ครั้งที่แล้วเราได้ติดตาม สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ตอนที่ท่านค้นพบศรีเทพใน ค.ศ 1904
ท่านได้บุกป่าฝ่าดงขึ้นเขาลงเขาแล้วพายเรือ กว่าจะได้พบเมืองโบราณศรีเทพ *ย้อนไปอ่านในกระทู้ที่แล้วของจัสมินได้นะคะ🤓
ท่านสันนิษฐานว่าสมัยโบราณศรีเทพน่าจะเป็นเมืองที่ใหญ่และสำคัญมากเลย
ตั้งแต่ กรมพระยาดำรง พบเมืองศรีเทพ มีนักวิชาการหลายท่านที่ได้ไปที่ ศรีเทพ เพื่อศึกษาที่มาและการล่มสลายของศรีเทพ
ทั้งๆที่ศรีเทพเพิ่งจะได้เป็นมรดกโลกโดย UNESCO ในปี 2023
แต่ทุกวันนี้ยังมีอีกเยอะแยะที่เราไม่รู้เกี่ยวกับเมืองนั้น
ในขณะนี้นักโบราณคดียังทำการขุดค้นที่ศรีเทพอยู่เลย
เดี๋ยวมาดูกันว่านักวิชาการรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับ ศรีเทพ
เรื่องราวของ ศรีเทพ เริ่มต้นราวๆ 2000 ปีที่แล้วใน
ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ตอนนั้นตรงกับราวๆพุทธศตวรรษที่ 5
สมัยนั้นบริเวณลุ่มแม่น้ำลพบุรี-ป่าสัก ยังเป็นป่าโปร่งอยู่ คนในแถบนั้นก็อยู่กันเป็นกลุ่มเล็กๆแล้วปกครองกันเองในระดับหมู่บ้าน พวกเขารู้จักที่จะปลูกพืชผักเช่นข้าว แล้วไปหาของป่าล่าสัตว์จากเทือกเขาใกล้ๆมาเป็นอาหาร ชาวบ้านสมัยนั้นยังไม่ได้นับถือศาสนาอะไรนะ เขาก็นับถือธรรมชาตินี่แหละ แล้วก็อธิบายปรากฏการณ์ตามธรรมชาติต่างๆว่าเกิดจากอำนาจของภูติผีวิญญาณ
ชุมชนในแถบนี้ก็มีการติดต่อค้าขายกันในระดับชุมชนใกล้เคียงและระยะไกลข้ามภูมิภาคด้วย
สมัยโบราณการค้าทางไกลไม่เหมือนกับทุกวันนี้นะ ทุกวันนี้เรามีถนน เราสามารถขึ้นเหนือตกออกใต้ไปได้ทุกทิศทาง แค่ขับรถไป
แต่สมัยโบราณเส้นทางการค้าและการเดินทางทางบกมีจำนวนจำกัด
ในมุมมองเนี่ยนะ ถ้าเราดูแผนที่ของศรีเทพ เราจะเห็นว่าบรรพบุรุษศรีเทพเขาฉลาดมากเลยแหละในการเลือกทำเลเมือง เพราะว่าศรีเทพเนี่ยตั้งอยู่ใกล้ช่องระหว่างเทือกเขาเพชรบูรณ์
แล้วนี้มันสำคัญยังไง? คือเทือกเขาเพชรบูรณ์เปรียบเสมือนประตูกั้นระหว่างภาคกลางกับภาคอีสานซึ่งเป็นบริเวณที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดสมัยนั้นและเป็นแหล่งการทำเกลือที่ใหญ่ที่สุดในยุคนั้นด้วย
ถ้าหากพ่อค้าจะเดินทางขนสินค้าแบบสะดวก แบบไม่ต้องข้ามเขาเพชรบูรณ์ เขาก็ต้องหาช่องทางระหว่างเขาใช่มั้ย? บรรพบุรุษศรีเทพจึงตั้งเมืองแถวช่องระหว่างเทือกเขาเพชรบูรณ์ไง
สงสัยกันมั้ยว่าคนโบราณศรีเทพค้าขายอะไรกัน? จำได้มั้ยว่าศรีเทพอยู่ใกล้ป่าเขา แน่นอนป่าเขาพวกนั้นก็ต้องอุดมไปด้วยของป่า แต่รู้มั้ยว่า
ป่าเขาพวกนั้นอุดมไปด้วยแร่ธาตุเช่นเหล็กและทองแดงด้วย ซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญแก่คนสมัยโบราณ
คนภาคกลางทางลุ่มน้ำเจ้าพระยาต้องการของป่าจากแถวศรีเทพและเกลือจากอีสาน ส่วนคนอีสานต้องการแร่ธาตุจากลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาหรือว่าผ่านทางนั้นมา
นี่ก็เลยทำให้เส้นทางที่ผ่าน ศรีเทพ นี้คับคั่งจริงๆ มีคนเข้ามาอยู่อาศัยและพัฒนาชุมชนบริเวณศรีเทพอยู่เรื่อยๆ
จนกระทั่งราว
พุทธศตวรรษที่ 7-11 ก็มีอารยธรรมภายนอก โดยเฉพาะ อินเดีย เข้ามามีบทบาทต่อชุมชนในแถบอินโดจีน
ซึ่งรัฐขนาดใหญ่ที่มีอำนาจตอนนั้นก็คือ ฟูนัน ที่ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียอีกทีนึง
ในระยะนั้นจะเห็นพ่อค้าชาวอาหรับและชาวอินเดียเดีนทางมาค้าขายถึงแถบลุ่มน้ำป่าสักเลย
แล้วคนโบราณเขาก็ไม่ค่อยต่างจากเรานะ เขาก็นิยมของอิมพอร์ตหรือว่านำเข้า
ของนอกก็เป็นสิ่งยอดฮิท
นักโบราณคดีพบว่าของที่นิยมฝังไปกับผู้ตายสมัยนั้นมักจะเป็นเครื่องใช้และเครื่องประดับที่นำเข้าซะส่วนใหญ่ เช่นมีกุณฑีจากอินเดียและลูกปัดหินแก้วจากต่างประเทศ
แล้วแน่นอนเนื่องจากอิทธิพลจากอินเดียนี้แรงมากเลย เราจึงพบโบราณวัตถุที่มีภาษาสันสกฤตสลักอยู่ เช่นตอนที่ กรมพระยาดำรง ค้นพบศรีเทพ ท่านพบหลักเมืองเป็นเสากรมรูปคล้ายตะปูหัวเห็ด มาจากพุทธศตวรรษที่ 1000 กว่าๆ มีอายุราว 1500 ปีเลยแหละ
นักวิชาการวิเคราะห์อักษรโบราณบนหลักเมืองนั้น
แล้วพบว่าเป็นอักษรโบราณอินเดีย อักษรปัลลวะนี่แหละเป็นภาษาสันสกฤตนี่เอง จารึกนี้กล่าวถึงการสรรเสริญบุคคลว่าเป็นผู้เปี่ยมไปด้วยความรู้และยังเป็นผู้มีธรรม ซึ่งอาจจะเป็นพระราชาหรือเชื้อพระวงศ์ที่ปกครองเมืองศรีเทพในช่วงนั้น
ต่อมาก็เข้าสู่ยุคของวัฒนธรรม ทวารวดี ที่ศรีเทพ
จำได้มั้ยว่าตอนแรกๆ ศรีเทพ ได้รับอิทธิพลจากอินเดียผ่านรัฐ ฟูนัน?
ทีนี้พอถึง
พุทธศตวรรษที่ 11-12 อาณาจักร เจนละ ก็ได้เกิดขึ้น แลัวครอบคลุมดินแดนประเทศกัมพูชารวมไปถึงบางส่วนของประเทศลาว และบางส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยด้วย
แล้วในเวลาเดียวกันวัฒนธรรม ทวารวดี ก็เริ่มเจริญขึ้นในบริเวณภาคกลางของประเทศไทย
ศรีเทพนี่ตั้งอยู่ที่คาบเกี่ยวระหว่าง 2 วัฒนธรรมนั้น
ชาวศรีเทพก็รับอิทธิพลทางศาสนาและวัฒนธรรมจากทั้ง เจนละและทวารวดี มาประยุกต์เป็นเฉพาะของตนเอง
พอเวลาผ่านไป การค้าขายบนเส้นทางที่ผ่านศรีเทพก็เฟื่องฟูขึ้น...ศรีเทพก็เริ่มพัฒนาจากชุมชนกลายไปเป็นเมือง
ชาวศรีเทพก็เริ่มบุกเบิกก่อสร้างในพื้นที่ที่เราเรียกกันว่า 'เมืองใน'
เมืองใน นี่สร้างเป็นรูปวงกลมคล้ายๆเมืองที่ถูกสร้างในวัฒนธรรมทวารวดีที่อื่น และมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 กม เลยแหละ พื้นที่ราวๆ 1300 ไร่
พอเวลาผ่านไป ศรีเทพเจริญมากขึ้น กลายไปเป็นเมืองใหญ่แห่งนึงที่ควบคุมเส้นทางค้าขายตอนใน ตอนนั้นเป็นยุคที่เจริญที่สุดของศรีเทพ
แน่นอนพอเมืองเจริญขึ้นก็มีประชากรมากขึ้นตาม
ตอนนั้นพื้นที่ เมืองใน ก็ไม่เพียงพอที่จะรองรับทุกคนได้
ชาวศรีเทพจึงบุกเบิกพื้นที่ออกไปทางทิศตะวันออกราวๆ 1889 ไร่เลยแหละ เป็นที่ที่เราเรียกกันว่า เมืองนอก
พอขยายพื้นที่ ตอนนี้ ศรีเทพ เลยมีรูปร่างเป็นเมืองแฝดสี่เหลี่ยมมุมมน รวมพื้นที่เมืองนอกกับเมืองในก็เป็น 2887 ไร่เลยแหละ
ที่นี้ก็นึกภาพ เมืองศรีเทพนี่ใหญ่โตและประชากรก็หนาแน่นมาก สิ่งที่สำคัญมากสำหรับชาวบ้านชาวเมืองตอนนั้นคือแหล่งน้ำกินน้ำใช้
ซึ่งศรีเทพนี่อยู่ห่างจากแม่น้ำป่าสักถึง 6 กม เลยนะ
ข้อดีคือปีที่น้ำท่วมบริเวณแม่น้ำป่าสักจะท่วมจนมิดสองฝั่งลานตะพัก แต่ท่วมไม่ถึงศรีเทพ
แต่ข้อเสียก็คือพออยู่ห่างแม่น้ำแล้วทำให้ขาดแครนน้ำ
ชาวศรีเทพเลยแก้ปัญหาโดยทำระบบกักเก็บน้ำในชุมชน
แล้วน้ำที่กักเก็บมาจากไหน? คนโบราณศรีเทพก็ฉลาดมากเลยนะ เขาสังเกตว่าน้ำมันจะไหลลงมาจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ ผ่านเมืองศรีเทพ ไปสู่แม่น้ำป่าสัก
เขาเลยขุดสระและหนองน้ำไว้ทั่วเมืองเพื่อดักน้ำที่ไหลผ่าน ทุกวันนี้เรายังสามารถเห็นทั้งสระและหนองน้ำที่กระจายอยู่ทั่วเมืองราวๆ 100 แห่งเลยแหละ
แล้วไม่ใช่แค่นั้นนะ พวกเขาได้ขุดคูเมืองขนาดใหญ่ที่กว้างตั้ง 40 ม
คูเมืองนั้น นอกจากจะกักเก็บน้ำเหลือล้นแล้ว ตอนขุดคูน้ำเขาได้เอาดินที่ขุดออกไปพูนตรอดแนวคูน้ำเป็นกำแพงเมืองสูง 6 ม และกว้าง 20 ม เลยแหละ มันก็กลายไปเป็นปราการที่แข็งแกร่ง ช่วยกั้นข้าศึกศัตรูที่อาจเข้ามาบุกเมือง
รู้มั้ย คูเมืองโบราณนี้ยังถูกใช้เป็นแหล่งน้ำหลักของประชาชนที่อยู่รอบเมืองศรีเทพอยู่เลย
ในยุคที่ชาวศรีเทพบุกเบิกเมือง เขาก็สร้างพุทธสถานหลายแห่งไปพร้อมกัน นักโบราณคดีพบมากกว่า 100 แห่งเลยแหละกระจัดกระจายอยู่ทั่วบริเวณศรีเทพ จัสมินจะขอพูดถึงไม่กี่แห่งแล้วกันนะคะ ที่ยูเนสโกได้เอ่ยถึง
เริ่มต้นด้วยถ้ำในศาสนาพุทธนิกายมหายานแห่งเดียวเลยแหละในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นั่นก็คือ
ถ้ำเขาถมอรัตน์
ถ้ำเขาถมอรัตน์ คาดว่าจะถูกสร้างขึ้นในราวๆพุทธศตวรรษที่ 14
ภายในถ้ำมีภาพสลักบนผนังหินเป็นพระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์หลายองค์
ซึ่งเศียรของบางรูปถูกลักลอบตัดออกไป แต่ทุกวันนี้ได้ตามกลับมาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครแล้ว
ตามชื่อ ถ้ำเขาถมอรัตน์ แน่นอนก็อยู่บน เขาถมอรัตน์ ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองศรีเทพไปราวๆ 15 กม ทางทิศตะวันตก
สมัยโบราณ เวลาคนเดินทาง เขาไม่ได้มีป้ายบอกทางหรือ GPS อย่างเรามีกันทุกวันนี้นะ คนโบราณต้องอาศัยจุดสังเกตเช่นภูเขาหรือแม่น้ำ
ซึ่ง เขาถมอรัตน์ เป็นจุดสังเกตที่ดีเพราะลักษณะของเขาเหมือนกับรูปพีระมิดตั้งอยู่โด่ๆ
แตกต่างจากเทือกเขาในภูมิภาคนั้น
นอกจากนั้น 'ถมอ' แปลว่าหิน แล้ว 'รัตน์' แปลว่าแก้ว รวมกันหมายถึง เขาแก้ว
เลยไม่น่าแปลกที่นักโบราณคดีพบว่าบริเวณเชิงเขาถมอรัตน์ เคยเป็นแหล่งผลิตเครื่องมือและกำไลหิน
ต่อมาเราจะมาดูโบราณสถาน เขาคลังใน และ เขาคลังนอก ซึ่งชื่อนี้ชาวบ้านได้ตั้งขึ้นเพราะสภาพก่อนที่นักโบราณคดีได้ไปขุดค้นเหมือนกับเนินเขาหรือภูเขา มีดินและต้นไม้งอกขึ้นมาปกคลุม
ชาวบ้านเเชื่อว่าสมัยโบราณที่นั่นน่าจะเป็นที่เก็บสมบัติหรือเป็นคลังอาวุธ เขาจึงเรียกว่า 'คลัง'
สำหรับสถานที่ตั้งอยู่ในเมือง เขาเรียกว่า เขาคลางใน สถานที่ตั้งอยู่นอกเมืองเรียกว่า เขาคลังนอก
เขาคลังใน ตั้งอยู่เกือบกึ่งกลาง ศรีเทพ เลย
คาดว่าเป็นวิหารในศาสนาพุทธเพราะว่าผังคล้ายกับวิหารอื่นๆในศิลปะคุปตะ เช่นที่ นาลันทา อดีตพุทธวิทยาลัยในประเทศอินเดีย
เขาคลังใน ถูกสร้างราวๆ พุทธศตวรรษที่ 11-12
สถาปัตยกรรมทั้งลายกระหนกผักกูดและคนแคระแบกที่มีหน้าเป็น ช้าง ลิง สิงห์ ควาย...ได้รับอิทธิพลจากอินเดียทั้งนั้น
รู้มั้ย ที่มาของคนแคระแบกเป็นคติเดียวกันกับปกรณัมของกรีกเรื่องของ แอตลัส ที่เป็นเทพไททันที่แบกโลก
ศิลปะพวกนี้ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะคุปตะที่อินเดีย ที่ได้รับอิทธิพลจากกรีกมาอีกที
คนแคระพวกนี้เปรียบเสมือนแบกจักรวานอยู่ การมีรูปคนแคระแบกเนี่ยก็เป็นการสถาปนาให้สิ่งก่อสร้างนั้นเปรียบเสมือนเป็นศูนย์กลางจักรวาล
ในตอนต่อไป เราจะมาดู เขาคลังนอก ซึ่งคาดกันว่าเป็นจุดที่สำคัญที่สุดของศรีเทพเลย แล้วเราจะดูการล่มสลายของศรีเทพ
ศรีเทพ ศูนย์กลางความเจริญที่สําคัญที่สุดแห่งหนึ่งสมัยโบราณ (ตอน 1)
ท่านได้บุกป่าฝ่าดงขึ้นเขาลงเขาแล้วพายเรือ กว่าจะได้พบเมืองโบราณศรีเทพ *ย้อนไปอ่านในกระทู้ที่แล้วของจัสมินได้นะคะ🤓
ท่านสันนิษฐานว่าสมัยโบราณศรีเทพน่าจะเป็นเมืองที่ใหญ่และสำคัญมากเลย
ตั้งแต่ กรมพระยาดำรง พบเมืองศรีเทพ มีนักวิชาการหลายท่านที่ได้ไปที่ ศรีเทพ เพื่อศึกษาที่มาและการล่มสลายของศรีเทพ
ทั้งๆที่ศรีเทพเพิ่งจะได้เป็นมรดกโลกโดย UNESCO ในปี 2023แต่ทุกวันนี้ยังมีอีกเยอะแยะที่เราไม่รู้เกี่ยวกับเมืองนั้น
ในขณะนี้นักโบราณคดียังทำการขุดค้นที่ศรีเทพอยู่เลย
เดี๋ยวมาดูกันว่านักวิชาการรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับ ศรีเทพ
เรื่องราวของ ศรีเทพ เริ่มต้นราวๆ 2000 ปีที่แล้วในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ตอนนั้นตรงกับราวๆพุทธศตวรรษที่ 5
สมัยนั้นบริเวณลุ่มแม่น้ำลพบุรี-ป่าสัก ยังเป็นป่าโปร่งอยู่ คนในแถบนั้นก็อยู่กันเป็นกลุ่มเล็กๆแล้วปกครองกันเองในระดับหมู่บ้าน พวกเขารู้จักที่จะปลูกพืชผักเช่นข้าว แล้วไปหาของป่าล่าสัตว์จากเทือกเขาใกล้ๆมาเป็นอาหาร ชาวบ้านสมัยนั้นยังไม่ได้นับถือศาสนาอะไรนะ เขาก็นับถือธรรมชาตินี่แหละ แล้วก็อธิบายปรากฏการณ์ตามธรรมชาติต่างๆว่าเกิดจากอำนาจของภูติผีวิญญาณ
ชุมชนในแถบนี้ก็มีการติดต่อค้าขายกันในระดับชุมชนใกล้เคียงและระยะไกลข้ามภูมิภาคด้วย
สมัยโบราณการค้าทางไกลไม่เหมือนกับทุกวันนี้นะ ทุกวันนี้เรามีถนน เราสามารถขึ้นเหนือตกออกใต้ไปได้ทุกทิศทาง แค่ขับรถไป
แต่สมัยโบราณเส้นทางการค้าและการเดินทางทางบกมีจำนวนจำกัด
ในมุมมองเนี่ยนะ ถ้าเราดูแผนที่ของศรีเทพ เราจะเห็นว่าบรรพบุรุษศรีเทพเขาฉลาดมากเลยแหละในการเลือกทำเลเมือง เพราะว่าศรีเทพเนี่ยตั้งอยู่ใกล้ช่องระหว่างเทือกเขาเพชรบูรณ์
แล้วนี้มันสำคัญยังไง? คือเทือกเขาเพชรบูรณ์เปรียบเสมือนประตูกั้นระหว่างภาคกลางกับภาคอีสานซึ่งเป็นบริเวณที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดสมัยนั้นและเป็นแหล่งการทำเกลือที่ใหญ่ที่สุดในยุคนั้นด้วย
ถ้าหากพ่อค้าจะเดินทางขนสินค้าแบบสะดวก แบบไม่ต้องข้ามเขาเพชรบูรณ์ เขาก็ต้องหาช่องทางระหว่างเขาใช่มั้ย? บรรพบุรุษศรีเทพจึงตั้งเมืองแถวช่องระหว่างเทือกเขาเพชรบูรณ์ไง
สงสัยกันมั้ยว่าคนโบราณศรีเทพค้าขายอะไรกัน? จำได้มั้ยว่าศรีเทพอยู่ใกล้ป่าเขา แน่นอนป่าเขาพวกนั้นก็ต้องอุดมไปด้วยของป่า แต่รู้มั้ยว่า
ป่าเขาพวกนั้นอุดมไปด้วยแร่ธาตุเช่นเหล็กและทองแดงด้วย ซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญแก่คนสมัยโบราณ
คนภาคกลางทางลุ่มน้ำเจ้าพระยาต้องการของป่าจากแถวศรีเทพและเกลือจากอีสาน ส่วนคนอีสานต้องการแร่ธาตุจากลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาหรือว่าผ่านทางนั้นมา
นี่ก็เลยทำให้เส้นทางที่ผ่าน ศรีเทพ นี้คับคั่งจริงๆ มีคนเข้ามาอยู่อาศัยและพัฒนาชุมชนบริเวณศรีเทพอยู่เรื่อยๆ
จนกระทั่งราวพุทธศตวรรษที่ 7-11 ก็มีอารยธรรมภายนอก โดยเฉพาะ อินเดีย เข้ามามีบทบาทต่อชุมชนในแถบอินโดจีน
ซึ่งรัฐขนาดใหญ่ที่มีอำนาจตอนนั้นก็คือ ฟูนัน ที่ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียอีกทีนึง
ในระยะนั้นจะเห็นพ่อค้าชาวอาหรับและชาวอินเดียเดีนทางมาค้าขายถึงแถบลุ่มน้ำป่าสักเลย
แล้วคนโบราณเขาก็ไม่ค่อยต่างจากเรานะ เขาก็นิยมของอิมพอร์ตหรือว่านำเข้าของนอกก็เป็นสิ่งยอดฮิท
นักโบราณคดีพบว่าของที่นิยมฝังไปกับผู้ตายสมัยนั้นมักจะเป็นเครื่องใช้และเครื่องประดับที่นำเข้าซะส่วนใหญ่ เช่นมีกุณฑีจากอินเดียและลูกปัดหินแก้วจากต่างประเทศ
แล้วแน่นอนเนื่องจากอิทธิพลจากอินเดียนี้แรงมากเลย เราจึงพบโบราณวัตถุที่มีภาษาสันสกฤตสลักอยู่ เช่นตอนที่ กรมพระยาดำรง ค้นพบศรีเทพ ท่านพบหลักเมืองเป็นเสากรมรูปคล้ายตะปูหัวเห็ด มาจากพุทธศตวรรษที่ 1000 กว่าๆ มีอายุราว 1500 ปีเลยแหละ
นักวิชาการวิเคราะห์อักษรโบราณบนหลักเมืองนั้นแล้วพบว่าเป็นอักษรโบราณอินเดีย อักษรปัลลวะนี่แหละเป็นภาษาสันสกฤตนี่เอง จารึกนี้กล่าวถึงการสรรเสริญบุคคลว่าเป็นผู้เปี่ยมไปด้วยความรู้และยังเป็นผู้มีธรรม ซึ่งอาจจะเป็นพระราชาหรือเชื้อพระวงศ์ที่ปกครองเมืองศรีเทพในช่วงนั้น
ต่อมาก็เข้าสู่ยุคของวัฒนธรรม ทวารวดี ที่ศรีเทพ
จำได้มั้ยว่าตอนแรกๆ ศรีเทพ ได้รับอิทธิพลจากอินเดียผ่านรัฐ ฟูนัน?
ทีนี้พอถึงพุทธศตวรรษที่ 11-12 อาณาจักร เจนละ ก็ได้เกิดขึ้น แลัวครอบคลุมดินแดนประเทศกัมพูชารวมไปถึงบางส่วนของประเทศลาว และบางส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยด้วย
แล้วในเวลาเดียวกันวัฒนธรรม ทวารวดี ก็เริ่มเจริญขึ้นในบริเวณภาคกลางของประเทศไทย
ศรีเทพนี่ตั้งอยู่ที่คาบเกี่ยวระหว่าง 2 วัฒนธรรมนั้น
ชาวศรีเทพก็รับอิทธิพลทางศาสนาและวัฒนธรรมจากทั้ง เจนละและทวารวดี มาประยุกต์เป็นเฉพาะของตนเอง
พอเวลาผ่านไป การค้าขายบนเส้นทางที่ผ่านศรีเทพก็เฟื่องฟูขึ้น...ศรีเทพก็เริ่มพัฒนาจากชุมชนกลายไปเป็นเมือง
ชาวศรีเทพก็เริ่มบุกเบิกก่อสร้างในพื้นที่ที่เราเรียกกันว่า 'เมืองใน'
เมืองใน นี่สร้างเป็นรูปวงกลมคล้ายๆเมืองที่ถูกสร้างในวัฒนธรรมทวารวดีที่อื่น และมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 กม เลยแหละ พื้นที่ราวๆ 1300 ไร่
พอเวลาผ่านไป ศรีเทพเจริญมากขึ้น กลายไปเป็นเมืองใหญ่แห่งนึงที่ควบคุมเส้นทางค้าขายตอนใน ตอนนั้นเป็นยุคที่เจริญที่สุดของศรีเทพ
แน่นอนพอเมืองเจริญขึ้นก็มีประชากรมากขึ้นตาม
ตอนนั้นพื้นที่ เมืองใน ก็ไม่เพียงพอที่จะรองรับทุกคนได้
ชาวศรีเทพจึงบุกเบิกพื้นที่ออกไปทางทิศตะวันออกราวๆ 1889 ไร่เลยแหละ เป็นที่ที่เราเรียกกันว่า เมืองนอก
พอขยายพื้นที่ ตอนนี้ ศรีเทพ เลยมีรูปร่างเป็นเมืองแฝดสี่เหลี่ยมมุมมน รวมพื้นที่เมืองนอกกับเมืองในก็เป็น 2887 ไร่เลยแหละ
ที่นี้ก็นึกภาพ เมืองศรีเทพนี่ใหญ่โตและประชากรก็หนาแน่นมาก สิ่งที่สำคัญมากสำหรับชาวบ้านชาวเมืองตอนนั้นคือแหล่งน้ำกินน้ำใช้
ซึ่งศรีเทพนี่อยู่ห่างจากแม่น้ำป่าสักถึง 6 กม เลยนะ
ข้อดีคือปีที่น้ำท่วมบริเวณแม่น้ำป่าสักจะท่วมจนมิดสองฝั่งลานตะพัก แต่ท่วมไม่ถึงศรีเทพ
แต่ข้อเสียก็คือพออยู่ห่างแม่น้ำแล้วทำให้ขาดแครนน้ำ
ชาวศรีเทพเลยแก้ปัญหาโดยทำระบบกักเก็บน้ำในชุมชน
แล้วน้ำที่กักเก็บมาจากไหน? คนโบราณศรีเทพก็ฉลาดมากเลยนะ เขาสังเกตว่าน้ำมันจะไหลลงมาจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ ผ่านเมืองศรีเทพ ไปสู่แม่น้ำป่าสัก
เขาเลยขุดสระและหนองน้ำไว้ทั่วเมืองเพื่อดักน้ำที่ไหลผ่าน ทุกวันนี้เรายังสามารถเห็นทั้งสระและหนองน้ำที่กระจายอยู่ทั่วเมืองราวๆ 100 แห่งเลยแหละ
แล้วไม่ใช่แค่นั้นนะ พวกเขาได้ขุดคูเมืองขนาดใหญ่ที่กว้างตั้ง 40 ม
คูเมืองนั้น นอกจากจะกักเก็บน้ำเหลือล้นแล้ว ตอนขุดคูน้ำเขาได้เอาดินที่ขุดออกไปพูนตรอดแนวคูน้ำเป็นกำแพงเมืองสูง 6 ม และกว้าง 20 ม เลยแหละ มันก็กลายไปเป็นปราการที่แข็งแกร่ง ช่วยกั้นข้าศึกศัตรูที่อาจเข้ามาบุกเมือง
รู้มั้ย คูเมืองโบราณนี้ยังถูกใช้เป็นแหล่งน้ำหลักของประชาชนที่อยู่รอบเมืองศรีเทพอยู่เลย
ในยุคที่ชาวศรีเทพบุกเบิกเมือง เขาก็สร้างพุทธสถานหลายแห่งไปพร้อมกัน นักโบราณคดีพบมากกว่า 100 แห่งเลยแหละกระจัดกระจายอยู่ทั่วบริเวณศรีเทพ จัสมินจะขอพูดถึงไม่กี่แห่งแล้วกันนะคะ ที่ยูเนสโกได้เอ่ยถึง
เริ่มต้นด้วยถ้ำในศาสนาพุทธนิกายมหายานแห่งเดียวเลยแหละในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นั่นก็คือ ถ้ำเขาถมอรัตน์
ถ้ำเขาถมอรัตน์ คาดว่าจะถูกสร้างขึ้นในราวๆพุทธศตวรรษที่ 14
ภายในถ้ำมีภาพสลักบนผนังหินเป็นพระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์หลายองค์
ซึ่งเศียรของบางรูปถูกลักลอบตัดออกไป แต่ทุกวันนี้ได้ตามกลับมาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครแล้ว
ตามชื่อ ถ้ำเขาถมอรัตน์ แน่นอนก็อยู่บน เขาถมอรัตน์ ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองศรีเทพไปราวๆ 15 กม ทางทิศตะวันตก
สมัยโบราณ เวลาคนเดินทาง เขาไม่ได้มีป้ายบอกทางหรือ GPS อย่างเรามีกันทุกวันนี้นะ คนโบราณต้องอาศัยจุดสังเกตเช่นภูเขาหรือแม่น้ำ
ซึ่ง เขาถมอรัตน์ เป็นจุดสังเกตที่ดีเพราะลักษณะของเขาเหมือนกับรูปพีระมิดตั้งอยู่โด่ๆ แตกต่างจากเทือกเขาในภูมิภาคนั้น
นอกจากนั้น 'ถมอ' แปลว่าหิน แล้ว 'รัตน์' แปลว่าแก้ว รวมกันหมายถึง เขาแก้ว
เลยไม่น่าแปลกที่นักโบราณคดีพบว่าบริเวณเชิงเขาถมอรัตน์ เคยเป็นแหล่งผลิตเครื่องมือและกำไลหิน
ต่อมาเราจะมาดูโบราณสถาน เขาคลังใน และ เขาคลังนอก ซึ่งชื่อนี้ชาวบ้านได้ตั้งขึ้นเพราะสภาพก่อนที่นักโบราณคดีได้ไปขุดค้นเหมือนกับเนินเขาหรือภูเขา มีดินและต้นไม้งอกขึ้นมาปกคลุม
ชาวบ้านเเชื่อว่าสมัยโบราณที่นั่นน่าจะเป็นที่เก็บสมบัติหรือเป็นคลังอาวุธ เขาจึงเรียกว่า 'คลัง'
สำหรับสถานที่ตั้งอยู่ในเมือง เขาเรียกว่า เขาคลางใน สถานที่ตั้งอยู่นอกเมืองเรียกว่า เขาคลังนอก
เขาคลังใน ตั้งอยู่เกือบกึ่งกลาง ศรีเทพ เลย
คาดว่าเป็นวิหารในศาสนาพุทธเพราะว่าผังคล้ายกับวิหารอื่นๆในศิลปะคุปตะ เช่นที่ นาลันทา อดีตพุทธวิทยาลัยในประเทศอินเดีย
เขาคลังใน ถูกสร้างราวๆ พุทธศตวรรษที่ 11-12
สถาปัตยกรรมทั้งลายกระหนกผักกูดและคนแคระแบกที่มีหน้าเป็น ช้าง ลิง สิงห์ ควาย...ได้รับอิทธิพลจากอินเดียทั้งนั้น
รู้มั้ย ที่มาของคนแคระแบกเป็นคติเดียวกันกับปกรณัมของกรีกเรื่องของ แอตลัส ที่เป็นเทพไททันที่แบกโลก
ศิลปะพวกนี้ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะคุปตะที่อินเดีย ที่ได้รับอิทธิพลจากกรีกมาอีกที
คนแคระพวกนี้เปรียบเสมือนแบกจักรวานอยู่ การมีรูปคนแคระแบกเนี่ยก็เป็นการสถาปนาให้สิ่งก่อสร้างนั้นเปรียบเสมือนเป็นศูนย์กลางจักรวาล
ในตอนต่อไป เราจะมาดู เขาคลังนอก ซึ่งคาดกันว่าเป็นจุดที่สำคัญที่สุดของศรีเทพเลย แล้วเราจะดูการล่มสลายของศรีเทพ