ปิยบุตร แนะ 2 ทางแก้รธน. โดยไม่แตะหมวด 1-2 ไม่ต้องเดินเกมเสี่ยง ทำประชามติถึง 3 ครั้ง
https://www.matichon.co.th/politics/news_4543789
ปิยบุตร แนะ 2 ทางแก้รธน. โดยไม่แก้หมวด 1-2 ไม่ต้องเดินเกมเสี่ยง ทำประชามติถึง 3 ครั้ง
จากกรณีที่ครม.มีมติเห็นชอบจัดให้มีการออกเสียงประชามติ 3 ครั้งก่อนแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยครั้งแรกจะเกิดขึ้นอย่างช้าภายในวันที่ 21 สิงหาคมนี้ โดยถามว่า “
ท่านเห็นชอบหรือไม่ ที่จะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยไม่แก้ไขหมวด 1 บททั่วไป และหมวด 2 พระมหากษัตริย์” ใช้งบประมาณ 3,200 ล้านบาทนั้น
ล่าสุด (25 เม.ย.) นาย
ปิยบุตร แสงกนกกุล อดีตเลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ เลขาธิการคณะก้าวหน้า ได้โพสต์ผ่านแอปพลิเคชั่น X (ทวิตเตอร์) แสดงความคิดเห็นถึงกรณีดังกล่าว โดยระบุว่า
“จุดยืนผม สนับสนุนการทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ
การทำใหม่ทั้งฉบับ ก็คือ การทำใหม่ทุกหมวด ทุกมาตราอยู่แล้ว มีข้อห้ามแค่เพียงห้ามเปลี่ยนรูปของรัฐและระบอบการปกครองเท่านั้น
ในอดีต 40 50 60 ก็มีการปรับปรุงสองหมวดนี้มาโดยตลอด
และผมเองก็เห็นว่า ในหมวด 1 และหมวด 2 มีหลายเรื่องที่ต้องแก้ไขปรับปรุง
เอาล่ะ แต่ถ้าพรรคเพื่อไทย และพรรคอื่นๆที่ร่วมรัฐบาล ประสงค์จะทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ โดยไม่แตะหมวด 1 และหมวด 2 ก็ไม่ควรเดิน “เกมเสี่ยง” ใช้ประชามติ 3 ครั้ง
แต่ควรเลือกทางที่ปลอดภัยกว่า ทางใด ทางหนึ่ง ดังนี้
1. ดำเนินการตามมติคณะทำงานของพรรคเพื่อไทย ที่นำโดย รศ.ชูศักดิ์ ศิรินิล แถลงที่สภาเมื่อวันที่ 22 มกราคม 67 ที่ยืนยันทำประชามติ 2 ครั้ง กล่าวคือ ส.ส.เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ กำหนดให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ เมื่อผ่านรัฐสภา ก็ต้องมาประชามติ (ครั้งที่ 1) เมื่อผ่าน ก็เลือก ส.ส.ร. มาทำใหม่ เมื่อได้ร่างใหม่ ก็เอามาประชามติ (ครั้งที่ 2)
หรือ 2. ใช้กระบวนการแก้รัฐธรรมนูญ 2560 รายมาตรา ตั้งแต่ มาตรา 25-มาตรา 279 ไปเลย เว้น มาตรา 1-24 ในหมวด 1 และ 2 ไว้
อาจบอกกันว่า แก้รายมาตรา จะไปติดส.ว. อีก แต่สภาพดุลอำนาจตอนนี้ พรรคเพื่อไทยน่าจะคุยกับ ส.ว รู้เรื่องกว่าแต่ก่อน และเดือนหน้า ส.ว. 250 คน ก็จะพ้นไปแล้ว
การใช้วิธีนี้ จะเป็นการไม่แก้ หมวด 1,2 โดยไม่ต้องพูดชัดแจ้งว่าจะไม่แก้หมวด 1,2 ให้กลายเป็นประเด็นขึ้นมา
ทั้ง 2 วิธีนี้ ทำให้ได้ผลลัพธ์ตามที่รัฐบาลต้องการ โดยไม่ต้องไปเสี่ยงกับประชามติรอบแรกว่าจะผ่านหรือไม่ผ่าน (เพราะ ถ้าไม่ผ่าน พวกสนับสนุนรัฐธรรมนูญ 60 จะยิ่งอ้างความชอบธรรมมากขึ้น) ไม่ต้องเสียเวลา ประหยัดเงิน 3,200 ล้านบาท
https://twitter.com/Piyabutr_FWP/status/1783160751156502881
กมธ.มั่นคงเชิญผู้เกี่ยวข้องชี้แจงผลกระทบสู้รบเมียนมา
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_708355/
กมธ.มั่นคงเชิญผู้เกี่ยวข้องชี้แจงผลกระทบสู้รบเมียนมา ยันรับฟังรอบด้าน พร้อมหนุนสนับสนุนบทบาทของกระทรวงการต่างประเทศ
นาย
รังสิมันต์ โรม สส.พรรคก้าวไกล ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมว่า วันนี้ ได้มีการเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม เช่น ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ , เลขา สมช. , ผบ.ทสส , ผบ.ทบ.และตัวแทนภาคประชาสังคม ประชุมประเด็นปัญหาผลกระทบจากการสู้รบในเมียนมา (เมียวดี) ว่า เรื่องแรกคือ เรื่องของการสอบถามความคืบหน้าเนื่องจากว่าหน่วยงาน
ทั้งหมดที่เชิญมาเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการหามาตรการรองรับ ในกรณีที่มีผู้หนีภัยสู้รบข้ามมา การเตรียมรับมือปัญหาความขัดแย้งที่อาจจะลุกลามบานปลาย และสอบถามว่าประเทศไทยมีบทบาทอย่างไรที่จะเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อมกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในเมียนมาหรือไม่ รวมไปถึง การพูดคุยกันว่าในอนาคตจะมีหนทางไหนที่ประเทศไทยอาจจะเป็นตัวกลางที่สำคัญในการนำมาซึ่งสันติภาพในเมียนมาได้ นี่จะต้องเป็นสิ่งที่ต้องคิดอีกยาวไกล โดยทางกรรมาธิการนอกจากจะซักถามข้อมูลแล้วก็จะมีการให้ความเห็นของกรรมาธิการต่อไป
ทั้งนี้ กมธ. ทำเรื่องเมียนมามานานพอสมควร ไม่ได้พึ่งมาประชุมในวันนี้ และมีการพูดคุยกันมาตั้งแต่การเชิญกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในเมียนมามาร่วมสัมมนาพูดคุยกันด้วยซ้ำ เพื่อให้เกิดมุมมองที่มากไปกว่าที่กระทรวงการต่างประเทศพูดคุยกับทางการทูตและรัฐบาลทหารของเมียนมาเท่านั้น ซึ่งนี่เป็นประโยชน์ที่เราสามารถต่อยอดมาเรื่อยๆ จนถึงวันนี้
ส่วนการประชุมวันนี้ ก็คงจะรับฟังอย่ารอบด้านและมีความเห็นต่อไปว่า หากต้องการจะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ประเทศไทยต้องวางตัวอย่างไร เบื้องต้นไทยใช้นโยบายทางการทูตมาโดยตลอด แต่วันนี้ไม่ว่าจะเป็นกรณีของแรงงาน หรือผู้หนีภัยการสู้รบก็ดี รวมถึงผู้หนีภัยทางเศรษฐกิจที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยทั้งถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย จะมีหนทางแก้ไขอย่างไร หากมองตัวเลขที่หนีเข้าประเทศไทยอาจจะถึงหลักล้าน ประเทศไทยจะมีการรองรับอย่างไร ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นแม้ว่าจะเกิดขึ้นในเมียนมา แต่ก็เป็นปัญหาของประเทศไทยด้วย ยิ่งมีการผสมรวมของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ทุนจีนสีเทา
หรือสแกมเมอร์ทั้งหลายยิ่งเป็นปัญหาของประเทศไทยที่ประเทศไทยต้องเร่งจัดการ อย่างไรก็ตาม ไทยควรจะต้องแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้ 1.สิ่งที่ประเทศไทยสามารถทำได้ทันที คือ เรื่องของการสนับสนุน ด้านสิทธิมนุษยชน ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่หนีภัยการสู้รบข้ามมาที่เราต้องช่วย ขณะเดียวกัน ระหว่างการช่วย เราก็คงจำเป็นที่จะต้องมีการ เก็บข้อมูลกลุ่มบุคคลต่างๆ ที่เข้ามา เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถจำแนกได้ว่า ใครคือจีนเทา ใครคือเหยื่อจากการสู้รบจริงๆ รวมไปถึงการทำให้ชายแดนมีความมั่นคงปลอดภัย เพราะสิ่งที่อาจจะตามมาคืออาจจะมีการแอบแฝงในด้านอื่น ถ้าเราไม่มีการจัดการเรื่องความมั่นคงปลอดภัย
ระยะที่ 2 ไทยต้องพูดคุยกับทุกฝ่าย เพื่อปูทางไปสู่ระยะที่ 3 ที่เราเรียกว่าประชาธิปไตยในเมียนมา ว่าจะเอาอย่างไร และอีกสิ่งหนึ่งที่ทำได้ในระยะ 2 คือ การปราบปรามยาเสพติดชายแดน และในระยะที่ 3 เป็นระยะที่ต้องพูดคุยกัน อาจจะใช้ระยะเวลานานพอสมควรเพื่อให้เกิดประชาธิปไตยในเมียนมา เพื่อให้เกิดความมั่นคง และเป็นประชาธิปไตยสูงสุดในประเทศเมียนมา
ส่วนทางการไทยจะพูดคุยอย่างไรเพื่อไม่ให้ดูเป็นการแทรกแซง ประเทศเมียนมานั้น นายรังสิมันต์กล่าวว่า จากที่ได้กล่าวไปบทบาทต่างๆก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรอยู่แล้ว และคงจะอยู่ในกรอบ ที่อาเซียนเคยมีมติ ฉะนั้น การเดินแบบนี้สามารถทำได้และเป็นบทบาทที่ประเทศไทยต้องทำ ถ้าเราต้องการให้วิกฤตในประเทศเมียนมายุติลง และต้องบอกว่าบทบาทของประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นการใช้พรมแดนร่วมกันระหว่างไทยกับเมียนมา
บทบาทในการสนับสนุนด้านเศรษฐกิจก็เชื่อว่าประเทศไทยยังคงอยู่ในฐานะที่น่าไว้วางใจมากกว่าคนอื่นในการที่จะเป็นตัวกลางในการเจรจาจนเชื่อว่าประเทศไทยสามารถทำได้ โดยที่ไม่ได้ละเมิดกฎเกณฑ์กติกาสากลทั้งสิ้นเราไม่ได้ส่งกองกำลังไปเราเองใช้วิธีการพูดคุยและวิธีการในการป้องกัน ที่เรียกว่าเคารพหลักสิทธิมนุษยชนด้วย
ขณะเดียวกัน นาย
รังสิมันต์ ยังสนับสนุนบทบาทของกระทรวงการต่างประเทศและประเทศไทยในการที่จะดำเนินการ หาวิธีการที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหา สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในเมียนมา แต่นอกจากการมองไปถึงกลไกที่เกี่ยวกับการพูดคุยเจรจา เราต้องทำยังไง ที่จะทำให้ประเทศไทย ไม่ไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการฆ่าล้างเพื่อนมนุษย์ ที่อยู่ในฝั่งตรงข้ามแม่สอดด้วย
ซึ่งนี่คือสิ่งที่ตนเป็นห่วง รวมไปถึงบทบาทของประเทศไทยที่อาจจะเกี่ยวข้องในลักษณะของการสนับสนุนสิ่งผิดกฎหมายตามแนวชายแดน ซึ่งเรื่องนี้ ไม่จำเป็นจะต้องพูดถึงกลไกระหว่างประเทศแต่อยู่ที่ตัวเราที่เราสามารถดำเนินการได้ นี่คือสิ่งที่ตนอยากเห็น จึงอยากให้รัฐบาลใช้กลไกต่างๆ ระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้น และสื่อสารออกมาเป็นระยะๆว่าประเทศไทยดำเนินการอย่างไรไปแล้วบ้างเพื่อให้สังคมได้เห็นว่าประเทศไทย มีวิธีการดำเนินการอย่างไรในสถานการณ์ปัจจุบัน
ภัยแล้งคุกคามโคราชประกาศงดจ่ายน้ำประปานอกเขต
https://www.innnews.co.th/news/local/news_708347/
ภัยแล้งคุกคามเมืองโคราช ประกาศงดจ่ายน้ำประปานอกเขตเทศบาลนครนครราชสีมา หลังน้ำในเขื่อนลำตะคองเหลือ 35%
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บลำตะคอง อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำดิบหลักสำหรับใช้อุปโภคบริโภคของประชาชนชาว จ.นครราชสีมา ขณะนี้ (25 เม.ย.67) มีปริมาณน้ำเหลืออยู่เพียง 35.60% ของความจุกักเก็บทั้งหมด 314.49 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่งผลให้ทางสำนักงานชลประทานจังหวัดนครราชสีมา ต้องบริหารจัดการน้ำด้วยความจำกัด
โดยระบายน้ำลงสู่ลำตะคองเพื่อรักษาระบบนิเวศ และใช้ในการอุปโภคบริโภคของประชาชนในพื้นที่เพียงวันละ 259,000 ลูกบาศก์เมตรเท่านั้น ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายพื้นที่ต้องเร่งเก็บน้ำสำรองไว้ใช้ด้วยความจำกัด ซึ่งล่าสุดเพจเฟสบุ๊คเทศบาลนครนครราชสีมา ได้มีประกาศชะลอการยื่นและงดรับคำร้องขอใช้น้ำนอกเขตเทศบาลนครนครราชสีมา
โดยระบุว่าทางโครงการชลประทานจังหวัดนครราชสีมา แจ้งว่ามีปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำลำตะคองเหลือน้อย ซึ่งได้งดจ่ายน้ำสำหรับการเกษตรแล้ว ทางเทศบาลนครนครราชสีมา จึงขอสงวนน้ำไว้เพื่อส่งจ่ายสำหรับการผลิตน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคให้กับประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบของเทศบาลฯ เท่านั้น เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และมีน้ำเพียงพอสำหรับประชาชนในพื้นที่เขตเทศบาลนครนครราชสีมา
ล่าสุด วันนี้ (25 เมษายน 2567) นาย
ชาตรี วงษ์วิบูลย์สิน รองนายกเทศมนตรีนครนครราชสีมา เปิดเผยถึงสาเหตุการชะลอการจ่ายน้ำประปาให้ประชาชนนอกเขตเทศบาลฯ ว่า เนื่องจากขณะนี้สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำลำตะคอง ซึ่งเป็นแหล่งน้ำดับสำหรับใช้ผลิตน้ำประปาของเทศบาลนครนครราชสีมา เหลือปริมาณน้ำอยู่เพียง 35.60% ทำให้มีน้ำดิบจำกัด ประกอบกับขณะนี้สภาพอากาศที่ร้อนจัด ประชาชนในเขตมีความต้องการใช้น้ำประปาเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
ขณะที่กำลังการผลิตน้ำประปาของเทศบาลนครนครราชสีมา ยังคงมีอยู่เท่าเดิม คือเฉลี่ยผลิตน้ำประปาได้วันละ 120,000 ลูกบาศก์เมตรเท่านั้น ทำให้ทางเทศบาลนครนครราชสีมา มีความจำเป็นต้องประกาศงดการจ่ายน้ำประปาให้กับประชาชนนอกเขตไว้ชั่วคราวก่อน
เพื่อไม่ให้ประชาชนในเขตรับผิดชอบได้รับผลกระทบ โดยประชาชนที่อยู่นอกเขตเทศบาลนครนครราชสีมา ที่เคยใช้ประปาของเทศบาลนครนครราชสีมาอยู่ ก็จะต้องไปใช้น้ำจากการประปาส่วนภูมิภาคแทน ส่วนจะชะลอการจ่ายน้ำนอกเขตเป็นระยะเวลานานเพียงใดนั้น ยังไม่มีกำหนด เพราะต้องประเมินสถานการณ์วันต่อวัน
ถึงอย่างไรก็ตามทางเทศบาลนครนครราชสีมา ก็อยู่ระหว่างการวางแผนที่จะเพิ่มระบบการผลิตน้ำประปาขึ้นอีก เพื่อรองรับการเติบโตของชุมชนเมืองโคราชในอนาคต ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างอนุมัติงบประมาณจากรัฐบาล เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
JJNY : ปิยบุตรแนะ 2ทางแก้รธน.│กมธ.มั่นคงเชิญชี้แจงผลกระทบสู้รบเมียนมา│ภัยแล้งคุกคามโคราช│“บลิงเคน”พบจนท.ของเซี่ยงไฮ้
https://www.matichon.co.th/politics/news_4543789
ปิยบุตร แนะ 2 ทางแก้รธน. โดยไม่แก้หมวด 1-2 ไม่ต้องเดินเกมเสี่ยง ทำประชามติถึง 3 ครั้ง
จากกรณีที่ครม.มีมติเห็นชอบจัดให้มีการออกเสียงประชามติ 3 ครั้งก่อนแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยครั้งแรกจะเกิดขึ้นอย่างช้าภายในวันที่ 21 สิงหาคมนี้ โดยถามว่า “ท่านเห็นชอบหรือไม่ ที่จะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยไม่แก้ไขหมวด 1 บททั่วไป และหมวด 2 พระมหากษัตริย์” ใช้งบประมาณ 3,200 ล้านบาทนั้น
ล่าสุด (25 เม.ย.) นายปิยบุตร แสงกนกกุล อดีตเลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ เลขาธิการคณะก้าวหน้า ได้โพสต์ผ่านแอปพลิเคชั่น X (ทวิตเตอร์) แสดงความคิดเห็นถึงกรณีดังกล่าว โดยระบุว่า
“จุดยืนผม สนับสนุนการทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ
การทำใหม่ทั้งฉบับ ก็คือ การทำใหม่ทุกหมวด ทุกมาตราอยู่แล้ว มีข้อห้ามแค่เพียงห้ามเปลี่ยนรูปของรัฐและระบอบการปกครองเท่านั้น
ในอดีต 40 50 60 ก็มีการปรับปรุงสองหมวดนี้มาโดยตลอด
และผมเองก็เห็นว่า ในหมวด 1 และหมวด 2 มีหลายเรื่องที่ต้องแก้ไขปรับปรุง
เอาล่ะ แต่ถ้าพรรคเพื่อไทย และพรรคอื่นๆที่ร่วมรัฐบาล ประสงค์จะทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ โดยไม่แตะหมวด 1 และหมวด 2 ก็ไม่ควรเดิน “เกมเสี่ยง” ใช้ประชามติ 3 ครั้ง
แต่ควรเลือกทางที่ปลอดภัยกว่า ทางใด ทางหนึ่ง ดังนี้
1. ดำเนินการตามมติคณะทำงานของพรรคเพื่อไทย ที่นำโดย รศ.ชูศักดิ์ ศิรินิล แถลงที่สภาเมื่อวันที่ 22 มกราคม 67 ที่ยืนยันทำประชามติ 2 ครั้ง กล่าวคือ ส.ส.เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ กำหนดให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ เมื่อผ่านรัฐสภา ก็ต้องมาประชามติ (ครั้งที่ 1) เมื่อผ่าน ก็เลือก ส.ส.ร. มาทำใหม่ เมื่อได้ร่างใหม่ ก็เอามาประชามติ (ครั้งที่ 2)
หรือ 2. ใช้กระบวนการแก้รัฐธรรมนูญ 2560 รายมาตรา ตั้งแต่ มาตรา 25-มาตรา 279 ไปเลย เว้น มาตรา 1-24 ในหมวด 1 และ 2 ไว้
อาจบอกกันว่า แก้รายมาตรา จะไปติดส.ว. อีก แต่สภาพดุลอำนาจตอนนี้ พรรคเพื่อไทยน่าจะคุยกับ ส.ว รู้เรื่องกว่าแต่ก่อน และเดือนหน้า ส.ว. 250 คน ก็จะพ้นไปแล้ว
การใช้วิธีนี้ จะเป็นการไม่แก้ หมวด 1,2 โดยไม่ต้องพูดชัดแจ้งว่าจะไม่แก้หมวด 1,2 ให้กลายเป็นประเด็นขึ้นมา
ทั้ง 2 วิธีนี้ ทำให้ได้ผลลัพธ์ตามที่รัฐบาลต้องการ โดยไม่ต้องไปเสี่ยงกับประชามติรอบแรกว่าจะผ่านหรือไม่ผ่าน (เพราะ ถ้าไม่ผ่าน พวกสนับสนุนรัฐธรรมนูญ 60 จะยิ่งอ้างความชอบธรรมมากขึ้น) ไม่ต้องเสียเวลา ประหยัดเงิน 3,200 ล้านบาท
https://twitter.com/Piyabutr_FWP/status/1783160751156502881
กมธ.มั่นคงเชิญผู้เกี่ยวข้องชี้แจงผลกระทบสู้รบเมียนมา
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_708355/
กมธ.มั่นคงเชิญผู้เกี่ยวข้องชี้แจงผลกระทบสู้รบเมียนมา ยันรับฟังรอบด้าน พร้อมหนุนสนับสนุนบทบาทของกระทรวงการต่างประเทศ
นายรังสิมันต์ โรม สส.พรรคก้าวไกล ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมว่า วันนี้ ได้มีการเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม เช่น ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ , เลขา สมช. , ผบ.ทสส , ผบ.ทบ.และตัวแทนภาคประชาสังคม ประชุมประเด็นปัญหาผลกระทบจากการสู้รบในเมียนมา (เมียวดี) ว่า เรื่องแรกคือ เรื่องของการสอบถามความคืบหน้าเนื่องจากว่าหน่วยงาน
ทั้งหมดที่เชิญมาเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการหามาตรการรองรับ ในกรณีที่มีผู้หนีภัยสู้รบข้ามมา การเตรียมรับมือปัญหาความขัดแย้งที่อาจจะลุกลามบานปลาย และสอบถามว่าประเทศไทยมีบทบาทอย่างไรที่จะเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อมกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในเมียนมาหรือไม่ รวมไปถึง การพูดคุยกันว่าในอนาคตจะมีหนทางไหนที่ประเทศไทยอาจจะเป็นตัวกลางที่สำคัญในการนำมาซึ่งสันติภาพในเมียนมาได้ นี่จะต้องเป็นสิ่งที่ต้องคิดอีกยาวไกล โดยทางกรรมาธิการนอกจากจะซักถามข้อมูลแล้วก็จะมีการให้ความเห็นของกรรมาธิการต่อไป
ทั้งนี้ กมธ. ทำเรื่องเมียนมามานานพอสมควร ไม่ได้พึ่งมาประชุมในวันนี้ และมีการพูดคุยกันมาตั้งแต่การเชิญกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในเมียนมามาร่วมสัมมนาพูดคุยกันด้วยซ้ำ เพื่อให้เกิดมุมมองที่มากไปกว่าที่กระทรวงการต่างประเทศพูดคุยกับทางการทูตและรัฐบาลทหารของเมียนมาเท่านั้น ซึ่งนี่เป็นประโยชน์ที่เราสามารถต่อยอดมาเรื่อยๆ จนถึงวันนี้
ส่วนการประชุมวันนี้ ก็คงจะรับฟังอย่ารอบด้านและมีความเห็นต่อไปว่า หากต้องการจะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ประเทศไทยต้องวางตัวอย่างไร เบื้องต้นไทยใช้นโยบายทางการทูตมาโดยตลอด แต่วันนี้ไม่ว่าจะเป็นกรณีของแรงงาน หรือผู้หนีภัยการสู้รบก็ดี รวมถึงผู้หนีภัยทางเศรษฐกิจที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยทั้งถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย จะมีหนทางแก้ไขอย่างไร หากมองตัวเลขที่หนีเข้าประเทศไทยอาจจะถึงหลักล้าน ประเทศไทยจะมีการรองรับอย่างไร ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นแม้ว่าจะเกิดขึ้นในเมียนมา แต่ก็เป็นปัญหาของประเทศไทยด้วย ยิ่งมีการผสมรวมของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ทุนจีนสีเทา
หรือสแกมเมอร์ทั้งหลายยิ่งเป็นปัญหาของประเทศไทยที่ประเทศไทยต้องเร่งจัดการ อย่างไรก็ตาม ไทยควรจะต้องแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้ 1.สิ่งที่ประเทศไทยสามารถทำได้ทันที คือ เรื่องของการสนับสนุน ด้านสิทธิมนุษยชน ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่หนีภัยการสู้รบข้ามมาที่เราต้องช่วย ขณะเดียวกัน ระหว่างการช่วย เราก็คงจำเป็นที่จะต้องมีการ เก็บข้อมูลกลุ่มบุคคลต่างๆ ที่เข้ามา เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถจำแนกได้ว่า ใครคือจีนเทา ใครคือเหยื่อจากการสู้รบจริงๆ รวมไปถึงการทำให้ชายแดนมีความมั่นคงปลอดภัย เพราะสิ่งที่อาจจะตามมาคืออาจจะมีการแอบแฝงในด้านอื่น ถ้าเราไม่มีการจัดการเรื่องความมั่นคงปลอดภัย
ระยะที่ 2 ไทยต้องพูดคุยกับทุกฝ่าย เพื่อปูทางไปสู่ระยะที่ 3 ที่เราเรียกว่าประชาธิปไตยในเมียนมา ว่าจะเอาอย่างไร และอีกสิ่งหนึ่งที่ทำได้ในระยะ 2 คือ การปราบปรามยาเสพติดชายแดน และในระยะที่ 3 เป็นระยะที่ต้องพูดคุยกัน อาจจะใช้ระยะเวลานานพอสมควรเพื่อให้เกิดประชาธิปไตยในเมียนมา เพื่อให้เกิดความมั่นคง และเป็นประชาธิปไตยสูงสุดในประเทศเมียนมา
ส่วนทางการไทยจะพูดคุยอย่างไรเพื่อไม่ให้ดูเป็นการแทรกแซง ประเทศเมียนมานั้น นายรังสิมันต์กล่าวว่า จากที่ได้กล่าวไปบทบาทต่างๆก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรอยู่แล้ว และคงจะอยู่ในกรอบ ที่อาเซียนเคยมีมติ ฉะนั้น การเดินแบบนี้สามารถทำได้และเป็นบทบาทที่ประเทศไทยต้องทำ ถ้าเราต้องการให้วิกฤตในประเทศเมียนมายุติลง และต้องบอกว่าบทบาทของประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นการใช้พรมแดนร่วมกันระหว่างไทยกับเมียนมา
บทบาทในการสนับสนุนด้านเศรษฐกิจก็เชื่อว่าประเทศไทยยังคงอยู่ในฐานะที่น่าไว้วางใจมากกว่าคนอื่นในการที่จะเป็นตัวกลางในการเจรจาจนเชื่อว่าประเทศไทยสามารถทำได้ โดยที่ไม่ได้ละเมิดกฎเกณฑ์กติกาสากลทั้งสิ้นเราไม่ได้ส่งกองกำลังไปเราเองใช้วิธีการพูดคุยและวิธีการในการป้องกัน ที่เรียกว่าเคารพหลักสิทธิมนุษยชนด้วย
ขณะเดียวกัน นายรังสิมันต์ ยังสนับสนุนบทบาทของกระทรวงการต่างประเทศและประเทศไทยในการที่จะดำเนินการ หาวิธีการที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหา สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในเมียนมา แต่นอกจากการมองไปถึงกลไกที่เกี่ยวกับการพูดคุยเจรจา เราต้องทำยังไง ที่จะทำให้ประเทศไทย ไม่ไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการฆ่าล้างเพื่อนมนุษย์ ที่อยู่ในฝั่งตรงข้ามแม่สอดด้วย
ซึ่งนี่คือสิ่งที่ตนเป็นห่วง รวมไปถึงบทบาทของประเทศไทยที่อาจจะเกี่ยวข้องในลักษณะของการสนับสนุนสิ่งผิดกฎหมายตามแนวชายแดน ซึ่งเรื่องนี้ ไม่จำเป็นจะต้องพูดถึงกลไกระหว่างประเทศแต่อยู่ที่ตัวเราที่เราสามารถดำเนินการได้ นี่คือสิ่งที่ตนอยากเห็น จึงอยากให้รัฐบาลใช้กลไกต่างๆ ระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้น และสื่อสารออกมาเป็นระยะๆว่าประเทศไทยดำเนินการอย่างไรไปแล้วบ้างเพื่อให้สังคมได้เห็นว่าประเทศไทย มีวิธีการดำเนินการอย่างไรในสถานการณ์ปัจจุบัน
ภัยแล้งคุกคามโคราชประกาศงดจ่ายน้ำประปานอกเขต
https://www.innnews.co.th/news/local/news_708347/
ภัยแล้งคุกคามเมืองโคราช ประกาศงดจ่ายน้ำประปานอกเขตเทศบาลนครนครราชสีมา หลังน้ำในเขื่อนลำตะคองเหลือ 35%
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บลำตะคอง อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำดิบหลักสำหรับใช้อุปโภคบริโภคของประชาชนชาว จ.นครราชสีมา ขณะนี้ (25 เม.ย.67) มีปริมาณน้ำเหลืออยู่เพียง 35.60% ของความจุกักเก็บทั้งหมด 314.49 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่งผลให้ทางสำนักงานชลประทานจังหวัดนครราชสีมา ต้องบริหารจัดการน้ำด้วยความจำกัด
โดยระบายน้ำลงสู่ลำตะคองเพื่อรักษาระบบนิเวศ และใช้ในการอุปโภคบริโภคของประชาชนในพื้นที่เพียงวันละ 259,000 ลูกบาศก์เมตรเท่านั้น ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายพื้นที่ต้องเร่งเก็บน้ำสำรองไว้ใช้ด้วยความจำกัด ซึ่งล่าสุดเพจเฟสบุ๊คเทศบาลนครนครราชสีมา ได้มีประกาศชะลอการยื่นและงดรับคำร้องขอใช้น้ำนอกเขตเทศบาลนครนครราชสีมา
โดยระบุว่าทางโครงการชลประทานจังหวัดนครราชสีมา แจ้งว่ามีปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำลำตะคองเหลือน้อย ซึ่งได้งดจ่ายน้ำสำหรับการเกษตรแล้ว ทางเทศบาลนครนครราชสีมา จึงขอสงวนน้ำไว้เพื่อส่งจ่ายสำหรับการผลิตน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคให้กับประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบของเทศบาลฯ เท่านั้น เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และมีน้ำเพียงพอสำหรับประชาชนในพื้นที่เขตเทศบาลนครนครราชสีมา
ล่าสุด วันนี้ (25 เมษายน 2567) นายชาตรี วงษ์วิบูลย์สิน รองนายกเทศมนตรีนครนครราชสีมา เปิดเผยถึงสาเหตุการชะลอการจ่ายน้ำประปาให้ประชาชนนอกเขตเทศบาลฯ ว่า เนื่องจากขณะนี้สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำลำตะคอง ซึ่งเป็นแหล่งน้ำดับสำหรับใช้ผลิตน้ำประปาของเทศบาลนครนครราชสีมา เหลือปริมาณน้ำอยู่เพียง 35.60% ทำให้มีน้ำดิบจำกัด ประกอบกับขณะนี้สภาพอากาศที่ร้อนจัด ประชาชนในเขตมีความต้องการใช้น้ำประปาเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
ขณะที่กำลังการผลิตน้ำประปาของเทศบาลนครนครราชสีมา ยังคงมีอยู่เท่าเดิม คือเฉลี่ยผลิตน้ำประปาได้วันละ 120,000 ลูกบาศก์เมตรเท่านั้น ทำให้ทางเทศบาลนครนครราชสีมา มีความจำเป็นต้องประกาศงดการจ่ายน้ำประปาให้กับประชาชนนอกเขตไว้ชั่วคราวก่อน
เพื่อไม่ให้ประชาชนในเขตรับผิดชอบได้รับผลกระทบ โดยประชาชนที่อยู่นอกเขตเทศบาลนครนครราชสีมา ที่เคยใช้ประปาของเทศบาลนครนครราชสีมาอยู่ ก็จะต้องไปใช้น้ำจากการประปาส่วนภูมิภาคแทน ส่วนจะชะลอการจ่ายน้ำนอกเขตเป็นระยะเวลานานเพียงใดนั้น ยังไม่มีกำหนด เพราะต้องประเมินสถานการณ์วันต่อวัน
ถึงอย่างไรก็ตามทางเทศบาลนครนครราชสีมา ก็อยู่ระหว่างการวางแผนที่จะเพิ่มระบบการผลิตน้ำประปาขึ้นอีก เพื่อรองรับการเติบโตของชุมชนเมืองโคราชในอนาคต ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างอนุมัติงบประมาณจากรัฐบาล เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป