“อิหร่าน” ไม่ใช่คนอาหรับ [เปอร์เซีย หนึ่งในภาษาโบราณที่ยังไม่ตาย]




จะมาแชร์วัฒนธรรมของกลุ่มชนชาติต่าง ๆ ตามมุมโลกกันต่อ …อันนี้ก็เอาเรื่องอิหร่านมาลงซะหน่อย น่าจะตรงกับเทรนด์สถานการณ์ช่วงนี้
เจาะข้อมูลรวบรวมไปรวบรวมมา ได้ยันไปถึงรายชื่อดารานักแสดงในตะวันตก 😅 (แต่ไม่เอาลงขนาดนั้นละกัน)

. . .

- ชาวเปอร์เซีย (Persians) หรือชาวอิหร่านในปัจจุบันเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีรากฐานมาจากชนอารยันโบราณ พวกเขาพูดภาษาฟาร์ซี (Persian) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน (Indo-European)

- คำว่าอิหร่าน (Iran) คือคำว่า “อิเรียน” (Airyan) หรือ “อารยัน” (Aryan) โดยเป็นกลุ่มย่อยกลุ่มหนึ่งของตระกูลอินโด-ยูโรเปียนที่อพยพมาตั้งรกรากในถิ่นนั้นแต่โบราณ อันเป็นต้นกำเนิดของกลุ่มชนอินโด-อิหร่าน และเป็นบรรพบุรุษของชาวเปอร์เซีย และชาวอินเดียวรรณะสูงในอดีต

*คำว่า “อารยัน” อยู่ในภาษาสันสกฤตของอินเดีย และภาษาอเวสตะ (Avestan) ของศาสนาโซโรอัสเตอร์ในเปอร์เซีย แปลว่า “ผู้สูงศักดิ์/ผู้มีคุณธรรม” ด้วยเหตุนี้ ชาวอารยันที่เข้าไปในอินเดียจึงถือว่าตนเป็นชนวรรณะสูง วางรากฐานการปกครองและศาสนาให้กับคนในถิ่นนั้น
{ด้วยความที่ถือว่าตนมีอารยะ คนอิหร่านจึงไม่ชอบอย่างมากที่คนมาเรียกพวกเขาว่าอาหรับ เพราะอิหร่านไม่ชอบชาวยิวและอาหรับ ที่เคยเร่ร่อนตามทะเลทราย และชาวยิว-อาหรับก็ไม่ชอบอิหร่านเหมือนกัน}

- คนสยามคนไทยทุกวันนี้ ก็ต้องมีส่วนนึงที่มีเชื้อสายชาวเปอร์เซีย ในอดีตคนไทยจะรู้จักชาวเปอร์เซียอย่างดีในประวัติศาสตร์สยาม ทั้งบันทึกต่าง ๆ นับตั้งแต่สมัยอยุธยา ทั้งวัฒนธรรมยันคำศัพท์ที่ใช้จากภาษาเปอร์เซีย [กุหลาบ, กะลาสี, ขาวม้า, มัสมั่น ฯลฯ] ในอดีตอยุธยามีขุนนางจากหลายเชื้อชาติ เรียกว่าอินเตอร์พอ ๆ กับอเมริกาในปัจจุบัน

*ลูกหลานชาวเปอร์เซียและตระกูลขุนนางกลืนกับสังคมสยามมานาน ปัจจุบันบันเป็นชาวไทยพุทธทั่วไป ไม่มีอัตลักษณ์เดิม เหลือเพียงบันทึกประวัติศาสตร์เท่านั้น ส่วนชาวมุสลิมนิกายชีอะห์ในไทยปัจจุบัน เป็นคนมุสลิมในไทยที่ได้รับการศึกษาจากองค์กรศาสนาสายอิหร่าน มีการส่งนักศึกษาไปเรียนที่อิหร่าน เรียนภาษาเปอร์เซียเป็นหลัก และอาจมีอาหรับเป็นภาษารองซึ่งใช้ในเรื่องการศึกษาศาสนา




. . .

วิถีผู้คนในอิหร่าน






. . .

พอรู้จักอิหร่าน ก็ต้องรู้จัก “อาหรับและยิว”

“อาหรับ” ไม่ใช่อินโด-ยูโรเปียน แต่เป็นตระกูล แอฟโร-เอเชียติก (Afro-Asiatic) คนละเรื่องคนละโยชน์กันกับอิหร่าน

ในตะวันออกกลาง “ยิว-อาหรับ” ถือว่ามีเชื้อสายใกล้ชิดกันที่สุด เป็นตระกูลภาษาเซมิติก (Semitic Language Family) ซึ่งนอกมีภาษาฮีบรูและอาหรับแล้วก็ยังมี ภาษาอัคคาเดียน (Akkadian), อราเมอิก (Aramaic), กีเอซ (Ge’ez) ซึ่งปัจจุบันตายหมดแล้วจากการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย เหลือแต่ภาษาฮีบรูและอาหรับ ซึ่งถึงแม้จะมีการประดิษฐ์ตัวอักษรและการเขียนต่างกัน แต่รากของคำเหมือนกัน โดยยังมีหลายคำศัพท์ที่ใช้ซ้ำกันหรือต่างสำเนียงกัน

. . .

ในศาสนายูดาย ชาวยิวก็ห้ามกินเนื้อหมูเหมือนกับชาวมุสลิม และจะมีรายละเอียดปลีกย่อยอื่น ๆ ที่ต่างกัน  มุสลิมแต่ละประเทศมีองค์กรที่ตรวจสอบรับรองอาหารออกตราฮาลาล ของยิวก็มีตราโคเชอร์



. . .

วัฒนธรรมการแต่งกายที่แตกต่าง

เวลาเราเห็นในหนังอเมริกา ตัวละครตะวันออกกลางก็จะแต่งตัวแบบมีผ้าคลุมหัวโพกหัวแบบผสมมั่วไปหมด คือไม่ศึกษาให้ดีว่าจริง ๆ แต่ละชาติเขาแตกต่างกัน (เหมือนเวลาสร้างเกี่ยวกับเอเชีย หรือไทย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ก็จะใช้ ”จินตนาการมากกว่าความรู้“)

เฉพาะกลุ่มคาบสมุทรอาหรับ ที่เขามีเผ่าตระกูลรวมตัวกันเป็นรัฐชาติ ก็จะมีการแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ ตรงนี้จะไม่เกี่ยวกับศาสนาหรือความเคร่งครัดทางศาสนา

ส่วนอิหร่าน ศาสนาประจำชาติคือ อิสลามนิกายชีอะห์ จะมีผู้นำศาสนาเป็นประมุข บริหารโดยประธานาธิบดี ในหมู่ผู้นำศาสนาหรืออิหม่าม จะโพกผ้าในรูปแบบของอิหม่ามนิกายชีอะห์


-ประธานาธิบดี Masoud Pezeshkian ผู้นำในการบริหารประเทศมาจากการเลือกตั้ง -ส่วนประมุข ผู้นำสูงสุดคือ Ali Khamenei เป็นอิหม่ามหรือผู้นำศาสนา


รูปแบบการแต่งของอิหม่ามในนิกายชีอะห์

. . .

สำหรับเรื่องศาสนาของชาวยิวเข้าใจง่าย เนื่องจากศาสนายูดาย เป็นศาสนาที่ล็อคจำกัดไว้สำหรับคนเชื้อสายยิว (คือจะเป็นคนผิวดำ คนจีนหรือชาติไหนก็แล้วแต่ ขอให้มีเชื้อสายยิว) ต่างกับคริสต์และอิสลาม ที่เปิดสำหรับคนทุกเชื้อชาติ พวกเขาเลยไม่ได้จำกัดเฉพาะคนเชื้อสายอาหรับ จุดนี้ที่คนตะวันตกไม่ค่อยเข้าใจ (นึกว่าอิหร่านก็คืออาหรับ ปากีสถานก็คืออาหรับ ดังที่เราจะเห็นความเข้าใจผิด ๆ นี้จากในหนัง) …ซึ่งวัฒนธรรมพื้นเพแต่ละชาติแต่ละทวีปมันต่างกัน

ส่วนในฝั่งของอาหรับก็จะมีชื่อชุดชื่อรูปแบบ แต่ละชื่อมันจะรายละเอียดเยอะหน่อย ไม่น่าจำเท่าไหร่ เอาภาพมาลงไว้ดูน่าจะง่ายกว่า


ซาอุฯ เอกลักษณ์คือผ้าคลุมลายสก็อตแดง ส่วนกาตาร์และอาหรับอื่น ๆ ใกล้เคียงก็จะเป็นผ้าขาวคาดไปข้างหลัง




บาห์เรนบ้างก็มีลายสก็อตแดง แต่การคลุมและคาดจะต่างกับซาอุฯ ซึ่งเราจะเห็นรูปแบบนี้ในเผ่าชนบทเหมือนกัน


-โอมานเป็นประเทศไม่ร่ำรวย ต่างจากเพื่อนบ้านในคาบสมุทรอาหรับ -ส่วนเยเมนก็เป็นประเทศยากจน  ก็จะไม่มีกำลังป้องกันกบฏ ซึ่งปัจจุบันกบฏฮูตียึดครอง ตอนนี้สหรัฐและอิสราเอลช่วยปราบฮูตีอยู่ แต่ไม่รู้ช่วยซ้ำเติมรึเปล่า

ส่วนชาวอาหรับใน Levant (เลบานอน, จอร์แดน, ปาเลสไตน์, ซีเรีย) พวกนี้เป็นลูกผสมคนท้องถิ่นเดิม ไม่ใช่อาหรับแท้ ก็จะมีสังคมวัฒนธรรมที่ต่างไปจากคาบสมุทรอาหรับ แต่ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากฝรั่งเศสและอังกฤษ เช่นเดียวกับทางแอฟริกาอย่าง อียิปต์, โมร็อคโค สำเนียงภาษา สังคม ไลฟ์สไตล์ก็ต่างไป  …การแต่งกายของชาวอาหรับนอก ๆ คาบสมุทรอาหรับเหล่านี้ ในชีวิตประจำวันจะแต่งชุดสากลเหมือนเรา ๆ เหมือนคนทั่วไปบนโลกนี้

. . .

วัฒนธรรมการแต่งกายในแบบดั้งเดิม (Tradition) ของคนมุสลิมในชาติอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหรับ


อินโดนีเซีย จะมีความเป็นอาเซียน เหมือนคนมุสลิมไทย ซึ่งมีอิทธิพลของชาวพุทธ, พราหมณ์ดั้งเดิม คล้ายพม่า เชียงใหม่ มอญ เขมร บริเวณนี้

อัลบาเนียเป็นชนชาวสลาฟเป็นส่วนมาก ซึ่งได้รับศาสนาและวัฒนธรรมจากออตโตมาน ทำให้วัฒนธรรมการแต่งกายจะผสมผสานระหว่างสลาฟและตุรกี (ดังที่ได้เล่าไว้ในกระทู้ชาวสลาฟ)


มีการแต่งตัวที่เป็นเอกลักษณ์ ถึงจะมีหลายชนชาติอย่างอูรดู ปาทาน ปัญจาบี แต่ก็มีการแต่งตัวที่บ่งบอกว่าเป็นเอกลักษณ์ปากีสถาน เสื้อจะยาวลงมาประมาณเข่า กางเกงพลิ้ว ๆ มาแคบตรงชาย


คนบังกลาเทศเป็นชนชาติ “เบงกอล” (Bengali) มีประชากรมากทั้งในประเทศและแน่นไปถึงส่วนที่เป็นเขตพม่ายึดครอง มีการแต่งกายคล้ายพม่า ผสมคล้าย ๆ ปากีสถาน แต่เป็นคนละชาติกับโรฮิงญา (ในรัฐยะไข่) คนละเผ่าคนละภาษา แม้การแต่งกายคล้ายกัน ในพม่ามีทั้งคนบังกลาเทศและคนโรฮิงญา แต่คนพม่ามักแยกไม่ออกนึกว่าชาติเดียวกัน

. . .

วัฒนธรรมอาหารการกิน ศิลปะดนตรีในถิ่นตะวันออกกลาง-เมดิเตอร์เรเนียน-อินเดีย จะมีความคล้ายกัน คนตะวันตกมักแยกแยะไม่ออกเวลาเจอคนอาหรับ-อิหร่าน-ตุรกี-อินเดีย หรือกระทั่งชาวยิวเอง (บางทีเห็นชาวยิวที่แต่งตัวแบบดั้งเดิมก็นึกว่าเป็นอาหรับ)

อีกจุดที่ทำให้สับสนคือ ตัวหนังสือหรือตัวอักษร ซึ่งในหลาย ๆ ภาษามีแต่ภาษาพูด ไม่ได้มีภาษาเขียน หรือเลิกใช้ภาษาเขียนเดิมไปแล้ว

อย่างอิหร่าน พูดภาษา “ฟาร์ซี” (เปอร์เซีย) แต่ใช้ตัวอักษร “อาหรับ” เนื่องจากอิทธิพลของศาสนาอิสลาม
{คนตะวันตกเห็นก็เข้าใจผิดว่าเป็นภาษาอาหรับ  หนังและสื่ออเมริกาจึงเรียกผิด แล้วบ้านเราก็ไปฝากฝังพึ่งพาสื่อเหล่านั้น ก็เข้าใจผิดตาม ๆ กันไป}
แต่อิหร่านจะใช้ทับศัพท์อาหรับที่เกี่ยวกับศาสนาหรือการตั้งชื่อคนเท่านั้น ก็เหมือนกับคนมุสลิมชาติอื่น ๆ ที่จะรู้ทับศัพท์บางคำที่ใช้เกี่ยวกับศาสนา

ตัวอย่างภาษาอื่น ๆ ที่ไม่มีภาษาเขียนของตัวเอง:
- ปากีสถาน ภาษาราชการคือ ”อูรดู“ ใช้ตัวอักษร “อาหรับ”
- ตุรกี พูดภาษา “เติร์ก” ใช้ตัวอักษร “ละติน“
- อินโดนีเซีย, มาเลเซีย พูดภาษา “มลายู“ ใช้ตัวอักษร ”ละติน“

*อินโดนีเซีย มาเลเซีย และชาวยาวีสามจังหวัดภาคใต้ พูดภาษาเดียวกันต่างสำเนียง แต่ภาษาเขียนต่างกัน อินโด-มาเล ใช้ละติน (ก็คือตัวอักษรแบบอังกฤษ) ส่วนของคนยาวีภาคใต้จะใช้ตัวอักษรอาหรับ เนื่องจากอังกฤษเข้ามายึดไม่ถึงมีสยามป้องอยู่ {คนบ้านเราก็มักเข้าใจผิดว่าเขาพูดภาษาอาหรับได้ ซึ่งไม่ใช่เลย นอกจากนักศึกษาที่ไปเรียนต่างประเทศเท่านั้น}

. . .

ภาษาโบราณต่าง ๆ ณ ปัจจุบัน:
1. ภาษาที่ตายแล้ว
2. ภาษาที่ยังไม่ตาย
   2.1 ภาษาที่วิวัฒนาการมาเป็นภาษาปัจจุบัน
   2.2 ภาษาที่ยังคงอยู่ แต่เปลี่ยนคำศัพท์และสำนวนตามยุคสมัย

- ตัวอย่างภาษาโบราณที่วิวัฒนาการมาเป็นภาษาปัจจุบัน:
* ภาษากรีก
* ภาษาจีน สมัยโบราณมีภาษา “ฮั่นยวี่” (Hànyǔ) ซึ่งแตกต่างจากภาษาจีนกลางในปัจจุบัน แต่ภาษา “เหวินเยี่ยน” ( wényán) ที่ใช้ในวรรณกรรมสมัยก่อน คนจีนปัจจุบันสามารถเข้าใจได้ถ้าได้เรียนได้ศึกษา

-  ตัวอย่างภาษาที่ยังคงอยู่ แต่เปลี่ยนคำศัพท์และสำนวนตามยุคสมัย:
* ภาษาเปอร์เซีย  
* ภาษาฮีบรู
* ภาษาอาหรับ
* ภาษาทมิฬ
พบได้ในวรรณกรรมอินเดียโบราณ แต่ชาวทมิฬยังใช้ต่อเนื่องมากว่า 2,000 ปี
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่