**อันนี้ขอเว้นดราม่า นิดหนึ่ง เข้าใจอยู่นะว่า ก็อยากค้านเพื่อกลุ่มการเมือง ที่ชอบ ขอให้ละไว้ละกัน เพราะถ้าฝ่ายไหนได้เป็นรัฐบาล ไม่ว่าตอนนี้หรืออนาคต มันก็จำเป็นต้องทำเหมือนกันหมด
เกริ่น นำคร่าวๆ เราก็คงรู้เรื่องที่ประชากรโลก ในหลายๆประเทศ กำลังมีอัตราการเกิด ลดน้อย ถอยลงในหลายๆประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว และ อย่างยิ่ง ในส่วนของ ชนบท ของหลายๆประเทศ เรียกว่า ขาดแคลนประชากรวัยเด็กอย่างมาก
ในไทย ปัญหา เริ่มเห็น เช่น การปิดตัวของโรงเรียนต่างๆ ในชนบท ต่างจังหวัด ของไทย ที่แม้แต่เป็น อำเภอรองของจังหวัด เราก็มีให้เห็นแล้ว เยอะขึ้น ซึ่งไม่ใช่แค่ประเทศเรา มีเหมือนกันในหลายๆประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เวียดนาม ไทยก็เป็นหนึ่งในนั้น
เมื่อ เรามองต่างมุม เราไม่สามารถมองได้ว่า "คนไม่ยอมมีลูก" ได้เพียงอย่างเดียว เรามองอีกมุม ได้ว่า "คนไม่สามารถจับคู่สร้างครอบครัว" เพีมขึ้นได้
อัตรา คนเป็น "โสด" มากขึ้น เพราะไม่สามารถเข้าถึงมาตรฐานการแต่งงาน มีครอบครัว ในปัจจุบัน ที่มีเงื่อนไข "มากมาย" มากกว่าอดีตได้
รัฐ หากต้องการ แก้ไข อัตราการเกิดของประชากร ต้องมองภาพกว้างก่อนว่า ทำยังไง ถึงจะส่งเสริม การมีครอบครัว ซึ่งนำไปสู่ การมีบุตรประชากร
และแน่นอนว่า รัฐต้องใช้แนวทางนั้น ในการกระจายประชากร กลับคืนท้องถิ่น ต่างจังหวัด ต่างอำเภอ ให้ได้มากที่สุดด้วย
แน่นอน คำถามที่ตามมา "ทำยังไงล่ะ?"
"ก็คงต้องสนับสนุน จับคู่ประชากรให้มีครอบครัว จะได้มีลูก"
หลายคนอาจมองว่า แปลกประหลาด ชวนงง ชวนสงสัย แต่เอาเข้าจริงๆ มีหลายๆประเทศทำ ทั้งแบบโจ่งแจ้ง และแบบไม่โจ่งแจ้ง
เพื่อให้พลเมืองของเขา ได้เริ่มมีคู่ ไม่ว่าจะเป็นชาติเดียวกัน หรือ อิมพอร์ทประชากรเข้ามาแต่งงานกับคนในประเทศ แล้วให้สัญชาติไปเมื่อมีลูกกัน
เช่น
-จีน ในยุคลูกคนเดียวก่อนเริ่มนโยบายลูกหลายคน เคยนำเข้าหญิงเวียดนาม ไปแต่งงาน
-สิงคโปร สนับสนุน ให้มีลูก และสิทธิพิเศษ แม่เด็กที่หากเป็นคต่างด้าว จะให้สัญชาติ
-ยุโรป หลายๆประเทศ สนับสนุน ให้มีการหาคู่ กับหญิงต่างชาติ (เพราะหญิงในประเทศเรื่องมาก ) ให้สัญชาติจากการแต่งงานง่ายๆ
-รับผู้อพยพ จากต่างประเทศ เพื่อเพิ่มประชากรวัยทำงานให้มาก(เพิ่มแบบรับตรง)
-ในไทย สมัยอดีต จอมพล ป. ก็เคยทำโครงการจับคู่แต่งงานให้ (แจกที่ดินทำกิน จัดงานแต่งงานให้ ไม่ต้องมีสินสอด)
-ในหลายๆประเทศที่ผ่านสงครามโลกโดยเฉพาะเอเชีย ก็เคยมี การจับคู่ ผู้หญิงผู้ชาย ให้เงินสนับสนุนให้แต่งงาน ไม่เว้นแม้แต่ญี่ปุ่น ก็เคยทำแมาแล้ว
ดังนั้น หากรัฐจะนำโครงการเก่า มาปัดฝุ่นแก้ไขไหม่ ก็คงไม่ผิดหรือเปล่า?
แน่นอน การสนับสนุน ก็ต้อง มีผลประโยชน์ตอบแทน และเงื่อนไข ที่ต้องรับกันได้ คนที่จะได้รับการจับคู่ คัดกรอง ก็ต้องได้รับ "ผลประโยชน์ตอบแทนช่วยเหลือจากรัฐบ้าง" ในการช่วยฝ่าฟันปัญหาชีวิตคู่ ที่ผู้จ้องจับคู่ ต้องมีโอกาสได้รับ
เช่นอะไรบ้างล่ะ
-ที่ทำกิน ในสมัยก่อน จอมพลป. มอบที่ทำกิน ให้คนที่เข้าร่วมโครงการจับคู่แต่งงานได้าำเร็จ (ไม่ใช่สั่งให้ไปแต่งงาน แต่ ดูตัวตกลงกันแล้วว่าจะแต่งงานกันถือว่าสำเร็จ)
-ให้เงินอุดหนุน เช่น เงินช่วยเหลือรายเดือน ในระยะเวลาหนึ่งๆ เพื่อเป็นทุนในการประกอบอาชีพ หรือเลี้ยงดูครอบครัว 5-6 ปี
-การเลื่อนตำแหน่ง เงินเดือน กรณี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เป็นข้าราชการ เช่น ประเมิน 4-5% ต่อปี 5-6ปี
-การโยกย้ายที่ทำงาน ให้ไปอยู่ในพื้นที่เดียวกับครอบครัว (โดยไม่ต้องรอโยกย้าย เป็นกรณีพิเศษ)
สาระสำคัญ ถ้ามาทำใหม่ยุคนี้ ควรมีโจทก์อะไร เพราะอดีต-ปัจจุบัน ไม่เหมือนกัน?
โจทก์ที่สำคัญ ของการเสนอให้มีนโยบาย จับคู่แต่งงานพลเมือง มันมีเป้าหมายที่มากกว่าอดีตมาก ที่ต้องการแค่ประชากร
-เราต้องการประชากรคุณภาพ (ไม่เอาลูกมาแง้นๆ)
-เราต้องการการกระจายตัวของคู่แต่งงาน ให้สร้างครอบครัว ในพื้นที่ต่างจังหวัด มากกว่าการกระจุกตัวในเมือง
-เราต้องการประชากรที่ต้องการสร้างตัวได้(ขาดวุฒิภาวะมากไปก็ก่อเรื่องกัน)
-เราต้องการประชากร ในต่างจังหวัด (ก็ต้องจำเป็นต้องจะดสรรที่ทำกิน เหมือนญี่ปุ่นก็ทำอยู่)
-เราต้องการประชากรวัยทำงานได้ และยังท้องได้ มากกว่าวัยรุ่นที่ต้องไปเผชิญโลกกว้าง(กว่าไหม? หรือไม่?)
ถ้ารัฐบาล(ไหนก็ได้)ซื้อไอเดีย ควรกำหนดอะไรบ้าง?
แน่นอน ว่า รัฐคงไม่สามารถ สนับสนุน "ใครก็ได้" ให้จับคู่แต่งงาน เพราะ ถ้าคิดถึงผลประโยชน์ ที่จะได้รับ จากการเข้าโครงการ มันก็ถือว่าเยอะมากอยู่ เช่น
-เงินอุดหนุนรายเดือน (สมมติ ให้คนละ 3000/คน 6000/คู่ ตกคู่ละ72,000 บาทต่อปี)
-ที่ดินทำกิน หรือ ที่อยู่อาศัย (หาที่ทำกิน/ที่อาศัย ไม่เกิน 1 ไร่ /ช่วยค่าบ้านมูลค่าไม่เกิน 150,000 บาท)
-ข้อเสนอเรื่องสวัสดิการ
-การสนับสนุนการเจริญพันธ์ุ (ช่วยให้ท้อง โดยทางการแพทย์)
-การสนับสนุน ทางกฏหมายพิเศษ
-ถ้าเป็นข้าราชการ ให้ขึ้นเงินเดือน 5% เพิ่มจนระยะเวลาสนับสนุน
ดังนั้น รัฐควรกำหนด หลักเกณฑ์ เพื่อคัดกรอง ผู้เข้าร่วมโครงการ หรือ แม้กระทั่งจัดหาผู้เข้าร่วมโครงการ (ในฐานนะ พ่อสื่อแม่สื่อก็ได้)
เช่น
-มีอายุ 30-35-45 ปี ซึ่งอยู่ในวัยที่มีความพร้อมในการสร้างครอบครัวมาก เพราะ ที่อายุ 35-45 ปี ที่โอกาสในการรับเข้าทำงานทั้งภาครัฐและเอกชนน้อยลงมาก การให้ไปตั้งต้นชีวิต อาจเป็นเรื่องที่รัฐหรือสังคมควรช่วยได้ (ถ้าไม่นับผลประโยชน์ทางอ้อมที่สังคมและรัฐจะได้รับ)
-มีระดับการศึกษา ไม่ต่ำกว่า ปวช. หรือ ปวส. (อย่างน้อยมีความรู้วิชาชีพติดตัว) หรือ ป.ตรี (หากเอามั่นใจว่าเอาดีๆเลย)
-ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง มีที่อยู่อาศัย ในพื้นที่ ต่างจังหวัด หรืออำเภอรอง (ไม่อยู่ในพื้นที่เศษรฐกิจจังหวัดนั้นๆ) และไม่ได้สนับสนุนทุกพื้นที่
- หมู่บ้านหนึ่ง ควรจัดให้มีการหาคู่ ไม่เกิน 5 คู่ โดย ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นคนในหมู่บ้าน (ประหยัดงบหน่อย)+(หมู่บ้านส่งเข้าประกวด)
-ตรวจประวัติอาชญากรรมผ่าน
-ตรวจระดับ EQ ผ่าน (เดี๋ยวตีกันตายอีก)
-ตรวจโรคทางพันธุกรรมอันตราย
-ข้อสำคัญ คือ "โสด" หรือ "หม้าย ไม่มีลูกมาก่อน" มีลูกแต่อีกฝ่ายเอาไปเลี้ยงก็ไม่นับ เดี๋ยวตีเนียนเอาผลประโยชน์
-กรณี เป็นคนต่างชาติ สามารถสมัครได้ เว้น วุฒืการศึกษาให้ แต่ต้องรับรองพืสูจน์คุณสมบัติอื่นๆผ่าน (ทำเหมือนหลายๆประเทศ)
-หมู่บ้าน ต้องรับรองความประพฤติ ว่าไม่ก้าวร้าว ไม่รุ่มร่าม
แล้วจะหาคนเข้าโครงการได้จากไหน?
การจับคู่ ในที่นี้ เพื่อการกระจายประชากรด้วย ต้องหาจาก
1. คนในหมู่บ้าน โดย อสม. ผญบ. เป็นผู้เข้าไปทาบทาม (เอาน่า อสม.รู้ทุกเรื่อง) คนโสดในหมู่บ้านที่มีคุณสมบัติ (โควต้า 5 คนต่อหมู่บ้านพอ)
2. ส่งคัดเลือก ได้ด้วยตัวเอง หรือ โดยสามารถ ให้พ่อแม่ ส่งความต้องการหาคู่ให้บุตรหลานได้ (นอกโควต้าหมู่บ้าน)
3. ต่างชาติ ให้ส่งสมัครคัดเลือกได้ด้วยตัวเอง (นอกโควต้าหมู่บ้าน)
จับคู่แมทช์ยังไงดี?
เงื่อนไข ค่อนข้างซับซ้อน
-เพื่อนร่วมรุ่น สถาบันการศึกษา สาขาวิชา โรงเรียน ประถม-มัธยม-วิทยาลัย-ใหาลัย รุ่นพี่รุ่นน้อง ได้เลือกก่อน แม้ข้ามจังหวัด ข้ามเขต (เพราะน่าจะรู้จักนิสัยใจคอกันมาบ้าง มาก่อน ต้องคำนึงถึงความเข้ากันได้เป็นหลัก) ถ้ายังโสด เข้าร่วมอ่ะนะ
-คนพื้นที่ใกล้ในจังหวัดเดียวกัน ได้เลือกรองลงมา (เพราะรักห่างไกล ถือว่าค่าใช้จ่ายสูงมากนะ)
-คนในอำเภอ ได้เลือก อันดับต่อมา (เพราะบางครั้ง ญาติของญาติ มันอาจมาพร้อมด้วยปัญหาใหญ่หลวง)
-เงื่อนไขพิเศษ คือ จำเพาะเจาะจงกันเอง (คือ แ_่ง เป็นแฟนกันอยู่ก่อนนั่นแหละ แต่อนุโลมหากคุณสมบัติผ่าน)
ทำความรู้จักกันยังไง?
เมื่อ เลือกกันเองได้แล้ว โดยสามารถ เดท ไปทำความรู้จักกัน ได้ 1 ครั้ง/คน โดยรัฐ ออกค่าใช้จ่ายให้ 450 บาท/คน แต่ไม่เกิน 3 ครั้ง จะแดกแพงกว่าก็ออกกันเอง จะเป็นค่าเดินทาง ค่ากิน หรืออะไรก็ได้
หรือก็คือ เลือก เดทได้ 3 คนพอ ถ้าไม่ได้ ถือว่า มิชชั่น ไม่ผ่าน ไม่จัดงานแต่ง ประหยัดงบไป
งบประมาณใช้เท่าไหร่ ต่อปี ?
คำนวน เบื้องต้น ถ้า จับคู่ 5 คู่ ต่อ 1 หมู่บ้าน และ ในประเทศไทย มีอยู่ 75,000 หมู่บ้าน
ถ้าจับคู่ ที่ 5 คู่ต่อหมู่บ้านหมด (ซึ่งเป็นไปได้ยากเพราะหมู่บ้านส่วนใหญ่มีขนาดเล็กเกิน อาจเข้าร่วมได้ไม่หมด) จะอยู่ที่ 375,000 คู่ (แทบไม่ชดเชยส่วนต่างประชากรให้เต็มได้เลย)
จะต้องใช้เงินอุดหนุน ต่อปีคือ 375,000 * 72,000 = 27,000 ล้านบาท/ปี
แต่ถ้า ไปใช้งบ ที่ไว้ลงทุนพัฒนาจังหวัด 75 จังหวัด หารกลมๆ จะได้ 360 ล้านบาท/ปี (เพราะผลประโยชน์ เป็นของจังหวัดล้วนๆ ได้ประชากร ได้กระตุ้นเศรษฐกิจ การบริโภคในพื้นที่)
รัฐ+สังคม ได้อะไรจากงบประมาณมหาศาลนี้?
เป็นคำถาม ที่ตอบยากและง่าย เพราะเรามองไม่เท่ากัน
มันจะดีกว่า ถ้าเราได้สร้าง "ประชากร" ที่ค่อนข้างมีคุณภาพ ได้กระจายตัวออกไปยังพื้นที่ห่างไกลตัวเมือง เพราะนับวัน ถ้าย้อนกลับไปดูที่ปัญหาที่เราต้องเผชิญ เหมือน ประเทศใหญ่ๆหลายๆประเทศ ที่หลายเมือง "กลายเป็นเมืองร้าง" เพราะผู้คนหนุ่มสาว ไม่สามารถกลับไปตั้งรกราก อยู่ในแถบชนบาทได้ อีกทั้ง การใช้ชีวิตในเมือง ยิ่งทำให้ "ไม่สามารถมีครอบครัวได้" เนื่องจาก ค่าใช้จ่าย และโอกาสในการทำงาน ลดน้อยลงตามอายุ
คนส่วนน้อย ในเมือง จะรวยมากๆ กลับกัน คนส่วนใหญ่ในเมือง มีโอกาสที่จะต้องมาใช้ชีวิต เร่ร่อน เมื่อยามชรา เพราะไม่มีที่ให้ไป
การออกไปอยู่ชนบท ถ้าไม่อยู่ในวัยที่ยังสามารถทำได้ นั่นคือวัยที่พร้อมมีลูก จะไม่สามารถประกอบอาชีพที่อยู่ในวิถีเมืองได้เลย และอาชีพวิถีเมือง ส่วนใหญ่ ก็ไม่สามารถใช้ในวิถีชนบทได้เช่นกัน
การสร้างแรงจูงใจ ให้เกิดการสร้างครอบครัว ในชนบท ต่างจังหวัด ในยุคใหม่ จะต่างกับ ยุค จอมพล ป. ค่อนข้างมาก เพราะนั่นคือ การเน้นเรื่องการสร้างประชากร
แต่ยุคใหม่ นอกจากจะต้องสร้างประชากร ยังต้องมีหน้าที่ในการ
-ยืดชีวิต วิถีชนบท ออกไป
-เพิ่ม อัตรา การผลิตเกษตรกรรม
-คงอัตราการจ้างงานหน่วยงานราชการ ไม่ให้ถูกยุบ/ปิด เนื่องจาก ชุมชนตายจากหมดไป เริ่มจาก โรงเรียน จากนั้น ก็สถานพยาบาล สถานีตำรวจ หน่วยงานรัฐต่างๆ ก็จะอยู่ไม่ได้ เช่นกัน ถ้าอัตราประชากร เบาบางจนหมดลง เหมือนในหลายๆประเทศเผชิญอยู่
เงื่อนไขอะไรบ้างที่ต้องทำ หาก แมทช์กัน?
-ไม่มีงานสมรส เว้นแต่ทางจังหวัด จัดให้
-ไม่มีการให้สินสอด เพราะจะต้องเป็นภาระแท่คู่บ่าวสาวมากมาย
-การจดทะเบียนสมรส จะเป็นการจดแบบ "มีสัญญาก่อนแต่ง" เพราะเราก็ไม่รู้ว่า ทั้งคู่จะไปกันได้ยืดจริงไหม?
-อาจมีการยินยอมสมรส แบบ Polygamy หากทั้งหมด ยินยอมร่วมกัน
-ต้อง ย้ายทะเบียน เข้าสู่ถิ่นฐานคู่สมรส (แต่อนุโลม ยังทำงานที่เดิมได้)
-ต้องมีบุตร ภายใน 2 ปี โดยรัฐให้คำแนะนำสนับสนุนทางการแพทย์อย่างเต็มที่
-หากจำเป็นต้องทำแท้ง เนื่องจากมีภาวะพิการในครรภ์ ไม่ถือเป็นความผิด
-บุตรที่เกิดมา ต้องเข้าเรียน ในโรงเรียนของรัฐ อย่างน้อย เป็นเวลา 6ปี โดยสวัสดิการอื่นใด ที่รัฐต้องให้อยู่แล้ว เด็กต้องได้ ไม่สามารถเอาสิทธิที่พ่อแม่รับไปแล้วอ้างได้
-การแต่งงานของทั้งคู่ ต้องมาจากความ "สมัครใจ" ของทั้ง 2 ฝ่าย หากมีคนนอกคัดค้าน สามารถคัดค้าน ได้เฉพาะเจาะจงตัวเท่านั้น
-สิทธิในมดลูกผู้หญิง เป็นของเจ้าตัว ไม่ใช่เป็นของนักเคลื่อนไหว ทางการเมือง หรือนักเรียกร้องสิทธิ
-หากไม่ต้องการที่จะสมรสกันต่อ สามารถทำการหย่ากันได้ และสิทธิที่ได้ จะต้องยุติลงทันที ที่ได้ไปแล้ว ไม่ต้องคืน เว้นแต่จะเป็นสิทธิที่ดินทำกินที่ได้รับแจก ต้องคืน
-ย้ายถิ่นฐานที่อยู่ ทะเบียนบ้าน ออกจากพื้นที่ ให้ถือว่า สิทธิประโยชน์ หมดลงทันทีเช่นกัน
-*สำคัญ* การจับคู่แต่งงาน ต้องได้รับการยินยอม ตกลงใจด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย รัฐมีหน้าที่สนับสนุน ไม่มีการบังคับใดๆ
นี่เป็นแค่เรื่องที่สมมติขึ้นมา เผื่อนำไปคิดต่อยอด ใครคิดเห็นประการใดว่ามาได้ครับ แต่ขอร้อง อย่า Toxic กันมาก(เพราะถ้าแค่คุณไม่อยากแต่งงาน มีคู่ ก็อย่าป่วนกันเลยนะ)
ถ้าคนที่อยากแต่งงาน แล้ว ถ้าให้รัฐมีแนวทางช่วยเหลือบ้าง มันก็ดี ซึ่งมันก็ไม่ได้ให้เปล่า เป็นการให้โดยมีข้อแลกเปลี่ยนที่ถือว่า ค่อนข้างเยอะไหม
*** ปิดโหวต วันที่ 04 พฤษภาคม พ.ศ.2567 เวลา 00:24:31 น.
1. คิดว่า โครงการประมาณนี้ เข้าท่าไหม
คุณลืมตอบคำถามที่ * จำเป็นต้องตอบ
(ขายไอเดียให้รัฐ) นโยบายเพิ่มจำนวนประชากรไทย ในยุควิกฤติอัตราเกิดพลเมืองต่ำ ดีไหมถ้าต้องกระตุ้น
เกริ่น นำคร่าวๆ เราก็คงรู้เรื่องที่ประชากรโลก ในหลายๆประเทศ กำลังมีอัตราการเกิด ลดน้อย ถอยลงในหลายๆประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว และ อย่างยิ่ง ในส่วนของ ชนบท ของหลายๆประเทศ เรียกว่า ขาดแคลนประชากรวัยเด็กอย่างมาก
ในไทย ปัญหา เริ่มเห็น เช่น การปิดตัวของโรงเรียนต่างๆ ในชนบท ต่างจังหวัด ของไทย ที่แม้แต่เป็น อำเภอรองของจังหวัด เราก็มีให้เห็นแล้ว เยอะขึ้น ซึ่งไม่ใช่แค่ประเทศเรา มีเหมือนกันในหลายๆประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เวียดนาม ไทยก็เป็นหนึ่งในนั้น
เมื่อ เรามองต่างมุม เราไม่สามารถมองได้ว่า "คนไม่ยอมมีลูก" ได้เพียงอย่างเดียว เรามองอีกมุม ได้ว่า "คนไม่สามารถจับคู่สร้างครอบครัว" เพีมขึ้นได้
อัตรา คนเป็น "โสด" มากขึ้น เพราะไม่สามารถเข้าถึงมาตรฐานการแต่งงาน มีครอบครัว ในปัจจุบัน ที่มีเงื่อนไข "มากมาย" มากกว่าอดีตได้
รัฐ หากต้องการ แก้ไข อัตราการเกิดของประชากร ต้องมองภาพกว้างก่อนว่า ทำยังไง ถึงจะส่งเสริม การมีครอบครัว ซึ่งนำไปสู่ การมีบุตรประชากร
และแน่นอนว่า รัฐต้องใช้แนวทางนั้น ในการกระจายประชากร กลับคืนท้องถิ่น ต่างจังหวัด ต่างอำเภอ ให้ได้มากที่สุดด้วย
แน่นอน คำถามที่ตามมา "ทำยังไงล่ะ?"
"ก็คงต้องสนับสนุน จับคู่ประชากรให้มีครอบครัว จะได้มีลูก"
หลายคนอาจมองว่า แปลกประหลาด ชวนงง ชวนสงสัย แต่เอาเข้าจริงๆ มีหลายๆประเทศทำ ทั้งแบบโจ่งแจ้ง และแบบไม่โจ่งแจ้ง
เพื่อให้พลเมืองของเขา ได้เริ่มมีคู่ ไม่ว่าจะเป็นชาติเดียวกัน หรือ อิมพอร์ทประชากรเข้ามาแต่งงานกับคนในประเทศ แล้วให้สัญชาติไปเมื่อมีลูกกัน
เช่น
-จีน ในยุคลูกคนเดียวก่อนเริ่มนโยบายลูกหลายคน เคยนำเข้าหญิงเวียดนาม ไปแต่งงาน
-สิงคโปร สนับสนุน ให้มีลูก และสิทธิพิเศษ แม่เด็กที่หากเป็นคต่างด้าว จะให้สัญชาติ
-ยุโรป หลายๆประเทศ สนับสนุน ให้มีการหาคู่ กับหญิงต่างชาติ (เพราะหญิงในประเทศเรื่องมาก ) ให้สัญชาติจากการแต่งงานง่ายๆ
-รับผู้อพยพ จากต่างประเทศ เพื่อเพิ่มประชากรวัยทำงานให้มาก(เพิ่มแบบรับตรง)
-ในไทย สมัยอดีต จอมพล ป. ก็เคยทำโครงการจับคู่แต่งงานให้ (แจกที่ดินทำกิน จัดงานแต่งงานให้ ไม่ต้องมีสินสอด)
-ในหลายๆประเทศที่ผ่านสงครามโลกโดยเฉพาะเอเชีย ก็เคยมี การจับคู่ ผู้หญิงผู้ชาย ให้เงินสนับสนุนให้แต่งงาน ไม่เว้นแม้แต่ญี่ปุ่น ก็เคยทำแมาแล้ว
ดังนั้น หากรัฐจะนำโครงการเก่า มาปัดฝุ่นแก้ไขไหม่ ก็คงไม่ผิดหรือเปล่า?
แน่นอน การสนับสนุน ก็ต้อง มีผลประโยชน์ตอบแทน และเงื่อนไข ที่ต้องรับกันได้ คนที่จะได้รับการจับคู่ คัดกรอง ก็ต้องได้รับ "ผลประโยชน์ตอบแทนช่วยเหลือจากรัฐบ้าง" ในการช่วยฝ่าฟันปัญหาชีวิตคู่ ที่ผู้จ้องจับคู่ ต้องมีโอกาสได้รับ
เช่นอะไรบ้างล่ะ
-ที่ทำกิน ในสมัยก่อน จอมพลป. มอบที่ทำกิน ให้คนที่เข้าร่วมโครงการจับคู่แต่งงานได้าำเร็จ (ไม่ใช่สั่งให้ไปแต่งงาน แต่ ดูตัวตกลงกันแล้วว่าจะแต่งงานกันถือว่าสำเร็จ)
-ให้เงินอุดหนุน เช่น เงินช่วยเหลือรายเดือน ในระยะเวลาหนึ่งๆ เพื่อเป็นทุนในการประกอบอาชีพ หรือเลี้ยงดูครอบครัว 5-6 ปี
-การเลื่อนตำแหน่ง เงินเดือน กรณี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เป็นข้าราชการ เช่น ประเมิน 4-5% ต่อปี 5-6ปี
-การโยกย้ายที่ทำงาน ให้ไปอยู่ในพื้นที่เดียวกับครอบครัว (โดยไม่ต้องรอโยกย้าย เป็นกรณีพิเศษ)
สาระสำคัญ ถ้ามาทำใหม่ยุคนี้ ควรมีโจทก์อะไร เพราะอดีต-ปัจจุบัน ไม่เหมือนกัน?
โจทก์ที่สำคัญ ของการเสนอให้มีนโยบาย จับคู่แต่งงานพลเมือง มันมีเป้าหมายที่มากกว่าอดีตมาก ที่ต้องการแค่ประชากร
-เราต้องการประชากรคุณภาพ (ไม่เอาลูกมาแง้นๆ)
-เราต้องการการกระจายตัวของคู่แต่งงาน ให้สร้างครอบครัว ในพื้นที่ต่างจังหวัด มากกว่าการกระจุกตัวในเมือง
-เราต้องการประชากรที่ต้องการสร้างตัวได้(ขาดวุฒิภาวะมากไปก็ก่อเรื่องกัน)
-เราต้องการประชากร ในต่างจังหวัด (ก็ต้องจำเป็นต้องจะดสรรที่ทำกิน เหมือนญี่ปุ่นก็ทำอยู่)
-เราต้องการประชากรวัยทำงานได้ และยังท้องได้ มากกว่าวัยรุ่นที่ต้องไปเผชิญโลกกว้าง(กว่าไหม? หรือไม่?)
ถ้ารัฐบาล(ไหนก็ได้)ซื้อไอเดีย ควรกำหนดอะไรบ้าง?
แน่นอน ว่า รัฐคงไม่สามารถ สนับสนุน "ใครก็ได้" ให้จับคู่แต่งงาน เพราะ ถ้าคิดถึงผลประโยชน์ ที่จะได้รับ จากการเข้าโครงการ มันก็ถือว่าเยอะมากอยู่ เช่น
-เงินอุดหนุนรายเดือน (สมมติ ให้คนละ 3000/คน 6000/คู่ ตกคู่ละ72,000 บาทต่อปี)
-ที่ดินทำกิน หรือ ที่อยู่อาศัย (หาที่ทำกิน/ที่อาศัย ไม่เกิน 1 ไร่ /ช่วยค่าบ้านมูลค่าไม่เกิน 150,000 บาท)
-ข้อเสนอเรื่องสวัสดิการ
-การสนับสนุนการเจริญพันธ์ุ (ช่วยให้ท้อง โดยทางการแพทย์)
-การสนับสนุน ทางกฏหมายพิเศษ
-ถ้าเป็นข้าราชการ ให้ขึ้นเงินเดือน 5% เพิ่มจนระยะเวลาสนับสนุน
ดังนั้น รัฐควรกำหนด หลักเกณฑ์ เพื่อคัดกรอง ผู้เข้าร่วมโครงการ หรือ แม้กระทั่งจัดหาผู้เข้าร่วมโครงการ (ในฐานนะ พ่อสื่อแม่สื่อก็ได้)
เช่น
-มีอายุ 30-35-45 ปี ซึ่งอยู่ในวัยที่มีความพร้อมในการสร้างครอบครัวมาก เพราะ ที่อายุ 35-45 ปี ที่โอกาสในการรับเข้าทำงานทั้งภาครัฐและเอกชนน้อยลงมาก การให้ไปตั้งต้นชีวิต อาจเป็นเรื่องที่รัฐหรือสังคมควรช่วยได้ (ถ้าไม่นับผลประโยชน์ทางอ้อมที่สังคมและรัฐจะได้รับ)
-มีระดับการศึกษา ไม่ต่ำกว่า ปวช. หรือ ปวส. (อย่างน้อยมีความรู้วิชาชีพติดตัว) หรือ ป.ตรี (หากเอามั่นใจว่าเอาดีๆเลย)
-ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง มีที่อยู่อาศัย ในพื้นที่ ต่างจังหวัด หรืออำเภอรอง (ไม่อยู่ในพื้นที่เศษรฐกิจจังหวัดนั้นๆ) และไม่ได้สนับสนุนทุกพื้นที่
- หมู่บ้านหนึ่ง ควรจัดให้มีการหาคู่ ไม่เกิน 5 คู่ โดย ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นคนในหมู่บ้าน (ประหยัดงบหน่อย)+(หมู่บ้านส่งเข้าประกวด)
-ตรวจประวัติอาชญากรรมผ่าน
-ตรวจระดับ EQ ผ่าน (เดี๋ยวตีกันตายอีก)
-ตรวจโรคทางพันธุกรรมอันตราย
-ข้อสำคัญ คือ "โสด" หรือ "หม้าย ไม่มีลูกมาก่อน" มีลูกแต่อีกฝ่ายเอาไปเลี้ยงก็ไม่นับ เดี๋ยวตีเนียนเอาผลประโยชน์
-กรณี เป็นคนต่างชาติ สามารถสมัครได้ เว้น วุฒืการศึกษาให้ แต่ต้องรับรองพืสูจน์คุณสมบัติอื่นๆผ่าน (ทำเหมือนหลายๆประเทศ)
-หมู่บ้าน ต้องรับรองความประพฤติ ว่าไม่ก้าวร้าว ไม่รุ่มร่าม
แล้วจะหาคนเข้าโครงการได้จากไหน?
การจับคู่ ในที่นี้ เพื่อการกระจายประชากรด้วย ต้องหาจาก
1. คนในหมู่บ้าน โดย อสม. ผญบ. เป็นผู้เข้าไปทาบทาม (เอาน่า อสม.รู้ทุกเรื่อง) คนโสดในหมู่บ้านที่มีคุณสมบัติ (โควต้า 5 คนต่อหมู่บ้านพอ)
2. ส่งคัดเลือก ได้ด้วยตัวเอง หรือ โดยสามารถ ให้พ่อแม่ ส่งความต้องการหาคู่ให้บุตรหลานได้ (นอกโควต้าหมู่บ้าน)
3. ต่างชาติ ให้ส่งสมัครคัดเลือกได้ด้วยตัวเอง (นอกโควต้าหมู่บ้าน)
จับคู่แมทช์ยังไงดี?
เงื่อนไข ค่อนข้างซับซ้อน
-เพื่อนร่วมรุ่น สถาบันการศึกษา สาขาวิชา โรงเรียน ประถม-มัธยม-วิทยาลัย-ใหาลัย รุ่นพี่รุ่นน้อง ได้เลือกก่อน แม้ข้ามจังหวัด ข้ามเขต (เพราะน่าจะรู้จักนิสัยใจคอกันมาบ้าง มาก่อน ต้องคำนึงถึงความเข้ากันได้เป็นหลัก) ถ้ายังโสด เข้าร่วมอ่ะนะ
-คนพื้นที่ใกล้ในจังหวัดเดียวกัน ได้เลือกรองลงมา (เพราะรักห่างไกล ถือว่าค่าใช้จ่ายสูงมากนะ)
-คนในอำเภอ ได้เลือก อันดับต่อมา (เพราะบางครั้ง ญาติของญาติ มันอาจมาพร้อมด้วยปัญหาใหญ่หลวง)
-เงื่อนไขพิเศษ คือ จำเพาะเจาะจงกันเอง (คือ แ_่ง เป็นแฟนกันอยู่ก่อนนั่นแหละ แต่อนุโลมหากคุณสมบัติผ่าน)
ทำความรู้จักกันยังไง?
เมื่อ เลือกกันเองได้แล้ว โดยสามารถ เดท ไปทำความรู้จักกัน ได้ 1 ครั้ง/คน โดยรัฐ ออกค่าใช้จ่ายให้ 450 บาท/คน แต่ไม่เกิน 3 ครั้ง จะแดกแพงกว่าก็ออกกันเอง จะเป็นค่าเดินทาง ค่ากิน หรืออะไรก็ได้
หรือก็คือ เลือก เดทได้ 3 คนพอ ถ้าไม่ได้ ถือว่า มิชชั่น ไม่ผ่าน ไม่จัดงานแต่ง ประหยัดงบไป
งบประมาณใช้เท่าไหร่ ต่อปี ?
คำนวน เบื้องต้น ถ้า จับคู่ 5 คู่ ต่อ 1 หมู่บ้าน และ ในประเทศไทย มีอยู่ 75,000 หมู่บ้าน
ถ้าจับคู่ ที่ 5 คู่ต่อหมู่บ้านหมด (ซึ่งเป็นไปได้ยากเพราะหมู่บ้านส่วนใหญ่มีขนาดเล็กเกิน อาจเข้าร่วมได้ไม่หมด) จะอยู่ที่ 375,000 คู่ (แทบไม่ชดเชยส่วนต่างประชากรให้เต็มได้เลย)
จะต้องใช้เงินอุดหนุน ต่อปีคือ 375,000 * 72,000 = 27,000 ล้านบาท/ปี
แต่ถ้า ไปใช้งบ ที่ไว้ลงทุนพัฒนาจังหวัด 75 จังหวัด หารกลมๆ จะได้ 360 ล้านบาท/ปี (เพราะผลประโยชน์ เป็นของจังหวัดล้วนๆ ได้ประชากร ได้กระตุ้นเศรษฐกิจ การบริโภคในพื้นที่)
รัฐ+สังคม ได้อะไรจากงบประมาณมหาศาลนี้?
เป็นคำถาม ที่ตอบยากและง่าย เพราะเรามองไม่เท่ากัน
มันจะดีกว่า ถ้าเราได้สร้าง "ประชากร" ที่ค่อนข้างมีคุณภาพ ได้กระจายตัวออกไปยังพื้นที่ห่างไกลตัวเมือง เพราะนับวัน ถ้าย้อนกลับไปดูที่ปัญหาที่เราต้องเผชิญ เหมือน ประเทศใหญ่ๆหลายๆประเทศ ที่หลายเมือง "กลายเป็นเมืองร้าง" เพราะผู้คนหนุ่มสาว ไม่สามารถกลับไปตั้งรกราก อยู่ในแถบชนบาทได้ อีกทั้ง การใช้ชีวิตในเมือง ยิ่งทำให้ "ไม่สามารถมีครอบครัวได้" เนื่องจาก ค่าใช้จ่าย และโอกาสในการทำงาน ลดน้อยลงตามอายุ
คนส่วนน้อย ในเมือง จะรวยมากๆ กลับกัน คนส่วนใหญ่ในเมือง มีโอกาสที่จะต้องมาใช้ชีวิต เร่ร่อน เมื่อยามชรา เพราะไม่มีที่ให้ไป
การออกไปอยู่ชนบท ถ้าไม่อยู่ในวัยที่ยังสามารถทำได้ นั่นคือวัยที่พร้อมมีลูก จะไม่สามารถประกอบอาชีพที่อยู่ในวิถีเมืองได้เลย และอาชีพวิถีเมือง ส่วนใหญ่ ก็ไม่สามารถใช้ในวิถีชนบทได้เช่นกัน
การสร้างแรงจูงใจ ให้เกิดการสร้างครอบครัว ในชนบท ต่างจังหวัด ในยุคใหม่ จะต่างกับ ยุค จอมพล ป. ค่อนข้างมาก เพราะนั่นคือ การเน้นเรื่องการสร้างประชากร
แต่ยุคใหม่ นอกจากจะต้องสร้างประชากร ยังต้องมีหน้าที่ในการ
-ยืดชีวิต วิถีชนบท ออกไป
-เพิ่ม อัตรา การผลิตเกษตรกรรม
-คงอัตราการจ้างงานหน่วยงานราชการ ไม่ให้ถูกยุบ/ปิด เนื่องจาก ชุมชนตายจากหมดไป เริ่มจาก โรงเรียน จากนั้น ก็สถานพยาบาล สถานีตำรวจ หน่วยงานรัฐต่างๆ ก็จะอยู่ไม่ได้ เช่นกัน ถ้าอัตราประชากร เบาบางจนหมดลง เหมือนในหลายๆประเทศเผชิญอยู่
เงื่อนไขอะไรบ้างที่ต้องทำ หาก แมทช์กัน?
-ไม่มีงานสมรส เว้นแต่ทางจังหวัด จัดให้
-ไม่มีการให้สินสอด เพราะจะต้องเป็นภาระแท่คู่บ่าวสาวมากมาย
-การจดทะเบียนสมรส จะเป็นการจดแบบ "มีสัญญาก่อนแต่ง" เพราะเราก็ไม่รู้ว่า ทั้งคู่จะไปกันได้ยืดจริงไหม?
-อาจมีการยินยอมสมรส แบบ Polygamy หากทั้งหมด ยินยอมร่วมกัน
-ต้อง ย้ายทะเบียน เข้าสู่ถิ่นฐานคู่สมรส (แต่อนุโลม ยังทำงานที่เดิมได้)
-ต้องมีบุตร ภายใน 2 ปี โดยรัฐให้คำแนะนำสนับสนุนทางการแพทย์อย่างเต็มที่
-หากจำเป็นต้องทำแท้ง เนื่องจากมีภาวะพิการในครรภ์ ไม่ถือเป็นความผิด
-บุตรที่เกิดมา ต้องเข้าเรียน ในโรงเรียนของรัฐ อย่างน้อย เป็นเวลา 6ปี โดยสวัสดิการอื่นใด ที่รัฐต้องให้อยู่แล้ว เด็กต้องได้ ไม่สามารถเอาสิทธิที่พ่อแม่รับไปแล้วอ้างได้
-การแต่งงานของทั้งคู่ ต้องมาจากความ "สมัครใจ" ของทั้ง 2 ฝ่าย หากมีคนนอกคัดค้าน สามารถคัดค้าน ได้เฉพาะเจาะจงตัวเท่านั้น
-สิทธิในมดลูกผู้หญิง เป็นของเจ้าตัว ไม่ใช่เป็นของนักเคลื่อนไหว ทางการเมือง หรือนักเรียกร้องสิทธิ
-หากไม่ต้องการที่จะสมรสกันต่อ สามารถทำการหย่ากันได้ และสิทธิที่ได้ จะต้องยุติลงทันที ที่ได้ไปแล้ว ไม่ต้องคืน เว้นแต่จะเป็นสิทธิที่ดินทำกินที่ได้รับแจก ต้องคืน
-ย้ายถิ่นฐานที่อยู่ ทะเบียนบ้าน ออกจากพื้นที่ ให้ถือว่า สิทธิประโยชน์ หมดลงทันทีเช่นกัน
-*สำคัญ* การจับคู่แต่งงาน ต้องได้รับการยินยอม ตกลงใจด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย รัฐมีหน้าที่สนับสนุน ไม่มีการบังคับใดๆ
นี่เป็นแค่เรื่องที่สมมติขึ้นมา เผื่อนำไปคิดต่อยอด ใครคิดเห็นประการใดว่ามาได้ครับ แต่ขอร้อง อย่า Toxic กันมาก(เพราะถ้าแค่คุณไม่อยากแต่งงาน มีคู่ ก็อย่าป่วนกันเลยนะ)
ถ้าคนที่อยากแต่งงาน แล้ว ถ้าให้รัฐมีแนวทางช่วยเหลือบ้าง มันก็ดี ซึ่งมันก็ไม่ได้ให้เปล่า เป็นการให้โดยมีข้อแลกเปลี่ยนที่ถือว่า ค่อนข้างเยอะไหม