ปราจีนบุรี จากเมืองเกษตร สู่ดินแดนอุตสาหกรรม รายได้ต่อหัว อันดับ 4 ของไทย /โดย ลงทุนแมน
ถ้าพูดถึงจังหวัดในภาคตะวันออกของไทย หลายคนอาจจะนึกถึงระยองและชลบุรี ที่เป็นจังหวัดแห่งอุตสาหกรรม
แต่รู้ไหมว่า ปราจีนบุรี เองก็เป็นจังหวัดอุตสาหกรรมที่สำคัญเหมือนกัน ซึ่งน่าสนใจตรงที่ ดินแดนแห่งนี้เคยเป็นเมืองแห่งเกษตรกรรม และการท่องเที่ยว มาก่อน
แล้วเกิดอะไรขึ้นกับปราจีนบุรี
ทำไมทำเกษตรอยู่ดี ๆ เปลี่ยนมาทำอุตสาหกรรมได้ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ปราจีนบุรี คือจังหวัดในภาคตะวันออกที่อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ในทำเลที่ดี
เพราะมีเส้นทางคมนาคมเชื่อมต่อกับทั้งภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อีกทั้งยังอยู่ไม่ไกลจากประเทศกัมพูชา
นอกจากนี้ยังมีดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ จึงเหมาะแก่การทำเกษตรกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำนา ไปจนถึงการทำสวนผลไม้
เลยทำให้ปราจีนบุรี มีสินค้าเกษตรขึ้นชื่อหลายอย่าง ตั้งแต่ข้าวพันธุ์ปราจีนบุรี, กระท้อน, มะปราง, มะยงชิด ไปจนถึงผลไม้ขึ้นชื่อของจังหวัด นั่นก็คือ “ทุเรียนปราจีนบุรี”
โดยทุเรียนปราจีนบุรี นั้นมีจุดเด่นก็คือ มีรสชาติหวานละมุนลิ้น กลิ่นไม่ฉุนมาก มีเส้นใยน้อย และเป็นสินค้าที่ถูกส่งออกไปต่างประเทศทุกปี
อีกทั้งยังได้รับการจดสิทธิบัตรเป็นทุเรียนจีไอ หรือทุเรียนที่ต้องใช้แหล่งผลิตเฉพาะเท่านั้น ถึงจะได้รสชาติที่มีเอกลักษณ์แบบนี้อีกด้วย
นอกจากเรื่องของเกษตรกรรมแล้ว ปราจีนบุรี ยังมีอีกเรื่องที่โดดเด่นไม่แพ้กัน นั่นก็คือเรื่อง การท่องเที่ยว
โดยปราจีนบุรี มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติหลายแห่งที่เป็นแม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็น อุทยานแห่งชาติทับลาน, อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และอุทยานแห่งชาติปางสีดา
รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เช่น เมืองโบราณศรีมหาโพธิ, วัดแก้วพิจิตร
อ่านมาถึงตรงนี้ ก็จะเห็นได้ว่า ปราจีนบุรีเป็นอีกหนึ่งจังหวัดแห่งเกษตรกรรมและการท่องเที่ยว ชั้นดีของไทย
แล้วทำไมปราจีนบุรี ถึงกลายมาเป็นจังหวัดแห่งอุตสาหกรรมได้ ?
เรื่องนี้ก็ต้องย้อนกลับไปในปี 2524 ในตอนนั้นรัฐบาลเริ่มมีนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมในประเทศมากขึ้น
ซึ่งปราจีนบุรี ถือได้ว่าเป็นจังหวัดที่ตอบโจทย์ในเรื่องนี้อยู่แล้ว เพราะมีทั้งทำเลการขนส่งที่ดี แล้วยังมีวัตถุดิบทางการเกษตรที่สามารถนำไปใช้ในเชิงอุตสาหกรรมได้ อีกทั้งราคาที่ดินไม่สูงเท่ากรุงเทพมหานคร
นั่นก็เลยทำให้ หลังจากนั้นพื้นที่ส่วนใหญ่ในจังหวัดปราจีนบุรี ถูกพัฒนาเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมมากขึ้นเรื่อย ๆ และมีหลายบริษัทใหญ่เข้ามาลงทุน เช่น
- เครือสหพัฒน์ เจ้าของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาม่า ที่เข้ามาเปิด สวนอุตสาหกรรมกบินทร์บุรี ในปี 2532
- บริษัท สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จำกัด (มหาชน) ที่เข้ามาเปิด สวนอุตสาหกรรมโรจนะ ปราจีนบุรี ในปี 2532
จนมาถึงวันนี้ ปราจีนบุรีมี
- นิคมอุตสาหกรรมที่สำคัญ 6 แห่ง
- โรงงานอุตสาหกรรม กว่า 912 โรงงาน
คิดเป็นทุนจดทะเบียนรวมของโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหมด 260,000 ล้านบาท
ซึ่งปราจีนบุรี มีขนาดเศรษฐกิจ (GPP) อยู่ 317,321 ล้านบาท ในปี 2564 มีสัดส่วนมาจาก
- ภาคอุตสาหกรรม 77.2%
- ภาคบริการ 20.3%
- ภาคเกษตรกรรม 2.5%
เห็นได้ว่า จากจังหวัดเกษตรกรรมและการท่องเที่ยว ตอนนี้ปราจีนบุรี กลายเป็นจังหวัดที่มีเครื่องยนต์หลัก เป็นภาคอุตสาหกรรมไปแล้ว..
โดยอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าจดทะเบียนมากสุด 3 อันดับแรก ของปราจีนบุรี คือ
- ยานพาหนะและอุปกรณ์ 30,561 ล้านบาท
- กระดาษและผลิตภัณฑ์จากกระดาษ 26,428 ล้านบาท
- การผลิตสิ่งทอ 20,557 ล้านบาท
นอกจากนี้ ปราจีนบุรี ยังมีโครงการอื่น ๆ ที่มีแผนจะพัฒนาเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดการลงทุน และการจ้างงานที่มากขึ้น เพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตมากขึ้นไปอีก
อย่างในปี 2565 มูลค่าทางเศรษฐกิจของปราจีนบุรี ก็เพิ่มขึ้นเป็น 351,747 ล้านบาท
ทำให้มีผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัว (GDP per Capita) หรือพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ รายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากร สูงถึง 545,006 บาทต่อปี หรือ 45,417 บาทต่อเดือน
ซึ่งสูงที่สุดเป็นอันดับ 4 จาก 77 จังหวัดทั่วประเทศไทยเลยทีเดียว..
นอกจากนี้ ยังมีการประเมินด้วยว่า ขนาดเศรษฐกิจของปราจีนบุรี ในปี 2566 จะเพิ่มเป็น 395,731 ล้านบาท
อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนก็คงจะเข้าใจแล้วว่า จริง ๆ แล้วปราจีนบุรี เคยเป็นเมืองแห่งเกษตรกรรม ก่อนที่จะกลายมาเป็นอาณาจักรแห่งโรงงานอุตสาหกรรม เคียงข้างเพื่อนบ้านในภูมิภาคเดียวกัน อย่างชลบุรีและระยอง เช่นทุกวันนี้
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
เมื่อก่อนปราจีนบุรี เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่กว้างใหญ่มากถึง 14,079 ตารางกิโลเมตร หรือ 3 เท่าตัวจากปัจจุบัน
แต่ต่อมาก็ได้มีการแบ่งพื้นที่บางส่วน แยกออกเป็น
- จังหวัดนครนายก
- จังหวัดสระแก้ว
เลยทำให้ตอนนี้ปราจีนบุรี มีพื้นที่เหลือประมาณ 4,762 ตารางกิโลเมตร เท่านั้น..
ปราจีนบุรี จากเมืองเกษตร สู่ดินแดนอุตสาหกรรม รายได้ต่อหัว อันดับ 4 ของไทย
ถ้าพูดถึงจังหวัดในภาคตะวันออกของไทย หลายคนอาจจะนึกถึงระยองและชลบุรี ที่เป็นจังหวัดแห่งอุตสาหกรรม
แต่รู้ไหมว่า ปราจีนบุรี เองก็เป็นจังหวัดอุตสาหกรรมที่สำคัญเหมือนกัน ซึ่งน่าสนใจตรงที่ ดินแดนแห่งนี้เคยเป็นเมืองแห่งเกษตรกรรม และการท่องเที่ยว มาก่อน
แล้วเกิดอะไรขึ้นกับปราจีนบุรี
ทำไมทำเกษตรอยู่ดี ๆ เปลี่ยนมาทำอุตสาหกรรมได้ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ปราจีนบุรี คือจังหวัดในภาคตะวันออกที่อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ในทำเลที่ดี
เพราะมีเส้นทางคมนาคมเชื่อมต่อกับทั้งภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อีกทั้งยังอยู่ไม่ไกลจากประเทศกัมพูชา
นอกจากนี้ยังมีดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ จึงเหมาะแก่การทำเกษตรกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำนา ไปจนถึงการทำสวนผลไม้
เลยทำให้ปราจีนบุรี มีสินค้าเกษตรขึ้นชื่อหลายอย่าง ตั้งแต่ข้าวพันธุ์ปราจีนบุรี, กระท้อน, มะปราง, มะยงชิด ไปจนถึงผลไม้ขึ้นชื่อของจังหวัด นั่นก็คือ “ทุเรียนปราจีนบุรี”
โดยทุเรียนปราจีนบุรี นั้นมีจุดเด่นก็คือ มีรสชาติหวานละมุนลิ้น กลิ่นไม่ฉุนมาก มีเส้นใยน้อย และเป็นสินค้าที่ถูกส่งออกไปต่างประเทศทุกปี
อีกทั้งยังได้รับการจดสิทธิบัตรเป็นทุเรียนจีไอ หรือทุเรียนที่ต้องใช้แหล่งผลิตเฉพาะเท่านั้น ถึงจะได้รสชาติที่มีเอกลักษณ์แบบนี้อีกด้วย
นอกจากเรื่องของเกษตรกรรมแล้ว ปราจีนบุรี ยังมีอีกเรื่องที่โดดเด่นไม่แพ้กัน นั่นก็คือเรื่อง การท่องเที่ยว
โดยปราจีนบุรี มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติหลายแห่งที่เป็นแม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็น อุทยานแห่งชาติทับลาน, อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และอุทยานแห่งชาติปางสีดา
รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เช่น เมืองโบราณศรีมหาโพธิ, วัดแก้วพิจิตร
อ่านมาถึงตรงนี้ ก็จะเห็นได้ว่า ปราจีนบุรีเป็นอีกหนึ่งจังหวัดแห่งเกษตรกรรมและการท่องเที่ยว ชั้นดีของไทย
แล้วทำไมปราจีนบุรี ถึงกลายมาเป็นจังหวัดแห่งอุตสาหกรรมได้ ?
เรื่องนี้ก็ต้องย้อนกลับไปในปี 2524 ในตอนนั้นรัฐบาลเริ่มมีนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมในประเทศมากขึ้น
ซึ่งปราจีนบุรี ถือได้ว่าเป็นจังหวัดที่ตอบโจทย์ในเรื่องนี้อยู่แล้ว เพราะมีทั้งทำเลการขนส่งที่ดี แล้วยังมีวัตถุดิบทางการเกษตรที่สามารถนำไปใช้ในเชิงอุตสาหกรรมได้ อีกทั้งราคาที่ดินไม่สูงเท่ากรุงเทพมหานคร
นั่นก็เลยทำให้ หลังจากนั้นพื้นที่ส่วนใหญ่ในจังหวัดปราจีนบุรี ถูกพัฒนาเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมมากขึ้นเรื่อย ๆ และมีหลายบริษัทใหญ่เข้ามาลงทุน เช่น
- เครือสหพัฒน์ เจ้าของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาม่า ที่เข้ามาเปิด สวนอุตสาหกรรมกบินทร์บุรี ในปี 2532
- บริษัท สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จำกัด (มหาชน) ที่เข้ามาเปิด สวนอุตสาหกรรมโรจนะ ปราจีนบุรี ในปี 2532
จนมาถึงวันนี้ ปราจีนบุรีมี
- นิคมอุตสาหกรรมที่สำคัญ 6 แห่ง
- โรงงานอุตสาหกรรม กว่า 912 โรงงาน
คิดเป็นทุนจดทะเบียนรวมของโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหมด 260,000 ล้านบาท
ซึ่งปราจีนบุรี มีขนาดเศรษฐกิจ (GPP) อยู่ 317,321 ล้านบาท ในปี 2564 มีสัดส่วนมาจาก
- ภาคอุตสาหกรรม 77.2%
- ภาคบริการ 20.3%
- ภาคเกษตรกรรม 2.5%
เห็นได้ว่า จากจังหวัดเกษตรกรรมและการท่องเที่ยว ตอนนี้ปราจีนบุรี กลายเป็นจังหวัดที่มีเครื่องยนต์หลัก เป็นภาคอุตสาหกรรมไปแล้ว..
โดยอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าจดทะเบียนมากสุด 3 อันดับแรก ของปราจีนบุรี คือ
- ยานพาหนะและอุปกรณ์ 30,561 ล้านบาท
- กระดาษและผลิตภัณฑ์จากกระดาษ 26,428 ล้านบาท
- การผลิตสิ่งทอ 20,557 ล้านบาท
นอกจากนี้ ปราจีนบุรี ยังมีโครงการอื่น ๆ ที่มีแผนจะพัฒนาเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดการลงทุน และการจ้างงานที่มากขึ้น เพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตมากขึ้นไปอีก
อย่างในปี 2565 มูลค่าทางเศรษฐกิจของปราจีนบุรี ก็เพิ่มขึ้นเป็น 351,747 ล้านบาท
ทำให้มีผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัว (GDP per Capita) หรือพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ รายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากร สูงถึง 545,006 บาทต่อปี หรือ 45,417 บาทต่อเดือน
ซึ่งสูงที่สุดเป็นอันดับ 4 จาก 77 จังหวัดทั่วประเทศไทยเลยทีเดียว..
นอกจากนี้ ยังมีการประเมินด้วยว่า ขนาดเศรษฐกิจของปราจีนบุรี ในปี 2566 จะเพิ่มเป็น 395,731 ล้านบาท
อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนก็คงจะเข้าใจแล้วว่า จริง ๆ แล้วปราจีนบุรี เคยเป็นเมืองแห่งเกษตรกรรม ก่อนที่จะกลายมาเป็นอาณาจักรแห่งโรงงานอุตสาหกรรม เคียงข้างเพื่อนบ้านในภูมิภาคเดียวกัน อย่างชลบุรีและระยอง เช่นทุกวันนี้
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
เมื่อก่อนปราจีนบุรี เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่กว้างใหญ่มากถึง 14,079 ตารางกิโลเมตร หรือ 3 เท่าตัวจากปัจจุบัน
แต่ต่อมาก็ได้มีการแบ่งพื้นที่บางส่วน แยกออกเป็น
- จังหวัดนครนายก
- จังหวัดสระแก้ว
เลยทำให้ตอนนี้ปราจีนบุรี มีพื้นที่เหลือประมาณ 4,762 ตารางกิโลเมตร เท่านั้น..