ภาวนาด้วยจิตที่มีกำลัง

กระทู้สนทนา
1.การพิจารณาให้มีหลักให้จิตตั้ง ดังหลักที่ตั่งกลางเลน จิตที่ตั้งอยู่กลางเลนได้คือจิตตั้งมั่น
จิตตั้งมั่นคือ จิตที่มีกำลังสติ สมาธิ รูปเป็นดังภาชนะ(โพรง)ที่บรรจุด้วยกำลังสติ สมาธิ  มีสตินึกถึงเมื่อไร  ก็จะเต็มภาชนะนี้ทั้งภายในภาบนอก
เมื่อได้จิตตั้งมั่นแล้ว(บางที่เรียก ได้จิตผูรู้) ก็ให้เอาจิตประเภทนี้เข้าไปดูอาการทางอายาตน6 ทั้งภายใน ภายนอก
จิตตั้งมั่นนี้ให้คอยดูเสมอ เพราะตั้งอยู่กลางเลน หลักล้มได้ตลอดเวลา การดูคือกลับมาดูจิตที่ตั้งมั่นนี้ ถ้ารูปละเอียดยังตั้งอยู่ ยังเห็นได้ทั้งต้วจากหัวถึงเท้า เห็นแขน ซ้ายขวา(รูปปรมัตถ์) ยืน เดิน นั่น นอนก็เห็น แสดงว่าจิตตั้งมั่นยังทรงอยู่(มีสติ สัมปชัญญะ) เป็นการทรงฌานในวิปัสนา
  ทำข้างต้นให้ชำนาญ นึกถึงเมื่อไร 1ก็ยังอยู่ 
2. 1ที่ตั้งมั่นแล้วนี้ จะดูเพื่อเจริญกำลังให้ตั้งมั่นยิ่งขึ้น(สมถะ)หรืออย่างวิปัสนาก็ได้ เพราะจิตจะแยกส่วนกับอารมณ์ทางอายาตน6 เมื่อจะดูอย่างวิปัสนา ก็ให้เอาจิตตั้งมั่นแล้วนี้เข้าไปดู จะเห็นอาการทางอายาตนกับจิตตั้งมั่นนี้ดับไปด้วยกัน จะดับเร็วดับช้าก็ขึ้นกับกำลังสติ สมาธิที่เข้าไปดูนี้ด้วย เพราะการดูด้วยการมีกำลังสติ สมาธิ ปัญญา(อินทรีย์พละ)อายุอารมณ์ขันธ์จะสั้น ไม่ตั้งอยู่นาน
2.เจริญทั้ง1และ2 เมื่อ2ดับก็จะกลับมา1 มาอยู่ที่จิตตั้งมั่น แต่กำลังของ1จะไม่เหมือนเดิมแล้ว อาจมีกำลังมากขึ้น หนาแน่นขึ้น เป็นจิตใหม่ที่ต่างจากเดิม
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่