เปิดจักรวาล “คนจน” เมื่อคนไทย 1 คน จนมากกว่าที่คิด! “เส้นยากจน” วัดกันอย่างไร?
ก่อนหน้านี้ “Thairath Money” นำเสนอประเด็นข่าวเศรษฐกิจไทย กำลังเผชิญกับความท้าทายใหญ่ ไม่ใช่แค่โครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนไป ปัญหาคนแก่ล้นเมืองเท่านั้น แต่งานวิจัยยังพบว่า 34% ของผู้สูงวัยในไทย ยังมีรายได้ต่ำกว่า “เส้นยากจน” (Poverty Line)
ขณะที่แรงงานภาคเกษตรมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนเพียงคนละ 6,975 บาทเท่านั้น นั่นหมายถึงเศรษฐกิจกำลังสุกง่อม ตามอายุของประชากรส่วนใหญ่ ภายใต้คนบางส่วน ไม่ใช่แค่อยู่ในภาวะมีกำลังการจับจ่ายใช้สอยน้อย แต่แม้แต่การหา “รายได้” ประทังชีวิต ยังต้องดิ้นรนกันแบบรายวัน
ข้อมูลวิจัยของ Worldbank ระบุ แม้ตั้งแต่ปี 2531 เป็นต้นมา กรุงเทพฯ มีการเปลี่ยนแปลง สามารถลดความยากจนได้ประมาณ 10% ต่อปี แต่ด้วยประเทศไทย เป็นเมืองเกษตรกรรม คนแต่ละภูมิภาคยังพึ่งพาการเกษตร เป็นแหล่งรายได้ที่พร้อมจะเผชิญปัจจัยแปรปรวน น้ำท่วม น้ำแล้ง ตลอดเวลา ราคาซื้อ-ขายพืชผล จึงขึ้นลงตามสภาพอากาศ ทำให้ “ประเทศไทย” ยังคงติดกับดักอยู่ในตำแหน่งประเทศรายได้ปานกลางมาเป็นเวลานานแล้ว
อย่างไรก็ดี “คนจน” ไม่ได้ยืนอยู่บนมิติในแง่รายได้ต่ำ กำหนดด้วยปริมาณเงินในกระเป๋าต่อเดือน/ต่อปีเท่านั้น แต่จากข้อมูลวิเคราะห์ของ ระบบ TPMAP หรือ Thai People Map and Analytics Platform ซึ่งถือเป็นระบบ Big Data ของภาครัฐที่สามารถระบุได้ว่า คนจนนั้นอยู่ที่ไหน มีปัญหาในมิติอะไรบ้าง?
พบว่าอัปเดตปี 2566 ภาพรวมคนจนของประเทศไทย (เป้าหมายที่ต้องได้รับการช่วยเหลือจากรัฐ) มีจำนวนอยู่ที่ 655,365 คน ทั้งนี้ มาจากประชากรสำรวจ 36,130,610 คน โดยวัดจาก 5 มิติด้วยกัน และพบว่าคนจน 1 คน มีปัญหาได้มากกว่า 1 ด้าน
1. ด้านสุขภาพ
2. ด้านความเป็นอยู่
3. ด้านการศึกษา
4. ด้านรายได้
5. ด้านการเข้าถึงบริการรัฐ
เปิดจักรวาล “คนจน” เมื่อคนไทย 1 คน จนมากกว่าที่คิด! “เส้นยากจน” วัดกันอย่างไร?
ก่อนหน้านี้ “Thairath Money” นำเสนอประเด็นข่าวเศรษฐกิจไทย กำลังเผชิญกับความท้าทายใหญ่ ไม่ใช่แค่โครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนไป ปัญหาคนแก่ล้นเมืองเท่านั้น แต่งานวิจัยยังพบว่า 34% ของผู้สูงวัยในไทย ยังมีรายได้ต่ำกว่า “เส้นยากจน” (Poverty Line)
ขณะที่แรงงานภาคเกษตรมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนเพียงคนละ 6,975 บาทเท่านั้น นั่นหมายถึงเศรษฐกิจกำลังสุกง่อม ตามอายุของประชากรส่วนใหญ่ ภายใต้คนบางส่วน ไม่ใช่แค่อยู่ในภาวะมีกำลังการจับจ่ายใช้สอยน้อย แต่แม้แต่การหา “รายได้” ประทังชีวิต ยังต้องดิ้นรนกันแบบรายวัน
ข้อมูลวิจัยของ Worldbank ระบุ แม้ตั้งแต่ปี 2531 เป็นต้นมา กรุงเทพฯ มีการเปลี่ยนแปลง สามารถลดความยากจนได้ประมาณ 10% ต่อปี แต่ด้วยประเทศไทย เป็นเมืองเกษตรกรรม คนแต่ละภูมิภาคยังพึ่งพาการเกษตร เป็นแหล่งรายได้ที่พร้อมจะเผชิญปัจจัยแปรปรวน น้ำท่วม น้ำแล้ง ตลอดเวลา ราคาซื้อ-ขายพืชผล จึงขึ้นลงตามสภาพอากาศ ทำให้ “ประเทศไทย” ยังคงติดกับดักอยู่ในตำแหน่งประเทศรายได้ปานกลางมาเป็นเวลานานแล้ว
อย่างไรก็ดี “คนจน” ไม่ได้ยืนอยู่บนมิติในแง่รายได้ต่ำ กำหนดด้วยปริมาณเงินในกระเป๋าต่อเดือน/ต่อปีเท่านั้น แต่จากข้อมูลวิเคราะห์ของ ระบบ TPMAP หรือ Thai People Map and Analytics Platform ซึ่งถือเป็นระบบ Big Data ของภาครัฐที่สามารถระบุได้ว่า คนจนนั้นอยู่ที่ไหน มีปัญหาในมิติอะไรบ้าง?
พบว่าอัปเดตปี 2566 ภาพรวมคนจนของประเทศไทย (เป้าหมายที่ต้องได้รับการช่วยเหลือจากรัฐ) มีจำนวนอยู่ที่ 655,365 คน ทั้งนี้ มาจากประชากรสำรวจ 36,130,610 คน โดยวัดจาก 5 มิติด้วยกัน และพบว่าคนจน 1 คน มีปัญหาได้มากกว่า 1 ด้าน
1. ด้านสุขภาพ
2. ด้านความเป็นอยู่
3. ด้านการศึกษา
4. ด้านรายได้
5. ด้านการเข้าถึงบริการรัฐ