Facebook - BIOTHAI มูลนิธิชีววิถี โพสต์ข้อความเปิดเผยว่า "ตัวแทนของบริษัทเบทาโกรแจ้งต่อกรรมาธิการอากาศสะอาดว่า บริษัทยังไม่มีระบบตรวจสอบย้อนกลับการรับซื้อข้าวโพด เพียงแต่มีความ "พยายาม" จะรับซื้อจากแหล่งที่ไม่เผา
ซึ่งเบทาโกรมีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 6-16% ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการผลิต เนื้อสัตว์ จากการรวมบรวมข้อมูลของไบโอไทยเ พบว่า บทาโกรมีส่วนแบ่งใน
- อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ประมาณ 6%
- การเลี้ยงหมู 15.6%
- ไข่ 10%
- และไก่เนื้อ 10%
นอกเหนือจากนั้น เบทาโกรยังมีกิจการโรงงานอาหารสัตว์แล้วในกัมพูชา และอยู่ระหว่างการจัดตั้งในพม่า เช่นกัน
หลังจากที่ทาง BIOTHAI กดดันให้ผู้ผลิตอาหารสัตว์เบอร์ 1 ของไทย อย่างเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพี ให้งดการรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากเกษตรกรที่รุกป่า และจากพื้นที่ที่มีการเผาไร่ข้าวโพดในประเทศไทยได้สำเร็จ อีกทั้งกดดันให้ทุกบริษัทผลิตอาหารสัตว์ในประเทศต้องมีระบบตรวจสอบย้อนกลับการรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พบข้อมูลเพียงบริษัทเดียว คือ เครือเจริญโภคภัณฑ์และบริษัทในเครือ ที่มีข่าวเรื่องระบบรับซื้อและตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ซีพียันจัดหาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ผ่านระบบตรวจสอบย้อนกลับ 100% ไม่รับและไม่นำเข้าผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากพื้นที่รุกป่า และพื้นที่ที่มาจากการเผา
เครือเจริญโภคภัณฑ์และบริษัทในเครือ ใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (corn traceability) ตั้งแต่ปี 2560 ยืนยันได้ว่าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่จัดหา 100% ในกิจการประเทศไทยสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ถึงแหล่งปลูกมีเอกสารสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย ปราศจากการบุกรุกพื้นที่ป่า ตลอดจนขับเคลื่อนพัฒนาศักยภาพเกษตรกรผู้ปลูกรายย่อย ปลูกจิตสำนึกการไม่เผาหลังเก็บเกี่ยว และหาแนวทางเพื่อร่วมแก้ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 สร้างหลักประกันการจัดหาข้าวโพดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ร่วมเป็นส่วนหนึ่งดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ล่าสุด Biothai โพสต์ว่า ตัวแทนของบริษัทเบทาโกรแจ้งต่อกรรมาธิการอากาศสะอาดว่าบริษัทยังไม่มีระบบตรวจสอบย้อนกลับการรับซื้อข้าวโพด เพียงแต่มีความ "พยายาม" จะรับซื้อจากแหล่งที่ไม่เผา
จนทำให้ชาวโชเซียลที่ตามเพจ BIOTHAI กดดันให้เบทาโกรต้องมีระบบตรวจสอบย้อนกลับเหมือนกับซีพีเช่นเดียวกัน เพราะคำว่า "พยายาม" นั้นไม่เพียงพอ หรือต้องให้เบทาโกรออกเป็นข้อตกลง หรือคำมั่นร่วมกัน และอีกส่วนก็เห็นว่าควรจะต้องผลักดันให้ระบบตรวจสอบย้อนกลับให้เป็นกฎหมายบังคับใช้อย่างจริงจัง และอีกส่วนก็ถามหาความรับผิดชอบร่วมกันของบริษัทอื่นๆ ที่ผลิตอาหารสัตว์เช่นเดียวกัน
นี่เป็นเพียงอีก 1 เหตุผลที่ทำไมเรื่องการแก้ไขปัญหาหมอกควันจากฝุ่น PM 2.5 จากพื้นที่ที่มีการเผาพืชผลทางการเกษตรไม่สามารถทำเพียงลำพังได้ แต่รัฐบาลต้องออกเป็นกฎหมาย เป็นข้อบังคับให้ทุกบริษัทต้องมี
ระบบตรวจสอบย้อนกลับ และไม่ใช่แค่กับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ แต่ยังต้องรวมไปถึงการเผาในที่โล่งแจ้งทุกชนิด ทั้ง อ้อย ข้าว มันสำปะหลัง และการเผาใบไม้ ขยะของครัวเรือนด้วย
การแก้ไขปัญหาเรื่องฝุ่น หมอกควัน และ PM 2.5 กับอากาศสะอาดของคนไทยทุกคนจะอยู่ไม่ไกล
เพียงแค่ทุกคนต้องร่วมมือกัน มิใช่ให้บุคคล องค์กร หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำเท่านั้น
แต่ทุกคนต้องร่วมมือกัน ความฝันอากาศสะอาดของคนไทยก็จะเป็นจริงได้
OMG !!! เบทาโกรไม่มีระบบตรวจสอบย้อนกลับการรับซื้อข้าวโพด
- อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ประมาณ 6%
- การเลี้ยงหมู 15.6%
- ไข่ 10%
- และไก่เนื้อ 10%
นอกเหนือจากนั้น เบทาโกรยังมีกิจการโรงงานอาหารสัตว์แล้วในกัมพูชา และอยู่ระหว่างการจัดตั้งในพม่า เช่นกัน
หลังจากที่ทาง BIOTHAI กดดันให้ผู้ผลิตอาหารสัตว์เบอร์ 1 ของไทย อย่างเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพี ให้งดการรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากเกษตรกรที่รุกป่า และจากพื้นที่ที่มีการเผาไร่ข้าวโพดในประเทศไทยได้สำเร็จ อีกทั้งกดดันให้ทุกบริษัทผลิตอาหารสัตว์ในประเทศต้องมีระบบตรวจสอบย้อนกลับการรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พบข้อมูลเพียงบริษัทเดียว คือ เครือเจริญโภคภัณฑ์และบริษัทในเครือ ที่มีข่าวเรื่องระบบรับซื้อและตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ล่าสุด Biothai โพสต์ว่า ตัวแทนของบริษัทเบทาโกรแจ้งต่อกรรมาธิการอากาศสะอาดว่าบริษัทยังไม่มีระบบตรวจสอบย้อนกลับการรับซื้อข้าวโพด เพียงแต่มีความ "พยายาม" จะรับซื้อจากแหล่งที่ไม่เผา
เพียงแค่ทุกคนต้องร่วมมือกัน มิใช่ให้บุคคล องค์กร หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำเท่านั้น
แต่ทุกคนต้องร่วมมือกัน ความฝันอากาศสะอาดของคนไทยก็จะเป็นจริงได้