เครดิตแหล่งข่าว/เจ้าของบทความโดย
https://www.thansettakij.com/business/tourism/590887
เปิดความเห็น "แบงก์ชาติ"ชี้ แจง กมธ.สถานบันเทิงครบวงจร ระบุชัดใช้เงินสกุลดิจิทัลเล่นกาสิโนถูกกฎหมายไม่ได้ ชี้ช่องใช้ e-Money บัตรอิเล็กทรอนิกส์แทน ห่วงการนำเงินเข้า-ออก กระทบการแลกเปลี่ยนเงิน
การเปิดบ่อน “กาสิโนถูกกฎหมาย” ผ่าน "สถานบันเทิงครบวงจร" หยิบขึ้นมา “ปัดฝุ่น” พูดถึงอีกครั้ง หลังจากคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาการเปิดสถานบันเทิงครบวงจร (Entertainment Complex) เพื่อแก้ปัญหาการพนันผิดกฎหมายและเพื่อประโยชน์ด้านเศรษฐกิจของประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ที่มี "จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์" สส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ที่สวมหมวก "รมช.คลัง" เป็นประธานกมธ.
“รายงานฉบับสมบูรณ์” จำนวน 98 หน้า ไม่รวมภาคผนวก ก - ภาคผนวก ข ถูกจัดพิมพ์เสร็จเมื่อช่วงเช้าของวันที่ 14 มีนาคม 2567 ก่อนส่งรายงานให้สภาผู้แทนราษฎรลงมติรับรอง และส่งให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบตามขั้นตอนต่อไป
ในรายงานผลการศึกษาระบุถึงผลการศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการมีสถานบันเทิงครบวงจร ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ ระบุความเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือ "แบงก์ชาติ" กรณีการเปิดสถานบันเทิงครบวงจร และการนำเงินสกุลดิจิทัล หรือคริปโตเคอร์เรนซีมาใช้จ่ายภายในสถานบันเทิงครบวงจรเป็นค่าสินค้าหรือบริการได้หรือไม่
ธปท.ระบุว่า จริง ๆ แล้วเงินดิจิทัลดังกล่าวไม่มีคุณสมบัติที่จะใช้ในการชำระหนี้ได้ ยกตัวอย่างเช่น บิทคอยน์ ซึ่งมีมูลค่าความผันผวนสูง ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลหลักในเรื่องของสกุลเงินดิจิทัล เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบธุรกิจมีการนำคริปโตเคอร์เรนซีมาใช้ในการชำระหนี้แทนเงินบาท ระบบการชำระเงินถือเป็นส่วนสำคัญของประเทศ ซึ่งจะมีมาตรการต่าง ๆ ในการกำกับดูแลอยู่
ส่วนสกุลเงินดิจิทัลที่จะออกโดยธนาคารกลางของแต่ละประเทศ (Central Bank Digital Currency : CBDC) จะมีความแตกต่างจากบิทคอยน์ เพราะเป็นเงินที่ธนาคารเป็นผู้ออก ซึ่งเหมือนเงินตราที่ประชาชนใช้ตามปกติ เพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบการนำมาใช้ เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ CBDC ยังอยู่ในขั้นของการศึกษา ไม่ได้มีการนำออกมาใช้จริง รวมถึงต่างประเทศที่ยังไม่ได้มีการประกาศใช้อย่างจริงจัง อย่างอีกประเทศไทยมีระบบการชำระเงินที่มีประสิทธิภาพอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น QR Code Payment หรือ ผ่านระบบพร้อมเพย์ ซึ่งสามารถใช้บริการได้ฟรี สะดวก และรวดเร็ว
หากมีการเปิดสถานบันเทิงครบวงจร โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีกาสิโนถูกกฎหมายรวมอยู่ด้วย และต้องการนำเงินสกุลดิจิทัลมาใช้ในการเล่นพนันจะทำได้หรือไม่ กรณีนี้น่าจะคล้ายกันกับการใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) หรือ บัตรอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การนำบัตรไปใช้ในศูนย์อาหาร รถไฟฟ้า บัตรเติมเงินต่าง ๆ ซึ่งจะมีรูปแบบถึงการให้บริการในวงจำกัด แต่จะต้องดูว่าเข้าข่ายที่จะต้องขออนุญาตหรือไม่
อย่างไรก็ตามการนำเงินเข้ามาและนำเงินออกนอกประเทศ จะต้องเกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนเงินตรา ซึ่งอยู่ภายใต้กฎหมายควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรา ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยกำกับดูแลอยู่
"แบงก์ชาติ" ห่วงกาสิโนถูกกฎหมาย กระทบการแลกเปลี่ยนเงิน
https://www.thansettakij.com/business/tourism/590887
เปิดความเห็น "แบงก์ชาติ"ชี้ แจง กมธ.สถานบันเทิงครบวงจร ระบุชัดใช้เงินสกุลดิจิทัลเล่นกาสิโนถูกกฎหมายไม่ได้ ชี้ช่องใช้ e-Money บัตรอิเล็กทรอนิกส์แทน ห่วงการนำเงินเข้า-ออก กระทบการแลกเปลี่ยนเงิน
การเปิดบ่อน “กาสิโนถูกกฎหมาย” ผ่าน "สถานบันเทิงครบวงจร" หยิบขึ้นมา “ปัดฝุ่น” พูดถึงอีกครั้ง หลังจากคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาการเปิดสถานบันเทิงครบวงจร (Entertainment Complex) เพื่อแก้ปัญหาการพนันผิดกฎหมายและเพื่อประโยชน์ด้านเศรษฐกิจของประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ที่มี "จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์" สส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ที่สวมหมวก "รมช.คลัง" เป็นประธานกมธ.
“รายงานฉบับสมบูรณ์” จำนวน 98 หน้า ไม่รวมภาคผนวก ก - ภาคผนวก ข ถูกจัดพิมพ์เสร็จเมื่อช่วงเช้าของวันที่ 14 มีนาคม 2567 ก่อนส่งรายงานให้สภาผู้แทนราษฎรลงมติรับรอง และส่งให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบตามขั้นตอนต่อไป
ในรายงานผลการศึกษาระบุถึงผลการศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการมีสถานบันเทิงครบวงจร ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ ระบุความเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือ "แบงก์ชาติ" กรณีการเปิดสถานบันเทิงครบวงจร และการนำเงินสกุลดิจิทัล หรือคริปโตเคอร์เรนซีมาใช้จ่ายภายในสถานบันเทิงครบวงจรเป็นค่าสินค้าหรือบริการได้หรือไม่
ธปท.ระบุว่า จริง ๆ แล้วเงินดิจิทัลดังกล่าวไม่มีคุณสมบัติที่จะใช้ในการชำระหนี้ได้ ยกตัวอย่างเช่น บิทคอยน์ ซึ่งมีมูลค่าความผันผวนสูง ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลหลักในเรื่องของสกุลเงินดิจิทัล เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบธุรกิจมีการนำคริปโตเคอร์เรนซีมาใช้ในการชำระหนี้แทนเงินบาท ระบบการชำระเงินถือเป็นส่วนสำคัญของประเทศ ซึ่งจะมีมาตรการต่าง ๆ ในการกำกับดูแลอยู่
ส่วนสกุลเงินดิจิทัลที่จะออกโดยธนาคารกลางของแต่ละประเทศ (Central Bank Digital Currency : CBDC) จะมีความแตกต่างจากบิทคอยน์ เพราะเป็นเงินที่ธนาคารเป็นผู้ออก ซึ่งเหมือนเงินตราที่ประชาชนใช้ตามปกติ เพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบการนำมาใช้ เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ CBDC ยังอยู่ในขั้นของการศึกษา ไม่ได้มีการนำออกมาใช้จริง รวมถึงต่างประเทศที่ยังไม่ได้มีการประกาศใช้อย่างจริงจัง อย่างอีกประเทศไทยมีระบบการชำระเงินที่มีประสิทธิภาพอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น QR Code Payment หรือ ผ่านระบบพร้อมเพย์ ซึ่งสามารถใช้บริการได้ฟรี สะดวก และรวดเร็ว
หากมีการเปิดสถานบันเทิงครบวงจร โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีกาสิโนถูกกฎหมายรวมอยู่ด้วย และต้องการนำเงินสกุลดิจิทัลมาใช้ในการเล่นพนันจะทำได้หรือไม่ กรณีนี้น่าจะคล้ายกันกับการใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) หรือ บัตรอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การนำบัตรไปใช้ในศูนย์อาหาร รถไฟฟ้า บัตรเติมเงินต่าง ๆ ซึ่งจะมีรูปแบบถึงการให้บริการในวงจำกัด แต่จะต้องดูว่าเข้าข่ายที่จะต้องขออนุญาตหรือไม่
อย่างไรก็ตามการนำเงินเข้ามาและนำเงินออกนอกประเทศ จะต้องเกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนเงินตรา ซึ่งอยู่ภายใต้กฎหมายควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรา ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยกำกับดูแลอยู่