บันทึกความอร่อย "ไช้โป๊วหวานต้มกระดูกหมู" (ไช้โปว ทึงปู่ไป่กุก)
ใครชอบทานไช้โป๊วบ้างคะ แม่นันคนหนึ่งล่ะค่ะที่ชอบมากๆ เวลาไปเชงเม้งที่สุสาน (หงส์ซัว) ครอบครัวเราจะต้องรีบไปแต่เช้า เพื่อแวะโรงเจทานข้าวต้มที่มีกับข้าวเพียงไม่กี่อย่าง แต่ทำไมมันอร่อยไปซะทุกอย่าง โดยเฉพาะไช้โป้ว แค่หั่นเป็นชิ้นเล็กๆพอคำ ทานกับข้าวต้มร้อนๆ เติมแล้วเติมอีกเลยค่ะ
วันนี้แม่นันนำไช้โป้วหวานมาต้มกระดูกหมูค่ะ เมนูนี้อร่อยถึงอร่อยมาก ไม่ต้องปรุงอะไรมากมายแต่ได้ความหวานจากหัวไช้โป้วที่คายออกมาทำให้น้ำซุปหวานธรรมชาติมาก ยิ่งใส่ถั่วลิสงลงไปด้วย.. บอกไม่ถูกค่ะ ต้องทำแล้วชิมเอง ตามมาดูสูตรกันค่ะ
- ตั้งหม้อต้มน้ำสต็อคกระดูกหมูอ่อนเตรียมไว้ ตั้งไฟอ่อนๆทิ้งไว้เลยค่ะ วิธีต้มน้ำสต๊อคให้ใสแม่นันให้เคล็ดลับไปแล้ว จำได้นะคะ
- ตั้งกระทะใส่น้ำมันเพียงเล็กน้อย นำขิงหั่นแว่น กระเทียมจีน และพริกไทยดำ (บุบทุกอย่างพอแตกค่ะ) ลงผัดในกระทะจนขึ้นหอม จากนั้นเทใส่หม้อซุปกระดูกหมูเลยค่ะ
- นำไช้โป้วหั่นขวาง ชิ้นหนากำลังดีค่ะ ใส่ลงในหม้อ เปิดไฟกลาง ปิดฝา รอน้ำซุปเดือด
- เมื่อน้ำซุปเดือดอีกครั้ง ช้อนฟองที่เกิดจากการต้มออกด้วยค่ะ ช้อนดีๆนะคะ ระวังไปช้อนเอาพริกไทยกระเทียมออกหมด ปรับไฟอ่อนเล็กน้อย ใส่ถั่วลิสงต้มลงจนหมดค่ะ
- จากนั้นปรุงอ่อนๆด้วย เกลือ น้ำตาลเล็กน้อย และซี่อิ๊วขาว ใส่น้ำตาลเพียงเล็กน้อยนะคะ เพราะน้ำซุปจะได้ความหวานจากเนือไช้โป้วอยู่แล้ว จากนั้นคนให้เข้ากัน ปิดฝา ใช้ไฟอ่อนต้มไปอีกประมาณ 30 นาที
- เพียงเท่านี้ก็จะได้ไช้โป้วต้มกระดูกหมูอ่อนแสนอร่อยค่ะ น้ำซุปหอมหวานอร่อย เนื้อไช้โป้วจะหนึบๆ เคี้ยวเพลินเลยค่ะ รู้สึกแม่นันจะเติมไปสองถ้วยเองนะคะ อิอิ ลองทำดูค่ะ อร่อยถึงอร่อยที่สุด...
ไช้โป้วมีประโยชน์เพราะแปรรูปมาจากหัวไช้เท้าซึ่งมีสรรพคุณทางยามากมาย มาดูวิธีหมักไช้โป้วแบบโบราณทั้งสองแบบกันค่ะ
- แบบดองเค็ม ซึ่งมีกรรมวิธีในการทำคือ โรยเกลือสลับกับหัวไช้เท้าเป็นชั้นๆ ทับไว้ด้วยของหนัก ใช้เวลาหมักเพียง 10 วันก็นำมารับประทานได้ (สิบวันก็นานอยู่นะคะ)
- แบบหวานซึ่งแบบหวานนี้ขั้นตอนจะยุ่งยากและใช้เวลานานกว่าแบบเค็ม โดยเราจะต้องนำหัวไชเท้ามาตากแดดเสียก่อนหนึ่งแดดหลังจากนั้นก็นำมาเรียงในบ่อตอนกลางคืน โรยเกลือสลับกันเป็นชั้นๆ ปล่อยทิ้งไว้ 5-6 วัน แล้วนำออกมาตากแดดให้ได้ซัก 3-4 แดด จากนั้นจึงนำมาปรุงรสโดยโรยน้ำตาลทรายแดง ผงโปยกัก เหล้าจีน ขยำให้เข้ากัน อัดใส่ไหหมักไว้อีก 1 เดือน
โอ้โห...แม่นันว่าจะ LIVE สอนซะหน่อย เห็นขั้นตอนมากกว่าแบบดองเค็มแถมต้องรอนานกว่าอีกด้วย ถอดใจ..ฮ่าฮ่า ไม่ค่ะเราไม่ต้องหมักนานเป็นเดือนแบบเค้าค่ะ คนในประเทศจีนเค้าจะทำทีละเยอะๆค่ะ ถึงได้ใช้เวลานานขนาดนั้น อย่างที่แม่นันเคยเล่าให้ฟังไงคะว่า คนในเมืองจีนเค้าหมักดองถนอมอาหารกันเป็นฤดู ฤดูเลยค่ะ โดยเฉพาะช่วงอากาศหนาวๆ จะขุดหิมะลงไปลึกๆเพื่อหมักถนอมอาหารกันไว้ รอช่วงเทศกาลที่จะได้พบปะลูกหลานจากต่างแดน ก็จะขุดเอาวัตถุดิบที่ถนอมไว้ออกมาช่วยกันปรุงเป็นเมนูต่างๆ ได้อย่างน่าทึ่ง
ต้องขอบคุณบรรพบุรุษที่ช่างสร้างสรรค์วิธีการถนอมอาหารสืบทอดกันมายาวนานจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน
เมนูอมตะ ไช้โป๊วหวานต้มกระดูกหมู
วันนี้แม่นันนำไช้โป้วหวานมาต้มกระดูกหมูค่ะ เมนูนี้อร่อยถึงอร่อยมาก ไม่ต้องปรุงอะไรมากมายแต่ได้ความหวานจากหัวไช้โป้วที่คายออกมาทำให้น้ำซุปหวานธรรมชาติมาก ยิ่งใส่ถั่วลิสงลงไปด้วย.. บอกไม่ถูกค่ะ ต้องทำแล้วชิมเอง ตามมาดูสูตรกันค่ะ
- ตั้งหม้อต้มน้ำสต็อคกระดูกหมูอ่อนเตรียมไว้ ตั้งไฟอ่อนๆทิ้งไว้เลยค่ะ วิธีต้มน้ำสต๊อคให้ใสแม่นันให้เคล็ดลับไปแล้ว จำได้นะคะ
- ตั้งกระทะใส่น้ำมันเพียงเล็กน้อย นำขิงหั่นแว่น กระเทียมจีน และพริกไทยดำ (บุบทุกอย่างพอแตกค่ะ) ลงผัดในกระทะจนขึ้นหอม จากนั้นเทใส่หม้อซุปกระดูกหมูเลยค่ะ
- นำไช้โป้วหั่นขวาง ชิ้นหนากำลังดีค่ะ ใส่ลงในหม้อ เปิดไฟกลาง ปิดฝา รอน้ำซุปเดือด
- เมื่อน้ำซุปเดือดอีกครั้ง ช้อนฟองที่เกิดจากการต้มออกด้วยค่ะ ช้อนดีๆนะคะ ระวังไปช้อนเอาพริกไทยกระเทียมออกหมด ปรับไฟอ่อนเล็กน้อย ใส่ถั่วลิสงต้มลงจนหมดค่ะ
- จากนั้นปรุงอ่อนๆด้วย เกลือ น้ำตาลเล็กน้อย และซี่อิ๊วขาว ใส่น้ำตาลเพียงเล็กน้อยนะคะ เพราะน้ำซุปจะได้ความหวานจากเนือไช้โป้วอยู่แล้ว จากนั้นคนให้เข้ากัน ปิดฝา ใช้ไฟอ่อนต้มไปอีกประมาณ 30 นาที
- เพียงเท่านี้ก็จะได้ไช้โป้วต้มกระดูกหมูอ่อนแสนอร่อยค่ะ น้ำซุปหอมหวานอร่อย เนื้อไช้โป้วจะหนึบๆ เคี้ยวเพลินเลยค่ะ รู้สึกแม่นันจะเติมไปสองถ้วยเองนะคะ อิอิ ลองทำดูค่ะ อร่อยถึงอร่อยที่สุด...
ไช้โป้วมีประโยชน์เพราะแปรรูปมาจากหัวไช้เท้าซึ่งมีสรรพคุณทางยามากมาย มาดูวิธีหมักไช้โป้วแบบโบราณทั้งสองแบบกันค่ะ
- แบบดองเค็ม ซึ่งมีกรรมวิธีในการทำคือ โรยเกลือสลับกับหัวไช้เท้าเป็นชั้นๆ ทับไว้ด้วยของหนัก ใช้เวลาหมักเพียง 10 วันก็นำมารับประทานได้ (สิบวันก็นานอยู่นะคะ)
- แบบหวานซึ่งแบบหวานนี้ขั้นตอนจะยุ่งยากและใช้เวลานานกว่าแบบเค็ม โดยเราจะต้องนำหัวไชเท้ามาตากแดดเสียก่อนหนึ่งแดดหลังจากนั้นก็นำมาเรียงในบ่อตอนกลางคืน โรยเกลือสลับกันเป็นชั้นๆ ปล่อยทิ้งไว้ 5-6 วัน แล้วนำออกมาตากแดดให้ได้ซัก 3-4 แดด จากนั้นจึงนำมาปรุงรสโดยโรยน้ำตาลทรายแดง ผงโปยกัก เหล้าจีน ขยำให้เข้ากัน อัดใส่ไหหมักไว้อีก 1 เดือน
โอ้โห...แม่นันว่าจะ LIVE สอนซะหน่อย เห็นขั้นตอนมากกว่าแบบดองเค็มแถมต้องรอนานกว่าอีกด้วย ถอดใจ..ฮ่าฮ่า ไม่ค่ะเราไม่ต้องหมักนานเป็นเดือนแบบเค้าค่ะ คนในประเทศจีนเค้าจะทำทีละเยอะๆค่ะ ถึงได้ใช้เวลานานขนาดนั้น อย่างที่แม่นันเคยเล่าให้ฟังไงคะว่า คนในเมืองจีนเค้าหมักดองถนอมอาหารกันเป็นฤดู ฤดูเลยค่ะ โดยเฉพาะช่วงอากาศหนาวๆ จะขุดหิมะลงไปลึกๆเพื่อหมักถนอมอาหารกันไว้ รอช่วงเทศกาลที่จะได้พบปะลูกหลานจากต่างแดน ก็จะขุดเอาวัตถุดิบที่ถนอมไว้ออกมาช่วยกันปรุงเป็นเมนูต่างๆ ได้อย่างน่าทึ่ง