ตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นมาเมืองไทยเราเข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการแล้ว...
แม้ว่าฤดูกาลอาจมีผิดเพี้ยนไปบ้าง......แต่อากาศร้อนมักอยู่กับเราคนไทยอย่างหลีกเลี่ยงกันไม่ได้เลย ....
คนที่ชอบออกกำลังกาย ...มาเตรียมความพร้อม ในการออกกำลังกายดีกว่านะคะ
วันนี้พี่หมอฝั่งธน...จะมาให้ความรู้ เตรียมพร้อมออกกำลังกาย ในหน้าร้อน
ถึงแม้ว่าร่างกายจะแข็งแรงขนาดไหน ลมแดดก็ถามหาได้ ถ้าคุณเป็นประเภทชอบออกกำลังกายกลางแจ้งยิ่งไปกันใหญ่
สาเหตุการเสียชีวิตของผู้ที่ออกกำลังกายกลางแจ้งเกิดจากโรคลมแดดหรือฮีตสโตรก (Heat Stroke)
ภาวะความร้อนที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันจนร่างกายไม่ทันตั้งตัว
ตามปกติขณะพักอุณหภูมิร่างกายคนเราเพิ่มขึ้น 1.1 องศาเซลเซียสในทุกๆ หนึ่งชั่วโมง
แต่กลไกในร่างกายจะคอยดักจับความร้อนและจัดการระบายความร้อนออกไปทางของเหลวอย่างเหงื่อหรือแผ่ออกภายนอก
แต่หากความร้อนจากภายนอกเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้สมองส่วนควบคุมอุณหภูมิ (หรือหน่วยดักจับความร้อน)
ทำงานบกพร่องจนสูญเสียสมดุล ปิดสวิตช์ระบายความร้อน ความร้อนในร่างกายจึงทะยานขึ้นสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส
สิ่งที่ตามมาคือระบบไหลเวียนโลหิตและสมองรวน เสียชีวิตในที่สุด
หากร่างกายระบายความร้อนออกไม่ทันจะเป็นอันตราย คนที่ออกกำลังกายย่อมรู้ดีว่าขณะหรือหลังออกกำลังกาย
อุณหภูมิในร่างกายจะสูงมากกว่าขณะพักถึง 15 เท่า (สังเกตว่าปัสสาวะครั้งแรกที่ออกมาหลังออกกำลังกายจะอุ่นหรือค่อนข้างร้อน)
ตัวเลขนี่ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในหมู่คนออกกำลังกายกลางแจ้ง
หากวันนั้นบังเอิญว่าคุณดันพักผ่อนไม่เพียงพอ ดื่มน้ำน้อยเกินไป หรือหักโหมมากกว่าปกติ
สำหรับผู้ที่ออกกำลังกายกลางแจ้งนานกว่า 1 ชั่วโมง มีโอกาสสูญเสียเหงื่อได้มากถึง 0.5-1 ลิตร
ผิวจะขาดน้ำจนมีสีแดงขึ้น จับดูจะรู้สึกตัวร้อนเหมือนมีไข้สูง เริ่มเหนื่อยหรือเริ่มหน้ามืด
ควรนั่งพักในที่มีอากาศถ่ายเทสะดวกและอย่าฝืน เพราะไม่อย่างนั้นอาจถึงขั้นหมดสติและชักได้
ควรออกกำลังกายอย่างไรให้ปลอดภัย
1.เลือกเวลาที่เหมาะสม การเลือกเวลาที่เหมาะสมในการออกกำลังกายในหน้าร้อนมีความสำคัญอย่างาก
เนื่องจากเวลาที่เลือกจะมีผลต่อการระบายความร้อนของร่างกาย
ช่วงที่ร้อนที่สุดของวันโดยทั่วไปคือระหว่าง 10.00 น. ถึง 16.00 น.
ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในช่วงเวลาดังกล่าวหากเป็นไปได้
ควรเลือกเวลาออกกำลังกายในช่วงเช้าหรือตอนเย็นที่อากาศไม่ร้อนจัดมาก
และเลี่ยงการออกกำลังกายในช่วงเวลากลางวันที่อากาศร้อนจัด เพื่อลดความเสี่ยงของการเจ็บป่วยจากความร้อน
2.แต่งกายให้เหมาะสม ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่ต้องพิจารณาเมื่อออกกำลังกายในฤดูร้อนคือสิ่งที่คุณสวมใส่
เลือกเสื้อผ้าที่มีน้ำหนักเบาและระบายอากาศได้ดีเพื่อช่วยให้คุณรู้สึกเย็น มองหาผ้าที่ระบายความชื้น
โพลีเอสเตอร์หรือไนลอน และหลีกเลี่ยงผ้าฝ้าย ซึ่งสามารถดักจับเหงื่อและทำให้คุณรู้สึกร้อนยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ อย่าลืมสวมหมวกและแว่นกันแดดเพื่อป้องกันใบหน้าและดวงตาของคุณจากแสงแดด
3.ออกกำลังกายในที่ร่ม เลือกที่ออกกำลังกายในที่ที่มีร่มเงา อย่าออกกำลังกายในที่ที่มีแสงแดดจัดๆ
เพราะอาจทำให้ร่างกายเกิดอันตรายได้ เมื่อคุณเหงื่อออก ร่างกายของคุณจะสูญเสียน้ำ และหากคุณไม่ทดแทนน้ำนั้น
คุณก็จะขาดน้ำได้ สิ่งนี้สามารถนำไปสู่อาการต่างๆ รวมถึงอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ และแม้แต่โรคลมแดด
เพื่อให้ร่างกายชุ่มชื้น ดื่มน้ำมากๆ ก่อน ระหว่าง และหลังออกกำลังกาย
คุณยังสามารถดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่ที่มีอิเล็กโทรไลต์เพื่อช่วยทดแทนแร่ธาตุที่สูญเสียไปกับเหงื่อ
4.เริ่มต้นอย่างช้าๆ หากคุณเพิ่งเริ่มออกกำลังกายหรือไม่ได้ออกกำลังกายมาสักระยะแล้ว
สิ่งสำคัญคือต้องเริ่มอย่างช้าๆ และค่อยๆ เพิ่มความหนักขึ้น
นี่เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในฤดูร้อนที่ความร้อนอาจทำให้การออกกำลังกายรู้สึกท้าทายมากขึ้น
เริ่มต้นด้วยกิจกรรมที่มีความเข้มข้นต่ำ เช่น การเดินหรือโยคะ
และค่อยๆ เพิ่มเวลาและความเข้มข้นของคุณเมื่อร่างกายของคุณปรับตัวเข้ากับความร้อน
5.เลือกกิจกรรมที่เหมาะสม เมื่อออกกำลังกายในฤดูร้อน สิ่งสำคัญคือต้องเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมกับสภาพอากาศ
การว่ายน้ำ แอโรบิกในน้ำ และการพายเรือคายัคล้วนเป็นกิจกรรมที่ยอดเยี่ยมที่ควรทำในช่วงฤดูร้อน
เนื่องจากกิจกรรมเหล่านี้สามารถช่วยให้คุณรู้สึกเย็นขณะออกกำลังกาย
ในทางกลับกัน กิจกรรมที่มีความเข้มข้นสูง เช่น การวิ่งหรือปั่นจักรยาน อาจมีความท้าทายมากกว่าท่ามกลางความร้อน
หากคุณเลือกที่จะทำกิจกรรมเหล่านี้ อย่าลืมหยุดพัก ดื่มน้ำให้เพียงพอ และฟังเสียงร่างกายของคุณ
6.ใช้ครีมกันแดด เมื่อออกกำลังกายในฤดูร้อน สิ่งสำคัญคือต้องปกป้องผิวของคุณจากรังสีที่เป็นอันตรายของดวงอาทิตย์
ใช้ครีมกันแดดในวงกว้างที่มีค่า SPF อย่างน้อย 30 และอย่าลืมทาอย่างน้อย 15 นาทีก่อนออกไปข้างนอก
ทาซ้ำทุกๆ 2 ชั่วโมงหรือหลังจากว่ายน้ำหรือเหงื่อออก
7.ฟังร่างกายของคุณ สิ่งสำคัญคือต้องฟังร่างกายของคุณเมื่อออกกำลังกายในฤดูร้อน
หากคุณเริ่มรู้สึกวิงเวียน คลื่นไส้ หรือเหนื่อยล้ามากเกินไป ให้หยุดพักและพักผ่อนในบริเวณที่มีอากาศเย็นและร่มรื่น
สิ่งเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของอาการอ่อนเพลียจากความร้อนหรือลมแดด
ซึ่งอาจร้ายแรงหากปล่อยไว้โดยไม่รักษา นอกจากนี้ หากคุณมีโรคประจำตัวหรือกำลังรับประทานยา
อย่าลืมปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มกิจวัตรการออกกำลังกายใหม่
8. อย่าขาดน้ำ พกน้ำเปล่าไปด้วย แนะนำว่าควรเป็นน้ำเย็นผสมน้ำแข็งปั่นในสัดส่วนน้ำแข็ง 70 % กับน้ำ 30%
เพราะเป็นความเย็นที่เหมาะสม แต่อย่าเทเข้าปากทีเดียวเพราะจะทำให้จุก จิบน้อย ๆ แต่บ่อย ๆ แม้ไม่กระหายน้ำ
ภายในหนึ่งชั่วโมงควรดื่มน้ำให้ได้ประมาณน้ำเปล่าหนึ่งขวดกลาง
9. คลายร้อนด้วยผ้าเย็น คอยซับหน้า คอ แขน ขา ข้อพับเข่า และใต้รักแร้ก่อนออกกำลังกาย 5-20 นาที
วิธีนี้ไม่จำเป็นต้องซื้อผ้าเย็นจริง ๆ เพียงนำผ้าขนหนูแช่น้ำเย็นชั่วครู่หรือห่อน้ำแข็งก้อนแล้วเอาหนังสติกรัดไว้
อีกวิธีคือหาขวดน้ำเย็นเจี๊ยบขนาดเหมาะมือมาพันด้วยผ้าขนหนู อย่างนี้ก็ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกายได้เช่นเดียวกัน
อาการที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมทางกายในสภาวะที่มีอากาศร้อน
1.ตะคริว เกิดจากความไม่สมดุลของแร่ธาตุในร่างกายจากการสูญเสียเหงื่อ
ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อหดตัวเกร็งอย่างรุนแรง รู้สึกเจ็บปวดมาก บริเวณที่พบเห็นบ่อยๆ
คือ ต้นขา และน่อง วิธีแก้ไขให้พยายามยืดเหยียดกล้ามเนื้อในส่วนที่มีการหดเกร็ง
2.เพลียแดด เกิดจากการที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงแต่ไม่เกิน 40 องศา
หรือในกรณีบางคนที่ไม่เคยออกกำลังกายในสภาพอากาศที่ร้อน
ทำให้เกิดอาการเพลีย อ่อนแรง กระหายน้ำ ปวดหัว อาจจะมีอาการผิดปกติอื่นๆร่วมด้วย
วิธีแก้ไข ให้พยายามหลบเข้าที่ร่ม หาที่ที่มีอากาศถ่ายเท หรืออาจจะนำผ้าชุบน้ำมาเช็ดตัว
เพื่อให้ร่างกายระบายความร้อนได้ดียิ่งขึ้น
3.ลมแดด เกิดจากการออกกำลังกายในสภาพอากาศที่ร้อนเป็นระยะเวลานาน
ทำให้อุณหภูมิร่างกายเพิ่มขึ้นมากกว่า 40 องศา จะมีอาการในช่วงแรก
คือ กระหายน้ำ ตัวร้อน หายใจหอบสั้นถี่ ปากคอแห้งผาก ถ้าไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้อง
อาจจะมีอาการเวียนศีรษะ ตาพร่า ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายและสติสัมปชัญญะได้น้อยลง
เกิดคลื่นไส้ อาเจียน อาการก่อนที่จะเป็นลมแดด คือ ผิวหนังแห้ง เหงื่อไม่ออก
และอาจถึงขั้นหมดสติซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
วิธีรับมือเมื่อเป็นลมแดดขณะออกกำลังกาย
อาการเริ่มแรกคืออุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น หิวน้ำ ตาพร่า หายใจสั้นถี่ ปากแห้ง เวียนหัว
ให้รีบหยุดพักแล้วใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเยอะ ๆ เพื่อระบายความร้อน
แนะนำให้เช็ดตัวแบบถูผ้าขึ้นย้อนรูขุมขน จะช่วยให้ระบายความร้อนได้ดี
จิบน้ำเปล่าและน้ำผลไม้ ถ้าถึงกับเป็นลมหมดสติ ผิวแห้ง ตัวร้อนจัดให้รีบจัดให้นอนราบในที่ร่มอากาศโปร่ง
ยกเท้าสูง หาอะไรมาหนุนหัวไว้ แล้วคลายเสื้อผ้าให้หลวม ถอดรองเท้า ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเยอะ ๆ
พอเริ่มรู้สึกตัวให้ค่อย ๆจิบน้ำ แต่ถ้าหมดสตินานเกิน 5 นาที ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน
"การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดี หากไม่ระมัดระวังก็อาจเกิดผลเสียมากกว่าผลดี
ต้องหลีกเลี่ยงภาวะที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตราย เลือกประเภทและชนิดกีฬาที่เหมาะสมกับตัวเอง
ไม่หักโหมหรือออกกำลังหนักจนเกินไป โดยเฉพาะในผู้ที่มีโรคประจำตัวต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ
อาจจะปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการออกกำลังกายก่อนจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดค่ะ
ความรู้เพิ่มเติม
https://www.youtube.com/watch?v=UeCpg8qKalA
เตรียมพร้อมออกกำลังกาย ในหน้าร้อน
แม้ว่าฤดูกาลอาจมีผิดเพี้ยนไปบ้าง......แต่อากาศร้อนมักอยู่กับเราคนไทยอย่างหลีกเลี่ยงกันไม่ได้เลย ....
คนที่ชอบออกกำลังกาย ...มาเตรียมความพร้อม ในการออกกำลังกายดีกว่านะคะ
วันนี้พี่หมอฝั่งธน...จะมาให้ความรู้ เตรียมพร้อมออกกำลังกาย ในหน้าร้อน
ถึงแม้ว่าร่างกายจะแข็งแรงขนาดไหน ลมแดดก็ถามหาได้ ถ้าคุณเป็นประเภทชอบออกกำลังกายกลางแจ้งยิ่งไปกันใหญ่
สาเหตุการเสียชีวิตของผู้ที่ออกกำลังกายกลางแจ้งเกิดจากโรคลมแดดหรือฮีตสโตรก (Heat Stroke)
ภาวะความร้อนที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันจนร่างกายไม่ทันตั้งตัว
ตามปกติขณะพักอุณหภูมิร่างกายคนเราเพิ่มขึ้น 1.1 องศาเซลเซียสในทุกๆ หนึ่งชั่วโมง
แต่กลไกในร่างกายจะคอยดักจับความร้อนและจัดการระบายความร้อนออกไปทางของเหลวอย่างเหงื่อหรือแผ่ออกภายนอก
แต่หากความร้อนจากภายนอกเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้สมองส่วนควบคุมอุณหภูมิ (หรือหน่วยดักจับความร้อน)
ทำงานบกพร่องจนสูญเสียสมดุล ปิดสวิตช์ระบายความร้อน ความร้อนในร่างกายจึงทะยานขึ้นสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส
สิ่งที่ตามมาคือระบบไหลเวียนโลหิตและสมองรวน เสียชีวิตในที่สุด
หากร่างกายระบายความร้อนออกไม่ทันจะเป็นอันตราย คนที่ออกกำลังกายย่อมรู้ดีว่าขณะหรือหลังออกกำลังกาย
อุณหภูมิในร่างกายจะสูงมากกว่าขณะพักถึง 15 เท่า (สังเกตว่าปัสสาวะครั้งแรกที่ออกมาหลังออกกำลังกายจะอุ่นหรือค่อนข้างร้อน)
ตัวเลขนี่ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในหมู่คนออกกำลังกายกลางแจ้ง
หากวันนั้นบังเอิญว่าคุณดันพักผ่อนไม่เพียงพอ ดื่มน้ำน้อยเกินไป หรือหักโหมมากกว่าปกติ
สำหรับผู้ที่ออกกำลังกายกลางแจ้งนานกว่า 1 ชั่วโมง มีโอกาสสูญเสียเหงื่อได้มากถึง 0.5-1 ลิตร
ผิวจะขาดน้ำจนมีสีแดงขึ้น จับดูจะรู้สึกตัวร้อนเหมือนมีไข้สูง เริ่มเหนื่อยหรือเริ่มหน้ามืด
ควรนั่งพักในที่มีอากาศถ่ายเทสะดวกและอย่าฝืน เพราะไม่อย่างนั้นอาจถึงขั้นหมดสติและชักได้
ควรออกกำลังกายอย่างไรให้ปลอดภัย
1.เลือกเวลาที่เหมาะสม การเลือกเวลาที่เหมาะสมในการออกกำลังกายในหน้าร้อนมีความสำคัญอย่างาก
เนื่องจากเวลาที่เลือกจะมีผลต่อการระบายความร้อนของร่างกาย
ช่วงที่ร้อนที่สุดของวันโดยทั่วไปคือระหว่าง 10.00 น. ถึง 16.00 น.
ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในช่วงเวลาดังกล่าวหากเป็นไปได้
ควรเลือกเวลาออกกำลังกายในช่วงเช้าหรือตอนเย็นที่อากาศไม่ร้อนจัดมาก
และเลี่ยงการออกกำลังกายในช่วงเวลากลางวันที่อากาศร้อนจัด เพื่อลดความเสี่ยงของการเจ็บป่วยจากความร้อน
2.แต่งกายให้เหมาะสม ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่ต้องพิจารณาเมื่อออกกำลังกายในฤดูร้อนคือสิ่งที่คุณสวมใส่
เลือกเสื้อผ้าที่มีน้ำหนักเบาและระบายอากาศได้ดีเพื่อช่วยให้คุณรู้สึกเย็น มองหาผ้าที่ระบายความชื้น
โพลีเอสเตอร์หรือไนลอน และหลีกเลี่ยงผ้าฝ้าย ซึ่งสามารถดักจับเหงื่อและทำให้คุณรู้สึกร้อนยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ อย่าลืมสวมหมวกและแว่นกันแดดเพื่อป้องกันใบหน้าและดวงตาของคุณจากแสงแดด
3.ออกกำลังกายในที่ร่ม เลือกที่ออกกำลังกายในที่ที่มีร่มเงา อย่าออกกำลังกายในที่ที่มีแสงแดดจัดๆ
เพราะอาจทำให้ร่างกายเกิดอันตรายได้ เมื่อคุณเหงื่อออก ร่างกายของคุณจะสูญเสียน้ำ และหากคุณไม่ทดแทนน้ำนั้น
คุณก็จะขาดน้ำได้ สิ่งนี้สามารถนำไปสู่อาการต่างๆ รวมถึงอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ และแม้แต่โรคลมแดด
เพื่อให้ร่างกายชุ่มชื้น ดื่มน้ำมากๆ ก่อน ระหว่าง และหลังออกกำลังกาย
คุณยังสามารถดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่ที่มีอิเล็กโทรไลต์เพื่อช่วยทดแทนแร่ธาตุที่สูญเสียไปกับเหงื่อ
4.เริ่มต้นอย่างช้าๆ หากคุณเพิ่งเริ่มออกกำลังกายหรือไม่ได้ออกกำลังกายมาสักระยะแล้ว
สิ่งสำคัญคือต้องเริ่มอย่างช้าๆ และค่อยๆ เพิ่มความหนักขึ้น
นี่เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในฤดูร้อนที่ความร้อนอาจทำให้การออกกำลังกายรู้สึกท้าทายมากขึ้น
เริ่มต้นด้วยกิจกรรมที่มีความเข้มข้นต่ำ เช่น การเดินหรือโยคะ
และค่อยๆ เพิ่มเวลาและความเข้มข้นของคุณเมื่อร่างกายของคุณปรับตัวเข้ากับความร้อน
5.เลือกกิจกรรมที่เหมาะสม เมื่อออกกำลังกายในฤดูร้อน สิ่งสำคัญคือต้องเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมกับสภาพอากาศ
การว่ายน้ำ แอโรบิกในน้ำ และการพายเรือคายัคล้วนเป็นกิจกรรมที่ยอดเยี่ยมที่ควรทำในช่วงฤดูร้อน
เนื่องจากกิจกรรมเหล่านี้สามารถช่วยให้คุณรู้สึกเย็นขณะออกกำลังกาย
ในทางกลับกัน กิจกรรมที่มีความเข้มข้นสูง เช่น การวิ่งหรือปั่นจักรยาน อาจมีความท้าทายมากกว่าท่ามกลางความร้อน
หากคุณเลือกที่จะทำกิจกรรมเหล่านี้ อย่าลืมหยุดพัก ดื่มน้ำให้เพียงพอ และฟังเสียงร่างกายของคุณ
6.ใช้ครีมกันแดด เมื่อออกกำลังกายในฤดูร้อน สิ่งสำคัญคือต้องปกป้องผิวของคุณจากรังสีที่เป็นอันตรายของดวงอาทิตย์
ใช้ครีมกันแดดในวงกว้างที่มีค่า SPF อย่างน้อย 30 และอย่าลืมทาอย่างน้อย 15 นาทีก่อนออกไปข้างนอก
ทาซ้ำทุกๆ 2 ชั่วโมงหรือหลังจากว่ายน้ำหรือเหงื่อออก
7.ฟังร่างกายของคุณ สิ่งสำคัญคือต้องฟังร่างกายของคุณเมื่อออกกำลังกายในฤดูร้อน
หากคุณเริ่มรู้สึกวิงเวียน คลื่นไส้ หรือเหนื่อยล้ามากเกินไป ให้หยุดพักและพักผ่อนในบริเวณที่มีอากาศเย็นและร่มรื่น
สิ่งเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของอาการอ่อนเพลียจากความร้อนหรือลมแดด
ซึ่งอาจร้ายแรงหากปล่อยไว้โดยไม่รักษา นอกจากนี้ หากคุณมีโรคประจำตัวหรือกำลังรับประทานยา
อย่าลืมปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มกิจวัตรการออกกำลังกายใหม่
8. อย่าขาดน้ำ พกน้ำเปล่าไปด้วย แนะนำว่าควรเป็นน้ำเย็นผสมน้ำแข็งปั่นในสัดส่วนน้ำแข็ง 70 % กับน้ำ 30%
เพราะเป็นความเย็นที่เหมาะสม แต่อย่าเทเข้าปากทีเดียวเพราะจะทำให้จุก จิบน้อย ๆ แต่บ่อย ๆ แม้ไม่กระหายน้ำ
ภายในหนึ่งชั่วโมงควรดื่มน้ำให้ได้ประมาณน้ำเปล่าหนึ่งขวดกลาง
9. คลายร้อนด้วยผ้าเย็น คอยซับหน้า คอ แขน ขา ข้อพับเข่า และใต้รักแร้ก่อนออกกำลังกาย 5-20 นาที
วิธีนี้ไม่จำเป็นต้องซื้อผ้าเย็นจริง ๆ เพียงนำผ้าขนหนูแช่น้ำเย็นชั่วครู่หรือห่อน้ำแข็งก้อนแล้วเอาหนังสติกรัดไว้
อีกวิธีคือหาขวดน้ำเย็นเจี๊ยบขนาดเหมาะมือมาพันด้วยผ้าขนหนู อย่างนี้ก็ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกายได้เช่นเดียวกัน
อาการที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมทางกายในสภาวะที่มีอากาศร้อน
1.ตะคริว เกิดจากความไม่สมดุลของแร่ธาตุในร่างกายจากการสูญเสียเหงื่อ
ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อหดตัวเกร็งอย่างรุนแรง รู้สึกเจ็บปวดมาก บริเวณที่พบเห็นบ่อยๆ
คือ ต้นขา และน่อง วิธีแก้ไขให้พยายามยืดเหยียดกล้ามเนื้อในส่วนที่มีการหดเกร็ง
2.เพลียแดด เกิดจากการที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงแต่ไม่เกิน 40 องศา
หรือในกรณีบางคนที่ไม่เคยออกกำลังกายในสภาพอากาศที่ร้อน
ทำให้เกิดอาการเพลีย อ่อนแรง กระหายน้ำ ปวดหัว อาจจะมีอาการผิดปกติอื่นๆร่วมด้วย
วิธีแก้ไข ให้พยายามหลบเข้าที่ร่ม หาที่ที่มีอากาศถ่ายเท หรืออาจจะนำผ้าชุบน้ำมาเช็ดตัว
เพื่อให้ร่างกายระบายความร้อนได้ดียิ่งขึ้น
3.ลมแดด เกิดจากการออกกำลังกายในสภาพอากาศที่ร้อนเป็นระยะเวลานาน
ทำให้อุณหภูมิร่างกายเพิ่มขึ้นมากกว่า 40 องศา จะมีอาการในช่วงแรก
คือ กระหายน้ำ ตัวร้อน หายใจหอบสั้นถี่ ปากคอแห้งผาก ถ้าไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้อง
อาจจะมีอาการเวียนศีรษะ ตาพร่า ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายและสติสัมปชัญญะได้น้อยลง
เกิดคลื่นไส้ อาเจียน อาการก่อนที่จะเป็นลมแดด คือ ผิวหนังแห้ง เหงื่อไม่ออก
และอาจถึงขั้นหมดสติซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
วิธีรับมือเมื่อเป็นลมแดดขณะออกกำลังกาย
อาการเริ่มแรกคืออุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น หิวน้ำ ตาพร่า หายใจสั้นถี่ ปากแห้ง เวียนหัว
ให้รีบหยุดพักแล้วใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเยอะ ๆ เพื่อระบายความร้อน
แนะนำให้เช็ดตัวแบบถูผ้าขึ้นย้อนรูขุมขน จะช่วยให้ระบายความร้อนได้ดี
จิบน้ำเปล่าและน้ำผลไม้ ถ้าถึงกับเป็นลมหมดสติ ผิวแห้ง ตัวร้อนจัดให้รีบจัดให้นอนราบในที่ร่มอากาศโปร่ง
ยกเท้าสูง หาอะไรมาหนุนหัวไว้ แล้วคลายเสื้อผ้าให้หลวม ถอดรองเท้า ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเยอะ ๆ
พอเริ่มรู้สึกตัวให้ค่อย ๆจิบน้ำ แต่ถ้าหมดสตินานเกิน 5 นาที ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน
"การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดี หากไม่ระมัดระวังก็อาจเกิดผลเสียมากกว่าผลดี
ต้องหลีกเลี่ยงภาวะที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตราย เลือกประเภทและชนิดกีฬาที่เหมาะสมกับตัวเอง
ไม่หักโหมหรือออกกำลังหนักจนเกินไป โดยเฉพาะในผู้ที่มีโรคประจำตัวต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ
อาจจะปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการออกกำลังกายก่อนจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดค่ะ
ความรู้เพิ่มเติม
https://www.youtube.com/watch?v=UeCpg8qKalA