ศรีเทพ ศูนย์กลางความเจริญที่สําคัญที่สุดแห่งหนึ่งสมัยโบราณ (ตอน 2)

ในตอนที่แล้วเราได้เห็นว่าศรีเทพตอนแรกเริ่มเป็นชุมชนเล็กๆ แล้วได้พัฒนามาเป็นเมืองใหญ่บนเส้นทางการค้าขายภายใน
นางพญาเม่า ในยุคที่เจริญสุด ชาวศรีเทพก็สร้างศาสนสถานหลายแห่ง

ตอนนี้เราจะมาดูกันต่อที่เขาคลังนอก คาดกันว่าอาจจะเป็นจุดที่สำคัญที่สุดของศรีเทพเลยก็ได้
เขาคลังนอกอยู่นอกเมืองศรีเทพไปทางทิศเหนือประมาณ 2 กม ก่อนที่กรมศิลปากรได้ไปขุดบูรณะในปี 2551 ชาวบ้านนึกว่าเป็นภูเขาซะอีก มีความกว้างและยาวราวๆ 100*100 ม และมีต้นไม้ขึ้นหนาทึบ ชาวบ้านสมัยก่อนเอาวัวควายชี้นไปเดินเล่นข้างบนด้วยซ้ำ

แต่ต่อมาพบว่าด้านบนมีหลุมที่คนลักลอบขุดขนาดใหญ่เป็นโพรงลึกลงไป ทำให้เห็นโครงสร้างภายในที่ก่อด้วยอิฐแบบชัดเจนเลยเพี้ยนส่อง

พอได้ขุดบูรณะก็พบว่าเป็นสถูปเจดีย์ในวัฒนธรรมทวารวดี แล้วมากไปกว่านั้น เขาคลังนอกเนี่ยเป็นสถูปเจดีย์ที่ใหญ่สุดเลยแหละในวัฒนธรรมทวารวดีที่พบในประเทศไทย มีอายุราวๆพุทธศตวรรษที่ 12-13

เห็นได้ว่าที่หลงเหลือที่ค่อนข้างสมบูรณ์แบบก็จะเป็นเฉพาะฐานเท่านั้น มีความกว้างยาวราวๆ 64 ม และสูงราวๆ 20 ม มีการยกเก็จหรือว่าเพิ่มมุมตรงฐานสถูป ซึ่งเขาว่ากันว่าเป็นสถาปัตยกรรมชั้นสูงเลยแหละที่ใช้ในศาสนสถานสำคัญในอินเดียกัน
มีทางขึ้นทั้ง 4 ด้าน และมีเจดีย์อยู่บนฐานที่ก่อด้วยอิฐ

รูปแบบของเขาคลังนอกนี่ คล้ายกับมณฑลหรือศูนย์กลางจักรวาลในศาสนาพุทธนิกายมหายาน


เราเห็นได้ว่าเขาคลังนอกได้รับอิทธิพลทางสถาปัตยกรรมจากอินเดียตอนใต้และชวากลาง คล้ายเจดีย์บุโรพุทโธ ที่อินโดนีเซีย

บริเวณโดยรอบยังคงปรากฏร่องรอยของซากอาคารที่เป็นองค์ประกอบของโบราณสถานอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งที่ยังหลงเหลือร่องรอยและถูกลักลอบขุดทำลายไปแล้ว

ที่น่าเสียดายสุดคือตอนที่นักโบราณคดีขุดค้นที่เขาคลังนอก เขาได้พบโบราณวัตถุเพียงชิ้นเดียว เป็นพระพุทธรูปทรงยืนสอนธรรมเพี้ยนแช๊ะ

น่าจะมีโบราณวัตถุอีกมากมายที่ถูกลักลอบขโมยออกไปแล้วตั้งแต่ช่วงยุค ค.ศ. 1970 

นอกจากสถานโบราณแล้ว สิ่งที่ขึ้นชื่อของศรีเทพก็มีประติมากรรมรูปเคารพ ทั้งพระพุทธรูปและเทวรูปในศาสนาฮินดู
จำได้มั้ยว่ามีวัฒนธรรมของทวารวดีและเจนละ มาผสมผสานกันที่ศรีเทพ?

ช่างฝีมือที่ศรีเทพได้ผสมผสานพวกศิลปกรรมจากอารยธรรมเจนละและทวารวดี มารวมกันเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง เรียกว่า สกุลช่างศรีเทพ

ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-13 ศาสนาฮินดูไวษณพนิกายน่าจะมีบทบาทมากเลย เพราะว่าเราพบเทวรูปของพระวิษณุและพระกฤษณะ ซึ่งเป็นอวตารของพระวิษณุมากมาย รูปปั้นพวกนี้ขึ้นชื่อเพราะว่ามีลักษณะที่อ่อนช้อยแล้วก็ยืนลักษณะตริภังค์ก็คือยืนเอียงสะโพกเล็กน้อย

และที่สำคัญก็คือไม่มีการยึดมือกับตรงหัว ซึ่งต่างกับสถาปัตยกรรมในที่อื่นๆในช่วงเวลาเดียวกัน นี่แหละคือจุดเด่นของของสกุลช่างศรีเทพที่ได้รับการยกย่องว่าเขากล้าที่จะสร้างประติมากรรมแบบลอยตัว คือไม่ได้มีการยึดมือกับหัว แปลว่าเขามั่นใจมากๆเลยว่ารูปปั้นของเขาเนี่ยจะไม่ได้มีการหัก

แล้วนอกจากนั้นก็มีธรรมจักรใหญ่มาก และพระพุทธรูปที่สูงตั้ง 3 ม แต่ตอนนี้พระพุทธรูปองค์นั้นอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ต่างประเทศ

จำได้มั้ยที่จัสมินได้เกริ่นมาก่อนหน้าว่าที่ศรีเทพเคยได้มีการลักลอบวัตถุโบราณออกไปเยอะมากเลย? เจ้าหอบเงินโดยเฉพาะในช่วงยุค ค.ศ 1970 กว่าๆเนี่ย

ชาวบ้านคนนึงเล่าว่าสมัย 50 กว่าปีที่แล้ว เคยเข้าไปตกปลาหาของป่าในบริเวณพื้นที่เมืองโบราณศรีเทพ แล้วเห็นเทวรูปโบราณมากมายเลยเกลื่อนกราดไปทั่ว ใต้ต้นไม้บ้าง บนเนินดินบ้างเพี้ยนเหรอ เยอะมากซะจนพอจะไปตกปลา เขาไม่ต้องเอาตาข่ายหรือเตรียมอะไรไปมากมาย เขาเอาพวกเทวรูปนั่นแหละที่เกลื่อนกลาดไปทั่ว มาเรียงต่อกันเพื่อดักปลา

แต่น่าเสียดายที่ว่าเทวรูปเหล่านั้นตอนนี้ถูกรักรอบออกไปขายหมดแล้วแหละ โดยชาวบ้านเองบ้างแล้วก็โดยพวกพ่อค้าทั้งไทยและ
ต่างชาติ กรมศิลปากรคาดการว่าน่าจะมีการขุดลักลอบวัตถุโบราณจากศรีเทพตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 2500 แล้วแหละ

ปัจจุบันมีประติมากรรมรูปเคารพขนาดใหญ่ในความครอบครองของศิลปากรไม่กี่รูปเอง ส่วนใหญ่ที่ถูกลักลอบออกไปแล้วก็อยู่ในพิพิธภัณฑ์ต่างประเทศหมด


แต่ก็โชคดีที่ยังเหลือประติมากรรมชิ้นหนึ่งที่พวกรักรอบเนี่ยเขาบังเอิญได้มองผ่านไป ก็คือพระพิมพ์ดินเผาชิ้นที่สุดแปลกที่สุดเลย
แปลกทำไม? พระพิมพ์ดินเผานี้มีการสลักชื่อของหลวงจีนองค์หนึ่งอยู่ด้านหลัง "ภิกขุเหวินเซียง"เพี้ยนแช๊ะ

นักวิชาการคาดว่าพระพิมพ์ดินเผานี่ถูกสร้างราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 ก็ราวๆ 1200 ปีที่แล้ว พระพิมพ์ดินเผาเนี่ยแสดงให้เราเห็นว่านอกจากจะมีชาวอินเดียมาศรีเทพแล้วยังมีชาวจีนเข้ามาด้วย
รู้มั้ยว่าเนี่ยมันสำคัญยังไง? ที่ผ่านมาเราอาจจะทราบว่ามีพระถังซัมจั๋งไปอินเดียใช่มั้ย แล้วมีหลวงจีนอี้จิงและหลวงจีนฟาเหียนที่เดินทางทางทะเลก่อนที่จะไปถึงอินโด
แต่ทำไมหลวงจีนองค์นี้มาที่ศรีเทพ? หรือว่าศรีเทพเนี่ยจะเคยเป็นแหล่งศักดิ์สิทธิ์หรือไม่ก็เป็นที่สำคัญมากในระดับภูมิภาคก็ได้
เพี้ยนหืม
เมื่อปีสองปีที่ผ่านมาเพิ่งจะมีการสำรวจพื้นที่รอบๆบริเวณเขาคลังนอกด้วยเทคโนโลยี lidar แล้วพบว่ามีโบราณสถานรายล้อมรอบเขาคลังนอกมากมายเลย 

ซึ่งออกมาแล้วก็ดูคล้ายๆกับ นาลันทา วิทยาลัยสงฆ์แห่งแรกที่อินเดีย
แปลว่าหลวงจีนองค์ที่ไปศรีเทพ อาจจะมีเหตุผลที่ไป ศรีเทพ คล้ายๆกับที่พระถังซัมจั๋งเดินทางไปอินเดียก็ได้ อันนี้เป็นเพียงข้อ
สันนิษฐานน่ะเพี้ยนหืม

ในยุคต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ 16 ตามประวัติศาสตร์ที่ปรากฏในจารึกโบราณน่ะก็ได้ระบุถึงพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ได้ส่งทหารไปตีเมืองละโว้แล้วก็ขึ้นปกครองชาวรามัญ หลายคนจึงตีความไว้ว่าเนี่ยเป็นสาเหตุที่ทำให้วัฒนธรรมทวารวดีสลายลง แล้วก็เหตุการณ์เนี่ยก็ได้สั่นคลอนไปถึงเมืองศรีเทพเช่นกัน

ในยุคนั้นเราจะเห็นวัฒนธรรมขอมเข้ามาแทนที่ แล้วศาสนาฮินดูไศวนิกายเข้ามาสู่ ศรีเทพ มาแทนที่ไวษณพนิกายที่เราเห็นเมื่อก่อน แล้วช่วงเนี่ยเราก็ได้เห็นศาสนสถานฮินดู 2 แห่งเกิดขึ้นมาใหม่ในเมืองศรีเทพเช่นกัน ทั้ง 2 ศาสนสถานฮินดูนี้เป็นลักษณะปราสาทในวัฒนธรรมขอม นั่นก็คือ ปรางค์สองพี่น้อง และ ปรางค์ศรีเทพ ซึ่งทั้งคู่เลยตั้งอยู่ที่ใจกลางเมืองศรีเทพ

แล้วที่น่าสนใจก็คือในปี พ.ศ. 2544 ตอนกรมศิลปากรได้ไปทำการขุดที่ปรางค์ศรีเทพเพื่อที่จะทำการบูรณะ

เขาพบว่าปรางค์ศรีเทพที่เราเห็นทุกวันเนี่ยนะความจริงแล้วถูกสร้างทับโบราณสถานที่เก่าแก่ยิ่งกว่าอีก สันนิษฐานว่าจะมีโบราณสถานเก่าแก่ยิ่งกว่าไปประมาณ 2-3 รุ่นเลย


นอกจากนี้ รู้มั้ยว่าศรีเทพเป็นเมืองโบราณแห่งเดียวในประเทศไทยที่มีการบูชาสุริยเทพแบบชัดเจน? ตอนที่ขุดบริเวณ ปรางค์สองพี่น้อง

นักโบราณคดีพบองค์สุริยเทพที่มีอายุเก่าแก่จากพุทธศตวรรษที่ 13 ซึ่งเก่ากว่าโบราณสถาน ปรางค์สองพี่น้องมากเลย เพี้ยนแช๊ะ

องค์สุริยเทพเนี่ยถ้าไม่ได้ถูกโยกย้ายมาจากที่อื่นมาไว้ตรงเนี่ยนะ ก็แปลว่า ปรางค์สองพี่น้องถูกสร้างทับโบราณสถานที่เคยเป็นที่บูชาองค์สุริยเทพ อาจจะมีโบราณสถานที่เก่าแก่ยิ่งกว่า ปรางค์สองพี่น้อง อยู่ด้านล่างอีกเพี้ยนหืม

ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 18 ก็มีการเปลี่ยนแปลงที่ปรางค์สองพี่น้อง และ ปรางค์ศรีเทพ เพราะว่ากระแสนิยมนี่แหละ ตอนนั้นพุทธศาสนามหายานได้รับการนิยมอย่างแพร่หลายเพราะว่าได้รับการอุปถัมภ์และส่งเสริมจากพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในช่วงนั้นเราก็จะเห็นศาสนสถานฮินดูทั้ง 2 แห่งเนี่ยกลายไปเป็นศาสนสถานในศาสนาพุทธมหายาน

การล่มสลาย
พอเวลาผ่านไป ทีนี้เราก็เข้ามาสู่ยุคของการล่มสลายของเมืองโบราณศรีเทพ พอเวลาผ่านไปก็เกิดเส้นทางการค้าขายใหม่เนื่อง
จากชาวจีนตอนนั้นได้มีนวัตกรรมใหม่ขึ้นมาคือเขาสามารถที่จะออกแบบเรือสำเภาออกไปสู่ทะเลแล้วค้าขายด้วยตนเองได้แล้ว

ตั้งแต่เดิมน่ะ ชาวจีนไม่ได้ออกทะเลแล้วไปค้าขายด้วยตัวเองนะ แต่เขาจะอาศัยคนกลางที่มาทางเลียบชายฝั่ง คนกลางพวกนี้เขาก็จะขนสินค้าจีนออกไปแพร่กระจายขายต่างประเทศเอง

แต่ที่เนี่ยชาวจีนออกแบบเรือสะเภา สามารถออกไปค้าขายเอง ชาวจีนเขาจึงได้ขยายอำนาจการค้าขาย
แล้วนี่ก็จะส่งผลไปเปลี่ยนแปลงอำนาจของเมืองโบราณศรีเทพเช่นกัน เพราะว่าเส้นทางการค้าขายตอนในจึงย้ายไปใกล้ทะเลมากขึ้น
ทีนี้เราก็จะเห็นเมืองใหญ่โตเช่นสุโขทัย กับ อยุธยา เกิดขึ้นมาแทน แล้วเมืองศรีเทพก็จะจนแล้วก็เสื่อมลงไปด้วยเม่าเศร้า
นักวิชาการสันนิษฐานว่าชาวบ้านศรีเทพก็คงจะย้ายออกไปสู่ศูนย์ค้าขายใหม่ๆ

สุดท้ายหลังจากประมาณ 700 ปีของความรุ่งเรืองในเมืองโบราณศรีเทพนี่ นักโบราณคดีก็พบว่าหลังจากพุทธศตวรรษที่ 18 ไปแล้วไม่มีร่องรอยของมนุษย์ที่อยู่อาศัยในบริเวณเมืองศรีเทพอีกเลย

นักวิชาการบางคนก็สงสัยว่าหลังจากการย้ายเส้นทางการค้าขายจากทางบกผ่านเมืองศรีเทพไปอยู่ทางใกล้ทะเลมากขึ้น แน่นอนคนก็ย้ายไปที่ทำมาหากินอยู่แล้วแหละ แต่ถึงขั้นว่าศรีเทพถูกทิ้งร้างไปเลยหรอ?
ศรีเทพนี่แทนที่จะแค่กลายไปเป็นเมืองเล็กๆ ทำไมคนถึงไปกันหมดเลย?เพี้ยนรู้สึกเงียบ
ทุกวันนี้ยังคงเป็นปริศนาในวงการวิชาการที่ไปศึกษาศรีเทพ ว่าเหตุผลอะไรที่ศรีเทพถูกทิ้งร้างเพี้ยนหืมซึ่งเหตุผลหลักๆ 3 อย่างที่เขาคาดเดากันก็คือถ้าไม่ใช่เป็นภัยจากธรรมชาติ หรือภัยแล้ง ก็อาจจะเป็นเพราะโรคระบาด

อย่างไรก็ตาม หลายร้อยปีก็ผ่านไปแล้วก็ไม่มีผู้คนเข้าไปอยู่บริเวณเมืองศรีเทพอีกเลย
พอไม่มีใครเข้าไปอยู่ แน่นอนก็จะมีหญ้ารกแล้วก็ป่าปกคลุมเมืองนั้นเม่าเหม่อ
คนที่อยู่บริเวณใกล้เคียงศรีเทพก็ลืมประวัติศาสตร์ของที่นั้นไปหมด แม้แต่ชื่อแท้ๆของศรีเทพนี่ยังไม่แน่ใจกันเลยว่าเมืองนั้นชื่อจริงใช่ศรีเทพหรือเปล่า เพราะว่าในยุคหลังๆเนี่ยพระธุดงค์จะตั้งชื่อเรียกว่า อภัยสาลี
ยังไงก็แล้วแต่ เมืองนี้ก็ถูกทิ้งร้างไปจนกว่า สมเด็จกรมพระยาดำรง ไปค้นพบใน พ.ศ. 2447

พอกรมพระยาดำรงได้นำเรื่องศรีเทพไปเขียนในเอกสารต่างๆเม่าอ่านหนังสือพิมพ์ก็เปรียบเสมือนเป็นการเปิดตัวครั้งแรกเป็นทางการของเมืองนั้น

เดี๋ยวในตอนต่อไปเราจะมาดูเส้นทางชีวิตของ กรมพระยาดำลง หลังจากที่ท่านค้นพบศรีเทพ แล้วก็เราจะมาฟังเรื่องราวลึกลับเม่านอนไม่หลับของศรีเทพที่ทำให้เมืองโบราณนี้ยังคงสภาพที่สมบูรณ์จนได้รับตำแหน่ง UNESCO
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่