กว่า 2 ทศวรรษ ที่ ช่อง 3 และแกรมมี่ เป็นสองบริษัทชั้นนำ ในวงการธุรกิจบันเทิงไทย ที่ผลิตผลงานดีๆ ไว้มากมาย เป็นศูนย์รวมบุคลากรสำคัญในวงการบันเทิงไทย แต่ด้วยยุคสมัยและเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ธุรกิจเดิมที่ทำแบบเดิมอาจไม่เข้ากับสภาพการณ์ มาดูความเป็นไปได้ในการก้าวสู่อนาคต อย่างมีทิศทาง
1. สินทรัพย์เก่า เช่นเดียวกับสุนทราภรณ์ ช่อง 3 และแกรมมี่ มีผลงานเก่า ที่ยังคงหารายได้ได้อย่างต่อเนื่อง อีก 1-2 ปีข้างหน้า คน Gen X ที่เติบโตมาพร้อมกับละครและเพลงยุค 90s จะเริ่มเกษียณอายุ และความสุขหนึ่งของคนเหล่านั้น ก็คือ ฟังเพลงเก่า และดูละครเก่า ขณะเดียวกัน ก็น่ากังวล กับการเก็บค่าลิขสิทธิ จนทำให้ผลงานเหล่านั้นหมดทางเผยแพร่ ทั้งที่ควรจะสร้างโอกาสให้คนทั่วไป เข้าไปใช้ตัดต่อเป็นกลไกภาคสังคมที่ช่วยเผยแพร่ผลงานที่คิดถึง ผ่านการให้เช่าใช้คอนเทนในราคาถูก ไม่ควรจะเก็บค่าเปิดเพลง ตามงานหรือ ร้านต่างๆ เราจำได้ว่า ได้ยินเพลงจากร้านแห่งหนึ่ง ให้ความรู้สึกที่อยากฟังซ้ำ และต้องไปหาเพลงนั้นฟังจริงๆ และซ้ำๆ ในโลกออนไลน์ ซึ่งสมัยนี้ การหาโอกาส ยืนในร้านหนึ่งได้ยินเสียงเพลงขึ้นมา ดูจะยากขึ้น ทุกร้านไม่กล้าเปิด เพราะกลัวโดนเก็บค่าลิขสิทธิ์ ผลคือ เพลงไม่เป็นที่รู้จัก
2. ก้าวแห่งอนาคต การก้าวสู่ตลาดต่างประเทศ เพื่อ upsize ตลาดที่มากกว่า 60 ล้านคน มีแว่วๆ ถึงการ collab กับนักร้องต่างประเทศ หากมีการทำเพลง/ละครเป็นภาษาอังกฤษก็จะล้ำกว่าเกาหลีไปอีก ปฏิเสธไม่ได้ว่า กำแพงภาษาเกาหลีมีอยู่จริง ทำไมการตลาดนานาชาติจึงสำคัญ เพราะบริษัทจะสามารถรับสปอนเซอร์บริษัทระดับโลก และจ้างด้วยเงินตราสกุลอื่น พอแปลงเป็นเงินไทย ก็รวยเละ แน่นอนว่า ความเสี่ยงทางธุรกิจ ต้องอาศัยความกล้า และต้องหาผู้ที่จะช่วยสร้างความมั่นคง แรกๆอาจจะล้มลุกคลุกคลาน แต่เชื่อว่าความตั้งใจจริงจะไม่ทำให้อยู่ที่เดิม
พัฒนากลุ่มคนเขียนบทอย่างทุ่มลงทุนเงิน เพราะบทละครเดิมๆ ขาดความคิดสร้างสรรค์ ดูจะเป็นจุดอ่อน รวมถึงกลยุทธ์ด้าน HR สรรหาคนมีฝีมือ หากเน้นเด็กจบใหม่ ที่เงินเดือนต่ำก็จริง แต่โอกาสพลิกเกมส์ทำได้ยาก เพราะเด็กเหล่านั้นไม่ได้โตในบริบทที่บันเทิงไทยเคยรุ่งเรือง มีผลงานคุณภาพอยู่มากมาย ความหนักแน่นวุฒิภาวะในการคิดงานที่เกิด impacts ยังสู้ระดับเซียนไม่ได้ ขณะเดียวกัน การจ้างงานคนที่ทำงานแบบเดิมมาเกิน 10 ปีก็น่ากังวล เพราะคนเหล่านี้ ไม่สามารถนำความแปลกใหม่เข้าสู่วงการ เว้นแต่คนที่พัฒนาตัวเองมากขึ้นตามอายุ
3. การโฆษณาสมัยใหม่ บริษัทที่เป็นเจ้าของคอนเทนคุณภาพ อาจไม่ต้องลงไปแข่งกับติ๊กต็อก และ ช่องทีวีไดเร็ก คุณทราบหรือไม่ว่า รองเท้าที่ปรากฏในภาพยนตร์ฮออลิวูด ปัจจุบันราคาเพิ่มขึ้นกี่เท่า สินค้านั้นสวยงามน่าหลงใหลเพียงใด เมื่ออยู่บนตัวหรือรายรอบนักร้อง-นักแสดง การถ่ายภาพ+การเล่าเรื่องด้วยเทคนิกชั้นสูงประกอบกับความเท่ห์ของนักร้องนักแสดง ทำให้คนส่องดูว่า พระเอกใช้รถอะไร คอมพิวเตอร์ยี่ห้อไหน นางเอกใส่นาฬิกายี่ห้อใด มันช่างงามเหลือเกินในโมเม้นท์ของเรื่องราว ด้วยคอนเทนทางอารมณ์ ไม่ว่า MV เพลง ละคร คอนเสิร์ต ทำให้สินค้านั้นถูกนำเสนออย่างเป็นธรรมชาติ มีชีวิตชีวา มีพลังดึงดูดอย่างมหาศาล จนอยู่ในความทรงจำของผู้ชมได้ง่ายดาย นี่คือ กลไกการโฆษณายุคใหม่ ที่ไม่มีพรมแดนระหว่างโฆษณากับคอนเทน และมันบิ้วด์อารมณ์และราคาได้มากกว่าโซเชี่ยลมีเดียที่นำเสนอโดยคนธรรมดาทั่วๆไป
คุณจะเชื่อหรือไม่ก็ตาม ตอนนี้ และปีนี้ คนไทยเครดิตดีขึ้นในสายตาชาวต่างชาติ เมื่อเรามีความน่าเชื่อถือ ก็เหมือนมีแบรนด์ ไม่ต้องดีครบ และเราต้องกล้าทั้งที่เรายังไม่พร้อม เพราะเขากำลังเชื่อในแบรนด์ ...ในยุคเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ เลี้ยงศิลปินทำให้เขากล้าและทุ่มเทกับงานสร้างสรรค์ โดยไม่ต้องกังวลว่าจะโดนเอาเปรียบ เมื่อสะสมประสพการณ์ผ่านกาลเวลา และได้ปรับโตขึ้น เป็นบริษัท holding มีบริษัทย่อยอยู่ในเครือมากมาย ขอเป็นกำลังใจให้กับการสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ชมในบริบทใหม่ ซึ่งต้องอาศัยความเชื่อที่มั่นคงและคนคุณภาพ นำพาให้งานสำคัญๆ สำเร็จได้ รวมถึงความใส่ใจสนับสนุนจากภาครัฐด้วยตามนโยบาย soft power ก็จะดีมาก เพราะบุคลากรในภาคเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ของประเทศไทยมีอยู่ไม่น้อย
โอกาสนิวไฮ...ของช่อง 3 และแกรมมี่
1. สินทรัพย์เก่า เช่นเดียวกับสุนทราภรณ์ ช่อง 3 และแกรมมี่ มีผลงานเก่า ที่ยังคงหารายได้ได้อย่างต่อเนื่อง อีก 1-2 ปีข้างหน้า คน Gen X ที่เติบโตมาพร้อมกับละครและเพลงยุค 90s จะเริ่มเกษียณอายุ และความสุขหนึ่งของคนเหล่านั้น ก็คือ ฟังเพลงเก่า และดูละครเก่า ขณะเดียวกัน ก็น่ากังวล กับการเก็บค่าลิขสิทธิ จนทำให้ผลงานเหล่านั้นหมดทางเผยแพร่ ทั้งที่ควรจะสร้างโอกาสให้คนทั่วไป เข้าไปใช้ตัดต่อเป็นกลไกภาคสังคมที่ช่วยเผยแพร่ผลงานที่คิดถึง ผ่านการให้เช่าใช้คอนเทนในราคาถูก ไม่ควรจะเก็บค่าเปิดเพลง ตามงานหรือ ร้านต่างๆ เราจำได้ว่า ได้ยินเพลงจากร้านแห่งหนึ่ง ให้ความรู้สึกที่อยากฟังซ้ำ และต้องไปหาเพลงนั้นฟังจริงๆ และซ้ำๆ ในโลกออนไลน์ ซึ่งสมัยนี้ การหาโอกาส ยืนในร้านหนึ่งได้ยินเสียงเพลงขึ้นมา ดูจะยากขึ้น ทุกร้านไม่กล้าเปิด เพราะกลัวโดนเก็บค่าลิขสิทธิ์ ผลคือ เพลงไม่เป็นที่รู้จัก
2. ก้าวแห่งอนาคต การก้าวสู่ตลาดต่างประเทศ เพื่อ upsize ตลาดที่มากกว่า 60 ล้านคน มีแว่วๆ ถึงการ collab กับนักร้องต่างประเทศ หากมีการทำเพลง/ละครเป็นภาษาอังกฤษก็จะล้ำกว่าเกาหลีไปอีก ปฏิเสธไม่ได้ว่า กำแพงภาษาเกาหลีมีอยู่จริง ทำไมการตลาดนานาชาติจึงสำคัญ เพราะบริษัทจะสามารถรับสปอนเซอร์บริษัทระดับโลก และจ้างด้วยเงินตราสกุลอื่น พอแปลงเป็นเงินไทย ก็รวยเละ แน่นอนว่า ความเสี่ยงทางธุรกิจ ต้องอาศัยความกล้า และต้องหาผู้ที่จะช่วยสร้างความมั่นคง แรกๆอาจจะล้มลุกคลุกคลาน แต่เชื่อว่าความตั้งใจจริงจะไม่ทำให้อยู่ที่เดิม
พัฒนากลุ่มคนเขียนบทอย่างทุ่มลงทุนเงิน เพราะบทละครเดิมๆ ขาดความคิดสร้างสรรค์ ดูจะเป็นจุดอ่อน รวมถึงกลยุทธ์ด้าน HR สรรหาคนมีฝีมือ หากเน้นเด็กจบใหม่ ที่เงินเดือนต่ำก็จริง แต่โอกาสพลิกเกมส์ทำได้ยาก เพราะเด็กเหล่านั้นไม่ได้โตในบริบทที่บันเทิงไทยเคยรุ่งเรือง มีผลงานคุณภาพอยู่มากมาย ความหนักแน่นวุฒิภาวะในการคิดงานที่เกิด impacts ยังสู้ระดับเซียนไม่ได้ ขณะเดียวกัน การจ้างงานคนที่ทำงานแบบเดิมมาเกิน 10 ปีก็น่ากังวล เพราะคนเหล่านี้ ไม่สามารถนำความแปลกใหม่เข้าสู่วงการ เว้นแต่คนที่พัฒนาตัวเองมากขึ้นตามอายุ
3. การโฆษณาสมัยใหม่ บริษัทที่เป็นเจ้าของคอนเทนคุณภาพ อาจไม่ต้องลงไปแข่งกับติ๊กต็อก และ ช่องทีวีไดเร็ก คุณทราบหรือไม่ว่า รองเท้าที่ปรากฏในภาพยนตร์ฮออลิวูด ปัจจุบันราคาเพิ่มขึ้นกี่เท่า สินค้านั้นสวยงามน่าหลงใหลเพียงใด เมื่ออยู่บนตัวหรือรายรอบนักร้อง-นักแสดง การถ่ายภาพ+การเล่าเรื่องด้วยเทคนิกชั้นสูงประกอบกับความเท่ห์ของนักร้องนักแสดง ทำให้คนส่องดูว่า พระเอกใช้รถอะไร คอมพิวเตอร์ยี่ห้อไหน นางเอกใส่นาฬิกายี่ห้อใด มันช่างงามเหลือเกินในโมเม้นท์ของเรื่องราว ด้วยคอนเทนทางอารมณ์ ไม่ว่า MV เพลง ละคร คอนเสิร์ต ทำให้สินค้านั้นถูกนำเสนออย่างเป็นธรรมชาติ มีชีวิตชีวา มีพลังดึงดูดอย่างมหาศาล จนอยู่ในความทรงจำของผู้ชมได้ง่ายดาย นี่คือ กลไกการโฆษณายุคใหม่ ที่ไม่มีพรมแดนระหว่างโฆษณากับคอนเทน และมันบิ้วด์อารมณ์และราคาได้มากกว่าโซเชี่ยลมีเดียที่นำเสนอโดยคนธรรมดาทั่วๆไป
คุณจะเชื่อหรือไม่ก็ตาม ตอนนี้ และปีนี้ คนไทยเครดิตดีขึ้นในสายตาชาวต่างชาติ เมื่อเรามีความน่าเชื่อถือ ก็เหมือนมีแบรนด์ ไม่ต้องดีครบ และเราต้องกล้าทั้งที่เรายังไม่พร้อม เพราะเขากำลังเชื่อในแบรนด์ ...ในยุคเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ เลี้ยงศิลปินทำให้เขากล้าและทุ่มเทกับงานสร้างสรรค์ โดยไม่ต้องกังวลว่าจะโดนเอาเปรียบ เมื่อสะสมประสพการณ์ผ่านกาลเวลา และได้ปรับโตขึ้น เป็นบริษัท holding มีบริษัทย่อยอยู่ในเครือมากมาย ขอเป็นกำลังใจให้กับการสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ชมในบริบทใหม่ ซึ่งต้องอาศัยความเชื่อที่มั่นคงและคนคุณภาพ นำพาให้งานสำคัญๆ สำเร็จได้ รวมถึงความใส่ใจสนับสนุนจากภาครัฐด้วยตามนโยบาย soft power ก็จะดีมาก เพราะบุคลากรในภาคเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ของประเทศไทยมีอยู่ไม่น้อย