิลเลอร์ ใช้การถ่ายทอดโดยแบ่งเป็น 5 บท และกินระยะเวลาภายในเรื่องอยู่นานนับสิบปี
.
เมื่อเรื่องเป็นเช่นนี้การจะใช้วิธีการเล่าเรื่องแบบ Fury Road จึงทำไม่ได้แน่ๆ แต่อีกนัยนึงมันก็ทำให้เกิดการขยายเรื่องราวของจักรวาล Mad Max ไปได้อย่างแข็งแรง เพราะนอกจากเรื่องราวที่เกี่ยวกับฟูริโอซ่าแล้ว มันก็เปิดโอกาสให้จอร์จ มิลเลอร์ ได้พาผู้ชมไปทัวร์ดินแดน Wasteland แบบถึงใจ
.
นอกจาก The Green Place ที่ตัวละครพูดถึงตั้งแต่ภาคแรกตอนแรกสุดของเรื่อง ทั้งแก๊สทาวน์ (Gas Town) และบุลเล็ตฟาร์ม (Bullet Farm) ที่เป็น “ป้อมปราการ” (The Fortress) หลักๆ ของเรื่องก็เปิดรั้วให้เราได้เข้าไปสำรวจเช่นกัน (ทำให้แอบนึกถึง Dune อยู่เหมือนกัน)
.
และแน่นอนว่าที่ซิทาเดลเองก็ถูกสำรวจด้วย และมันเป็นการสำรวจอย่างลึกซึ้ง ทั้งวิธีการทำธุรกิจของอิมมอร์ทัน โจ (Lachy Hulme) ต่อหัวเมืองต่างๆ การผลิตเครื่องยนต์กลไกทั้งหลาย ทำให้เราได้เห็นจุดกำเนิดของรถวอร์ริค การคัดเลือกสาวงามมาเป็นภรรยา (มีการบอกด้วยว่าหากผลิตทายาทล้มเหลวจะเป็นอย่างไร) และการล้วงลึกไปถึงวิธีที่โจใช้ปกครองพวกวอร์บอยก็ถูกขยายความมากขึ้น เรียกว่าทุกๆ อย่างที่ Fury Road ได้เปิดทางเอาไว้ มันถูกให้คำตอบแทบจะหมดจดแล้วในภาคนี้
.
แต่ตัวจอร์จ มิลเลอร์ เองก็รู้ดีแก่ใจว่า ความสำเร็จของ Fury Road มาจากฉากแอคชั่นแบบ Non Stop แม้ว่าในภาคนี้จะไม่เอื้อให้ทำแบบนั้น แต่เขาก็บรรจงใส่ฉากแอคชั่นมามากเท่าที่จะทำได้ มันสอดแทรกอยู่ตลอดทั้งเรื่องเล็กบ้างใหญ่บ้างสลับกันไป ฉากใหญ่ๆ อย่างฉากการปล้นน้ำมันจากรถวอร์ริคในช่วงกลางเรื่องก็เรียกความเร้าใจกลับมาในแบบที่ Fury Road
.
เคยทำได้ หรือจะเป็นการใช้สไนเปอร์ของฟูริโอซ่าอันเป็นภาพจำของตัวละครก็มีให้เห็นบ่อยครั้ง มีไอเดียใหม่ๆ ของฉากแอคชั่นอย่างการใช้ร่มชูชีพต่อสู้ เหล่านี้แสดงให้เห็นว่าผู้กำกับคนนี้ยังคงไม่ได้ทิ้งเอกลักษณ์ของเขาแล้วสักจะเล่าเรื่องเพียงอย่างเดียว
.
อันยา เทเลอร์-จอย (Anya Taylor-Joy) กับบทบาทของฟูริโอซ่าในภาคนี้คงไม่สามารถเอาไปเปรียบเทียบกับสิ่งที่ชาร์ลิซ เธอรอน เคยทำไว้ในภาคก่อนได้แน่ๆ แต่ฟูริโอซ่าในฉบับของเธอก็ยังคงถ่ายทอดความทรหด ความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสทั้งทางร่างกายและจิตใจ ผ่านดวงตากลมโตและบทพูดอันน้อยนิดได้อย่างทรงพลัง แม้รูปลักษณ์จะไม่เหมือนกัน แต่ “คาแรคเตอร์” นี้สามารถเชื่อมถึงกันได้อย่างแนบแน่นสมบูรณ์แบบ
.
สิ่งที่เพิ่มมิติให้กับฟูริโอซ่าจนไม่ควรจะละเลยที่จะกล่าวถึง ก็คือ ตัวละคร เพรโทเรียน แจ็ก (Tom Burke) หนุ่มช่างเครื่องและผู้ขับรถบรรทุกวอร์ริคที่ช่วยเหลือฟูริโอซ่าได้หลบหนีกลับบ้านเกิดและได้แก้แค้นดีเมนทัส เขาอาจจะเปรียบได้กับตัวของแมกซ์ใน Fury Road ที่แม้จะระแวงกันอยู่ในตอนแรก แต่ด้วยความรู้สึกถึงสายสัมพันธ์บางอย่างที่ทำให้เรารู้ว่า ฟูริโอซ่าก็ยังไม่ได้ละทิ้งความเป็นมนุษย์ไปจนสิ้น เธอยังมีความรู้สึกผูกพัน (ไม่แน่ใจว่าถึงขึ้นรักเลยรึเปล่า) กับคนอื่นหลงเหลืออยู่
.
และดาวเด่นในภาคนี้อีกคนคงหนีไม่พ้นคริส เฮมส์เวิร์ธ ในบทดีเมนทัส ผู้นำจิตวิปริตของแก๊งค์มอเตอร์ไซค์ Biker Horde น่าสนใจตรงที่คริสถ่ายทอดตัวละครนี้ออกมาแบบไม่ดีไม่ร้ายในสายตาของผู้ชม (แต่สำหรับฟูริโอซ่านั้นเลวเต็มสูบ) ซึ่งเราเข้าใจได้ว่าหากจะเป็นผู้นำในโลกสังกะบ๊วยแบบนี้มันก็ต้องดิบเถื่อนเพื่อคุมผู้คนให้อยู่มือ อาจจะต่างจากอิมมอร์ทัน โจ ที่เคร่งขรึม ดีเมนทัสผู้ช่างเจรจามักจะพูดในสิ่งที่เขาคิดและมันทำให้ผู้ชมรับรู้ด้วยว่าตัวละครนี้มองโลกนี้อย่างไรด้วย ดีเมนทัสนับว่าเป็นการแสดงที่เปลี่ยนภาพจำของคริส เฮมส์เวิร์ธ ได้อย่างหมดจดเลยจริงๆ
.
ถ้าเปรียบเป็นกีฬา Furiosa: A Mad Max Saga ก็คือการเตรียมความพร้อม เบื้องหลังการเก็บตัว หรืออัตชีวประวัติของนักกีฬา ส่วน Mad Max: Fury Road คือการขึ้นสังเวียนแล้วว่ากันด้วยเรื่องของการแข่งขันล้วนๆ แต่ไม่ว่าจะดูจากไหนก่อน (กรณีที่ยังไม่เคยดู Fury Road) ก็ไม่ได้ทำให้งานคราฟท์สุดบ้าระห่ำของจอร์จ มิลเลอร์ เรื่องนี้มีความสนุกน้อยลงแต่อย่างใด น่าเสียดายที่ “สงคราม 40 วัน” ของดีเมนทัสกับซิทาเดลถูกลดทอนลงอย่างน่าใจหาย ไม่แน่ว่ามันอาจจะกลายเป็นภาคแยกอีกทีหรือกลายเป็นตอนพิเศษฉายในอนาคตก็เป็นได้
Story Decoder
[รีวิว] Furiosa: A Mad Max Saga - จุดกำเนิดยอดหญิงแกร่งสู่การเติมเต็มจักรวาลแมดแม็กซ์ให้สมบูรณ์แบบไร้รอยต่อ
.
ย้อนกลับไปที่ Mad Max: Fury Road ตัวละครสำคัญของเรื่องอย่างฟูริโอซ่านั้นเฉิดฉายขึ้นมาอย่างน่าประหลาด แม้ในช่วงแรกตัวละครที่นำผู้ชมเข้าสู่เรื่องราวจะเป็น แมกซ์ (Tom Hardy) ชายหนุ่มพเนจรที่ดวงแตกถูกพวกวอร์บอยจับตัวไปยังซิทาเดล (The Citadel) ดินแดนที่อยู่ภายใต้การปกครองของจอมเผด็จการอย่าง อิมมอร์ทัน โจ (Hugh Keays-Byrne) และได้พบกับฟูริโอซ่าอย่างที่เรารู้กันดี
.
ตัวละครฟูริโอซ่าที่รับบทโดย ชาร์ลิซ เธอรอน (Charlize Theron) นั้น สามารถเข้าไปนั่งในหัวใจของผู้ชมได้อย่างไม่ยากเย็น ด้วยการแสดงอันน่าทึ่งกับบทพูดอันน้อยนิด (ที่จริงก็น้อยเกือบทุกคน) ที่ถ่ายทอดบุคลิคความเด็ดเดี่ยวทรหดและทักษะการต่อสู้อันเก่งกาจ ไปจนถึงเป้าหมายของตัวละครที่ดูแล้วน่าสนใจและมีมิติมากซะยิ่งกว่าตัวของแมกซ์ด้วยซ้ำ จึงไม่น่าแปลกที่ผู้ชมจะอยากรู้ความเป็นมาของฟูริโอซ่า และผู้กำกับจอร์จ มิลเลอร์ ก็คงอยากจะเล่ามันอยู่แล้วด้วย
.
ใน Furiosa: A Mad Max Saga จึงเป็นเวทีสำหรับตัวละครนี้โดยเฉพาะ และเมื่อทำทั้งทีก็ไม่ควรเสียเที่ยว ก็เล่ามันตั้งแต่วัยเด็กไปเลยละกัน (ดีไม่เล่าตั้งแต่ทำคลอด ฮ่าๆ) นั่นจึงทำให้เราได้เห็นช่วงชีวิตของฟูริโอซ่า ตั้งแต่บ้านเกิดที่เป็นดินแดนเขียวชอุ่มอย่าง The Green Place การถูกลักพาตัวโดยพวกของดีเมนทัส (Chris Hemsworth) ไปจนถึงสาเหตุทำให้ได้อยู่ที่ซิทาเดล โดยทั้งหมดจอร์จ มิลเลอร์ ใช้การถ่ายทอดโดยแบ่งเป็น 5 บท และกินระยะเวลาภายในเรื่องอยู่นานนับสิบปี
.
เมื่อเรื่องเป็นเช่นนี้การจะใช้วิธีการเล่าเรื่องแบบ Fury Road จึงทำไม่ได้แน่ๆ แต่อีกนัยนึงมันก็ทำให้เกิดการขยายเรื่องราวของจักรวาล Mad Max ไปได้อย่างแข็งแรง เพราะนอกจากเรื่องราวที่เกี่ยวกับฟูริโอซ่าแล้ว มันก็เปิดโอกาสให้จอร์จ มิลเลอร์ ได้พาผู้ชมไปทัวร์ดินแดน Wasteland แบบถึงใจ
.
นอกจาก The Green Place ที่ตัวละครพูดถึงตั้งแต่ภาคแรกตอนแรกสุดของเรื่อง ทั้งแก๊สทาวน์ (Gas Town) และบุลเล็ตฟาร์ม (Bullet Farm) ที่เป็น “ป้อมปราการ” (The Fortress) หลักๆ ของเรื่องก็เปิดรั้วให้เราได้เข้าไปสำรวจเช่นกัน (ทำให้แอบนึกถึง Dune อยู่เหมือนกัน)
.
และแน่นอนว่าที่ซิทาเดลเองก็ถูกสำรวจด้วย และมันเป็นการสำรวจอย่างลึกซึ้ง ทั้งวิธีการทำธุรกิจของอิมมอร์ทัน โจ (Lachy Hulme) ต่อหัวเมืองต่างๆ การผลิตเครื่องยนต์กลไกทั้งหลาย ทำให้เราได้เห็นจุดกำเนิดของรถวอร์ริค การคัดเลือกสาวงามมาเป็นภรรยา (มีการบอกด้วยว่าหากผลิตทายาทล้มเหลวจะเป็นอย่างไร) และการล้วงลึกไปถึงวิธีที่โจใช้ปกครองพวกวอร์บอยก็ถูกขยายความมากขึ้น เรียกว่าทุกๆ อย่างที่ Fury Road ได้เปิดทางเอาไว้ มันถูกให้คำตอบแทบจะหมดจดแล้วในภาคนี้
.
แต่ตัวจอร์จ มิลเลอร์ เองก็รู้ดีแก่ใจว่า ความสำเร็จของ Fury Road มาจากฉากแอคชั่นแบบ Non Stop แม้ว่าในภาคนี้จะไม่เอื้อให้ทำแบบนั้น แต่เขาก็บรรจงใส่ฉากแอคชั่นมามากเท่าที่จะทำได้ มันสอดแทรกอยู่ตลอดทั้งเรื่องเล็กบ้างใหญ่บ้างสลับกันไป ฉากใหญ่ๆ อย่างฉากการปล้นน้ำมันจากรถวอร์ริคในช่วงกลางเรื่องก็เรียกความเร้าใจกลับมาในแบบที่ Fury Road
.
เคยทำได้ หรือจะเป็นการใช้สไนเปอร์ของฟูริโอซ่าอันเป็นภาพจำของตัวละครก็มีให้เห็นบ่อยครั้ง มีไอเดียใหม่ๆ ของฉากแอคชั่นอย่างการใช้ร่มชูชีพต่อสู้ เหล่านี้แสดงให้เห็นว่าผู้กำกับคนนี้ยังคงไม่ได้ทิ้งเอกลักษณ์ของเขาแล้วสักจะเล่าเรื่องเพียงอย่างเดียว
.
อันยา เทเลอร์-จอย (Anya Taylor-Joy) กับบทบาทของฟูริโอซ่าในภาคนี้คงไม่สามารถเอาไปเปรียบเทียบกับสิ่งที่ชาร์ลิซ เธอรอน เคยทำไว้ในภาคก่อนได้แน่ๆ แต่ฟูริโอซ่าในฉบับของเธอก็ยังคงถ่ายทอดความทรหด ความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสทั้งทางร่างกายและจิตใจ ผ่านดวงตากลมโตและบทพูดอันน้อยนิดได้อย่างทรงพลัง แม้รูปลักษณ์จะไม่เหมือนกัน แต่ “คาแรคเตอร์” นี้สามารถเชื่อมถึงกันได้อย่างแนบแน่นสมบูรณ์แบบ
.
สิ่งที่เพิ่มมิติให้กับฟูริโอซ่าจนไม่ควรจะละเลยที่จะกล่าวถึง ก็คือ ตัวละคร เพรโทเรียน แจ็ก (Tom Burke) หนุ่มช่างเครื่องและผู้ขับรถบรรทุกวอร์ริคที่ช่วยเหลือฟูริโอซ่าได้หลบหนีกลับบ้านเกิดและได้แก้แค้นดีเมนทัส เขาอาจจะเปรียบได้กับตัวของแมกซ์ใน Fury Road ที่แม้จะระแวงกันอยู่ในตอนแรก แต่ด้วยความรู้สึกถึงสายสัมพันธ์บางอย่างที่ทำให้เรารู้ว่า ฟูริโอซ่าก็ยังไม่ได้ละทิ้งความเป็นมนุษย์ไปจนสิ้น เธอยังมีความรู้สึกผูกพัน (ไม่แน่ใจว่าถึงขึ้นรักเลยรึเปล่า) กับคนอื่นหลงเหลืออยู่
.
และดาวเด่นในภาคนี้อีกคนคงหนีไม่พ้นคริส เฮมส์เวิร์ธ ในบทดีเมนทัส ผู้นำจิตวิปริตของแก๊งค์มอเตอร์ไซค์ Biker Horde น่าสนใจตรงที่คริสถ่ายทอดตัวละครนี้ออกมาแบบไม่ดีไม่ร้ายในสายตาของผู้ชม (แต่สำหรับฟูริโอซ่านั้นเลวเต็มสูบ) ซึ่งเราเข้าใจได้ว่าหากจะเป็นผู้นำในโลกสังกะบ๊วยแบบนี้มันก็ต้องดิบเถื่อนเพื่อคุมผู้คนให้อยู่มือ อาจจะต่างจากอิมมอร์ทัน โจ ที่เคร่งขรึม ดีเมนทัสผู้ช่างเจรจามักจะพูดในสิ่งที่เขาคิดและมันทำให้ผู้ชมรับรู้ด้วยว่าตัวละครนี้มองโลกนี้อย่างไรด้วย ดีเมนทัสนับว่าเป็นการแสดงที่เปลี่ยนภาพจำของคริส เฮมส์เวิร์ธ ได้อย่างหมดจดเลยจริงๆ
.
ถ้าเปรียบเป็นกีฬา Furiosa: A Mad Max Saga ก็คือการเตรียมความพร้อม เบื้องหลังการเก็บตัว หรืออัตชีวประวัติของนักกีฬา ส่วน Mad Max: Fury Road คือการขึ้นสังเวียนแล้วว่ากันด้วยเรื่องของการแข่งขันล้วนๆ แต่ไม่ว่าจะดูจากไหนก่อน (กรณีที่ยังไม่เคยดู Fury Road) ก็ไม่ได้ทำให้งานคราฟท์สุดบ้าระห่ำของจอร์จ มิลเลอร์ เรื่องนี้มีความสนุกน้อยลงแต่อย่างใด น่าเสียดายที่ “สงคราม 40 วัน” ของดีเมนทัสกับซิทาเดลถูกลดทอนลงอย่างน่าใจหาย ไม่แน่ว่ามันอาจจะกลายเป็นภาคแยกอีกทีหรือกลายเป็นตอนพิเศษฉายในอนาคตก็เป็นได้
Story Decoder