ในสังคมปัจจุบัน เราแทบจะหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะต้องพบกับการโฆษณาสินค้าหรือบริการผ่านสื่อต่างๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ ป้ายโฆษณา วิทยุ โทรทัศน์ และสื่อสังคมออนไลน์ที่สามารถเผยแพร่ไปได้ทั่วโลกซึ่งโฆษณาที่เราพบเจอ จะเป็นการเชิญชวนหรือจูงใจให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าหรือบริการ ซึ่งมักจะกล่าวถึงแต่สรรพคุณในทางดีหรือเป็นจุดเด่น หลายครั้งไม่สามารถพิสูจน์แสดงความจริงได้ตามที่มีการอ้างอิงจากรายงานทางวิชาการ ผลการวิจัย สถิติการรับรองของสถาบันหรือบุคคล
การโฆษณาที่อยู่รอบตัวเรามีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่ประจำวัน ทั้งด้านสุขภาพกาย จิตใจ สติปัญญา และทางสังคม หน้าที่ผู้บริโภคอย่างเราจะต้องใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจซื้อสินค้า
หรือบริการโดยต้องพิจารณาสื่อโฆษณาเหล่านั้นด้วยความละเอียดรอบคอบ ว่ามีการให้ข้อมูลที่เป็นจริงหรือไม่ โดยในวันนี้ สคบ. ขอนำเสนอแนวทางการสังเกตการใช้ข้อความโฆษณาว่ามีประด็นที่ควรสังเกตและระมัดระวังอย่างไร มาเป็นตัวอย่างไว้ ดังนี้
• ข้อความโฆษณาไม่ว่าจะกระทำ โดยโฆษณาใดก็ตามจะต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถเห็น ฟัง หรืออ่านได้ชัดเจนตามประเภทของสื่อโฆษณา ไม่ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ถ้าข้อความโฆษณาเป็นภาษาต่างประเทศต้องมีคำแปลภาษาไทยกำกับด้วยทุกครั้ง
• ในการโฆษณาผู้ประกอบธุรกิจต้องยืดถือความเข้าใจของผู้บริโภคเป็นสำคัญ เช่น การโฆษณาให้ฟรี ว่าการให้นั้นไม่เสียค่าตอบแทน ต้องกระทำภายใต้หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขหรือข้อกำหนดให้ครบถ้วน
• โฆษณาต้องแสดงปริมาณ ปริมาตร ขนาด จำนวน ส่วนประกอบของสินค้าหรือบริการที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องโฆษณาให้ตรงกับข้อเท็จจริงของสินค้าหรือบริการนั้นๆ
• กรณีผู้กระทำการโฆษณาอ้างอิงผลการทดสอบหรือทดลอง เช่น อุณหภูมิ ความชื้น ต้องระบุไว้ในโฆษณาให้เห็นชัดเจน ว่าเป็นผลการทดสอบของสถาบันหรือหน่วยงานที่เชื่อถือได้ เช่น หน่วยงานราชการหรือสถาบันการศึกษาของรัฐ
• ผู้กระทำโฆษณาไม่ควรใช้ข้อความโฆษณาที่อาศัยความเชื่อส่วนบุคคลเป็นสิ่งเชิญชวนหรือชักจูงให้ผู้บริโภคตัดสินใจ
• ข้อความโฆษณาที่มีลักษณะเป็นการรับประกันสินค้า ผู้ประกอบธุรกิจต้องระบุตัวผู้รับประกัน ระยะเวลารับประกัน ขั้นตอนและเงื่อนไขตามสัญญาการรับประกันให้ชัดเจนและถูกต้องครบถ้วน
ลักษณะการใช้ข้อความโฆษณาเหล่านี้ เป็นประเด็นที่ต้องใส่ใจและนำไปใช้ ทั้งในส่วนของผู้บริโภค และผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้กระทำการโฆษณาใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการผลิตสื่อโฆษณา เพราะเป็นการให้ข้อมูลที่สำคัญและจำเป็นต่อการเลือกซื้อหรือใช้สินค้าและบริการต่างๆ ทั้งนี้ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณาตามาตรา ๒๘ ให้ถือว่าผู้กระทำการโฆษณารู้หรือควรได้รู้ว่าข้อความนั้นเป็นความเท็จ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ หากผู้บริโภคไม่ได้รับความเป็นธรรมจากสื่อข้อความโฆษณา
หรือพบเห็นผู้ประกอบธุรกิจกระทำโฆษณาที่เอาเปรียบ ไม่เป็นธรรม หรืออาจก่อให้เกิดผลเสีย
ต่อส่วนรวม สามารถร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสได้ที่ สคบ. สายด่วน ๑๑๖๖ หรือแอพพลิเคชั่น OCPB Connect
“คำโฆษณายากแก่การพิสูจน์” เราจะเชื่อได้อย่างไร
การโฆษณาที่อยู่รอบตัวเรามีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่ประจำวัน ทั้งด้านสุขภาพกาย จิตใจ สติปัญญา และทางสังคม หน้าที่ผู้บริโภคอย่างเราจะต้องใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจซื้อสินค้า
หรือบริการโดยต้องพิจารณาสื่อโฆษณาเหล่านั้นด้วยความละเอียดรอบคอบ ว่ามีการให้ข้อมูลที่เป็นจริงหรือไม่ โดยในวันนี้ สคบ. ขอนำเสนอแนวทางการสังเกตการใช้ข้อความโฆษณาว่ามีประด็นที่ควรสังเกตและระมัดระวังอย่างไร มาเป็นตัวอย่างไว้ ดังนี้
• ข้อความโฆษณาไม่ว่าจะกระทำ โดยโฆษณาใดก็ตามจะต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถเห็น ฟัง หรืออ่านได้ชัดเจนตามประเภทของสื่อโฆษณา ไม่ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ถ้าข้อความโฆษณาเป็นภาษาต่างประเทศต้องมีคำแปลภาษาไทยกำกับด้วยทุกครั้ง
• ในการโฆษณาผู้ประกอบธุรกิจต้องยืดถือความเข้าใจของผู้บริโภคเป็นสำคัญ เช่น การโฆษณาให้ฟรี ว่าการให้นั้นไม่เสียค่าตอบแทน ต้องกระทำภายใต้หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขหรือข้อกำหนดให้ครบถ้วน
• โฆษณาต้องแสดงปริมาณ ปริมาตร ขนาด จำนวน ส่วนประกอบของสินค้าหรือบริการที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องโฆษณาให้ตรงกับข้อเท็จจริงของสินค้าหรือบริการนั้นๆ
• กรณีผู้กระทำการโฆษณาอ้างอิงผลการทดสอบหรือทดลอง เช่น อุณหภูมิ ความชื้น ต้องระบุไว้ในโฆษณาให้เห็นชัดเจน ว่าเป็นผลการทดสอบของสถาบันหรือหน่วยงานที่เชื่อถือได้ เช่น หน่วยงานราชการหรือสถาบันการศึกษาของรัฐ
• ผู้กระทำโฆษณาไม่ควรใช้ข้อความโฆษณาที่อาศัยความเชื่อส่วนบุคคลเป็นสิ่งเชิญชวนหรือชักจูงให้ผู้บริโภคตัดสินใจ
• ข้อความโฆษณาที่มีลักษณะเป็นการรับประกันสินค้า ผู้ประกอบธุรกิจต้องระบุตัวผู้รับประกัน ระยะเวลารับประกัน ขั้นตอนและเงื่อนไขตามสัญญาการรับประกันให้ชัดเจนและถูกต้องครบถ้วน
ลักษณะการใช้ข้อความโฆษณาเหล่านี้ เป็นประเด็นที่ต้องใส่ใจและนำไปใช้ ทั้งในส่วนของผู้บริโภค และผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้กระทำการโฆษณาใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการผลิตสื่อโฆษณา เพราะเป็นการให้ข้อมูลที่สำคัญและจำเป็นต่อการเลือกซื้อหรือใช้สินค้าและบริการต่างๆ ทั้งนี้ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณาตามาตรา ๒๘ ให้ถือว่าผู้กระทำการโฆษณารู้หรือควรได้รู้ว่าข้อความนั้นเป็นความเท็จ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ หากผู้บริโภคไม่ได้รับความเป็นธรรมจากสื่อข้อความโฆษณา
หรือพบเห็นผู้ประกอบธุรกิจกระทำโฆษณาที่เอาเปรียบ ไม่เป็นธรรม หรืออาจก่อให้เกิดผลเสีย
ต่อส่วนรวม สามารถร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสได้ที่ สคบ. สายด่วน ๑๑๖๖ หรือแอพพลิเคชั่น OCPB Connect